🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ซ้ายไม่ไป ขวาก็ไม่ไป สงสัยต้องพักฐานอีกรอบ

เผยแพร่ 23/03/2566 09:59
SETI
-

ผลการประชุม Fed ออกมาแบบครึ่งๆ กลางๆ โดยมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25% สู่ 5% แต่แนวโน้มในการเดินนโยบายการเงิน ยังค่อนไปในทางที่ ตึงตัว กล่าวคือยังเห็นโอกาสที่Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ โดยการกดอัตราเงินเฟ้อ ให้ลงไปอยู่ในกรอบยังเป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่การทำ QT ยังกำหนดไว้ที่ 9.5 หมื่นล้านUSD ต่อเดือน ท่าทีดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นที่ก่อนหน้า คาดหมายที่จะเห็น การส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน แบบเต็มที่มากกว่านี้มีการย่อยตัวลง โดยตลาดสหรัฐปรับลดลงราว 1.6% ซึ่งก็น่าจะสร้าง Sentiment เชิงลบกับตลาด หุ้นบ้านเราเช้านี้ด้วย ส่วนพฤติกรรมของนักลงทุนสถาบันในประเทศ น่าจับตาหลัง เห็นการกลับมาซื้อสุทธิระดับสูงในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ทำให้YTD มียอดซื้อสุทธิ ราว 2.8 พันล้านบาท แต่ยังเทียบไม่ได้กับยอดขายสุทธิ 1.5 แสนล้านบาทในปี 2565 ส่วน Tricker Fund ปี 2566 ปัจจุบันยังไม่มีเงินเข้ามา

การที่ SET Index ดีดตัวขึ้นมาจนเข้าใกล้แนวต้าน ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมวันนี้มี น้ำหนักค่อนไปในทางลบ ทำให้มีโอกาสที่จะห็นการพักฐาน ประเมินกรอบที่ 1570 – 1586 จุด หุ้น Top Pick เลือก CRC, PTTEP และ SNNP

FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%ตามคาด แต่ไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% ในการประชุมเดือน มี.ค.2566 สู่ระดับ 4.75-5.00% เป็นไปตามที่ตลาดคาด และถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน

โดยทาง Fed ยังคงเน้นย้ำเรื่องการลดเงินเฟ้อให้ลงมาในกรอบเป้าหมาย 2% และอาจขึ้น ดอกเบี้ยต่อถ้าจำเป็น แม้ว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 6% แต่ทาง Fed ก็ มองว่าแรงกดดันด้านราคายังมีอยู่ จากหมวดสินค้าที่ยังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตามข้อมูลของ Dot Plot ได้ส่งสัญญาณใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะ ปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 5.1% ในปี 2566 ก่อนจะปรับตัวลงมาอยู่ที่ 4.3% ในปี 2567 และ 3.1% ในปี 2568 ก่อนจะลดลงสู่ระดับกลางในระยะยาวที่ 2.5%

นอกจากนี้ Fed ยังปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2566 เหลือ เติบโต 0.4% จาก 0.5% (ธ.ค.65) และปี 2567 เหลือเติบโต 1.2% จาก 1.6% (ธ.ค.65) และปรับประมาณการ เงินเฟ้อในปี 2566 ขึ้นเป็น 3.3% จาก 3.1% (ธ.ค.65)

อย่างไรก็แม้วานนี้ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับพลิกมาปิด ตัวในแดนลบราว -1.6% ถึง -2.8% หลังได้รับแรงกดดันจากการดำเนินนโยบายการเงิน และการคลังที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้ตลาดเต็มไปด้วยผิดหวังในประเด็นดังนี้

Fed มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินที่ยังเข้มงวดต่อไป เนื่องจากยังเห็น สัญญานเงินเฟ้อที่อาจชะลอตัวลงได้ช้ากว่าคาด และค่อนข้างห่างไกลจากกรอบ เป้าหมายที่ระดับ 2% ประกอบกับเงินเฟ้อในฝั่งยุโรปที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดย ล่าสุดวานนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเผยเงินเฟ้อเดือน ก.พ. พุ่งแตะ 10.4%YoY เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 10.1%YoY และสูงกว่าคาดไว้ที่ 9.9%YoY ซึ่งเป็นการพลิกกลับมาเร่งตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังราคาอาหารพุ่งขึ้นสูง

การทา QT ในวงเงินเท่าเดิมที่ระดับ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ตั้งแต่ ก.ย. 65 - ปัจจุบัน ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ และ ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) อยู่ที่ 3.5 หมื่น ดอลลาร์

รัฐมนตรีคลังสหรัฐออกมาเปิดเผยล่าสุดว่าไม่ต้องการค้ำประกันเงินฝากแบบ ครอบคลุมให้กับภาคธนาคาร ขณะที่ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังสหรัฐกำลัง ศึกษาแนวทางในการทำให้ FDIC สามารถคุ้มครองเงินฝากได้ทั้ง 100% จาก ปัจจุบันที่ให้การคุ้มครองไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์

ขณะเดียวกันทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ยังเข้มงวดของ Fed เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ยิ่ง ยกระดับความกังวลการเกิดเศรษฐกิจ Recession ในระยะถัดไป ทำให้ Dollar Index ปรับตัวลดลง -0.7% มาอยู่ที่ 102.5 จุด ส่วน Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปี ร่วงลงมาอยู่ที่ 3.9% และ 3.4% ตามลำดับ

สรุป Fed มีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 5.0% ตามคาด อย่างไรก็ตามตลาดเต็มไป ด้วยผิดหวังหลัง Fed ยังคงเน้นย้ำเรื่องการลดเงินเฟ้อให้ลงมาในกรอบเป้าหมาย 2% และอาจขึ้นดอกเบี้ยต่อถ้าจำเป็น รวมถึงการทำ QT ในวงเงินเท่าเดิม ประกอบกับ รัฐมนตรีคลังออกมาเปิดเผยล่าสุดว่าไม่ต้องการค้ำประกันเงินฝากแบบครอบคลุม ให้กับภาคธนาคาร ทำให้ความตึงเครียดดังกล่าว กดดันสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น สหรัฐฯ วานนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นบ้านเราวันนี้อาจจะได้รับ Sentiment เชิงลบเช่นกัน คาดกรอบการเคลื่อนไหว SET Index อยู่ที่ 1570 – 1586 จุด

การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว เลือก AOT (BK:AOT) และ ERW

วานนี้สำนักข่าวในประเทศรายงาน ตัวเลขเบื้องต้นจากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 1 ม.ค. – 18 มี.ค. 66 เท่ากับ 5,578,721 คน (ม.ค. 66 อยู่ที่ 2.14 ล้านคน) หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 72,451 คนต่อวัน เติบโตจากค่าเฉลี่ยรายวันงวด 4Q65 ที่ 59,402 คนต่อวัน (4Q65 ที่ 5.5 ล้านคน) ประมาณ 22% MoM และเด่นชัด YoY (1Q65 ที่ 5 แสนคน หรือ 5.5 พัน คนต่อวัน) หนุนด้วยการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ, การเปิดประเทศของจีน รวมทั้ง High Season ของการท่องเที่ยวไทย ภาพดังกล่าวประเมินบวกต่อหุ้นที่มีโครงสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก อย่าง AOT ในฐานะประตูสู่ประเทศไทย ตามด้วย ERW ที่ มีสัดส่วนรายได้จากโรงแรมในไทยสูงสุดในกลุ่มฯ ราว 90% ของรายได้ รองลงมาคือ CENTEL (สัดส่วน 83% ของรายได้โรงแรมช่วง Pre-COVID) และสุดท้ายคือ MINT เนื่องจากฐานรายได้รวมประมาณ 50% มาจาก NH Hotel ใน EU

นอกจากประเด็นฝั่งรายได้ข้างต้น ในเชิงต้นทุนและค่าใช้จ่าย กลุ่มฯ มีปัจจัยเสริมจากวาน นี้ กกพ. เคาะค่าไฟฟ้า งวด พ.ค. – ส.ค. 66 อยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย ลดลงจากงวด ม.ค. – เม.ย. 66 ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย หรือภาคธุรกิจประหยัดค่าไฟได้ราว 10.5% เมื่อเทียบ กับค่าไฟงวดก่อน ดังนั้นหากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ของหุ้นใน กลุ่มโรงแรมจะอยู่ที่ประมาณ 5% - 6% ของต้นทุนค่าใช้จ่าย ส่วน AOT งวด 1Q66 (ต.ค. – ธ.ค. 65) มีค่าสาธารณูปโภคคิดเป็นสัดส่วน 11% ของค่าใช้จ่ายดำเนิงาน

สำหรับตัวเลือกในกลุ่มฯ เน้นไปที่หุ้นที่มีสัดส่วนรายได้ในไทยมากสุดอย่าง AOT(FV@B80) และ ERW(FV@B5.70) ขณะที่ CENTEL(FV@B60) แนะนำ SWITCH เพราะราคาหุ้นเข้าใกล้ช่วง All Time High ที่ 60 บาท (ม.ค. 61) ตรงข้ามกับแนวโน้ม กำไรปี 2566 ยังกลับไปไม่ถึง อาจตีความได้ว่าราคาปัจจุบันได้สะท้อนปัจจัยการฟื้นตัว ในอนาคตแล้ว ประกอบกับคาดการณ์ ROE เฉลี่ยปี 2566 – 68 ตามประมาณการของ ฝ่ายวิจัยอยู่ที่ 9.5% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปี 2560 – 62 ที่ 16.4% องค์ประกอบรวมจึงมองว่า Risk to reward ของ CENTEL ที่ระดับราคาปัจจุบันน่าสนใจลดลง

กระแส TRIGGER FUND แสดงให้เห็นว่า SET ถึงจุดน่าสะสมอีกครั้ง ใน มุมมองของผู้จุดการกองทุน

ปัจจุบันเริ่มเห็นนักลงทุนสถาบันฯ กลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยมากขึ้น หลังจากที่ขายหนักใน เดือน ม.ค. 66 กว่า 2.4 หมื่นล้านบาท เดือน ก.พ. 66 ซื้อสุทธิ 1.3 หมื่นล้านบาท และเดือน มี.ค. 66 ซื้อสุทธิ 1.3 หมื่นล้านบาท (mtd) หนุนจากปีนี้สถาบันพลิกกลับมาเป็นซื้อสุทธ

สะสมหุ้นไทย 2.8 พันล้านบาท (ytd) ปล. ปี2565 สถาบันฯ ขายสุทธิหุ้นไทยรวม 1.5 แสน ล้านบาท

และปัจจุบันเริ่มเห็นกระแสทยอยออกกองทุน Trigger Fund ในหลายบลจ. ในสัปดาห์ นี้โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมินมีผลต่อตลาดหุ้นไทยดังนี้

1. แสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้จัดการกองทุน (Fund Managers) หลายๆ แห่ง ว่าจะสามารถทำผลตอบแทนได้ราว 5% - 6% ในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า ถือเป็น Sentiment ที่ดีในการหนุนตลาดหุ้นไทย และอาจจะเป็นส่วนช่วยให้ สถาบันฯกลับมาซื้อหุ้นไทยเพิ่มขึ้น หนุนให้ปีนี้มียอดซื้อสุทธิเป็นบวกได้

2. มุมมองความคาดหวังเม็ดเงินจาก Trigger Fund จะช่วยผลักดันตลาดน่าจะ คาดหวังได้ยาก ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้

2.1 บลจ. มี Momentum เน้นออกกองทุน Tigger Fund ที่ลงทุนในตลาดหุ้น ต่างประเทศ มากกว่าการออกกองทุน Tigger Fund ที่ลงทุนในตลาดหุ้น ไทย โดยจะเห็นได้ว่า 6 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเดือน ธ.ค. แต่ละปีมี Tigger Fund ลงทุนหุ้นไทย 1-2 กองทุนเท่านั้น แต่มี Tigger Fund ลงทุนหุ้นต่างประเทศ 4 – 8 กองทุน และปัจจุบัน ณ สิ้นเดือน ก.พ. 66 มีเฉพาะกองทุน Tigger Fund ต่างประเทศ 7 กองทุน แต่ไม่มีกองทุน Tigger Fund ที่ลงทุนหุ้นไทย เลย ทำให้เชื่อว่า Momentum ยังคงเน้นการออกกองทุน Tigger Fund ที่ ลงทุนหุ้นต่างประเทศเป็นหลัก

2.2 ปกติ Tigger Fund ที่ลงทุนในหุ้นไทย มีขนาด AUM (Asset Under Management) หรือเม็ดเงินต่อ 1 กองทุน ที่ค่อนข้างน้อย โดยเฉลี่ยมีเม็ด เงิน ต่อ 1 กองทุน อยู่ที่ 228 ล้านบาท เท่านั้น

2.3 และเมื่อเทียบกับ AUM ของ Tigger Fund กับ AUM กองทุนรวมหุ้นไทย ทั้งระบบ มีสัดส่วนน้อยไม่ถึง 0.1% ของทั้งระบบ โดย AUM ของกองทุน ทั้งหมดในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือน ก.พ. 66 มีเม็ดเงินรวมสูงถึง 1.07 ล้าน ล้านบาท

สรุปประเด็น Trigger Fund ที่ออกมาพร้อมกันในหลายๆ บลจ. แสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทยมากขึ้น แม้ปริมาณเม็ดเงินน่าจะ ไม่ได้สูงมากอย่างมีนัยฯในการช่วยผลักดันตลาด แต่ภาพรวมยังถือว่าเป็น Sentiment ที่ดีช่วยพยุงตลาดในช่วงน

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย