การปรับตัวขึ้นมาของ SET Index รอบนี้จนขึ้นมายืนเหนือ 1600 จุด มีข้อสังเกตุที่ สำคัญบางประการคือ มูลค่าการซื้อขายไม่สนับสนุน ขณะที่เมื่อพิจารณาปัจจัย แวดล้อมทางพื้นฐาน ก็ยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่ชัดเจน และหากจะเชื่อว่าเป็นการ ปรับขึ้นเพราะ Window Dressingก็ยังไม่เห็นการกลับมาของแรงซื้อกลุ่มนักลงทุน สถาบันในประเทศ ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวทำให้เห็นว่าการปรับขึ้นของ SET Index รอบนี้ดูไม่แข็งแรง ดังนั้นโอกาสที่จะทะลุผ่านระดับ 1610 จุดขึ้นไป ก็เป็น เรื่องที่ยาก และหากเกิดทะลุผ่านขึ้นไป เราก็เชื่อว่าเป็นระดับที่ควรลดพอร์ตโดย การขายหุ้นบางส่วนทำกำไร สำหรับปัจจัยที่ติดตามวันนี้ คือการประชุม กนง. ซึ่ง ถูกคาดหมายว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ 1.75% แต่สิ่งที่ต้อง พิจารณาต่อคือการปรับขึ้นในรอบนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายของวัฎจักรขาขึ้นหรือไม่
การปรับขึ้นของ SET Index โดยที่ไม่มีเหนุสนับสนุนที่ชัดเจน และมูลค่าการซื้อ ขายไม่สนับสนุน น่าจะทำให้ไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้าน 1610 จุด ไปได้ง่ายๆ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1595 จุด หุ้น Top Pick เลือก CBG, CK และ PTTEP
ตลาดหุ้นยังไม่ค่อยน่าไว้วางใจ หลังมีปัจจัยเสี่ยงรออยู่
ตลาดหุ้นผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในฝั่งสหรัฐปรับตัวขึ้นมาเฉลี่ย 0.15%Wtd ขณะที่ฝั่งยุโรปดีดตัวขึ้นมาได้เฉลี่ย 1.06%Wtd เนื่องจากปัญหาสถาบัน การเงินผ่อนคลายมากขึ้น หลังรัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเสริม สภาพคล่อง อีกทั้งภาคเอกชนยังเข้ามาปิดดีลซื้อกิจการ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ปัญหาลุกลาม และเรียกความเชื่อมั่นให้กับภาคธนาคาร อย่างไรก็ตามยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจเข้ามา จำกัด Upside ในตลาดหุ้น ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้เริ่มมีปรับตัวในกรอบแคบ
เริ่มจากต้นตอหลักของปัญหาสถาบันการเงินที่เชื่อว่าเกิดจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นไป อย่างรวดเร็วยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงยังมีโอกาสที่จะเห็นปัญหาของสถาบันการเงินต่างๆ เกิดขึ้นมาอีกได้เช่นกัน เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธนาคารที่ราคาหุ้นร่วงลงมาค่อนข้างแรงในช่วง ที่ผ่านมา จากระดับความกังวลที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับในกลุ่ม MSCI World Bank ที่ ผลตอบแทนปรับตัวลดลงมากตั้งแต่ต้นปีนี้ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ อาทิ First Horizon (- 29.6%), Keycrop (-28.3%) ฯลฯ
นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังเพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว สะท้อน จากการ Bloomberg ที่ปรับโอกาสในการเกิด Recession ในอีก 1 ปีข้างหน้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 65% อีกทั้ง World Bank ยังออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจโลกเสี่ยงต่อ การเป็น "Lost Decade" หรือ GDP โลกช่วงปี 2565-73 อาจมีการเติบโตเฉลี่ยเพียง +2.2% ต่อปี ซึ่งลดลงจาก +2.6% ในปี2554-64
และอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือความขัดแย้งระหว่างประเทศมี แนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สะท้อนจากงบประมาณใช้จ่ายในการปกป้องประเทศ ของรัสเซียสูงถึง 531 พันล้านรูเบิล และปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ขณะที่เกาหลี เหนือยังมีการยิงทดสองขีปนาวุธปมากกว่า 15 ลูกนับตั้งแต่ต้นปี
สรุป ต้นตอหลักของปัญหาสถาบันการเงินที่เชื่อว่าเกิดจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นไป อย่างรวดเร็วยังไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ ล้วนเป็นปัจจัย เสี่ยงที่จำกัด Upside ในตลาดหุ้น
วันนี้ติดตาม กนง. ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 BPS.
วันนี้ติดตาม BOT(ธนาคารแห่งประเทศไทย) ประชุม 29 มี.ค.66 ซึ่งตลาดคาดปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 1.75% พร้อมกับติดตามการประกาศตัวเลขนำ เช้า/ส่งออก ที่ตลาดคาดปรับตัวลงทั้งคู่ โดยการส่งออกคาด -7.0%YoY(เดือนก่อนหน้า - 4.5%YoY), การนำเข้าคาด +2.0%YoY(เดือนก่อนหน้า +5.5%YoY) ประเด็นดังกล่าวคาด เป็นหนึ่งในปัจจัยกดดัน SET Index ระยะถัดไป
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของการขึ้นดอกเบี้ยแต่ละประเทศรวมถึงอัตราดอกเบี้ยไทยที่ ยังอยู่ระดับต่ำ (Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่ ECB BOE ขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง) อาจ ส่งผลให้ Dollar Index มีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง ประเด็นดังกล่าวทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาส แข็งค่าขึ้นได้ และอาจหนุนให้ Fund Flow ต่างชาติชะลอการไหลออกจากตลาดหุ้นไทย ได้ในระยะถัดไป
สรุป อัตราดอกเบี้ยของไทยที่ยังอยู่ระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ บวกกับ Upsideการขึ้น ดอกเบี้ยของไทยรับจากนี้มีไม่มาก ทำให้มีโอกาสเห็นเม็ด Fund flow ต่างชาติไหลเข้า ตลาดหุ้นไทยได้มากขึ้น โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ระดับ 1595- 1610 จุด
แรงผลักตลาดยังฝากไว้กับต่างชาติ มากกว่า WINDOW DRESSING
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมากว่า 83 จุด ในช่วง 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามมูลค่าซื้อขายที่เบา บางลง จนเหลือระดับที่ 3 – 4 หมื่นล้านบาทต่อวัน จากระดับปกติ 6 – 7 หมื่นล้านบาท ต่อวัน
ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการศึกษามูลค่าซื้อขายลงไปในนักลงทุนแต่ละราย พบว่า ช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา หลังจากธ.ค.กลางหลายแห่งเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ ธ.พ. จะเห็นได้ว่า
นักลงทุนรายย่อยยังอยู่ในช่วงชะลอการลงทุน สังเกตได้จากมูลค่าซื้อขายของรายย่อย ลดลงเหลือเพียง 1.6 หมื่นล้านบาท/วัน (ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย ytd 2.1 หมื่นล้านบาท/วัน อยู่มาก) และเหลือสัดส่วนมูลค่าซื้อขายเพียง 27% เท่านั้น
นักลงทุนสถาบันฯ ชะลอการซื้อขายเช่นกัน แม้จะอยู่ในช่วงเวลาใกล้ไตรมาสที่ 1 ที่มี ความหวังแรงผลักดันจาก Window Dressing และมีเม็ดเงินจากการออกกองทุน Tigger Fund ของบางบลจ. เข้ามาเพิ่มเติมก็ตาม แต่มูลค่าซื้อขายก็ยังลดลงเหลือ 3.4 พันล้าน บาท/วัน (ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย ytd 5.1 พันล้านบาท/วัน)
นักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นผู้หล่อเลี้ยงสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก สะท้อนได้ จากมูลค่าซื้อขายที่ยังทรงตัวอยู่ระดับสูง 3.1 หมื่นล้านบาท/วัน และมีสัดส่วนที่มากกว่า ครึ่งหรือ 53% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด
สรุปคือ ต่างชาติยังคงเป็นตัวแปรหลักที่กำหนดทิศทางจะขับเคลื่อนหรือผลักดันตลาด หุ้นไทย และภายใต้การเพิ่มสภาพคล่องหรือ QE เข้ามาในระบบการเงินปัจจุบัน น่าจะ เป็นส่วนช่วยให้ต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยมากขึ้น พร้อมกับพยุงให้ SET Index ผันผวนน้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities