การรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ และการเป็นวันซื้อขายสุดท้ายก่อนหยุดสงกรานต์ คาดทำให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา ส่วนราคาหุ้นก็ปรับขึ้นได้ยาก เนื่องจาก ขาดแรงหนุนจาก Fund Flow ทั้งสถาบันในประเทศ และต่างชาติ ส่วนปัจจัย แวดล้อมทางพื้นฐาน IMF ปรับประมาณการ World GDP Growth ปี 2023 มาอยู่ ที่ 2.8% (เดิม 2.9%) โดยคาดว่า GDP ของประเทศกำลังพัฒนาเติบโตเฉลี่ย 3.9% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วโต 1.3% ทั้งนี้ภาพการเติบโตที่ไม่สูงจะเป็นแรงกดดันให้ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในทิศทางที่ลดลง บนประมาณการดังกล่าว น่าจะทำให้ทิศทางของ Fund Flow ไหลเข้ามาหาผลตอบแทนที่ดีกว่าใน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมถึง ตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ส่วนอีกเรื่องที่น่าสนใจคือ การขึ้นเครื่องหมาย XD ซึ่งช่วง 14 – 30 เม.ย.66 มีบริษัทขึ้นเครื่องหมายถึง 84 บริษัท กดดัน SET Index 6.37 จุด
วันทำการสุดท้ายก่อนหยุดยาว ประกอบกับการรอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ น่าจะทำให้การซื้อขายเบาบาง ขณะที่SET Index ผันผวนในกรอบแคบช่วง 1590 - 1605 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก CPALL (BK:CPALL), PTTEP และ STEC
IMF ลดคาดการณ์GDP โลก เศรษฐกิจประเทศฝั่ง EMยังโตแรงแซง DM
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เผยแพร่ รายงาน World Economic Outlook ฉบับใหม่ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ เศรษฐกิจโลกลงเล็กน้อยเหลือ +2.8% ต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี(ลดลงจาก ม.ค.66 +2.9%) ส่วนปี 2566 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลก +3.0% (ลดลงจาก ม.ค.66 +3.1%) เนื่องจากผลประกอบการที่อ่อนแอลงในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่บางแห่ง รวมถึงความคาดหวังของการเข้มงวดทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่สูง อย่างยืดเยื้อ (persistent inflation)
ขณะที่หากแยกเป็นกลุ่มประเทศ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว +1.3%(เพิ่มขึ้นจาก ม.ค.66 +1.2%) โดยสหรัฐ +1.6%(เพิ่มขึ้นจาก ม.ค.66 +1.4%)ขณะที่โซนยุโรป +0.8%(เพิ่มขึ้น จาก ม.ค.66 +0.7%) อย่างไรก็ตาม IMF คาดว่า GDP Growth ปีนี้ของเยอรมนีและ อังกฤษอยู่ที่ -0.1%(เพิ่มขึ้นจาก ม.ค.66 -0.2%) และ -0.3%(ลดลงจาก ม.ค.66 +0.3%) ตามลำดับ
ขณะที่ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา +3.9%(ลดลงจาก ม.ค.66 +4.0%) โดยจีน +5.2%(ไม่ เปลี่ยนแปลงจาก ม.ค.66) อินเดีย +5.9%(ลดลงจาก ม.ค.66 +6.1%) ญี่ปุ่น +1.3%( ลดลงจาก ม.ค.66 +1.8%) และไทย +3.4%(ลดลงจาก ม.ค.66 +3.7%)
ขณะเดียวกัน IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จะชะลอตัวสู่ระดับ 7% หลังจาก แตะระดับ 8.7% ในปีที่แล้ว ตามการปรับตัวลงของราคาพลังงาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) ปี 2566 อยู่ที่ 5.1%
สรุป แม้ IMF จะลดคาดการณ์ GDP โลกลงจาก 2.9% เป็น 2.8% รวมถึงลด คาดการณ์ GDP ฝั่ง EM ลงจาก 4.0% เป็น 3.9% อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ GDP ของประเทศใน EM ทั้ง จีน อินเดีย ไทย ยังอยู่ระดับเกิน 3% ทั้งสิ้น ซึ่งสูงกว่าประเทศ ฝั่ง DM ที่โตราว 1%-2% เท่านั้น ทำให้ประเทศโซนเอเชียเป็นเป้าหมายหลักของ Flow ต่างชาติรวมถึงไทย คาดเป็นตัวพยุง SET Index ให้ผันผวนไม่มากนักโดยวันนี้ มองกรอบการเคลื่อนไหวระดับ 1590-1605 จุด
ตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ และสัปดาห์หน้ามีอะไรที่น่าติดตามบ้าง
วานนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจรายงาน 2 ตัวเลข ได้แก่
1. อัตราเงินเฟ้อจีน มี.ค.66 อยู่ที่ 0.7%YoY ต่ำกว่าตลาดคาดและชะลอตัวลงจาก เดือนก่อนที่ 1.0%YoY บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แข็งแรงนัก ทำให้ฝ่ายวิจัยฯคาดหวังการเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การลด ดอกเบี้ยนโยบาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการกระตุ้นการบริโภค และอื่นๆ
2. ยอดค้าปลีกในยุโรป Retail Sales ของเดือน ก.พ.66 อยู่ที่ -0.8%MoM และ3.0%YoY ดีกว่าตลาดคาดว่าจะหดตัวราว -0.8%MoM และ -3.5%YoY ทำให้ ภาครวมเศรษฐกิจยุโรป เริ่มมีสัญญาณบวกเล็กๆ หลังมีความกังวล Recession ช่วงก่อนหน้านี้
ขณะที่ช่วงวันหยุดในบ้านเรา ยังมีการประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ อาทิ อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ที่มีแนวโน้มลดลงมาอยู่ที่ระดับ +5.2%YoY ชะลอ ตัวจากเดือน ก.พ. ที่ระดับ +6.0%YoY ทั้งนี้ หากเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าตลาดคาด เชื่อว่า จะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้น นอกจากนี้ยังมีการประชุม FOMC Meeting Minutes (วันที่ 13 เม.ย. เวลา 1.00 ตามเวลาประเทศไทย) ในการจับสัญญาณทิศ ทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ทั้งนี้จากการสำรวจของ Fed Watch Tool มี โอกาสราว 70% ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 5.25% ในการประชุมในรอบเดือน พ.ค.66 และทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 2H23
ในส่วนสัปดาห์หน้า เริ่มต้นด้วยการประกาศตัวเลข GDP ของจีนใน 1Q66 โดยตลาดคาด ว่าจะขยายตัวราว +2.1%QoQ และ +3.8%YoY ขานรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจีน เปิดประเทศ นอกจากนี้ในช่วงปลายสัปดาห์ยังมีการรายงานดัชนี PMI Manufacturing ทั้งในยุโรปและสหรัฐ (ดังตารางด้านล่าง) ซึ่งสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการ ผลิตเดือน มี.ค.66
สรุป ประเด็นตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อ เนื่องจาก มี Indicator ที่สำคัญในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทั้ง CPI สหรัฐฯ, FOMC Meeting ที่จะ เป็นตัวกำหนดทิศทางของ FED และโอกาสเกิด Recession ของสหรัฐฯในอนาคต
XD กลับมาหนาแน่น หลังสงกรานต์ คาดกดดัน SET INDEX ราว 6 จุด
ในเดือน เม.ย. 66 มีหุ้นขึ้นเครื่องหมาย XD 103 บริษัท แบ่งเป็นช่วงก่อนสงกรานต์ 19 บริษัท กดดัน SET Index 1.6 จุด แต่ช่วงหลังสงกรานต์มีหุ้นขึ้นเครื่องหมาย XD 84 บริษัท และกดดัน SET Index ถึง 6.4 จุด
โดยรายชื่อ 15 หุ้นที่จ่ายปันผล และกดดัน SET มากสุดในช่วงหลังสงกรานต์(17 เม.ย.-30 เม.ย.66) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ธพ. เป็นหลัก อาทิ
• SCB XD 17 เม.ย.66 กดดัน SET 1.42 จุด
• KTB XD 18 เม.ย.66 กดดัน SET 0.78 จุด
• KBANK (BK:KBANK) XD 17 เม.ย.66 กดดัน SET 0.67 จุด
• TISCO XD 21 เม.ย.66 กดดัน SET 0.50 จุด
• BBL XD 21 เม.ย.66 กดดัน SET 0.47 จุด
สรุปคือ ตลาดหุ้นไทยเริ่มต้นวันที่ 17 เม.ย. 66 ถูกกดดันจากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของหุ้นใหญ่กลุ่ม ธพ. อย่าง SCB, KTB, KBANK , TISCO, BBL รวม 3.8 จุด และครึ่ง เดือนหลัง SET จะถูกกดดันกว่า 6.4 จุด ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำถือเงินสดบางส่วนราว 10-20% ของพอร์ตการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของตลาดฯ
OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66ใครรอด – ใครร่วง
ฝ่ายวิจัยฯ จะมานำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66 รายอุตสาหกรรม โดยแบ่ง เนื้อหาของแต่ละอุตสาหกรรม ตามการจัดตารางรายวัน ดังนี้
จันทร์10 เม.ย.66 กลุ่ม BANK + TOURISM
อังคาร 11 เม.ย.66 กลุ่ม ICT+ COMM
พุธ 12 เม.ย.66 กลุ่ม CONS + CONMAT + PROP
จันทร์17 เม.ย.66 กลุ่ม โรงไฟฟ้า
อังคาร 18 เม.ย.66 กลุ่ม AGRI + FOOD + FIN
พุธ 19 เม.ย.66 PETRO + ENERG
โดยวันนี้เป็นคิวของกลุ่ม CONS + CONMAT + PROP โดยมีรายละเอียดทางพื้นฐาน ดังนี้
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ให้น้ำหนักเท่าตลาด (+QoQ / -YoY) งวด 1Q66 ถือเป็น High Season ของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง จึงเห็นการฟื้นตัวของกำไรเมื่อเทียบกับงวด 4Q65 จาก ปัจจัยด้านฤดูกาล แต่หากเทียบกับงวด 1Q65 เชื่อว่าจะเห็นกำไรปรับตัวลดลงค่อนข้าง แรงของแทบทุกบริษัท มี 2 ปัจจัยลบเข้ามากดดันได้แก่ 1. กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ถดถอย จากภาวะเงินเฟ้อ และ 2. ต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานทรงตัวในระดับสูง ทำให้ต้นทุนสินค้า ในสต็อกทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามวัตถุดิบ lot ใหม่ที่มีราคาสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการไม่ สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปสู่ราคาสินค้าได้ทั้งหมด สำหรับบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ ได้แก่ SCC และ TPIPL ยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติม จาก Spread ธุรกิจปิโตรเคมีที่ลดลงเทียบ กับปีก่อน จึงน่าจะเห็นกำไรหดตัวลง 30-50%YoY เช่นเดียวกับบริษัทผลิตกระเบื้องอย่าง DCC ที่มีฐานลูกค้าหลักเป็นเกษตรกรที่พึ่งพิงรายได้จากสินค้าเกษตร คาดกำไรหดตัวลงไม่ ต่ำกว่า 30%YoY จากปัญหาต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาขายกระเบื้องที่ปรับตัว ลดลง ส่วน DRT แม้จะมีการกระจายฐานรายได้ไปสู่หลากหลายช่องทางการตลาดทำให้ ยอดขายยังเติบโตได้ 5-10%YoY แต่ก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น คาดจะ เห็นกำไรอ่อนตัวลง 5-10%YoY บริษัทในกลุ่มฯ ที่มีโอกาสเห็นกำไรเติบโต YoY ได้แก่ TASCO เพราะยังได้อานิสงค์จากการนำเข้า Feedstock ต้นทุนต่ำเข้ามาในเดือน พ.ย. 65 ทำให้แนวโน้ม margin น่าจะทำได้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ให้น้ำหนักเท่าตลาด (+QoQ / +YoY) การรับรู้รายได้ในงวด 1Q66 ของบริษัทรับเหมาฯ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเทียบกับ 4Q65 และ 1Q65 ตามมูลค่า Backlog ในมือ และไม่มีปัญหาแรงงานขาดแคลนเหมือนปีก่อน อีกทั้งหลาย บริษัทได้ผ่านการปรับประมาณการ Budget ก่อสร้างไปแล้วในงวด 4Q65 จนทำให้เกิดผล ขาดทุนหนัก อย่างเช่น ITD ,NWR,SYNTEC จึงเชื่อว่าอัตรา gross margin โดยเฉลี่ยของ กลุ่มรับเหมาฯ จะฟื้นตัวดีขึ้นเทียบกับ 4Q65 อย่างไรก็ตาม ในแง่ Bottom line ยังไม่โดด เด่นมากนัก เนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีค่อนข้างสูง ทำ ให้อัตรา gross margin โดยเฉลี่ยของกลุ่มยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ โดยบริษัทที่น่าจะ ทำกำไรเด่นใน 1Q66 คือ STEC(FV@15.5) มีโมเมนตัมของรายได้และ margin ดีต่อเนื่อง มาตั้งแต่งวด 4Q65 รวมไปถึงบริษัทเสาเข็มทั้ง SEAFCO และ PYLON ที่มีอัตราการใช้ กำลังการผลิตของเครื่องจักรสูงขึ้นมากในช่วง 1Q66 เมื่อเทียบกับงวด 4Q65 โดยอีก บริษัทที่น่าจับตามองคือ TTCL เพราะเป็นไตรมาสแรกที่ TTCL ไม่ต้องสำรองค่าเผื่อหนี้สูญตาม TFRS9 ไตรมาสละ 69 ล้านบาท หลังต้องแบกรับภาระดังกล่าวตลอด 3 ปีที่ผ่าน มา ส่วน CK คาดกำไรยังไม่เด่น เนื่องจากฐานรายได้ก่อสร้างยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการ ขยับขึ้น อีกทั้งเป็นไตรมาสที่ CK ไม่มีเงินปันผลรับจาก TTW และส่วนแบ่งกำไรจาก CKP อยู่ในระดับต่ำตามฤดูกาล แต่จะได้กระแสบวกจากการเซ็นสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลวง พระบางมูลค่า 9.8 หมื่นล้านบาท ที่น่าจะเกิดขึ้นภายในเดือน เม.ย นี้
กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้น้ำหนักเท่าตลาด (-QoQ / +YoY) คาดการดำเนินงานงวด 1Q66 ของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ ที่ฝ่ายวิจัยศึกษารวม 15 แห่ง จะมีกำไรปกติ ลดลง QoQ แต่จะเพิ่มขึ้นได้ YoY โดยกำไรปกติที่ลดลงจาก 4Q65 เกิดจากผลของฤดูกาล เนื่องจากปกติไตรมาส 4 ของทุกปีเป็นไตรมาสที่มีกำไรสูงสุดของปี เกิดจากการเปิด โครงการใหม่ โดยเฉพาะแนวราบจำนวนมาก และคอนโดฯ ใหม่ส่วนใหญ่มีกำหนดสร้าง เสร็จและโอนฯ ช่วงไตรมาสสุดท้าย มาผลักดันต่อยอดโอนฯ อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้หากเทียบ กับ 1Q65 คาดกำไรปกติยังเติบโต YoY จากการโอนฯ ต่อเนื่องของคอนโดฯ ใหม่ที่สร้าง เสร็จเมื่อปีก่อน และการมี Backlog แนวราบสิ้นปี 2565 ที่รอส่งมอบ ซึ่งส่วนใหญ่รับรู้ รายได้ในไตรมาสถัดไป รวมถึงการเปิดโครงการใหม่ 1Q66 ที่เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของ ปีก่อน นอกจากนี้การดำเนินงานของธุรกิจอื่น และบริษัทร่วมที่เกี่ยวเนื่องกับการเปิดเมือง เช่น ค้าปลีก โรงแรม คาดฟื้นตัวดีขึ้นตามการท่องเที่ยวไทยที่มีแรงหนุนจากจีนเปิด ประเทศ
หากพิจารณาการดำเนินงานรายบริษัท พบว่าบริษัทส่วนใหญ่ เช่น PSH, SC, SIRI, SPALI, ORI, BRI, LH, NOBLE, ASW และ SENA เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มฯ คือ กำไรลดลง QoQ แต่เพิ่มขึ้น YoY ขณะที่ AP, LALIN, LPN จะสวนทางกลุ่มฯ โดยประเมินกำไร เพิ่มขึ้น QoQ (แต่ลดลง YoY) เนื่องจาก AP มีการส่งมอบ 2 คอนโดฯ ใหม่ใน 1Q66 เทียบ กับ 4Q65 ที่ไม่มีรับรู้รายได้จากคอนโดฯ ใหม่ และถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายเปิดโครงการ ใหม่ที่มีจำนวนมากช่วงปลายปี สำหรับ QH คาดกำไรลดลง YoY และ QoQ จากมาร์จิ้น ขายลดลง เนื่องจากงวด 1Q65 รับรู้รายได้จากโครงการบ้านระดับบนที่มีมาร์จิ้นสูง ขณะที่ 1Q66 มียอดโอนฯ บ้านกลุ่มดังกล่าวน้อยลง นอกจากนี้การโอนฯ คอนโดฯ Q สุขุมวิทที่ ลดลง (ส่วนใหญ่จะโอนฯ 2Q66) และส่วนแบ่งกำไรจาก HMPRO ที่ลดลง เป็นอีกเหตุที่ทำ ให้กำไรลดลง QoQ ส่วน ANAN คาดผลประกอบการยังอ่อนแอ และเป็นบริษัทเดียวที่มี ผลขาดทุน เนื่องจากการโอนส่วนใหญ่มาจากโครงการพร้อมอยู่เดิมที่ขายค่อนข้างช้า (ยอดขาย 1Q66 ส่วนใหญ่เกิดกับโครงการใหม่ที่เปิดตัว 4Q65 และยังสร้างไม่เสร็จ)ขณะที่การส่งมอบคอนโดฯ JV ใหม่ 1 โครงการ คือ IDEO จุฬา-สามย่าน เพิ่งเริ่มปลาย มี.ค. ทำให้ยอดโอนฯ โครงการใหม่ยังมีไม่มาก
โดยสรุปแม้ทิศทางการดำเนินงานกลุ่มฯ 1Q66 ไม่เด่น เนื่องจากเป็นไตรมาสที่มีการเปิด โครงการใหม่น้อยสุดของปี ทำให้การขายโอนฯ ส่วนใหญ่คงมาจาก backlog ที่ยกมา ต่อเนื่องจากปี 2565 แต่การจ่ายเงินปันผลหลังประกาศงบปี 2565 ของหลายบริษัทที่ให้ ผลตอบแทนน่าสนใจเฉลี่ย 3-6% ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้น XD เดือน พ.ค. นี้ จะช่วยหนุนต่อราคา หุ้นระยะสั้น โดยเลือกหุ้นเด่น พื้นฐานดี และ ปันผลจูงใจ ได้แก่ AP (FV@B15.50), SC (FV@B5.10) และ ORI (FV@13.15)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities