รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

สภาพคล่องส่วนเกินยังคอยช่วงพยุงตลาด 

เผยแพร่ 31/03/2566 09:41
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตลาดหุ้นโลกเข้าสู่โหมด Risk On อ่อนๆ หลังประเด็น Bank Run ค่อยๆ ผ่อน คลายลง หลัง CDS ของ Deutsche Bankและ Credit Suisse ลดลงต่อเนื่อง บวก กับตลาดหุ้นได้สภาพคล่องส่วนเกินหนุนเข้ามาในระบบ ทั้งจากงบดุลของสหรัฐที่ ขยับขึ้นมา 3.9 แสนล้านเหรียญในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา บวกกับความคาดหวัง การใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของ Fed สะท้อนจากข้อมูล Fed Watch Tool คาดว่าดอกเบี้ยสหรัฐปลายปี ในเดือน ก.พ. เคยคาดว่าอยู่ที่ 5.5% ล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 4.5% ส่วนคืนนี้รอติดตามตัวเลข PCE สหรัฐ เดือน ก.พ. (เดือน ที่แล้วเติบโต 5.4%YoY) กลับมาที่ในประเทศมีการรายงานตัวเลขส่งออก เดือน ก.พ. 66 หดตัว -4.7%YoY (ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5) หลังเศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าชะลอตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจบ้านเรา หวังพึ่งภาคการท่องเที่ยว การฟื้น เศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ส่วนภาพตลาดหุ้นไทย ภายใต้สภาพคล่องเข้ามา หล่อเลี้ยงในระบบ ถ้าอิงกับ MEYG ปัจจุบันที่ 3.75% มีโอกาสเห็น SET Index ขยับขึ้นไป 1670 จุด ในช่วงท้ายของปีได้

เริ่มเห็น Fund Flow ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาค ยังคงคาดหวังการไหลกลับมา ในไทย วันนี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1595 – 1610 จุด Toppick เลือก หุ้นสภาพคล่องสูง มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว ADVANC PTTEP CK

ตลาดผ่อนคลายความกังวลปัญหาสถาบันการเงิน วันนี้รอติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ-ยุโรป

ตลาดหุ้นเข้าสู่โหมด Risk-On ต่อเนื่อง และวานนี้ยังอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น โดยฝั่งสหรัฐปิด ตัวราว -0.2% ถึง +0.7% ส่วนฝั่งยุโปปับตัวเพิ่มขึ้นราว +0.7% ถึง +1.3% หลังความ กังวลปัญหาสถาบันสหรัฐ-ยุโรปผ่อนคลายลงเรื่อยๆ สะท้อนจากดัชนีราคาตลาดหุ้นส่วน ใหญ่ อาทิ Down Jones, S&P500, Euro Stoxx 50, SET ฯลฯ ดีดตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ ก่อนการปิดตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ

ขณะที่วานนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ของ ECB (นางอิซาเบล ชนาเบล) ออกมาเผยว่าธนาคาร พาณิชย์ในยุโรปไม่พบภาวะแห่ถอนเงินเหมือนดังเช่นที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ รวมถึง Credit Default Swap (CDS) ของ Deutsche Bank และ Credit Suisse Bank มีการปรับตัว ลดลงมาต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันตัวเลขทางเศรฐกิจที่ทยอยประกาศออกมาในช่วงนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อ ว่าธนาคารกลางต่างๆ จะนำไปประกอบการพิจารณาทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน ในระยะถัดไป โดยข้อมูลล่าสุดในฝั่งสหัรฐฯ ที่มีการรายงานออกมาค่อนข้างแย่กว่าคาด ซึ่ง อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ Fed ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทางการสหรัฐฯ ปรับประมาณการ GDP 4Q65ในรอบ 3อยู่ที่ 2.6%QoQ ต่ำ กว่าตลาดคาดที่ 2.7% และลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 3.2%QoQ เนื่องจากการ ส่งออกและการบริโภคที่อ่อนตัวลง หลังได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำ ให้ประชาชนบริโภคสินค้าและบริการในปริมาณที่ลดลง

Initial jobless claim ล่าสุดอยู่ที่ 198,000 ตำแหน่ง สูงกว่าครั้งก่อนที่ 191,000 ตำแหน่งและสูงกว่าตลาดคาดที่ 196,000 ตำแหน่ง สะท้อนภาค แรงงานสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลง

ส่วนในวันนี้ยังมีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม ทั้งเงินเฟ้อยุโรปเดือน มี.ค. โดยตลาดคาดว่า จะปรับตัวลดลง รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อ Personal Consumption Expenditure (PCE) สหรัฐฯ เดือน ก.พ. อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อยุโรปที่ยังอยู่ในระดับสูง จนทำให้ Real Interest Rate ปัจจุบันติดลบสูงถึง 5.0% ขณะที่สหรัฐอยู่ที่ระดับ -1.04% หลังจากนี้อาจเห็นความ แตกต่างกันมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB ที่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุก ต่อไป สวนทางกับ Fed ที่เริ่มเห็นปลายทางวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

สรุป ระดับความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสถาบันการเงินผ่อนคลายลง หนุนตลาดหุ้นเข้าสู่ โหมด Risk-On ต่อเนื่อง ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามหลังจากนี้คงเป็นการดำเนิน นโยบายการเงินของธนาคารกลางที่อาจเห็นความแตกต่างกันมากขึ้นระหว่าง ECB ที่ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกต่อไปเนื่องจากเงินเฟ้อยังสูง ซึ่งสวนทางกับ Fed ที่เริ่มเห็น ปลายทางวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น หลังมีสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

ส่งออกไทย ก.พ. ยัง -4.7%YOY กดดันเศรษฐกิจบ้านเราหวังพึ่งภาค การท่องเที่ยว + บริโภคครัวเรือนเป็นหลัก

ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่ออกมาแย่กว่าคาด (รายละเอียดตามหัวข้อด้านบน) ทำให้ ประเทศเหล่านี้ มีการค้าขายกับประเทศไทยน้อยลงด้วย สังเกตได้จากอัตราการหดตัว ของการส่งออกจากไทยไปยังประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทย 4 อันดับแรก อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตามลำดับ ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแย่ตามไปด้วย ซึ่งวานนี้ตัวเลข ส่งออกของไทยประจำ ก.พ.66 -4.7%(ตลาดคาด -7.0%) หรือมีมูลค่า 22,376 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ +1.1%(ตลาดคาด +2.0%) ทำให้ดุลการค้ายังคงติดลบ 1,113 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ทั้งนี้คาดว่าในไตรมาส 1 ของปีนี้ต่อเนื่องไตรมาส 2 การส่งออกไทยยังคงติดลบ เนื่องจากไตร มาส 1 ประเทศคู่ค้ายังคงมีสินค้าที่ค้างสต๊อกอยู่จำนวนมาก ดังนั้นการส่งออกในไตรมาส 2 คาดว่ายังคงติดลบต่อไป แต่จะติดลบเป็นตัวเลขหนึ่งหลัก โดยเป้าหมายส่งออกทั้งปีนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงอัตราการขยายตัวไว้ที่ 1-2%

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะขาดดุลการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีแต่เศรษฐกิจยังมีโอกาส ฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว ที่หนุนด้วยการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ, การเปิด ประเทศของจีน รวมทั้ง High Season ของการท่องเที่ยวไทย + การลงทุน ที่งบประมาณ รายจ่ายลงทุนประจำปีงบประมาณ 2566 เพิ่มขึ้น 17.7%YoY เป็น 0.66 ล้านล้านบาท + การบริโภคภาคครัวเรือน อาทิ โครงการช้อปดีมีคืนและเราเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น

เศรษฐกิจไทยปี 2566 มีแนวโน้มเติบโต แม้จะพึ่งพาภาคการค้าระหว่างประเทศได้ น้อยลง เนื่องจากยังมีความหวังของการฟื้นตัวของภาคการบริโภคภายในประเทศและ ภาคท่องเที่ยวเป็นหลัก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ฯโดยประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 ธปท. คาดเติบโต GDP Growth ปีนี้ +3.6% (GDP โลกหลายๆสำนักคาดโตเฉลี่ย 2.3%) สำหรับตัวเลือกในกลุ่มดังกล่าว ชอบ AOT (BK:AOT) ERW STEC CRC CPALL (BK:CPALL) เป็นต้น

ตลาดหุ้นฟื้นตัวเร็ว หลังปัจจัยกดดันคลี่คลายลง หนุน TARGET SET มี UPSIDE เพิ่มขึ้น

ตลาดหุ้นหลายแห่งฟื้นตัวเร็วและแรง จนทำให้ Ytd พลิกกลับมาเป็นบวก อาทิ Nasdaq +14.8%, Germany +11.5%, S.Korea +10.6%, Europe +7.0%, Japan +6.5%, MSCI World +6.0% เป็นต้น เนื่องจากปัญหาสถาบันการเงินผ่อนคลายมากขึ้น หลัง ภาคเอกชนยังเข้ามาปิดดีลซื้อกิจการ อาทิ UBS ควบรวม Credit Suisse, First Citizens ควบรวม SVB เป็นต้น

ขณะที่รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเสริมสภาพคล่อง ดังจะเห็นได้ จากขนาดงบดุล (Balance Sheet) ของ Fed ที่กลับมาเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 3.9 แสนล้าน เหรียญฯ ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ หนุนให้งบดุลของสหรัฐล่าสุดอยู่ที่ 8.78 ล้านล้านเหรียญ อีกทั้งหากพิจารณา Fed watch Tool จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใกล้ยุติวงจรขาขึ้นแล้ว โดยมีเพดานอยู่ที่ 5.0% เท่านั้น (ระดับเดียวกับปัจจุบัน) ขณะที่ ปลายปีมีโอกาสเห็นอัตราดอกเบี้ยระดับ 4.5% ประเด็นที่กล่าวมา ทำให้บรรยากาศความ ผันผวนในตลาดการเงินผ่อนคลายความกังวลไปได้ในระดับหนึ่ง

ดังนั้น ภาวะปัจจุบันที่มีแรงหนุนจากสภาพคล่องส่วนเกิน ทำให้มีโอกาสเห็น Flow ต่างชาติ ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย ซึ่งเวลามีการเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน หรือ QE ตลาด หุ้นมักปรับขึ้น และซื้อขายบน P/E ที่สูงกว่าปกติ ขณะเดียวกันระดับ MEYG ค่อยๆ ลดต่ำลง ซึ่งในอดีตมีหลายๆครั้ง MEYG ที่ต่ำกว่าระดับ 3% (ค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ 4.2%) ภายใต้ สถานการณ์สภาพคล่องส่วนเกินล้นระบบ หรือกรณีที่มีโอกาสเห็นการปรับลดดอกเบี้ย ได้ ผลลัพธ์ คือ ที่ MEYG 4.0% SET อยู่ที่ 1610 จุด ถือเป็นโซนน่าสะสม ขณะที่ MEYG 3.75% (ใกล้เคียง MEYG ระดับปัจจุบัน) SET มีโอกาสขึ้นไปแตะ 1670 จุดได้

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นสภาพคล่องสูง มีแรงผลักดันเฉพาะตัว, Downside กำไรจำกัด ADVANC(หุ้นเทคสภาพคล่องสูง) CK(หุ้นรับเหมาราคา Laggard ปลด Overhang) PTTEP(หุ้นใหญ่อิงราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น)

ศาลปกครองสูงสุดตัดสินคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นบวกต่อ BEM และ CK

วานนี้ ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้อง คดีที่ BTSC ยื่นฟ้องบอร์ดคัดเลือก และ รฟม. ว่ายกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี รอบแรกไม่ชอบ โดยศาล เห็นว่าการยกเลิกประมูลดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยอำเภอใจและเอื้อต่อเอกชนรายใดเป็น การเฉพาะ ถือเป็นการปลดล็อกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งสำคัญ แม้ปัจจุบันยังเหลือ อีก 2 คดีที่รอคำตัดสินของศาลคือ 1. คดีศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ BTSC ฟ้องการแก้เอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอการประมูล(RFP) และการยกเลิกการ คัดเลือกฯรอบแรกโดยทุจริต โดยศาลอาญาฯ พิพากษายกฟ้อง ปัจจุบัน BTSC อยู่ระหว่าง ยื่นอุธรณ์ และ 2. คดีศาลปกครองกลาง กรณีที่ BTSC ฟ้องการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ไม่ ชอบ เพราะ RFP กีดกัน BTSC ซึ่งศาลปกครองกลางไม่รับคำร้องขอทุเลาของ BTSC แต่ หากพิจารณาความคืบหน้าของคดีที่เหลืออยู่และอ้างอิงคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าท้ายที่สุด BEM ซึ่งเป็นผู้เสนอผลตอบแทนให้ภาครัฐสูงสุดในการประมูล ครั้งที่ 2 จะได้ลงนามสัญญา แต่จะต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาเป็นผู้อนุมัติ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้น อย่างเร็วที่สุดในเดือน ส.ค 66 แม้จะล่าช้าไปเดิมเกือบ 1 ปี ก็ตาม

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

โดยฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ BEM (FV@Bt 11.50) ซึ่งได้รวมผลบวกจากโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มเข้าไปใน FV แล้ว 1.70 บาท และแนะนำ ซื้อ CK (FV@Bt 27.00) ที่จะเข้า ไปรับงานติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก มูลค่า 1.09 แสนล้าน ต่อจาก BEM

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

รอสิ้นปี 2566 ได้แค่ 1670
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย