การที่ธนาคารกลางต่างๆ เข้ามาอัดฉีดเงินช่วยเหลือสถาบันการเงินที่มีปัญหา ดู เหมือนว่าจะทำให้เกิดบรรยากาศของความผ่อนคลายระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จาก การตอบสนองของตลาดหุ้นที่Rebound ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเราเห็นว่า ยังไม่มี กลไกที่จะเกิดขึ้นมาเพื่อหยุดปัญหาของสถาบันการเงิน ซึ่งต้นตอหลักประการหนึ่ง คือการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ล่าสุดการประชุม ECB มีมติให้ปรับชึ้นดอกเบี้ย นโยบายอีก 0.5% มาอยู่ที่ 3.5% และดูเหมือนว่ายังมีการปรับขึ้นได้ต่อเพื่อที่จะกด เงินเฟ้อให้ลงมาใกล้เป้าหมาย ส่วนการประชุม Fed ในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะเห็น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นมา 0.25% มาอยู่ที่ 5% และเชื่อกันว่า น่าจะเห็นการ คงอัตราดอกเบี้ยไว้เที่บริเวณดังกล่าว ส่วนในบ้านเรา กนง. จะมีการประชุมวันที่ 29 มี.ค.66 ซึ่งเราคาดหวังว่าจะเห็นการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
คาดว่าวันนี้น่าจะเห็นการ Rebound ขึ้นมาของ SET Index ตาม Sentiment บวกของตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่อเชื่อว่าความผันผวนยังไม่จบ ประเมินกรอบ วันนี้ที่ 1540 – 1570 จุด Top Pick เลือก CRC, MAJOR และ THANI
ความกังวลภาคธนาคารผ่อนคลายช่วงสั้น แต่ยังต้องติดตามต่อ
วานนี้ตลาดหุ้นต่างประเทศกลับมาเปิดโหมด Risk on อีกครั้ง โดยในฝั่งสหรัฐปิดตัวในแดน บวกราว +1.2% ถึง +2.5% ขณะที่ฝั่งยุโรปดัดตัวขึ้นมากว่า +0.9% ถึง +2.0% จากระดับ ความกังวลผ่อนคลายมากขึ้น หลังเห็นความพยายามในการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อแก้ไขปัญหา ในเรื่องระบบธนาคารของสหรัฐและยุโรปที่ก่อนหน้านี้เกิดการขาดสภาพคล่องรุนแรงจาก การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงของธนาคารกลางตลอดช่วงปีที่ผ่านมา
• สหรัฐฯ : ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งของสหรัฐ อาทิ JP Morgan, Morgan Stanly ฯลฯ เตรียมอัดฉีดเงินราว 30,000 ล้านเหรียญฯ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ของ First Republic Bank (FRB) ซึ่งเป็นธนาคารในระดับภูมิภาคของสหรัฐ ผ่าน รูปแบบการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของ FRB
• ยุโรป : ธนาคารกลางยุโรปประกาศพร้อมให้ความช่วยเหลือ Credit Suisse (CS) ให้กู้ยืมเงินราว 50,000 ล้านฟรังก์(1.8 ล้านล้านบาท) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ ภาคธนาคารและสกัดกั้นไม่ให้ปัญหาลุกลามเกิดความเสียหายต่อระบบการเงิน
อย่างไรก็ตามแม้จะมีปัจจัยบวกที่เข้ามาช่วยผ่อนคลายระดับความกังวลในภาคธนาคาร แต่ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า การดำเนินการโดยการอัดฉีดเม็ดเงินอาจสามารถแก้ไขปัญหาขาด สภาพคล่องได้ในช่วงสั้นๆ เนื่องจากต้นตอสาเหตุที่แท้จริงกลับยังคงอยู่ โดยหลักๆ มาจาก อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับสูง รวมถึง Fed และ ECB ต่างมีแนวโน้มเดินหน้าปรับขึ้น ดอกเบี้ยต่อไป เพื่อกดดันให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2% ซึ่งหากยังมีการปรับลด ดอกเบี้ย อาจจะทำให้ธนาคารอื่นๆ ต้องเผชิญปัญหาเดียวกันนี้ได้เช่นกัน จึงเป็นความเสี่ยง ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดถึงระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เพราะอาจส่งกระทบหนักต่อ เศรษฐกิจถึงขั้นเข้าสู่ภาวะ Recession ได้
สรุป ระดับความกังวลผ่อนคลายมากขึ้นหลังเห็นความพยายามในการอัดฉีดเม็ดเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาระบบธนาคารของสหรัฐและยุโรปขาดสภาพคล่อง หนุนให้มีแรงซื้อ สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นบ้านเราด้วย เช่นกัน อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยประเมินว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจสามารถแก้ไข ปัญหาได้เพียงช่วงสั้นๆ เป็นเพราะสาเหตุหลักที่มาจากดอกเบี้ยสูงยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดถึงระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น
ช่วงเวลาประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง ชี้ชะชาตลาดหุ้นระยะถัดไป
ECB มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.5% เป็น 3.5% ตามคาด ท่ามกลางวิกฤตภาค ธนาคารและความผันผวนในตลาดการเงิน เนื่องจากเงินเฟ้อยุโรปยังยืนอยู่ในระดับสูงนาน กว่าคาด และยังห่างไกลจากกรอบเป้าหมายของ ECB ที่ 2%YoY (เงินเฟ้อเดือน ก.พ. +8.5%YoY) ทั้งนี้ ECB คาดว่าเงินเฟ้อยุโรปในปีนี้จะอยู่ที่ +5.3%YoY และทยอยลดลง เรื่อยๆ (ปี 66 +2.9%YoY, ปี 67 +2.1%YoY)
ขณะที่ในฝั่งสหรัฐฯอาจเห็น Fed ยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น หลังเงินเฟ้อสหรัฐ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง บวกกับการขึ้นดอกเบี้ยตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลกระทบต่อ ปัญหาสภาพคล่องในภาคธนาคารนำไปสู่ Asset Quality ที่แย่ลง อีกหนึ่งแรงเสริมชะลอ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed คือ Initial Jobless Claim ที่ลดลง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 192,000 ต่ำกว่าตลาดระดับ 205,000 ราย และปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า) บ่งชี้ ถึงตลาดแรงงานสหรัฐอาจมีแนวโน้มอ่อนแอ
โดยผลการสำรวจ Fed Watch Tool เผยว่า เพดานการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 5% (ซึ่ง 1 เดือนก่อนหน้านี้เพดานยังอยู่ระดับ 5.75%) ส่วนการประชุม 22 มี.ค.66ตลาด คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแค่0.25% (น้อยกว่า ECB) และจะเห็นแนวโน้มการปรับลดลง ของดอกเบี้ยในปีนี้ ประเด็นดังกล่าวหนุนให้ Dollar Index อ่อนค่า 0.2% อยู่ระดับ 104.40 จุด, Bond Yield สหรัฐฯ 2ปี -10 ปีปรับเพิ่มขึ้นราว 3% - 7%
ขณะที่ฝั่งประเทศไทย กนง.มีประชุม 29 มี.ค.66 ฝ่ายวิจัยฯคาดว่ามีโอกาสที่จะคงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนล่าสุดลดลงอยู่ที่ระดับ +3.79%YoY (ต่ำกว่าตลาดที่ +4.18%YoY) ถือเป็นสัญญาณที่ดีและเข้าใกล้กรอบ เป้าหมายของ ธปท. มากขึ้นที่ระดับ 1%-3% ประกอบกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 4Q65 ขยายตัวได้น้อยกว่าช่วงไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2565 หลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ โลกชะลอตัว
สรุป เช้าสู่ฤดูกาลของการประชุมธนาคารกลางทั้ง ECB ที่ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% FED ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และ BOT ฝ่ายวิจัยฯคาดหวังว่าจะคงดอกเบี้ยระดับ เดิม 1.50% ต้องติดตามรอดูผลลัพธ์ว่าเป็นเช่นไร ตามตลาดคาดหรือไม่ ซึ่งจะเป็น ตัวกำหนดทิศทางตลาดหุ้นในระยะถัดไป
UPSIDE ตลาดหุ้นเปิด…แนะแบ่งเงินสะสมหุ้นเพิ่มเล็กน้อย
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกเผชิญกับความกังวล ธ.พ. หลายแห่งล้ม กดดันให้ตลาดหุ้น หลายแห่งปรับฐานลงไปมากกว่า -5% อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นตลาดหุ้นหลายแห่งทยอยฟื้น ขึ้นจากจุดต่ำสุด รวมถึงความผันผวนของตลาดเริ่มลดน้อยลง สะท้อนได้จาก VIX Index ที่ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 22.9 จุด ต่ำสุดในรอบสัปดาห์ (เคยสูงกว่า 30 จุดในระหว่างสัปดาห์)
ความผันผวนตลาดหุ้นโลกที่ลดน้อยลง บวกกับตลาดหุ้นไทยในปีนี้ที่ปรับฐานลงมากว่า - 6.8% มาอยู่ที่ 1554.65 จุด จน Upside เริ่มเปิดเมื่อเทียบกับดัชนีเป้าหมายที่ 1610 จุด จึงแนะนำทยอยสะสมหุ้นเพิ่ม
ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้นที่มีโอกาสรีบาวน์กลับช่วงสั้นๆ โดยการเลือกหุ้นใน SET100 ที่ลงมาลึก และมีค่า Beta >1 คาดหวังการฟื้นกลับได้แรงกว่าตลาด ได้ผลลัพธ์ดังตาราง ทางด้านล่าง ชื่นชอบ JMT, TIDLOR, MTC, IVL, BAM
ขณะเดียวกันฝ่ายวิจัยฯ ยังคัดกรองหุ้นได้ Sentiment รับการหาเสียงเลือกตั้ง หลังยุบสภา ซึ่งนโยบายหาเสียงแต่ละพรรค ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการช่วยเหลือปากท้องประชาชนเป็น หลัก ดีต่อกลุ่ม COMM, FIN, BANK, MEDIA, FOOD เป็นหลัก และบางพรรคเริ่มมีการเน้น เรื่อง รถ EV, Soft Power, การใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการบริหารทำธุรกิจกับ ประชาชนมากขึ้น สำหรับหุ้นเด่นการเมือง แนะนำ CRC CPALL (BK:CPALL) BJC MTC SAWAD THANI KBANK (BK:KBANK) BBL BEC PLANB CBG SAPPE OSP
ส่วน SET Index วันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1540 – 1570 จุด Toppick เลือกหุ้น CRC และหุ้นพื้นฐานราคาลงลึก THANI, MAJOR
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities