🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ยังขาดแรงขับเคลื่อน SET INDEX 

เผยแพร่ 17/04/2566 09:26
SETI
-

ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค.66 ของสหรัฐออกมาที่ 5% ลดลงมากกว่าที่คาด แต่กลับ พบสัญญาณที่น่ากังวลผ่าน Core Inflation ที่สูงถึง 5.6% YoY อย่างไรก็ตามยัง คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อีกเพียง 1 ครั้งมาที่เพดาน 5.25% ทั้งนี้ตลาดจับ ตาสัญญาณของ Recession มากขึ้นเฉพาะอย่างยิ่งในภาคแรงงาน และภาคการ ผลิต ส่วนในบ้านเรา อยู่ในโหมดของการหาเสียงเตรีมเลือกตั้งทั่วไป ซึ่ง ASPS Research ได้ประเมินหน้าตักของเม็ดเงินที่อาจสามารถนำมาใช้ในการทำนโยบาย ที่ได้หาเสียงไว้ พบว่าหากคงตามกรอบงบประมาณปี 2567 เดิมที่ ครม. ได้อนุมัติ เมื่อ 14 มี.ค.66 พบว่างบส่วนที่ยังไม่มีหน่วยงานรับงบประมาณ ได้แก่งบกลางส่วน ที่สำรองฉุกเฉิน 9.3 หมื่นล้านบาท และหากจะกู้เพิ่มจนเต็มเพดานวินัยการคลังที่ 70% ของ GDP ก็จะได้อีกราว 1.56 ล้านล้านบาท แต่ก็ถือเป็นความเสี่ยง

ปัจจัยที่เป็นแรงกดดันหลักวันนี้ คงเป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งในการตีความข้อมูล เศรษฐกิจต่างๆ จะให้น้ำหนักกับความเสี่ยง Recession มากขึ้นคาด SET Index อยู่ในกรอบ 1580 - 1605 จุด หุ้น Top Pick เลือก CPALL (BK:CPALL), PTTEP และ STEC

ตลาดเปลี่ยนโหมดความสำคัญจาก เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย สู่ RECESSION

เงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. อยู่ที่ 5.0%YoY ต่ำกว่าตลาด คาดที่ 5.2%YoY รวมถึงปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 6.0%YoY สาเหตุจากดัชนีราคา พลังงานลดลง -3.5%MoM และ -6.4%YoY ขณะที่ดัชนีอาหารในเดือน มี.ค. ไม่ เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ Real interest rate (ดอกเบี้ย 5% – เงินเฟ้อ 5%) ของสหรัฐในปัจจุบันอยู่ที่ 0% แล้วส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI)อยู่ที่ 5.6%YoY ตามคาด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ Core CPI มากกว่า Headline CPI หลักๆ เป็น เพราะดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น +0.6%MoM และ +8.2%YoY

เงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังห่างไกลกรอบเป้าหมายที่ 2% อาจเป็นปัจจัย หนุนให้ Fed ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 1 ครั้ง โดยเมื่อพิจารณาจาก Fed Watch Tool พบว่าโอกาสสูงถึง 79% ที่ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 5.25% ในการประชุมรอยเดือน พ.ค. นี้ ก่อนที่จะคงดอกเบี้ยไว้ในระดับดังกล่าวไปถึงช่วง 3Q66

ปลายทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐที่ใกล้เข้ามา อาจทำให้ตลาดเปลี่ยนโหมดการตีความ ข้อมูลที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งก่อนหน้านี้หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาไม่ดี ตลาด หุ้นมักจะดีดตัวจากความคาดหวังที่ว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่นับจากนี้ตัวเลข เศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดี จะเป็นการสะท้อนถึงภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจมีความเสี่ยงต่อ ภาวะ Recession ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงได้ในระยะถัดไป

นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงต่อภาวะ Recession มากขึ้น จากสัญญาณที่มาจาก ทั้งฝั่งสหรัฐฯ สะท้อนจากภาคแรงงานสหรัฐที่ชะลอตัว จากตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงาน สหรัฐล่าสุดอยู่ที่ 239,000 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า และสูงกว่าที่คาด รวมถึง ภาคการค้า อาทิ ดัชนีค้าปลีกเดือน มี.ค. ที่ขยายตัวเพียง 2.94%YoY(ต่ำตลาดคาดที่ +5.90%) ขณะที่ฝั่งยุโรปยังต้องจับตาในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์อาจเสี่ยงเข้าสู่ วิกฤตต่อจากภาคธนาคาร หลังราคาอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์ในยุโรปมีแนวโน้มลดลง ต่อเนื่อง

สรุป เงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง แต่ยังห่างไกลจากกรอบเป้าหมายที่ 2% และ อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ Fed ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 1 ครั้ง ขณะเดียวกันปลายทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐที่ใกล้เข้ามา อาจทำให้ตลาด เปลี่ยนจุด Focus ไปที่สัญญานการเกิด Recession มากขึ้น และหากตัวเลข เศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดี เชื่อว่าจะเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้นได้ในระยะถัดไป

นโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง กับภาระทางการคลัง

ในช่วงเวลาที่เหลือไม่ถึง 1 เดือน ก็จะถึงกำหนดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งในช่วงเวลานี้ พรรค การเมืองต่างๆ ก็ได้มีการนำเสนอ แนวนโยบายเชิงรุก เพื่อที่จะดึงฐานเสียงผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เท่าที่ติดตาม รูปแบบของนโยบายต่างๆ ที่นำเสนอ ค่อนข้าง จะโน้มเอียงไปทางประชานิยม โดยมุ่งเน้นไปที่การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่กระเป๋าประชาชน ด้วยรูปแบบต่างๆ หรือ เสนอแนวนโยบายเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ รวมไปถึง การจัดการกับภาระหนี้สินภาคครัวเรือน ทั้งนี้การเลือกเดินนโยบายดังกล่าว จำเป็นต้อง มีงบประมาณสนับสนุน ทั้งนี้หากพิจารณาจากสถานะทางการเงิน - การคลังของ บ้าน เราแล้ว ถือว่ามีข้อจำกัดอยู่มากพอสมควร ซึ่งจากการที่ ASPS Research ได้ประเมิน หน้าตักสำหรับ เม็ดเงินที่จะใข้ไปเพื่อสนองนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว พบว่า ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน พบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการจัดทำ งบประมาณแบบสมดุลเพียง 2 ปี ส่วนอีก 18 ปี เป็นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล โดยหากนับยอดขาดดุลงบประมาณสะสมพบว่ามียอดสูงถึง 6.6 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็น แหล่งที่มาหลักของภาระหนี้สาธารณะในปัจจุบันซึ่งมียอดล่าสุดอยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท

สำหรับงบประมาณที่จะต้องใช้รองรับการใช้จ่ายตามนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ คืองบประมาณปี 2567 (1 ต.ค. 2566 – 30 ก.ย.2567) เบื้องต้น ครม. ได้มีมติเห็นชอบ งบประมาณเมื่อ 14 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา โดยเป็นงบประมาณรายจ่ายที่มีเม็ดเงินรวม 3.35 ล้านล้านบาท เป็นการจัดทำงบแบบขาดดุล 5.93 แสนล้านบาท

โครงสร้างดังกล่าว เห็นได้ว่างบประมาณเกือบทั้งหมด มีหน่วยงานที่เป็นผู้รับงบประมาณ ชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งก็หมายความว่า โอกาสที่จะถูกปรับลดไปเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่น มี ช่องทางที่ทำได้จำกัด ทั้งนี้งบประมาณที่อาจถูกเลือกเป็นเป้าหมายเพื่อเอามาดำเนินการ ตามนโยบายที่รัฐบาลใหม่ได้หาเสียงไว้ ได้แก่ งบประมาณส่วนที่เป็น รายจ่ายงบกลาง ซึ่ง มียอดรวมอยู่ที่ 6.02 แสนล้านบาท แต่หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของ รายจ่ายงบ กลาง ก็ยังพบว่า ส่วนใหญ่ มีหน่วยงานที่เป็นผู้รับงบประมาณอยู่แล้วเช่นกัน โดยหากยึด ตามโครงสร้างในปีที่ผ่านๆมา (ค่าเฉลี่ยปีงบประมาณ 2565 – 2566) พบว่าสัดส่วนของ งบกลาง 54% เป็นรายการเบี้ยหวัด บำเหน็ด บำนาญ,13% เป็นค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ข้าราชการ ฯ อีก 12% เป็นเงินสำรอง เงินสมทบ เงินชดเชยข้าราชการ คงเหลือส่วนที่ เป็น งบสำรองจ่ายเพื่อกรณี ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นส่วนที่ยังไม่มีแผนการใช้หรือหน่วยงานรับ งบประมาณที่ชัดเจน ราว 15% (ที่เหลือ 4% เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ) ซึ่งเงินในส่วนนี้สำหรับ งบประมาณปี 2567 มียอด 9.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งพออนุมานว่า รัฐบาล สามารถนำไปใข้ เพื่อตอบสนองแนวนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้ง 9.3 หมื่นล้านบาท จะถูกนำไปใช้ตามนโยบายได้ทั้งหมด

สำหรับแหล่งเงินอื่น ทำได้ผ่านการจัดหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่คือการเก็บภาษีให้ได้ เพิ่ม หรือต้องจัดหาจากการกู้ ซึ่งอาจออกเป็น พ.ร.ก. กู้เงินพิเศษฯ หรือ ปรับเพิ่ม งบประมาณรายจ่าย ทำให้ขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเปิดทางให้สามารถกู้ได้ แต่ก็ มีข้อจำกัด ในเรื่อง สัดส่วนการกู้เงินในโครงสร้าง งบประมาณ และ กรอบวินัยการคลัง ซึ่งกำหนดให้ต้องมีหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ของ GDP จากระดับปัจจุบันที่ 61.13% ซึ่ง หากกู้จนเต็มเพดาน 70% ของ GDP (17.54 ล้านล้านบาท) จะกู้เพิ่มได้อีก 1.56 ล้านล้าน บาท ซึ่งโดยหลักการแล้วไม่ควร ใช้จนเต็มเพดาน

สรุป งบประมาณที่สามารถนำมากระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคตมีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ 1.งบ สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเป็นส่วนที่ยังไม่มีแผนการใช้หรือหน่วยงานรับงบประมาณที่ชัดเจน มียอด 9.3 หมื่นล้านบาท 2.การจัดหารายได้เพิ่มเติม อาทิ พ.ร.ก. กู้เงินพิเศษฯ ซึ่งกำหนดให้ต้องมีหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ของ GDP จะกู้เพิ่ม ได้อีก 1.56 ล้านล้านบาท

4 กลุ่มนโยบายหาเสียงประชานิยม กับหุ้นที่ได้ประโยชน์

ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูลนโยบายประชานิยมต่างๆ ของแต่ละพรรค โดยสามารถ แบ่งแยกออกมาเป็น 4 หมวดหลัก มีรายละเอียดต่างๆ พร้อมกับหุ้นที่ได้ประโยชน์ดังนี้

ภายใต้การเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามา นโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง เป็นประเด็นที่ตลาด ให้ความสนใจ สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่ง รัฐ, การเติมเงินเข้ากระเป๋าตังดิจิทัล, การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน และ การขึ้นค่าแรง ขึ้นต่ำ ซึ่งในวันนี้จะนำเสนอใน 2 มาตรการแรก ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องใช้เม็ดเงินจาก งบประมาณแผ่นดิน หรือการกู้เงินเพิ่มเติม

1.บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ จาก 2 พรรค(พรรคชาติพลังประชารัฐ / พรรคชาติรวมไทยสร้าง ชาติ)

1.1 เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาท/เดือน ของพรรคชาติพลังประชารัฐ ซึ่งถือ เป็นการสานต่อนโยบายเดิมที่มีอยู่แล้วที่ 300 บาท/เดือน โดยเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่ รัฐบาลมอบให้กับคนที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปีสำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้ เพื่อเพิ่มวงเงินในบัตรประชารัฐ จะนำมาจากงบประมาณในช่วง 3 เดือนสุดท้าย ของ งบประมาณปี 2566 หลังจากได้รับเลือกตั้ง ทั้งนี้ประเมินมีผู้ได้รับสิทธิ์ ประมาณ 21.45 ล้านคน คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณเดือนละ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 1.8 แสนล้าน บาท(เพิ่มเติมจากงบประมาณเดิมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 300 บาท/เดือน อีก 1.02 แสนล้านบาท) ซึ่งหากอยู่ครบวาระ 4 ปี จะต้องใช้งบประมาณมากถึง 7.2 แสนล้านบาท โดย ประชาชนจะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ เดือนละ 700 บาท ทันทีหลังจากที่พรรคพลัง ประชารัฐได้รับการแต่งตั้ง

1.2 เพิ่มบัตรสวัสดิการพลัส 1,000 บาท/เดือน ของพรรคชาติรวมไทยสร้างชาติ เป็น นโยบายเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ แต่ให้วงเงินมากกว่าที่ 1000 บาท/เดือน ทั้งนี้หาก ประมาณการคนได้รับสิทธิ์เท่ากับนโยบายด้านบนที่ 21.45 ล้านคน คาดว่าจะต้องใช้ งบประมาณเดือนละ 2.1 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 2.5 แสนล้านบาท(เพิ่มเติมจาก งบประมาณเดิมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 300 บาท/เดือน อีก 1.80 แสนล้านบาท) ซึ่งหาก อยู่ครบวาระ 4 ปี จะต้องใช้งบประมาณมากถึง 1 ล้านล้านบาท

โดยรวมนโยบายดังกล่าวคาดเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มอาหาร และ กลุ่มเช่าซื้อ

2. เติมเงินกระเป๋าดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย ให้กับประชาชนทุกคนที่อายุ เกิน 16 ปี กำหนดให้ใช้จ่ายภายใน 6 เดือน โดยให้ใช้จ่ายภายในรัศมี 4 ก.ม. จากที่อยู่ตาม ทะเบียนบ้าน วงเงินที่ต้องใช้ตามนโยบายนี้มีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาท ถึงแม้ ผู้ออก นโยบาย จะยืนยันว่าไม่ใช่เงินสกุลใหม่ ไม่กระทบทุนสำรอง ไม่มีความผันผวน และไม่ สามารถนำมา Trade ในตลาดการเงินได้ แต่สามารถใช้เสมือนเป็นคูปองเพื่อแลกซื้อ สินค้า-บริการ อย่างไรก็ตามการที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้ตามจำนวนที่ชัดเจน ในมุมนี้ก็ดูเหมือนกลับไปสร้างภาระทางการคลัง เนื่องจากต้องมีเงินบาทเป็น Backup และพร้อมจ่ายออก ซึ่งด้วยปริมาณเงินที่สูงถึง 5 แสนล้านบาท ก็อาจเป็นปัจจัยที่จุดเงิน เฟ้อให้กลับมาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากนโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้ได้จริง ก็น่าจะทำ ให้การบริโภคภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ GDP ฟื้นตัวกลับขึ้นมาอย่าง ชัดเจน ทั้งนี้ต้องติดตามขั้นตอนการปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแนวนโยบายของธนาคารแห่ง ประเทศไทย หรือ การทำให้ประชาชนทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่ว หน้า หุ้นที่ได้ประโยชน์ ก็คือ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค กลุ่มอาหาร และ กลุ่มท่องเที่ยว

SET INDEX กับการหาเสียง สู่การเลือกตั้ง

อีกประมาณ 1 เดือน จะเข้าสู่วันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 66 ซึ่งในอดีตก่อนการเลือกตั้ง 1 เดือน หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 1.1% และหลังเลือกตั้ง 1 สัปดาห์มีโอกาสปรับตัวขึ้น 3.8% พร้อมกับ Fund Flow ที่ไหลเข้ามาสนับสนุนเสมอ

จะสังเกตได้ว่านโยบายต่างๆ เน้นแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นหลัก ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อกลุ่ม COMM, FIN, BANK, MEDIA, FOOD และอื่นๆ อย่าง CONMAT, CONS อย่างไรก็ตามนโยบายหาเสียงต่างๆ ต้องดูข้อมูลงบประมาณประกอบ ว่ามีเพียงพอหรือไม่? (ตามหัวข้อก่อนหน้า)

ดังนั้นการเลือกสะสมหุ้นที่ได้ประโยชน์จากธีมเลือกตั้ง ต้องเน้นเลือกหุ้นที่ราคา Laggard ตลาดในปีนี้มากๆ หรือยังให้ผลตอบแทน ytd ที่น้อยกว่า SET อาทิ FIN -10.3%ytd, FOOD -8.6%ytd, CONMAT -7.9%ytd, CONS -7.7%ytd, MEDIA -7.6%ytd, COMM -6.2%ytd ขณะที่ SET -4.6%ytd

ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำสะสมหุ้นธีมเลือกตั้งในกลุ่มที่ Laggard กว่าตลาด อาทิ JMT, SINGER, SNNP, CBG, SCC, STEC, CK, CPALL, CRC

ส่วนหุ้น Top picks เลือก CPALL STEC จาก Theme ข้างต้น และเลือก PTTEP จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่อง

OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66ใครรอด – ใครร่วง

ฝ่ายวิจัยฯ จะมานำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66 รายอุตสาหกรรม โดยแบ่ง เนื้อหาของแต่ละอุตสาหกรรม ตามการจัดตารางรายวัน ดังนี้

จันทร์10 เม.ย.66 กลุ่ม BANK + TOURISM

อังคาร 11 เม.ย.66 กลุ่ม ICT+ COMM

พุธ 12 เม.ย.66 กลุ่ม CONS + CONMAT + PROP

จันทร์17 เม.ย.66 กลุ่ม โรงไฟฟ้า

อังคาร 18 เม.ย.66 กลุ่ม AGRI + FOOD + FIN

พุธ 19 เม.ย.66 PETRO + ENERG

โดยวันนี้เป็นคิวของกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดทางพื้นฐาน ดังนี้

กลุ่มโรงไฟฟ้า ให้น้ำหนักเท่าตลาด (+QoQ / +YoY) ภาพรวมทิศทางกำไรปกติของ กลุ่มโรงไฟฟ้าในช่วง 1Q66 คาดจะเห็นการฟื้นตัวขึ้นชัดเจน QoQ หนุนจากกลุ่มโรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่ (IPP) อย่าง EGCO, RATCH ที่คาดจะมีปริมาณขายไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการ เรียกซื้อไฟจากภาครัฐฯ หลังจากผ่านพ้นช่วง low season ของการใช้ไฟฟ้าใน 4Q65 มาแล้ว รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) อาทิ BGRIM, GPSC ซึ่งมีสัดส่วนขายไฟฟ้า ให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสหกรรมค่อนข้างสูงราว 20-25% ของรายได้จากการขายไฟฟ้าโดยรวม ยังมีแรงหนุนหลักมาจากการประกาศปรับขึ้นค่า Ft รอบ ม.ค.-เม.ย. 2566 อีก 61.5 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คาดจะปรับตัวดีขึ้น QoQ ในขณะที่ GULF คาดกำไรปกติ 1Q66 อาจอ่อนตัวลง QoQ จากฐานกำไรในงวด 4Q65 ที่อยู่ใน ระดับสูงมาก รวมถึงยังมีแรงกดดันจากโครงการ BRK2 ปรัเทศเยอรมนีที่มีสัดส่วนการถือ หุ้นลดลงเหลือเพียง 25% จากเดิม 50% และคาดส่วนแบ่งกำไร GULF GUNKUL (GGC) จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงหลังจากผ่านพ้นช่วง High season ของลมมาแล้วใน 4Q65 แม้ อาจมีแรงหนุนบางส่วนจากการฟื้นตัวของฤดูกาลขายไฟฟ้าในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) และสัดส่วน margin กำไรในส่วนที่ขายไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสหกรรมของโรงไฟฟ้า SPP (สัดส่วนราว 10-14% ของรายได้จากการขายไฟฟ้าโดยรวม) ที่คาดจะปรับตัวดีขึ้นก็ ตาม

สำหรับหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คาดช่วง 1Q66 จะเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ช่วง ฤดูกาลของ solar จึงคาดกลุ่มที่จะมีผลประกอบการฟื้นตัว เช่น SSP เป็นต้น ในขณะที่ กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานลม, น้ำ อย่าง BCPG, GUNKUL, EA คาดจะถูกกดดันจากการออก จากฤดูกาลลม และเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง กดดันให้ผลประกอบการ 1Q66 คาดจะเห็น การปรับตัวลดลง QoQ

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มฯ เท่าตลาด โดยเลือก GULF (FV@65B) และ BGRIM (FV@48B) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมแก่การลงทุนในระยะยาวสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า โดย GULF คาดจะเห็นการฟื้นตัวของกำไรขึ้นใหม่อีกครั้งใน 2Q66 จากโครงการโรงไฟฟ้า ใหม่ๆที่เตรียม COD และถือเป็นหุ้นที่เห็นการเติบโตของกำไรโดดเด่นสูงสุดในกลุ่มฯ หนุน จากโครงการ Backlog ในมือสูงสุดเกือบ 4 พันเมกะวัตต์ ที่จะช่วยต่อยอดฐานกำไรธุรกิจ โรงไฟฟ้าให้เติบโตได้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2575 ในขณะที่ BGRIM ถือเป็นหุ้นที่คาดจะเห็น การฟื้นตัวชัดเจนในปี 2566 จากแรงหนุนในด้านค่า Ft เฉลี่ยในปี 2566 ที่คาดจะอยู่สูง กว่าปี 2565 และต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่เริ่มปรับตัวลดลง YoY

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย