ในเชิงกลยุทธ์ เรายังคงจุดยืนเดิมที่ให้สะสมหุ้นในโซน SETIndex ที่ต่ำกว่า 1610 จุดลงมา โดยที่ระดับราคาหุ้นปัจจุบันตลาดหุ้นบ้านเรามีค่า Market Earning Yield Gap ที่ 4.21% ซึ่งถือว่าเป็น Valuation ที่ไม่แพง ส่วนปัจจัยแวดล้อมทาง พื้นฐานวันนี้เป็นเรื่องของภาพรวมเศรษฐกิจโดยในส่วนของตัวเลขในสหรัฐส่ง สัญญาณเชิงลบไม่ว่าจะเป็นดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นในสถาบัน การเงินสะท้อนผ่าน CDS ที่สูงขึ้น รวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ต่ำ กว่าคาด แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภาพเศรษฐกิจในบ้านเรายังแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่ แข็งแรง โดย GDP Growth อยู่ที่ 3.6% เงินเฟ้อลงมาอยู่ในกรอบเป้าหมาย และ จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมาเร็ว ภาวะดังกล่าวทำให้ยังมีความคาดหวังว่า Fund Flow น่าจะมีทิศทางไหลเข้าตลาดการเงินบ้านเรา
การปรับลดลงของ SET Index วานนี้ดูไม่ได้มีเหตุปัจจัยที่พื้นฐานที่มีน้ำหนัก สนับสนุน ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นเพิ่ม วันนี้คาด SET Index อยู่ในกรอบ 1520 – 1550 จุด Top Pick วันนี้เลือก AOT (BK:AOT), SCGP และ SNNP
กลิ่นอายความกลัวเรื่อง RECESSION แรงขี้นตามลำดับ
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐรวงลงแรงราว -1.0% ถึง -2.4% ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์ ปลอดภัยมากขึ้น โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นราว 0.5% ส่วน Bond Yield สหรัฐ 2 ปี และ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.95% และ 3.4% ตามลำดับ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงไปกว่า 2.2% หลังบรรยากาศความกลัวเรื่อง Recession เข้ามาปกคลุม จาก สัญญาณความเสี่ยงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 101.3 จุด (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 104 จุด) ขณะที่ข้อมูลในอดีต ถึงการชะลอตัวในการจับจ่ายใช้สอย และอาจทำให้เศรษฐกิจหดตัว
• ความกังวลวิกฤต ธ.พ. กลับมา โดยวานนี้ธนาคาร FRB ปรับตัวลงกว่า 49% หลังยอดเงินฝากลดลง 40.8% เหลือ 1.045 แสนล้านดอลลาร์(ตลาดคาด 1.45 แสนล้านดอลลาร์) ทำให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร พาณิชย์อีกครั้ง
• CDS ของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย CDS อายุ 1 ปีปรับตัวขึ้นเกินกว่าช่วงเกิด วิกฤต Hamburger ขณะที่ CDS อายุ5 ปี ได้ทำจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปี 2013 หลังหนี้สาธารณะของสหรัฐปัจจุบันใกล้ชนเพดานที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร
สรุป สัญญาณความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง บวกกับความกังวลวิกฤต ธ.พ. กลับมา รวมถึง CDS ของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้อาจกดดันดอลลาร์ ชะลอการแข็งค่าได้ในระยะถัดไป และมีโอกาสเห็นเม็ดเงินไหลเข้าในฝั่งเอเชียมากขึ้น
GDP ไทยยังโตดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ยังคาดหวัง FUND FLOW เข้ามาเพิ่มเติมระยะถัดไป
แม้ในปัจจุบันยังไม่เห็นความต่อเนื่องของ Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติโดยขาย สุทธิกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท(ytd) และ 6.3 พันล้านบาท(mtd) จากปัจจัยภายนอกที่ กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก(อ้างอิงจากหัวข้อด้านบน)
ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่ามีเหตุผลที่จะทำให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาสู่ตลาดหุ้นไทย เริ่ม จากภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวตามการเปิดประเทศ ซึ่งปีนี้คาดจะมีนักท่องเที่ยวเข้า มาจำนวน 29.5 ล้านคน (เกินระดับ 50% จากภาวะปกติ) โดยสำนักเศรษฐกิจ ทั้งธปท. และกระทรวงการคลัง คาดการณ์ GDP Growth ปีนี้ของไทยเติบโต 3.6% สวนทางกับ ประเทศพัฒนาแล้วที่มีความเสี่ยง Recession ทั้งสหรัฐฯและยุโรป ที่คาดการณ์ GDP Growth ปีนี้อยู่เพียง 0%-1% เท่านั้น
ต่อมาเป็นเรื่องของ Valuation ที่โดดเด่น โดยอัตราดอกเบี้ยไทยยังอยู่ระดับต่ำพียง 1.75% ซึ่งหากมองในมิติของ Market Earning Yield Gap แล้วพบว่ายังกว้างถึง 4.2% ซึ่งเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐ รวมถึงในกลุ่ม TIP ที่กว้างไม่ถึง 2%
ขณะที่ในมุมของ EPS Growth ปี 2566 ที่สูงกว่า 12% ก็ถือเป็นอัตราการเติบโตที่โดด เด่น กว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาค นอกจากนี้การที่บ้านเราอยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง ทั่วไป ซึ่งโดยธรรมชาติมักมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ กำลังจะเกิดขึ้น
สรุป สภาพแวดล้อมดังกล่าวน่าจะหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ในยามที่ระดับดัชนีปัจจุบันต่ำเพียง 1540 จุด ฝ่ายวิจัยฯมองว่า สถานการณ์ดังกล่าว เป็นจังหวะซื้อสะสมหุ้นไทยมากกว่าขายออกมา
หุ้นมักย่อเวลามูลค่าซื้อขายเบาบาง แต่ EARNING 1Q66 ดีขึ้นเป็น ความหวังระยะถัดไป
ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเหลือมูลค่าซื้อขาย 3 หมื่นล้านบาทปลายๆ ถึง 4 หมื่นล้านบาทต่อ วันต้นๆ ถือว่าเบาบางลงมาก และต่ำกว่าระดับ -1SD ของข้อมูล มูลค่ซื้อขายช่วง 1 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา ที่ 5.08 หมื่นล้านบาท
ที่สำคัญคือ ในอดีตเวลามูลค่าซื้อขายเบาบางกว่าปกติ (ต่ำกว่า –1SD) SET Index มักจะ ย่อตัวอยู่เสมอ โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ -2.9% ผิดกลับเวลามูลค่าซื้อขายสูง (สูงกว่า +1SD) ปกติหุ้นมักปรับตัวขึ้นได้ดีให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ +18.3%
ดังนั้นเวลาตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าซื้อขายเบาบาง ดัชนีก็มีโอกาสผันผวนมากกว่าปกติได้ อย่างไรก็ตามแนวโน้มดัชนียังมีโอกาสฟื้นตัว จากการเข้าสู่การรายงานกำไรบริษัทจด ทะเบียนงวด 1Q66 เบื้องต้นมีการรายงานออกมาแล้ว 17 บริษัท ภาพรวมดีกว่าที่ ตลาด คาดราว 6% และจะเห็นได้ว่าวานนี้เริ่มมีการรายงานงบของกลุ่ม Real Sector อย่าง SCGP กำไรออกมาดีกว่ราตลาดคาด 10.2% และราคาหุ้นขยับขึ้น 2.3% ฯยำพดนพท SET ที่ -1.06%
ล่าสุดฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกำไร 1Q66 จากการทำ Earning Preview 1ใน 3 ของ Market Cap ตลาด พบว่า กำไร 1Q66 เติบโตถึง 53%QoQ ลดลง -6.5%YoY
โดยมี Sector ที่มีแนวโน้มกำไรเติบโต QoQ เด่นๆ อย่าง CONS, ENEG, TRANS, COMM (คาดเติบโตทั้ง QoQ และ YoY) ต่อมาคือ PETRO, CONMAT, PKG (คาดเติบโต เฉพาะ QoQ)
ดังนั้นยามที่ตลาดหุ้นย่อตัวลงมา แนะนำสะสมหุ้นในกลุ่มที่กำไร 1Q66 ฟื้นเด่น SCGP CK, CPALL (BK:CPALL), TU, TIDLOR, SCC, IVL, IRPC, BEM, SNNP, TOP ส่วน Top pick วันนี้เลือก SCGP, SNNP และหุ้น Defensive อย่าง AOT
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities