🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

บรรยากาศดีขึ้น แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง 

เผยแพร่ 20/03/2566 10:12
SETI
-

การที่ธนาคารกลางสหรัฐ - สวิสฯ เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ที่มีปัญหา ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปช่วย หรือเป็นตัวกลางหาพันธมิตรเข้าไป ลงทุน ทำให้บรรยากาศโดยภาพรวมดูดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นตอของปัญหาที่เชื่อ ว่าเกิดจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นไปอย่างรวดเร็วยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงยังมี โอกาสที่จะเห็นปัญหาของสถาบันการเงินต่างๆ เกิดขึ้นมาอีกได้ นักลงทุนจึงยังต้อง ใช้ความระมัดระวังในระดับสูง ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามคือการประชุม Fed วันที่ 22 มี.ค. โดยที่ Consensus คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แต่ที่ น่าสนใจคือทิศทางของดอกเบี้ยในระยะต่อไปว่าจะหยุดอยู่แค่ 5% หรือไม่ หากเห็น สัญญาณการหยุดขึ้นของดอกเบี้ย ก็จะถือเป็นสัญญาณเชิงบวก Themeการลงทุน เน้นไปที่ Domestic Consumption ที่ได้ประโยชน์จากภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

Deal การซื้อกิจการ CS ที่ได้ข้อยุติน่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกให้ตลาดหุ้น โลก รวมถึงตลาดหุ้นไทย คาด SET Index น่าจะ Rebound กรอบ 1555 – 1580 จุด หุ้น Top Pick เลือก AMATA, CBG และ SNNP

สหรัฐและยุโรป เร่งแก้ปัญหาระบบ BANK ป้องกันการลุกลาม

ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างหนักตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาการเร่งปรับ ขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่เร็วและแรงตั้งแต่ปี 2565 จนทำให้ระบบธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปตกอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องจนต้องประกาศล้มเลิกกิจการไป ขณะที่สถานการณ์ ล่าสุดยังเห็นความพยายามทั้งภาครัฐและเอกชนในการเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อป้องกัน การลุกลามไปยังธนาคารอื่นๆ รายละเอียดดังนี้

• ยุโรป : ทางการสวิตฯ เร่งเข้ามาจัดการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงิน และป้องกันเหตุการณ์บานปลาย โดยบังคับให้ธนาคาร Credit Suisse ขาย กิจการให้กับคู่แข่งอย่าง UBS ธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้ ตกลงเข้าซื้อกิจการด้วยวงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.25 พันล้านเหรียญฯ) นอกจากนี้ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์พร้อมจะจัดสรรเงินกู้ยืมให้กับ UBS สูง ถึง 1.08 แสนล้านเหรียญฯ ในการสนับสนุนควบรวมกิจการ อีกทั้งทางการสวิตฯ ยังได้อนุมัติเงินค้ำประกันกว่า 9.6 พันล้านเหรียญฯ หากมีความเสียหายเกิด มากกว่า 5.4 พันล้านเหรียญ เพื่อลดความเสี่ยงให้กับ UBS รวมถึงระบบเศรฐกิจ

• สรัฐฯ : Fed ประกาศอัดฉีดเงินกว่า 3 แสนล้านเหรียญฯ เข้าสู่งบดุล (Balance Sheet) ซึ่งมากที่สุดในรอบ 3 ปีเพื่อเร่งแก้ไขในจุดที่มีปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมโดยใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน (Window dressing) ราว 1.4 แสนล้านเหรียญฯ, โครงการ Bank term funding program ราว 1 หมื่นล้านเหรียญฯ, คุ้มครองเงินฝากจากการล้มละลายของธนาคาร ราว 1 แสนล้านเหรียญฯ

สรุป ความพยายามการเร่งแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของระบบธนาคารในยุโรปและ สหรัฐ จากการร่วมหา Partner ควบรวมกิจการ รวมถึงการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปใน ระบบ คาดว่าน่าช่วยให้ตลาดหุ้นผ่อนคลายความกังวลไปได้บ้างในช่วงสั้น แต่อย่างไรก็ ตาม ต้องติดตามดูแนวทางในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ซึ่งส่วนหนึ่งคือทิศทางของอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายทั้งของ Fed และ ECB

วิกฤต ธ.พ. ต่างๆ อาจจำกัดให้ FED ขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับไม่เกิน 5% ในปีนี้

Fed อาจยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น หลังการขึ้นตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลกระทบ ต่อปัญหาสภาพคล่องในภาคธนาคารนำไปสู่คุณภาพสินทรัพย์ที่แย่ลง อีกหนึ่งแรงเสริม ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อย่าง ภาคการผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอ ตัว โดยล่าสุด Industrial Production เดือน ก.พ. ออกมา – 0.25%YoY (ตลาดคาด +3%YoY)

หากดูผลการสำรวจ Fed Watch Tool ล่าสุด เผยว่า เพดานการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จะอยู่ที่ ระดับ 5% (ซึ่ง 1 เดือนก่อนหน้านี้เพดานยังอยู่ระดับ 5.75%) ส่วนการประชุม 22 มี.ค.66 ตลาดคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแค่ 0.25% (ปรับขึ้นน้อยกว่า ECB) และจะเห็นแนวโน้ม การปรับลดลงของดอกเบี้ยในปีนี้ (ปลายปีอยู่ที่ 4%)

สรุป สินทรัพย์เสี่ยงมีแรงหนุนช่วงสั้นๆ หลังนักลงทุนคาดว่า FED ขึ้นดอกเบี้ยในรอบ นี้ 0.25% และจะเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี บวกกับปรับขึ้นน้อยกว่า ECB หนุนให้ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า ในทางกลับกัน ค่าเงินบาทเองก็มีโอกาส กลับมาแข็งค่าได้เช่นกัน หวังว่าช่วยหนุนให้ Fund Flow ชะลอการไหลออกได้

คาด FUND FLOW น่าจะชะลอการไหลออกหุ้นไทยในสัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญญาธ.พ. ล้ม กดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคทุก แห่ง โดย ต่างชาติขายหุ้นไต้หวันสูงสุด 929 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 497 ล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ 447 ล้านเหรียญ, ไทย 283 ล้านเหรียญ และ อินโดนีเซีย 48 ล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้คาดว่า Fund Flow น่าจะชะลอการไหลออกจากตลาดหุ้นไทย ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. UBS เข้าซื้อกิจการ Credit Suisse ช่วยสร้าง Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น ในช่วงสั้น แต่ยังต้องติดตามต่อว่าจะมี ธ.พ. อื่นๆ ล้มอีกหรือไม่?

2. นักลงทุนคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยรอบ 22 มี.ค. 66 เพียง 0.25% เป็น 5% และอาจค่อยๆลดดอกเบี้บลงในช่วงกลางปีนี้ เดิมคาดเพดานดอกเบี้ยในปีนี้อยู่ที่ 5.75% ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยที่น้อยลง บวกกับอาจลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น ตามกลไกจะช่วย หนุนให้ตลาดหุ้นซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้นได้

3. ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ต่างชาติมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยล่าสุดอยู่ที่ 34.1 บาท/เหรียญ แข็งค่าขึ้นมากว่า 3.1%mtd หลักๆ ได้แรงหนุน จากค่าเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มอ่อนค่า

4. การเลือกตั้งใกล้เข้ามา คาดจะเห็นนโยบายเด็ดๆ ของแต่ละพรรคเพิ่มเติม ในช่วง โค้งแรกของการหาเสียงหลังยุบสภา ดีต่อกลุ่ม COMM, FIN, BANK, MEDIA, FOOD เป็นหลัก และบางพรรคเริ่มมีการเน้นเรื่อง รถ EV, Soft Power, การใช้ เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการบริหารทำธุรกิจกับประชาชนมากขึ้น สำหรับหุ้น เด่นการเมือง แนะนำ CRC CPALL (BK:CPALL) BJC MTC SAWAD THANI KBANK (BK:KBANK) BBL BEC PLANB CBG SAPPE OSP SNNP

นอกจากนี้สังเกตได้ว่าหุ้นใน SET100 ที่ Outperform สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นหุ้นอิง กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ( Domestic) สวนทางกับหุ้นที่อิงกับการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจโลก (Global) ค่อนข้าง Underperform

สำหรับวันนี้คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1555 – 1580 จุด Toppick เลือกlj;o กลยุทธ์ในการเลือกหุ้น แนะนำหุ้น Domestic ที่ได้กระแสใกล้เลือกตั้งเข้ามาหนุน อย่าง SNNP CBG AMATA เป็น Top pick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย