SET Index ปรับตัวขึ้นมาอยู่บริเวณ 1600 จุด โดยวานนี้มีแรงซื้อสุทธิจากนัก ลงทุนต่างชาติ เข้ามาราว 1.4 พันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามยังเห็นการเปิด Short สุทธิในตลาด Future ท้าให้น้้าหนักการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นดูเบาลงไปส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่ามีโอกาสที่จะเห็น Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยได้ใน ระยะต่อไป ทั้งนี้ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออ้านวย เริ่มจากเศรษฐกิจไทยที่ ฟื้นตัว และเติบโตได้ดีกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมี ลักษณะ Bottom Out ตั้งแต่งวด 1Q66เป็นต้นไป ส่วน Valuation เมื่อพิจารณา ผ่าน Market Earning Yield Gap ซึ่งกว้างถึง 4% นับว่าดูดีกว่าประเทศพัฒนา แล้วรวมถึงในกลุ่ม TIP ส่วนสถานการณ์ทางการเมื่อง อยู่ในโหมดของการหาเสียง เลือกตั้ง ซึ่งมักเป็นช่วงเวลาที่ปลอดข่าวร้าย
การที่ SET Index ขึ้นมายืนอยู่บริเวณ 1600 จุด ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่การที่จะ ทะลุแนวต้านส้าคัญที่ 1610 จุดขึ้นไปได้ ต้องอาศัยFund Flow ต่างชาติหนุน ส่วน แนวรับอยู่ที่ 1590 จุด หุ้น Top Pick เลือก CPALL (BK:CPALL), CPN และ JMT
ปัจจัยลบเบาลง หวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนเข้ามาช่วยผ่อนคลาย
วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยฝั่งสหรัฐปิดตัว +0.3% ถึง +1.2% ขณะที่ฝั่งยุโรปปิดตัวราว -0.1% ถึง +0.1% หลังปัจจัยลบที่เข้ามาก่อนหน้านี้ไม่ได้มี พัฒนาการ อาทิ ปัญหาขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ – ยุโรป เป็นต้น
แต่ปัจจัยบวกที่เข้ามาในช่วงนี้เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอย่าง ต่อเนื่อง โดยล่าสุดรัฐบาลฮ่องกงมีการแจกบัตร E-Voucher ให้กับประชาชน 22,000 บาท/ราย รวมเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อส่งเสริมการใช้จ่าย โดยคาด ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.6% รวมถึงวานนี้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังมีการอัด ฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ภาคธนาคารผ่านวงเงินสินเชื่อระยะกลาง (MLF) ราว 2.5 หมื่นล้าน ดอลลาร์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8
ขณะที่วันนี้ เวลา 9.00 น. ทางการจีนยังมีการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ GDP 1Q66 โดยตลาดคาดว่าจะขยายตัวราว +2.0%QoQ และ +4.0%YoY ขานรับการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งหลังจีนเปิดประเทศ รวมถึงตัวเลขในเดือน มี.ค. ทั้งการ ผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีก ซึ่งตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +4.4%YoY และ +7.5% ตามลำดับ
สรุป ปัจจัยลบที่เบาลงในช่วงนี้ สวนทางกับปัจจัยบวกที่เข้ามามีน้้าหนักมากขึ้น หลัง จีนกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง หนุนให้ตลาดหุ้นผันผวนน้อยลง จากระดับความกังวลที่ ผ่อนคลาย ส่วน SET Index ในวันนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1590 – 1610 จุด
4 กลุ่มนโยบายหาเสียงประชานิยม กับหุ้นที่ได้ประโยชน์PART 2
ภายใต้การเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามา นโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง เป็นประเด็นที่ตลาด ให้ความสนใจ สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่ง รัฐ, การเติมเงินเข้ากระเป๋าตังดิจิทัล, การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และ การขึ้นค่าแรง ขึ้นต่ำ ซึ่งในวันนี้จะนำเสนอใน 2 มาตรการหลัง คือ การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และ การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องใช้เม็ดเงินจากภาคเอกชน หรือไม่ได้ใช้ งบประมาณแผ่นดิน หรือการกู้เงินเพิ่มเติมของภาครัฐฯ ดังนี้
3. นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่้า จาก 2 พรรค(พรรคเพื่อไทย / พรรคก้าวไกล)
โดยพรรคก้าวไกลมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีแรกเป็น 450 บาท และพรรคเพื่อไทย จะขึ้นค่าแรงไปถึง 600 บาทในช่วงวาระการทำงาน (4 ปี) ซึ่งจากปัจจุบันค่าแรงในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 354 บาท โดยประเด็นดังกล่าวเป็นภาระของบริษัทเอกชน ที่ต้องแบกรับไว้ ซึ่งฝ่ายวิจัยฯใช้สมมุติฐานแรงงาน 40 ล้านคน หากคิดจากค่าแรง 600 บาท/วันของพรรคเพื่อไทย คิดเป็นเงินมูลค่าเพิ่มเติมจากค่าแรงเดิมกว่า 1.18 แสนล้าน บาท หรือ 0.70% ของ GDP ขณะที่หากคิดจากค่าแรง 450 บาท/วัน ของพรรคก้าวไกล คิดเป็นเงินมูลค่าเพิ่มเติมจากค่าแรงเดิมกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท หรือ 0.26% ของ GDP
ัจจัยดังกล่าวถือเป็นแรงกดดันต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากบริษัทจะต้องแบก รับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 4 กลุ่ม Labor Intensive คือ 1.กลุ่มรับเหมา ก่อสร้าง มีสัดส่วนต้นทุนแรงงาน 10-15% ของต้นทุนทั้งหมด 2.กลุ่มเกษตรอาหาร มี สัดส่วนโครงสร้างค่าแรง 1.5-8% ของต้นทุนรวม 3.กลุ่มที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนค่าจ้างผ่าน ผู้รับเหมา 13% ของยอดขาย หรือราว 20% ของต้นทุนรวม และ 4.กลุ่มชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ มีสัดส่วนต้นทุนค่าแรง 5-8% ของต้นทุนรวม
ในมุมภาพรวมตลาด คาด SET ได้ผลกระทบจำกัด หากพิจารณาในเชิงปริมาณ ในช่วง เวลา 1 เดือน หลังมีการประกาศขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ทั้ง 6 รอบที่ผ่านมา พบว่า SET ยังปรับ ขึ้นได้เฉลี่ย +0.9% แต่มีความน่าจะเป็นให้ผลตอบแทนเป็นบวก 50%
ส่วนกลุ่มหุ้นที่คาดหวังว่าจะได้แรงหนุนจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 1.กลุ่ม การแพทย์ (แนะนำ BDMS BH BCH) 2.กลุ่มไฟแนนซ์ (แนะนำ JMT MTC SAWAD TIDLOR) 3.กลุ่มท่องเที่ยว (CENTEL ERW)
4. การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน หรือ พักช้าระหนี้ จาก 2 พรรค(พรรคชาติพัฒนา กล้า / พรรคภูมิใจไทย) มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ยกเลิกแบล็กลิสต์-ใช้เครดิตสกอร์ของพรรคชาติพัฒนากล้า โดยทางคุณกรณ์ จาติก วณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า มีการโพสต์ลง Facebook ณ 6 มี.ค. 66 แจงว่า นโยบายของพรรคไม่ได้ยกเลิก “เครดิต บูโร” แต่เป็นการเสนอให้แก้กฎหมาย เพื่อ สามารถนำข้อมูลการใช้ชีวิตทางการเงินของผู้กู้ทั้งหมดมาประมวลรวมเป็นเครดิตสกอร์ (Credit score) แก้ปัญหาการเกิดสภาพ “บัญชีดำ” หรือ แบล็กลิสต์ นั่นเอง
ความเห็นฝ่ายวิจัย : มองกลาง โดยปกติกระบวนการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ อยู่บนหลัก 5 C กล่าวคือ 1.1.) Capacity หรือความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ กรณีลูกหนี้ธุรกิจ วัดจาก CFO หรือ EBITDA ส่วนบุคคลธรรมดา พิจารณาจากรายได้ต่อเดือน 1.2.) Capital หรือเงินทุน พิจารณาจากโครงสร้างทางการเงินอย่าง D/E 1.3.) Collateral หรือ หลักประกัน 1.4.) Condition เงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในวงเงิน รวมทั้งสภาวะแวดล้อม ต่างๆ และสุดท้าย 1.5.) Character หลักๆ คือ ประวัติการชำระหนี้ในอดีต ซึ่งข้อมูลหลักๆ ที่ใช้ในไทยปัจจุบัน มาจากฐานข้อมูลของเครดิตบูโร ที่จะเก็บข้อมูลการชำระหนี้แต่ละ วงเงินของลูกหนี้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร เป็นระยะเวลาไม่เกิน 36 เดือน โดยรวมจะเห็นว่ามีอย่างน้อย 5 ปัจจัย ในการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน ว่าจะให้น้ำหนักกับปัจจัยใดมากกว่ากัน อีกทั้งประเภทของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม กระบวนการพิจารณาสินเชื่อย่อมไม่เหมือนกัน กอปร กับสินเชื่อรายย่อย ปัจจุบันธนาคารที่เน้นฐานลูกค้ารายย่อย มีการประเมินผ่าน Credit score ตาม Model ของแต่ละธนาคารอยู่แล้ว
นอกจากนี้การนำข้อมูลการใช้ชีวิตทางการเงินของผู้กู้ทั้งหมดมาประมวลรวมเป็น Credit Score เป็นไปตามแนวทางของ ธปท. ที่กำลังร่างหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง Virtual Bank (ธนาคารไร้สาขา) เน้นกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน หรือ กลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการ ทางการเงินอย่างเพียงพอและเหมาะสม อย่าง รายย่อยและ SME คาดพร้อมเปิด ดำเนินการช่วง 2Q68 และจะมีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่เกิน 3 รายที่เปิดทางให้ ธ.พ. สามารถ ใช้นวัตกรรมทางการเงิน หรือ ข้อมูลด้านต่างๆ ในการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งตามกระแสข่าว เห็นการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่าง KTB + GULF + ADVANC เพื่อจัดตั้ง Virtual Bank
4.2 นโยบายพักช้าระหนี้อาทิ “พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอกคนละไม่เกิน 1 ล้าน บาท” ของพรรคภูมิใจไทย ให้สิทธิกับประชาชนทุกคนที่เป็นหนี้ มูลหนี้สูงสุด 1 ล้านบาท (กรณีที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาท ชำระตามปกติ) โดยตามหน้า Web site ของพรรคภูมิใจไทย สืบค้น ณ 11 เม.ย. 66 มีการเปิดเผยแหล่งเงินว่ามาจาก “การออกพันธบัตรรัฐบาล” ชื่อ พันธบัตร Thai Power หรือ พันธบัตรคนไทยรวมพลัง จำหน่ายให้กับประชาชนผู้มีเงิน ฝาก ให้ดอกเบี้ย 2.5 – 3% แล้วนำเงินที่ได้จากการขายพันธบัตร มาแก้ปัญหาหนี้สินให้ ประชาชนที่เป็นหนี้ เมื่อครบเวลาพักหนี้ 3 ปี ประชาชน จะมีความสามารถชำระหนี้ ได้ เพิ่มขึ้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ มากขึ้น ลดปัญหาหนี้สินให้ประชาชน ลดปัญหาหนี้เสียให้ ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ และกองทุนต่างๆ ที่เป็นเจ้าหนี้
ความเห็นฝ่ายวิจัย โดยอ้างอิงจากการมีที่มาของแหล่งเงินที่จะใช้ในนโยบายนี้ บ่งชี้ว่า ภาครัฐ (หรือผู้เสียภาษี) จะเป็นผู้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตลอดระยะ 3 ปี ซึ่งจำนวนมูลหนี้ที่ เข้าร่วมมาตรการนี้ ประเมินว่าขึ้นอยู่กับมูลค่าพันธบัตรที่สามารถจำหน่ายได้ ทั้งนี้ อัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตร Thai Power หรือ พันธบัตรคนไทยรวมพลัง ตามข้างต้นอยู่ที่ 2.5% - 3.5% ถือว่าสูงกว่า Government Bond Yield ไทย ณ 10 เม.ย. 66 อายุ 3 ปี (ตาม ระยะเวลาพักหนี้) ที่ 1.97% ดังนั้นฝ่ายวิจัยประเมินว่านโยบายดังกล่าว ไม่ส่งผลให้ แนวโน้มรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ของเจ้าหนี้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ แตกต่างกับ นโยบายพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ของ ธปท. ช่วง COVID-19 ในปี 2563 ที่ส่งผลให้ เทอมการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้ยาวขึ้น 3 – 6 เดือน ลบต่อ Effective interest rate ในการคำนวณดอกเบี้ยรับตามหลัก TFRS 9 (ในงบดุลปรากฎรายการดอกเบี้ยค้างรับ) นอกจากนี้นโยบายข้างต้น ช่วยลดแรงกดดันด้าน NPL บางส่วนให้กับเจ้าหนี้ ทำให้ภาระ Credit Cost อยู่ในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหนี้ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยใน สัดส่วนสูง
ทั้งนี้ ในมุมมองฝ่ายวิจัย นโยบายช่วยลูกหนี้ในด้านต่างๆ แม้เห็นผลดีในระยะสั้น แต่ระยะ ยาวต้องระวังว่าอาจก่อให้เกิด moral hazard กับลูกหนี้ สร้างปัญหาในระยะยาวต่อไป รวมถึงในเชิง Macro ภาระหนี้รัฐบาล ต่อ GDP ที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อทิศทาง Credit rating ประเทศในระยะถัดไป
เท่าตลาด จาก Regulatory Risk และ Macro Risk แต่ด้วย PBV ซื้อขายไม่แพงที่ 0.67 เท่า ถือว่าสมเหตุสมผล โดยยังให้น้ำหนักไปที่คุณภาพสินทรัพย์สำหรับ ธ.พ. ใหญ่ เรียง ดังนี้ BBL(FV@B174) > KTB(FV@B20.3) > SCB(FV@B132) > KBANK (BK:KBANK)(FV@B159) ส่วน ธ.พ. เล็กเลือก TISCO(FV@B108) > KKP(FV@B77)
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย กับกลุ่ม ธพ. ASPS ชอบหุ้นไหนมากสุด
ภายหลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุด 0.25% มาที่ 1.75% ซึ่งเป็นระดับ เท่ากับต้นปี 2562 โดย ธ.พ. กลุ่ม D-SIBs (Domestic Systemically Important Banks) ทั้ง 6 ธนาคาร (BAY, BBL, KBANK, KTB, SCB และ TTB) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยฝั่งเงิน ให้สินเชื่อ M - Rate เฉลี่ย 0.22% ขณะที่ฝั่งเงินฝากสำหรับ 5 ธ.พ. (ยกเว้น BBL) ยังคง อัตราดอกเบี้ยทรัพย์ตามเดิมที่ 0.25% ขึ้นเพียงเงินฝากประจำที่ต้องใช้ระยะเวลาในการ Repricing ตรงข้ามกับโครงสินเชื่อที่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยได้ภายใน 1 ปี ตั้งแต่ 63% - 90% ของพอร์ตสินเชื่อ องค์ประกอบดังกล่าวบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) กลุ่ม D-SIBs ทั้ง QoQ และ YoY ในงวด 2Q66 ในทางตรงข้าม ธ.พ. ที่มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เกิน 50% ของพอร์ต อย่าง KKP และ TISCO ทิศทาง NII ช่วง 2Q66 คาดถูกกดดันต่อต้นทุนเงินฝากที่ไต่ระดับขึ้น ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พ. กลุ่ม D-SIBs ข้างต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่ กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของวัฎจักรขาขึ้นรอบนี้ 2H65 ทาง กลุ่มธนาคารมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ 5 ครั้ง (รวมการปรับขึ้นเพื่อชดเชย FIDF ตอนต้นปี) โดยอัตราดอกเบี้ย MLR สำหรับลูกค้ารายใหญ่เฉลี่ยสูงขึ้น 1.3% จาก อัตราดอกเบี้ยช่วงก่อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สูงกว่า MOR ที่ใช้กับวงเงินเบิกเกิน บัญชีเฉลี่ยสูงขึ้น 1.25% และ MRR (สำหหรับ SME และสินเชื่อบ้าน) เพิ่มราว 0.9% อาจสะท้อนความเปราะบางของลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ในเชิงของเงินฝากออมทรัพย์ในหลาย ธนาคาร (ยกเว้น BBL) ที่ยังต่ำกว่าระดับ Pre-COVID แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะกลับมา เท่ากัน มองว่าช่วง 2H66 มีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ กลับเข้าสู่ จุดที่เหมาะสม
องค์ประกอบรวมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 1.75% และใกล้เคียงมุมมองของแต่ละธนาคารที่ไม่เกิน 2.0% ในปีนี้ ทำให้ภาพดังกล่าว สะท้อนในประมาณการ / เป้าหมายทางการเงินปี 2566 ของแต่ละธนาคารแล้ว จึงคง ประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2566 ที่ ที่ 2.14 แสนล้านบาท (+ 9% YoY) ขับเคลื่อน ด้วย NII ของธนาคารกลุ่ม D-SIBs เป็นหลัก
กลยุทธ์การลงทุนส้าหรับกลุ่มฯ คงน้้าหนักเท่าตลาด จาก Regulatory Risk และ Macro Risk แต่ PBV กลุ่มฯ ซื้อขายไม่แพงที่ 0.67 เท่า โดย ธ.พ. ใหญ่ เรียงดังนี้ BBL(FV@B174) จาก Coverage Ratio สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 261% ประกอบกับสัดส่วนลูกค้ารายใหญ่สูงสุด ในกลุ่มฯ ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีโครงสร้างทางการเงินยืดหยุ่นกว่า SME ทำให้พร้อม รับมือเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจมากขึ้น ด้าน Valuation มี PBV ซื้อขายไม่แพงต่ำสุดในกลุ่มฯ ที่ 0.5 เท่า > KTB(FV@B20.3) จากการขยายตัวด้าน Digital ผ่ำนเป๋ำตังและถุงเงิน > SCB(FV@B132) รำคำหุ้น Laggard กลุ่มฯ คำด Downside จำกัดกว่า KBANK(FV@B159) ส่วน ธ.พ. ขนาดเล็ก เลือก TISCO(FV@B108) ที่มี Coverage Ratio ราว 259% ขณะที่ BIS Ratio, ROE, Div Yield สูงสุดในกลุ่มฯ มากกว่า KKP(FV@B77)
OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66ใครรอด – ใครร่วง
ฝ่ายวิจัยฯ จะมานำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66 รายอุตสาหกรรม โดยแบ่ง
เนื้อหาของแต่ละอุตสาหกรรม ตามการจัดตารางรายวัน ดังนี้
จันทร์10 เม.ย.66 กลุ่ม BANK + TOURISM
อังคาร 11 เม.ย.66 กลุ่ม ICT+ COMM
พุธ 12 เม.ย.66 กลุ่ม CONS + CONMAT + PROP
จันทร์17 เม.ย.66 กลุ่ม โรงไฟฟ้า
อังคาร 18 เม.ย.66 กลุ่ม AGRI + ETRON + FIN
พุธ 19 เม.ย.66 PETRO + ENERG
โดยวันนี้เป็นคิวของกลุ่ม AGRI + ETRON + FIN โดยมีรายละเอียดทางพื้นฐาน ดังนี้
กลุ่มเกษตร-อาหาร ให้น้้าหนักเท่าตลาด (-QoQ / -YoY) : คาดกำไรสุทธิงวด 1Q66 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะปรับลดลง QoQ และ YoY จากแนวโน้มราคาหมู ไก่ในไทย เวียดนามและจีนปรับลดลง จากงวด 4Q65 นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุน วัตถุดิบอาหารสัตว์ วัตถุดิบทูน่าและแซลมอนปรับสูงขึ้น กดดันแนวโน้มประสิทธิภาพการ ทำกำไรลดลง ทั้งนี้ แม้ในระยะสั้น แนวโน้มผลการดำเนินงานกลุ่มเกษตร-อาหารยังไม่ น่าสนใจ แต่ราคาหุ้นปรับฐานไปมาก จนมี Valuation และปันผลน่าสนใจ ฝ่ายวิจัย ประเมินว่า TU (FV@B19) และ NER (FV@B9) จะ Outperform ตลาดได้
กลุ่มชิ้นส่วนฯ ให้น้้าหนักเท่าตลาด (-QoQ / +YoY) : แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 1Q66 จะ อ่อนตัวลง QoQ (แต่เพิ่มขึ้น YoY) ผลกระทบจากแนวโน้ม gross margin งวด 1Q66 ปรับลดลงจาก 4Q65 สาเหตุหลักมาจากค่าเงินบาทเฉลี่ยงวด 1Q66 แข็งค่าขึ้น 6.7% qoq (แต่อ่อนค่าลง 2.6% yoy) มาที่ 33.9 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ กดดันประสิทธิภาพการ ทำกำไรกลุ่มขิ้นส่วนฯ ลดลงในงวด 1Q66 นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า กลุ่มชิ้นส่วนฯ จะเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในปี 2566 จึงแนะนำชะลอการลงทุน กลุ่มชิ้นส่วนฯในระยะสั้น
กลุ่มเช่าซื้อ ให้น้้าหนักเท่าตลาด (QoQ / YoY) : แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 1Q66 จะทรง ตัว QoQ และ YoY แม้คาดกำไรสุทธิงวด 1Q66 ของกลุ่มให้บริการสินเชื่อจะเติบโต QoQ จากแนวโน้มสินเชื่อเติบโตต่อเนื่อง (แต่ลดลง YoY จากแนวโน้ม credit cost สูงขึ้น) แต่ คาดกำไรสุทธิงวด 1Q66 ของกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จะปรับลดลง QoQ (แต่เติบโต YoY) จากแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดปรับลดลงตามฤดูกาล โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า SAWAD (FV@B65) THANI (FV@B4.70) และ JMT (FV@B65) จะ Outperform ตลาดได้ จาก แนวโน้มกำไรสุทธิจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2566
สัญญาณ Fund Flow ดีขึ้นทั้งในเอเชีย และไทย
วานนี้ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 พันล้านบาท หนุนให้ยอดซื้อสุทธิในเดือนเม.ย. 66 (mtd) พลิกกลับมาเป็นบวก 1.3 พันล้านบาท อีกทั้งวันซื้อขายวันแรกหลังสงกรานต์ ยังมีสัดส่วนจากนักลงทุนต่างชาติโดดเด่นถึง 61% (ปกติค่าเฉลี่ยในปีนี้มีสัดส่วน 51%) ส่วนอีก 39% ที่เหลือมากจากกองทุน พอร์โบรกเกอร์ และรายย่อย ซึ่งการกลับมาซื้อ สุทธิของต่างชาติ พร้อมกับมูลค่าซื้อขายที่หนาแน่นขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อตลาดหุ้น ไทย
นอกจากนี้หากดูภาพรวม Fund Flow ในตลาดหุ้นเอเชียในเดือน เม.ย. 66 (mtd) ยัง พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อสุทธิทั้งสิ้น
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงท้าการค้นหา หุ้นที่มีสัญญาณการกลับมา ื้อสุทธิผ่าน NVDR บ้าง ในวานนี้ ร้อมกับราคาหุ้นยัง Laggard ตลาดในปีนี้ (ytd) มาก ได้ผลลั ธ์หุ้นที่ น่าสนใจ ละต่างชาติหรือ NVDR เริ่มกลับเข้ามา ยุง อย่าง JMT -37%ytd, SCGP -23%ytd, EA -20%ytd, CBG -10%ytd เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities