สัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน ซึ่งโดยปกติจะเห็นมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง โดย นักลงทุนอาจอยู่ในโหมด การวางแผนท่องเที่ยว มากกว่าวางแผนการลงทุน ส่วน ปัจจัยแวดล้อมเข้านี้ เป็นพัฒนาการของตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ซึ่งส่วน ใหญ่ออกมาต่ำกว่าคาดสะท้อนการเข้าสู่ภาวะที่ชะลอตัว และถือเป็นรอยต่อของ การเปลี่ยนผ่านจากความกลัวเรื่องดอกเบี้ยสูง ไปสู่ความกลังเรื่อง Recession ชัดเจนมากขึ้น ส่วนในบ้านเราอยู่ในช่วงเวลาของการหาเสียงของพรรคการเมือง ต่างๆ ซึ่งภาพที่เห็นส่วนใหญ่มุ่งเน้นทางด้านนโยบายประชานิยม ซึ่งหาก ดำเนินการได้จริงก็จะเห็นการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการบริโภคภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะดำเนินการได้ ภายใต้งบประมาณปี 2567 ซึ่งน่าจะใช้จ่ายได้ปลาย 1Q67 เป็น อย่างเร็ว
ประเมินภาพการซื้อขาย 3 วันทำการก่อน สงกรานต์ น่จะเบาบาง และน่าจะทำให้ SET Index (หากไม่รวมน้ำหนักของ DELTA) อยู่ในกรอบแคบช่วง 1570 – 1585 จุด หุ้น Top Pick เลือก CPALL (BK:CPALL), IVL และ ORI
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาตึงตัว อย่างไรก็ตามตลาดยังมองว่า วงจรการขึ้นดอกเบี้ยของ FED จะจบลงในไม่ช้า
วันศุกร์ที่ผ่านมามีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลักๆ 3 ตัว ดังนี้
• การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มี.ค.66 เพิ่มขึ้น 2.36 แสนตำแหน่ง ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.26 แสนตำแหน่ง แต่ ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.38 แสนตำแหน่ง
• อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน มี.ค.66 อยู่ที่3.5% ลดลง จากเดือนก่อนหน้า และตลาดคาดที่ 3.6%
• ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง (Average Hourly Earnings) เดือน มี.ค.66 ปรับตัว ขึ้นตามคาดที่ +0.3% MoM และ +4.2%YoY ต่ำตลาดคาดเล็กน้อยที่ 4.3%YoY
แม้ตัวเลขตลาดแรงงานที่ประกาศออกมาจะดูตึงตัว แต่มองว่าอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงิน เฟ้ออย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากหากเจาะไปที่ตัวเลข การจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ ตลาดให้ความสำคัญ จะเห็นตัวเลขที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และทำระดับต่ำสุดนับ ตั้งเดือน ธ.ค. ปี 2020 และตัวเลข ค่าจ้างแรงงานราย ช.ม. ที่ปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 2021 ทำให้เงินเฟ้อที่มาจากฝั่งค่าแรงอาจไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อ อย่างมีนัยยะสำคัญ
ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่านี้ หาก พิจารณาจาก Fed watch tool จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยจะสิ้นสุดขาขึ้นในช่วง 1H23 ที่ระดับ 5.25% เท่านั้น ขณะที่ระยะถัดไป ดอกเบี้ยจะทยอยปรับตัวลงเรื่อยๆ จนถึงช่วงปลายปี 2024 ที่ตลาดคาดอยู่ระดับ 3.25% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ยในระยะถัดไปตามที่ตลาดคาดจริง อาจจะต้อง ระมัดระวัง และมีความเสี่ยงของการเกิด Recession ได้ สะท้อนได้จากข้อมูลในอดีจ เวลา อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลงแรงและเร็วเกินไป หุ้นมีโอกาสปรับตัวลงแรง เพราะต้องเผชิญ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย(Recession)
สรุป อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ดูเหมือนจะสิ้นสุดขาขึ้นและปรับตัวลงแรงและเร็วใน ช่วงเวลาถัดไป ดีต่อตลาดหุ้นในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่ปรับตัวลง อาจมี โอกาสให้เกิด Recession ได้ในอนาคต จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
แม้เงินเฟ้อไทยลดลง แต่ระยะถัดไปอาจลดลงยากขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) แม้จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย เดือนมี.ค. อยู่ที่ -1.7%YoY และ +2.83%YoY แต่ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่ายังมีความ เสี่ยงกดดันให้เงินเฟ้อในบ้านเราสูงขึ้น จาก 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
1. ราคาน้ำมันมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น หลัง OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ เพิ่ม 1.16 ล้านบาร์เรล/วัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566 บวกับความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาตร์ ในแถบภูมิภาคเอเชียที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งแถบคาบสมุทรเกาหลี รวมถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ – จีน
2. ผู้ประกอบการหลายรายยังอั้นต้นทุนไว้อยู่ หรือยังไม่ได้ส่งผ่านราคาให้กับ ผู้บริโภค สะท้อนจากผลการสำรวจของ ธปท. ที่รวบรวมข้อมูลจาก ผู้ประกอบการค้าปลีกที่ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วประเทศราว 20,000 สาขาร้านค้าทั่วประเทศ (คิดเป็น 40% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งหมด) ตั่งแต่ วันที่ 17 ม.ค. – 26 มี.ค. พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 21% ที่ส่งผ่านตันทุนสู่ ราคาสินค้าหมดแล้ว ส่วนที่เหลืออีกกว่า 79% ธุรกิจยังต้องแบกรับตันทุนที่ เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการาว 76% มีแนวโน้มการปรับขึ้นราคาในอีก 3 เดือน ข้างหน้า
3. นโยบายการอัดฉีดเม็ดเงินหลังเลือกตั้ง ปีนี้ยังเข้ามาไม่ได้เต็มที่ จะเห็นได้ว่า นโยบายหาเสี่ยงต่างๆ ในแต่ละพรรค เน้นการแก้ปัญหาปากท้องเป็นหลัก (รายละเอียดนโยบายตามรูปทางด้านล่าง) อย่างไรก็ตามการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อ ประชานิยมอาจจะเข้ามาได้ไม่เต็มที่ในปีนี้ เนื่องจากปีงบประมาณเก่าสิ้นสุดลง ก.ย. 66 และจะเห็นงบประมาณจากนโยบายใหม่ปี 67 จะจัดสรรและใช้ ประโยชน์ได้เต็มที่ในปีหน้าเป็นต้นไป
สรุปทั้ง 3 ปัจจัยยังเป็นตัวแปรสำคัญ ในการกดดันให้เงินเฟ้อไทยยืนระดับสูงในระยะ ถัดไปได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะถูกส่งผ่านมายังบริษัทจดทะเบียนที่อาจต้องแบก รับภาระต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูงและนานขึ้นได้
เงินทุนสำรอง ความหวัง FUND FLOW ไหลเข้าหุ้นไทยระยะถัดไป
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเดือน มี.ค. 2.24 แสนล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนที่ 2.17 แสนล้านเหรียญฯ หลังเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่ากว่า 3% ภายในเวลาเพียง แค่ 1 เดือน (จาก 35.23 บาท/เหรียญ เป็น 34.16 บาท/เหรียญ) ทำให้ประเทศไทยยังมีทุน สำรองที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะนำเข้าได้มากกว่า 9 เดือน (สูงกว่าเกณฑ์ของธปท.ที่ 3 เดือน อยู่มาก)
ขณะที่ระยะถัดไปยังมีปัจจัยบวกเข้ามาต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของภาคการ ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลดีต่อดุลบริการและดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเชื่อว่าจะทำให้ค่าเงินบาททรง ตัวมากขึ้น หนุนเสถียรภาพทางการเงินของประเทศให้แข็งแกร่งต่อเนื่อง
หากเชื่อมโยงมาที่ตลาดหุ้นไทย เงินทุนสำรองที่แข็งแกร่ง ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมาก ขึ้น หนุน Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้นในระยะถัดไป และในเชิง เปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า MEYG ในตลาดหุ้นไทย 4.1% ยังเปิดกว้างกว่าอยู่มากกว่า ตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่ง อาทิ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 3.6%, อินโดนีเซีย 1.7%, ฟิลิปปินส์ 1.8% เป็นต้น ทำให้ในระยะถัดคาดหวัง Fund Flow มีโอกาสไหลกลับเข้า มาช่วยพยุงตลาดหุ้นไทย
สำหรับ SET Index ก่อนหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปกติมูลค่าซื้อขายมักลดลง อย่างมีนัยฯ จึงคาดวันนี้น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ 1565 – 1685 จุด แนะนำ หุ้นธีมหน้าร้อน IVL CPALL และหุ้นปันผล ORI เป็น Toppick ในวันนี้
OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66ใครรอด – ใครร่วง
ฝ่ายวิจัยฯ จะมานำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ 1Q66 รายอุตสาหกรรม โดยแบ่ง เนื้อหาของแต่ละอุตสาหกรรม ตามการจัดตารางรายวัน ดังนี้
• จันทร์10 เม.ย.66 กลุ่ม BANK + TOURISM
• อังคาร 11 เม.ย.66 กลุ่ม ICT+ COMM
• พุธ 12 เม.ย.66 กลุ่ม CONS + CONMAT + PROP
• จันทร์17 เม.ย.66 กลุ่ม โรงไฟฟ้า
• อังคาร 18 เม.ย.66 กลุ่ม AGRI + FOOD + FIN
• พุธ 19 เม.ย.66 PETRO + ENERG
โดยวันนี้เป็นคิวของกลุ่ม BANK + TOURISM โดยมีรายละเอียดทางพื้นฐาน ดังนี้
กลุ่ม BANK ให้น้ำหนักเท่าตลาด (Neutral) และคาดกำไร 1Q66 +QoQ / +YoY สวัสดีปีใหม่ (แบงค์) ไทย หลังเข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบกลุ่มธนาคาร เริ่ม ธ.พ. แรก TISCO ในวันที่ 18 เม.ย. 66 ก่อนจะปิดท้ายด้วย ธ.พ. ใหญ่ อย่าง KBANK (BK:KBANK) และ SCB วันที่ 21 เม.ย. 66 โดยแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 1Q66 อยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 34% QoQ (+5% YoY) ขับเคลื่อนด้วยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ของ ธ.พ. ใหญ่รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงตามฤดูกาล อีกทั้ง Credit Cost ของ KBANK ต่ำลง จากฐานสูงงวดก่อน หากกำไรสุทธิกลุ่มฯ 1Q66 เป็นไปตามคาด จะคิดเป็นสัดส่วนราว 25% ของประมาณการกำไรกลุ่มฯ ของฝ่ายวิจัย และ Bloomberg Consensus (ณ 6 เม.ย. 66) ปี 2566 บ่งชี้โอกาสในการ Upgrade Earning อย่างมีนัยฯ ต่ำ มองว่ากรณีที่ จะมี Upgrade Earning กำไรสุทธิ 1Q66 อาจจะต้องคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของ คาดการณ์กำไรสุทธิทั้งปี รายละเอียดเพิ่มเติม Industry Update วันนี้ (LINK)
ภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ที่ 1.75% ถือเป็นระดับเดียวกับต้นปี 2562 ขณะที่ CPI และ PPI มี.ค. 66ลดลง MoM จึงคาดใกล้ถึงปลายทางดอกเบี้ยขาขึ้นไทย แต่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยไม่ได้ขึ้นสูงเท่าอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ คาดดอกเบี้ยไทย ยังไม่กลับทิศ ทางพื้นฐานบวกต่อ NII ปี 2566 ของ ธ.พ. ใหญ่
เท่าตลาด จาก Regulatory Risk และ Macro Risk แต่ด้วย PBV ซื้อขายไม่แพงที่ 0.67 เท่า ถือว่าสมเหตุสมผล โดยยังให้น้ำหนักไปที่คุณภาพสินทรัพย์สำหรับ ธ.พ. ใหญ่ เรียงดังนี้ BBL(FV@B174) > KTB(FV@B20.3) > SCB(FV@B132) > KBANK(FV@B159) ส่วน ธ.พ. เล็กเลือก TISCO(FV@B108) > KKP(FV@B77)
กลุ่ม TOURISM ให้น้ำหนักเท่าตลาด (Neutral) และกำไร 1Q66 ทรงตัว QoQ / +YoY ทิศทางการดำเนินงานหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว 1Q66 เบื้องต้นกลุ่มที่มีโครงสร้าง รายได้จากไทยเป็นหลัก อย่าง AOT (BK:AOT), CENTEL และ ERW มองว่าแนวโน้มรายได้มีแรง หนุนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยงวด 1Q66 เบื้องต้นที่ประมาณ 6.5 ล้านคน เพิ่ม 18% QoQ และ 1,199% YoY (ฟื้นตัวสู่ระดับ 60% ของงวด 1Q62) คาดบวก ต่อเนื่องถึง Economies of scale ผลักดัน Margin ให้ดีขึ้น ในทางตรงข้าม MINT ที่มี โครงสร้างรายได้ประมาณ 50% มาจาก NH Hotel ใน EU ชะลอ QoQ (+ YoY) เพราะ เป็นช่วง Low Season ของการเดินทางใน EU
ในขณะที่ 2Q66 คาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยชะลอตัวเล็กน้อย QoQ (+YoY) หลังผ่าน High Season ของการท่องเที่ยวไทย แต่มีปัจจัยมาช่วยประคองไม่ให้ ลด QoQ มากนัก เนื่องจากการเริ่มเปิดประเทศของจีนตั้งแต่ต้นปี ภาพดังกล่าวประเมิน ส่งผลให้การดำเนินงานบริษัทที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยเป็นหลักอย่าง CENTEL (โรงแรมในมัลดีฟส์เป็น Low Season ด้วยเช่นกัน) และ ERW ชะลอตัว QoQ (+YoY) อย่างไรก็ตามมองว่า MINT การดำเนินงานงวด 2Q66 จะ Outperform กลุ่มฯ ขับเคลื่อนด้วย High Season ของการเดินทางใน EU นอกจากนี้ AOT มีลุ้นเชิง QoQ จากส่วนลดให้กับคู่ค้าทั้งสายการบินและการบริหารพื้นที่ในสนามบิน ทยอยหมดลง ตั้งแต่ 1 เม.ย. 66
ด้วยหุ้น Reopening (สนามบิน, โรงแรม, ศูนย์การค้า และร้านอาหาร) นับตั้งแต่ไทยมี แผนเปิดประเทศตั้งแต่สิ้นปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนผ่าน SETHOTEL Index ตั้งแต่สิ้นปี 2564 ถึง 7 เม.ย. 66 ปรับตัวเพิ่ม 46% ตรงข้ามกับ SET Index ช่วง เดียวกันที่ติดลบ 4.9% นำโดย CENTEL (+78%), ERW (+61%), AOT (+18%) และ MINT (+7%) ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนหุ้นกลุ่ม Reopening จึงมองไปที่หุ้นที่ราคายัง ปรับตัวขึ้นไม่มากเท่ากลุ่มฯ กอปรกับงวด เม.ย. – มิ.ย. 66 ผลการดำเนินงานมีโอกาสทำ ได้ดีกว่ากลุ่มฯ ตามที่กล่าวข้างต้น น่าจะมี Risk to reward น่าสนใจกว่า อย่าง AOT(FV@B80) และ MINT(FV@B38) รายละเอียดเพิ่มเติมตามบทวิเคราะห์ฉบับล่าสุด ดังนี้ กลุ่มท่องเที่ยว (LINK) และ AOT (LINK)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities