รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

SET ยังยากที่จะผ่านระดับ 1610 จุด 

เผยแพร่ 24/03/2566 10:22
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ประเมินตัวเลขอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ซึ่งคำนวนโดยการ นำอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หักออกด้วยอัตราเงินเฟ้อ พบว่าหลังการประชุมธนาคาร กลางต่างๆ และมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบล่าสุดพบว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของ ยุโรป -5% ของ UK -6.15% ขณะที่ของสหรัฐ -1.04% ภาวะดังกล่าวสะท้อนให้ เห็นทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อต่อสู่เงินเฟ้อของแต่ละประเทศว่า ใน ส่วนของสหรัฐ น่าจะเข้าสู่ช่วงปลายทางของการปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้แล้ว ขณะที่ EU และ UK ยังน่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกได้อีก ภาวะดังกล่าวทำให้คาด ว่า ค่าเงิน USD ซึ่งสะท้อนผ่าน Dollar Index น่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง หาก ประเมินผลกระทบมายังตลาดการเงินบ้านเรา ก็น่าจะทำให้เห็น เงินบาทเมื่อเทียบ กับ USD ชะลอการอ่อนค่า และเป็นไปได้ที่จะกลับมาแข็งค่า ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการที่Fund Flow จะไหลกลับเข้าบ้านเราได้อีกรอบหนึ่ง

ปัจจัยแวดล้อมเช้านี้ ภาพรวมอยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากขึ้น และน่าจะช่วย ให้ SET Index ดีดตัวขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามที่ระดับ 1610 จุด ก็ยังไม่น่าจะผ่านไป ได้ง่ายๆ ส่วนแนวรับอยูที่ 1586 จุด Top Pick เลือก CK, CRC และ AMATA

FED เข้าสู่ปลายทางการขึ้นดอกเบี้ย สวนทางฝั่งยุโรป กดดันดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่อง

ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินรอบ เดือน มี.ค. เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงในช่วงมา ดังนี้

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% สู่ระดับ 3.5% เนื่องจากเงินเฟ้อยุโรปอาจยืนอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด (เดือน ก.พ.+8.5%YoY) และยังห่างไกลจากกรอบเป้าหมาย ที่ 2%

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.25% หลังจากเงินเฟ้อดีดตัวขึ้นสูงกว่าคาดสู่ระดับ 10.4% ในเดือนก.พ. และยัง ห่างไกลจากกรอบเป้าหมาย ที่ 2%

ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% สู่ ระดับ 1.5% เพื่อกดดันให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% (เงินเฟ้อเดือน ก.พ. +3.4%YoY) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ SNB ต้องจัดการ แม้จะเกิดปัญหากับ ธนาคาร CS จนทำให้มีการควบรวมกิจการและ AT1 ที่มีมูลค่ากว่า 1.7 หมื่น ล้านดอลลาร์ลดลงเป็นศูนย์แต่หลายฝ่ายมองว่า CS เป็นปัญหาเฉพาะตัว และ คาดว่าธนาคาร UBS จะเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องได้

ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.0% โดย Fed ยังคงเน้นย้ำเรื่องการลดเงินเฟ้อให้ลงมาในกรอบเป้าหมาย 2% (เงิน เฟ้อเดือนก.พ. +6.04%YoY) และตามข้อมูลของ Dot Plot ได้ส่งสัญญาณใกล้ ยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยมีเพดานอยู่ที่ 5.1% ในปี 2566

เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบัน (ดอกเบี้ย-เงินเฟ้อ) ในฝั่งยุโรปติดลบค่อนข้าง สูง โดยยุโรป -5.0%, อังกฤษ -6.15% ขณะที่ฝั่งสหรัฐ -1.04% ซึ่งอาจทำให้ ECB และ BoE เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป สวนทางกับสหรัฐที่อยู่ในช่วงปลายทางของการขึ้น ดอกเบี้ยแล้ว

ความไม่สอดคล้องกันในดำเนินนโยบายการเงินในฝั่งสหรัฐและยุโรป เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ กดดันค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง โดยใช่วง 1 เดือนผ่านมา Dollar Index ปรับตัวลง มาแล้วราว 0.9%Mtd ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สรุป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกับเงินเฟ้อฝั่งยุโรปที่ยังทรง ตัวในระดับสูงและยังห่างไกลกับกรอบเป้าหมายที่ 2% บวกกับ Real Interest Rate ในฝั่งยุโรปติดลบค่อนข้างหนัก อาจทำให้ECB, BoE เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป สวน ทางกับ Fed ที่เข้าสู่ปลายทางของการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งความไม่สอดคล้องกันของการ นโยบายการเงิน อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง และข่วย หนุนให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น

2 เหตุผล หนุน FUND FLOW ต่างชาติทยอยไหลกลับเข้าหุ้นไทย

เห็นสัญญาณแรงหนุน Fund Flow ให้มีโอกาสชะลอการขายและไหลกลับมาที่ตลาดหุ้น ไทยบ้าง ดังนี้

1. ความได้เปรียบจากดอกเบี้ยไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ายุโรปและสหรัฐมาก ตามกลไก หนุนตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจจาก MEYG ที่กว้างกว่า โดยสัปดาห์หน้าประเทศไทย มีการประชุม กนง. 29 มี.ค.66 ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามีโอกาสที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ ระดับ 1.5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนล่าสุดลดลงอยู่ที่ระดับ +3.79%YoY (ต่ำกว่า ตลาดที่ +4.18%YoY) ถือเป็นสัญญาณที่ดีและเข้าใกล้กรอบเป้าหมายของ ธปท. มากขึ้น ที่ระดับ 1%-3% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศฝั่งพัฒนาแล้ว ในเดือนนี้มีการขึ้นดอกเบี้ยทั้งสิ้น ทั้ง ECB BOE FED มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.5%, 4.25%, 5% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่า อัตราดอกเบี้ยไทยมาก จึงทำให้Market Earning Yield Gap ของไทยดีกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งในอีกความหมายหนึ่งคือ Valuation ยังต่ำ หนุนให้เม็ดเงินลงทุนมีโอกาสไหลเข้ามา ลงทุนมากขึ้น

2. ดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ถือเป็นแรงส่งให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า และ ต่างชาติมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม โดย Dollar Index ลดลงราว - 4% จาก 105.6 จุด สู่ 102.2 จุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำ ให้ค่าเงินประเทศอื่นๆ กลับมาแข็งค่ารวมถึงไทยที่ล่าสุดอยู่ที่ 34.05 บาท/เหรียญฯ เป็น หนึ่งในปัจจัยหนุนให้ Fund Flow ต่างชาติทยอยไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ซึ่งเริ่มเห็น สัญญาณการชะลอการขาย และกลับมาซื้อสุทธิวานนี้ 1 พันล้านบาท

สรุปทั้ง 2 เหตุผลช่วยหนุน Fund Flow ต่างชาติทยอยไหลเข้าหุ้นไทยในระยะถัดไป คาดเป็นแรงพยุงให้ SET Index กลับมายืนเหนือ 1600 จุดได้อีกครั้ง

หาหุ้น LAGGARD แต่ได้แรงหนุนจาก FUND FLOW ในเดือนนี้

ในเดือน มี.ค. ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก โดยปรับตัวลงไปต่ำสุด ที่ 1518.66 จุด หรือ -6.4%mtd ณ วันที่ 14 มี.ค. 66 ก่อนจะทยอยฟื้นขึ้นจนล่าสุด อยู่ที่ 1593.65 จุด หรือ -1.8%mtd แม้ SET Index จะฟื้นขึ้นมาระดับหนึ่ง แต่ถ้าเข้าไปดูเป็น ราย Sector พบว่า ยังมีหลาย Sector ที่ย่อตัวลงลึกในเดือน มี.ค. 66 นี้(1 – 23 มี.ค. 66)

ประจวบเหมาะกับ Fund Flow ต่างชาติที่เริ่มชะลอการขายหุ้นไทย และกลับมาซื้อสุทธิ อีกครั้งในวานนี้ด้วยมูลค่า 1.0 พันล้านบาท คาดหวัง Fund Flow ไหลเข้าเพิ่มเติมจาก ค่าเงินบาทที่ทยอยแข็งค่าขึ้น หลัง Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย

ภายใต้หุ้นที่ปรับฐานลงลึก และต่างชาติชะลอการขายและกลับมาซื้อบ้างดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาว่า ในเดือนนี้(1 – 22 มี.ค. 66) มีหุ้นอะไรบ้างที่ต่างชาติซื้อสะสมมากสุด 20 อันดับแรก และราคาหุ้นยัง Laggard หวัง Downside ของราคาเริ่มจำกัด และน่าจะ ปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงถัดไป อย่าง กลุ่มชิ้นส่วน -> HANA -18.8%, KCE -8.9%, กลุ่ม การเงิน -> SAWAD -8.6%, กลุ่มรับเหมาฯ -> CK -7.1%, STEC -4.4%, และกลุ่มอื่นๆ - > MINT -3.0%, LH -2.5%, CBG -2.0% เป็นต้น และหุ้นตัวอื่นๆ มีรายละเอียดดังตาราง ทางด้านล่าง ถือว่าน่าสนใจและคาดว่าน่า Outperform ตลาดได้ในช่วงนี้

ส่วนกลยุทธ์ในช่วงที่ SET Index ฟื้นขึ้นมาระดับหนึ่ง วันนี้ประเมินกรอบการ เคลื่อนไหวที่ 1586 – 1610 จุด เลือกหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติสะสมต่อเนื่อง อย่าง CK, CRC, AMATA เป็น Top pick ในวันนี้

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย