DELTA / STARK / KBANK/SCB
• SET: จับตาดัชนีตลาดหุ้นไทยที่อาจกลับมาผันผวนอีกครั้ง หลังหุ้น DELTA หลุดออกจากมาตรการกํากับการซื้อขายเป็นวันแรก ซึ่งในส่วน ของตลท.ได้ออกมาย้ําเตือนแล้วว่า หากพบว่าสภาพการซื้อขายของ หลักทรัพย์ DELTA ผิดไปจากสภาพปกติโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐาน (fundamental) สนับสนุน หลักทรัพย์ DELTA จะถูกยกระดับเข้าสู่ มาตรการก่ากับการ อขายระดับ 2 และ 3 ตามล่าดับ
• SET50/SET100: ทั้งนี้ เรายังคงย้ำการคําานวณของเราเช่นเดิมว่า การติด บัญชีหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการก่ากับการซื้อขายของ DELTA ในรอบ นี้นั้น จะยังไม่ส่งผลกระทบให้ด้วหุ้นต้องถูกถอดออกจากดัชนีสําคัญอย่าง SET50 และ SET100 ในรอบถัดไป (2H23) แต่อย่างใด แต่หากในช่วงที่ เหลือของปีนี้ ตัวหุ้นถูกขึ้นบัญชีดังกล่าวอย่างน้อยอีก 3 เดือน จะทําให้ด้ว หุ้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกถอดออกจากดัชนีสําคัญในรอบ 1H24 ได้
• STARK: ส่วนอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประชุมผู้ ถือหุ้นกู้ STARK ในวันที่ 28 เม.ย. โดยมีวาระประชุมที่สําคัญได้แก่ การยกเว้นเหตุผิดนัดอันเกิดจากการที่ผู้ออกหุ้นกู้ส่งงบการเงินประจําปี 2565 ล่าช้ากว่าที่กฎหมายกําหนด ซิ่งถ้าหากมีมติไม่ยกเว้น บริษัทมีสิทธิ์ ถูกเรียก าระหนี้หุ้นกู้ทั้งหมดกว่า 9.2 พันล้านบาททันที ในกรณีเช่นนี้ TRIS Rating มีโอกาสปรับลดอันดับเครดิตของ STARK ลงสู่ระดับ C หรือ D ทันที หลังจากที่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทําการลดอันดับเครดิต ของบริษัทลงมาแล้วต่อหนึ่ง จาก BBB+ เป็น BB- พร้อมคงเครดิตพินิจ แนวโน้ม Negative
• Manufacturing PMI: สัญญาณตัวเลขภาคการผลิตเดือนเม.ย.ที่ออก โดย S&P Global เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาค่อนข้างผสมผสาน โดยตัวเลขฝั่งยู โรโซนปรับแย่ลงมาอยู่ที่ระดับ 45.5 ต่ําสุดนับตั้งแต่ช่วง Covid ปี 2020 ในขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯดูดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.4 ถือเป็นการ ยืนเหนือระดับ 50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ส่วนดัชนีทางด้านภาค บริการนั้น ทั้ง 2 ประเทศถือว่าออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์อย่างชัดเจน
• SET Strategy: ในเชิงกลยุทธ์ สําหรับผู้ที่เข้าสะสมหุ้นไปที่บริเวณดัชนี แนวรับสําคัญของเราเดือนนี้ที่ 1550 จุดเมื่อวันศุกร์ มองว่าสามารถถือครอง หุ้นดังกล่าวไว้ก่อนได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าสะสมเพิ่ม มองว่าสามารถใช้กล ยุทธ์ Wait & See ไปก่อน โดยการถือครองยังคงเน้นไปยังกลุ่มหุ้นภาค บริการภายในประเทศทั้ง ธนาคาร โรงพยาบาล และค้าปลีก
• Factors: สําหรับปัจจัยอื่นที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
1) รายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1/23 ของสหรัฐฯครั้งแรก ในวันที่ 27 เม.ย. ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ขยายตัว 2.0% QoQ
2) รายงานตัวเลขส่งออก-น่าเข้าของไทยประจําเดือนมี.ค. ล่าสุดตลาด คาดการณ์หดตัวที่ระดับ 14.9% และ 4.0% ตามล่าดับ ส่งผลให้ ดุลการค้าน่าจะขาดดุลอยู่ที่ 1.2 พันล้านเหรียญฯ
3) รายงานตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยประจําเดือนมี.ค.ในวันที่ 28 เม.ย. ล่าสุดตลาดคาดการณ์ขาดดุล 1 พันล้านเหรียญฯ
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities