🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

เนือยๆ ... รอดูทิศทางดอกเบี้ยจาก กนง. 

เผยแพร่ 28/03/2566 09:19
SETI
-

Sentiment จากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐ-ยุโรป ดูเบาลง เหตุเรพาะยังไม่มี สัญญาณปัญหาเพิ่มเติม ภาวะดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะที่ผ่อนคลายคง แต่อย่างไรก็ตาม ยังประมาทไม่ได้เพราะมองไปข้างหน้า ยังเห็น เงินเฟ้อที่มีโอกาส ปรับสูงขึ้น(ส่วนหนึ่งจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์) ดอกเบี้ยในยุโรปที่ปรับขึ้น แรง และความเสี่ยง Recession ส่วนในบ้านเราช่วงนี้ คงรอดูการประชุม กนง. ว่า จะมีการส่งสัญญาณดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร โดยสัญญาณจากตลาดการเงินคาด ว่าในการประชุมรอบนี้จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 1.75% ซึ่งถูก สะท้อนผ่าน Bond Yield 1 ปีที่ปรับขึ้นมาเหนือ 1.7% ทั้งนี้หาก กนง. ปรับขึ้น ดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด ก็น่าจะสร้างแรงกดดันต่อSET Index ได้อีกส่วนหนึ่ง เหตุ เพราะทำให้Market Earning Yield Gap แคบลง กดดันให้PER ต่ำลงตามมา

สภาพแวดล้อมทางปัจจัยพื้นฐาน เช้านี้ยังไม่มีเรื่องใหม่ๆ ที่มีน้ำหนักเข้ามากำหนด ทิศทางขับเคลี่อน น่าจะทำให้SET Index ไม่น่าจะผ่านแนวต้านบริเวณ 1600 จุด ไปได้ ส่วนแนวรับที่ 1684 จุด Top Pick เลือก CBG, CRC และ PTTEP

ปัญหาสถาบันการเงินผ่อนคลายช่วงสั้น แต่ต้องระวัง RECESSION

ตลาดหุ้นเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งยุโรปที่ดีดตัวขึ้นมาราว 0.8% ถึง 1.1% ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯปิดตัวราว -0.5% ถึง +1.1% หลังความกังวลเกี่ยวกับปัญหา สถาบันการเงินในสหรัฐผ่อนคลายมากขึ้น โดยธนาคาร First Citizens ได้เข้าซื้อกิจการ ทั้งหมดของธนาคาร SVB ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง (Bank Run) จนรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเข้าไปควบคุมและสั่งปิดกิจการเมื่อวันที่ 10 มี.ค.66 ดีลดังกล่าวครอบคลุมถึงเงินฝาก และเงินกู้ทั้งหมดของธนาคาร SVB คิดเป็นมูลค่า 1.65 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งลดลงจาก มูลค่าเดิมที่ 7.2 หมื่นล้านเหรียญฯ อีกทั้งยังถือเป็นสัญญานที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับระบบการเงินของสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาระบบธนาคารจะผ่อนคลายลงช่วงนี้ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวล จากเศรษฐกิจโลกถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าด้วยเช่นกัน เนื่องจากหลาย ประเทศยังต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง เฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งยุโรปที่เงินเฟ้อในเดือน ก.พ. สูงถึง +8.5%YoY ขณะที่ประชาชนในประเทศเยอรมันกำลังได้รับผลกระทบจาก ปัญหาดังกล่าว (เงินเฟ้อเยอรมันเดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 8.7%YoY) ที่ต้องแบกรับค่าครอง ชีพที่สูงขึ้นมา จนมีผู้ชุมนุมจำนวนมากราว 5,000 ราย ออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาล ขึ้นค่าแรงและลดค่าเช่าที่อยู่อาศัย ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงช้ากว่าคาด อาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป(ECB)ดำเนินโยบายการเงินเชิงรุกต่อไป

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามนรัฐเซีย-ยูเครน รวมถึงความตึง เครียดบนคาสบสมุทรเกาหลีที่ดูเหมือนจะตึงเครียดมากขึ้น โดยรัสเซียเตรียมประจำการ อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีในเบลารุสและเตรียมจ้างทหารเพิ่มอีก 400,000 นาย ขณะที่ เกาหลีเหนือก็ยังคงทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง และ 27 มี.ค.66 ที่ผ่านมา ยังมีการยิง ขีปนาวุธอีก 2 ลูก เข้ามาใกล้เศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่น ท่ามกลางการซ้อมรบร่วมกัน ระหว่างสหรัฐฯ – เกาหลีใต้ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวยังเป็นตัวผลักดันให้ราคาสินค้าโภค ภัณฑ์กลับมาดีดตัวขึ้น ซึ่งอาจเป็นการกระตุ้นเงินเฟ้อให้ทรงตัวระดับสูง โดยวานนี้ราคา น้ำมันดิบ Brent ดีดตัวขึ้นมาแรงกว่า 4.2% มาอยู่ที่ 78.1 ดอลลาร์/บาเรล

สรุป ปัญหาสถาบันการเงินสหรัฐที่คลี่คลายลงมาช่วงนี้ ช่วยลดระดับควมกังวลใน ตลาดหุ้นลงมาบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลจากเศรษฐกิจโลกถดถอยที่ อาจเกิดขึ้นในระยะถัดไปด้วยเช่นกัน จากหลายปัจจัยทั้งความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและมีแนวโน้มชะลอตัวลงได้ช้ากว่าคาด จนอาจทำให้ธนาคาร กลางดำเนินโยบายการเงินเชิงรุกต่อไป จากประเด็นดังกล่าว คาดทำให้ SET Index ผัน ผวนในกรอบแคบ โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวระดับ 1582-1600 จุด

หรือจะใกล้ถึงปลายทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย

ับตาการประชุม กนง. นัดที่ 2 ของปี ในวันพรุ่งนี้ โดยตลาดคาดการณ์ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% มาที่ 1.75% ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยช่วงที่เหลือของปี ใน มุมมองฝ่ายวิจัยอัตราดอกเบี้ยที่ 1.75% ถือเป็นระดับเท่ากับต้นปี 2562 สอดรับกับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่กำลังทยอยกลับสู่ฐานปี 2562 จึงมองว่าอัตราดังกล่าวเป็น Terminal rate ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในปีนี้ เพราะหากพิจาณาการเติบโตของ GDP ไทยปี 2562 อยู่ที่ระดับ 2.2% YoY โดยช่วงดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 40 ล้านคน ทำให้ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าระดับปี 2562 อาจเปิด Downside ต่อการขยายตัวของ GDP ไทย หรือกรณีที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยขึ้นเกิน ระดับดังกล่าวมองว่าไม่น่ายืนได้ในระยะยาว

สำหรับผลต่อกลุ่มธนาคาร โดยการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะบวกทันทีต่อ อัตราดอกเบี้ย Interbank (สัดส่วน 4% ของรายได้ดอกเบี้ยรับปี 2565) ที่อิงกับอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย และคาดหมายเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลุ่ม M -Rate (MLR, MOR และ MRR) ของธนาคาร ในช่วงถัดไป รวมถึงฝั่งต้นทุนเงินฝากประจำ และอาจรวมถึงเงิน ฝากออมทรัพย์ของ ธ.พ. ใหญ่ ที่มีสัดส่วน CASA สูงราว 80% ของเงินฝาก อย่าง KBANK (BK:KBANK), KTB, SCB ปัจจุบันอยู่ที่ 0.25% ต่ำกว่าปี 2562 ที่ 0.50% ส่วน BBL มีการปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ช่วงที่ผ่านมาจนอยู่ในระดับใกล้เคียงปี 2562 ที่ 0.50% ภาพรวมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นช่วงปลาย 1Q66 ดังนั้นการรับรู้ผลบวกเต็มไตร มาสจะเกิดขึ้นช่วง 2Q66 คาดบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) กลุ่มฯ ในงวด 2Q66 ขณะที่ผลต่อประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ( 8 ธนาคาร) ทั้งปี 2566 ที่ 2.1 แสนล้านบาท สูงขึ้น 9% YoY อิงกับเป้าหมาย NIM ปี 2566 ของแต่ละธนาคาร ซึ่งอยู่บนสมมติฐาน อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ 1.75% - 2.00% ทำให้ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยสะท้อนใน ประมาณการของฝ่ายวิจัยและตลาดแล้ว

คงน้ำหนักลงทุน เท่าตลาด มองว่ากลุ่มฯ ซื้อขายบน Valuation ไม่แพงมี PBV ปี 2566 ที่ 0.66 เท่า และ PER ที่ 8 เท่า โดยการลงทุนสำหรับกลุ่มฯ ยังเน้นที่คุณภาพ สินทรัพย์ ดังนี้ TISCO (FV@B108) จาก Coverage Ratio ที่ 259% (VS ค่าเฉลี่ย กลุ่มฯ ที่ 177%), BIS Ratio ที่ 23% สูงสุดใน กลุ่มฯ และเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 11% > BBL (FV@B174) จากการตั้งสำรองเด่นสุดในกลุ่มฯ บน Coverage Ratio ที่ 261% > KTB (FV@B20. 3) ROE มีพัฒนาการดีขึ้น และการขยายตัวด้าน Digital ผ่าน Ecosystem ของธนาคารฯ ทั้ง เป๋าตังและถุงเงิน > SCB (FV@B132) หลังราคาหุ้น Underperform กลุ่มฯ ช่วงที่ผ่านมาและการจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น >

KBANK(FV@B159) > KKP(FV@B77) โดย KBANK และ KKP ราคาเริ่มเปิด Upside แต่ยังอยากติดตามภาพรวมงบดุล ณ สิ้นงวด 1Q66 ก่อนประเมินคำแนะนำอีกครั้ง

คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ 0.25% กดดันเป้าหมาย SET ราว 70 จุด

Yield Curve พันธบัตรรัฐบาลของไทย ณ ปัจจุบันเมื่อเทียบกับปลายเดือน ก.พ. 66 จะ เห็นได้ว่า Yield Curve Shift ลงทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุ1 ปี ปรับตัวลง 1.9 bps ส่วน อายุคงเหลือยาวกว่า 1 ปี(3 ปี – 30 ปี) ปรับตัวลงมากถึง 19.5-26.0 bps โดยอัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตรช่วงอายุ 1-3 ปี อยู่ที่ ประมาณ 1.72-1.79% สอดรับกับนักลงทุนที่คาด กว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรอบนี้25 bps มาอยู่ที่ 1.75%(29 มี.ค.66) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่กนง.ตั้งไว้ที่ 1-3% ท่ามกลางความเสี่ยง มากมายจากปัจจัยภายนอกประเทศ อาทิ Geopolitical Risk (รายละเอียดตามหัวข้อ ด้านบน) และความกังวลโดมิโน่ธนาคารล้มทั้งในสหรัฐฯ-ยุโรป

ซึ่งสาเหตุหลักคงมาจาก นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เพิ่มการถือครองตราสารหนี้ไทย โดย ก.พ.66 มียอดซื้อสุทธิกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท(ขณะที่ม.ค.66 ขายสุทธิสูงถึง 6.7 หมื่นล้าน บาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อตราสารหนี้ระยะยาวกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน ราว 83%) ด้วยเหตุนี้จึงเห็นค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าแรงราว 1% จากช่วงปลายสัปดาห์ที่ ผ่านมา อยู่ระดับ 34.3 บาท/เหรียญฯ

หากพิจารณาเชิง Valuation ของ SET Index ตามกลไกจะเป็นตัวกดดันตลาดหุ้นฯให้ซื้อ ขายบน P/E ที่ลดน้อยลง ซึ่งทำให้ Target SET Index ณ ปลายปีลดลงเช่นกัน หากกนง. หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จาก 1.50% เป็น 1.75% จะกดดันเป้าหมายดัชนีเพิ่มอีก ราว 67-70 จุด

สรุป นักลงทุนคาดว่าการประชุม กนง. วันที่ 29 มี.ค.66 จะเห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.75% จาก Bond Yield ระยะสั้น(1 – 3 ปี) ที่อยู่ระดับ ใกล้เคียง 1.75% ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยในเชิง Valuation โดยจะทำให้ ตลาดหุ้นถูกกดดันให้ซื้อขายบน P/E ที่ลดน้อยลง คาดกระทบ เป้าหมายดัชนีราว 67- 70 จุด

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นใหญ่มากกว่าหุ้นเล็ก โดย Top pick วันนี้ แนะนำหุ้น ใหญ่อิงราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น PTTEP, หุ้นค้าปลีกขนาดใหญ่ CRC และหุ้นขนาดใหญ่ รับธีมหน้าร้อน CBG

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย