กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.75% โดย เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งจากภาคการท่องเที่ยวและส่งออกที่ฟื้นตัว ขณะที่ สภาพคล่องส่วนเกินมีมากพอ ส่วนเงินเฟ้อยังต้องติดตามเพราะการผลักภาระ ต้นทุนส่วนเพิ่มไปยังผู้บริโภคยังไม่จบ ส่วนทิศทางในอนาคต กนง. ยังไม่ปิดโอกาส ที่จะปรับขิ้นดอกเบี้ยต่อ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในขาขึ้นเป็นแรงกดดัน โดยตรงมายังตลาดหุ้นผ่านการทำให้Market Earning Yield Gap (MEYG) แคบ ลง ซึ่งตามหลักการแล้วก็จะทำให้ค่า PER เป้าหมายของตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม หากจะคงระดับค่า PER ไว้ได้ หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งคือการทำให้นักลงทุน ยอมรับ MEYG ที่ต่ำลง ก็ต้องหวังพึ่ง Fund Flow เข้ามาหนุน ทั้งนี้จากข้อมูลใน อดีตพบว่าหาก Fund Flow ไหลเข้าในบางช่วงเวลา MEYG ก็ลงมาต่ำกว่า 4%ได้
หากยังไม่เห็นสัญญาณการไหลกลับมาของ Fund Flow เชื่อว่า SET Index จะ ปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างยาก วันนี้ประเมินกรอบช่วง 1600 –1620 จุด หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, CRC และ STEC
SENTIMENT ตลาดหุ้นโลกผ่อนคลาย หนุน SET INDEX วันนี้
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 1.0%-1.8% ขณะที่ตลาดหุ้นโซนยุโรป ปรับตัวขึ้น ราว 1.0%-1.5% จากปัญหาสถาบันการเงินผ่อนคลายมากขึ้น หลังรัฐบาลเร่งให้ความ ช่วยเหลือผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเสริมสภาพคล่อง อีกทั้งภาคเอกชนยังเข้ามาปิดดีลซื้อ กิจการ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ปัญหาลุกลามและเรียกความเชื่อมั่นให้กับภาคธนาคาร ขณะที่ วานนี้บริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯอย่างไมครอน เทคโนโลยี ได้เปิดเผยแนวโน้มผล ประกอบการที่สดใสในอนาคต เนื่องจากยอดขายผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มี แนวโน้มแข็งแกร่ง
ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้หุ้นกลุ่ม Consumer Discretionary(สินค้าฟุ่มเฟือย), Financial(สถาบันการเงิน) และ Information Technology(IT) ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 1.9% 1.8% 1.2% ตามลำดับ
สรุป ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดบวกราว 1%-2%จากที่เริ่มผ่อนคลายจากปัจจัยลบต่างๆ คาด เป็น Sentiment เชิงบวกต่อ SET Index วันนี้ให้ยืนตัวในแดนบวกได้ โดยวันนี้มอง กรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ระดับ 1500-1620 จุด
กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.75% ตามคาด
กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% สอดคล้องกับเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ อีกทั้งยังกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วง Pre-Covid แล้ว
สำหรับเหตุผลที่ กนง. ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้หลักๆ มาจาก
-
เศรษจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง กลับมาอยู่ในช่วง Pre-covid ขณะที่ระยะถัดไปยังมี แนวโน้มเติบโตจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยกนง. ปรับคาดการณ์จำนวน นทท. ปี 2566 จาก 25.5 ล้านคน เป็น 28 ล้านคน และประเมิน GDP66F อยู่ที่ +3.6%YoY (เดิม 3.7%)
-
การส่งออกมีสัญญาณฟื้นตัวจากช่วง 4Q65 และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัว ชัดเจนขึ้นช่วง 2H66ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีน
-
เงินเฟ้อไทยยังไม่เข้าสู่กรอบเป้าหมายกรอบบนที่ 3% โดยล่าสุด CPI เดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ 3.79% รวมถึงเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ในปัจจุบัน (เดือน ก.พ. +1.93%YoY) ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง และจาก การสำรวจผู้ประกอบการหลายรายยังไม่ส่งต่อภาระต้นทุนให้กับผู้บริโภค ซึ่ง อาจทำให้เงินเฟ้อฝั่ง Demand ลดลงได้ช้าในระยะถัดไป
-
ภาวะการเงินตึงตัวขึ้น แต่โดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย และไม่เป็น อุปสรรคต่อการระดมทุนของภาคเอกชน ขณะที่ธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการยัง ได้รับสินเชื่อใหม่ต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่สูงถึง 47.2%
ขณะที่แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินระยะถัดไปยังมุ่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมี เสถียรภาพ และพร้อมจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่อาจอยู่ใน ระดับสูงกว่าคาด (ประเมินเงินเฟ้อปีนี้ในกรอบ 1 –3%) รวมถึงการเติบโตของอุปสงค์และ ภาคการท่องเที่ยวที่ยังมี Upside ขณะที่ปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ผ่านมา ไม่ได้กระทบระบบการเงินไทยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สรุป กนง. มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ติดต่อกันเป็นครั้งที่5 มาอยู่ที่ระดับ 1.75% สอดคล้องกับเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ขณะที่แนวโน้มการดำเนินนโยบาย การเงินหลังจากนี้ยังคงต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ, ภาพรวม เศรษฐกิจ, ผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย, ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ประเทศ เป็นต้น
สภาพคล่องส่วนเกิน ยังเป็นแรงผลักดันและหนุนตลาดหุ้นในช่วงนี้
ตลาดหุ้นโลกฟื้นขึ้นมาได้ดีในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากสภาพคล่องส่วนเกิน ในระบบ หลังจาก Fed มีการเพิ่มสภาพคล่องในระบบ ธ.พ. อีกทั้งยังสอดคล้องกับข้อมูล ในอดีตเวลามีการเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน หรือ QE ตลาดทั่วโลกรวมถึงไทยมักจะ ปรับขึ้นได้ดี จนซื้อขายบน PER ที่สูงกว่าปกต
อีกทั้งในช่วงที่สภาพคล่องล้น ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสขยับขึ้นจน ระดับ MEYG ค่อยๆ ลด ต่ำลง ซึ่งในอดีตมีหลายๆ ครั้งที่ตลาดสามารถซื้อขายบน MEYG ที่ต่ำกว่าระดับ 3% (ค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ 4.2%)
ดังนั้นในภาวะความคาดหวังสภาพคล่องที่เติมเข้ามา ด้วยการเพิ่ม QE หรือความหวัง จากการลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป น่าจะหนุนหุ้นไทยให้ซื้อขายบน MEYG ที่ระดับต่ำ กว่า 4% หรือ หรือ P/E สูงกว่า 17.5 เท่า ได้เป้าหมายดัชนีมีโอกาสสูงกว่า 1610 จุด แต่ถ้าอิงกับ MEYG ณ ปัจจุบันที่ 3.75% จะได้ระดับดัชนีที่มีแรงหนุนจากสภาพคล่อง ณ ปลายปี ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1670 จุด
ส่วนหนุนเด่นวันนี้ แนะนำหุ้นสภาพคล่องสูง (เป้าหมายของ Fund Flow) มีปัจจัย บวกเฉพาะตัว อย่าง CRC (มีประเด็นซื้อ Vincom), ADVANC (ฟื้นตามหุ้นเทคโนโลยี โลก), STEC (ราคา Laggard หุ้นธีมการเมือง) เป็น Toppick ในวันน
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities