เมื่อคืนปรับลดลงแรงอีกรอบหนึ่ง ซึ่งประเมินว่ามีองค์ประกอบ ของความกังวลอยู่ 2 ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ได้แก่ความกังวลเรื่องการปรับขึ้น ดอกเบี้ยที่กลับแรงขึ้นมาหลังเงินเฟ้อปรับลดลงช้า และตัวเลขตลาดแรงงานที่ แข็งแรง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นความกังวลที่กำลังเร่งตัวขึ้นมาได้แก่โอกาสที่จะเกิด Recession ทั้งนี้เป็นเพราะตัวเลข Inverted Yield Curve ระหว่าง Bond Yield 10 – 2 ปี ติดลบ 0.93% โดยที่บางวันขึ้นไปสูงถึง ลบ1.07% ภาวะดังกล่าวน่าจะ ส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดหุ้นไทยเช้านี้ด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า SET Index ยังน่าจะประคองตัวอยู่เหนือ 1600 จุดได้ ด้วยแรงหนุนจากอัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา ที่ปรับลดลงอย่างน่าพอใจ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ฟื้นตัว กลยุทธ์การลงทุนเน้น หุ้นที่เห็นการฟื้นตัวของกำไร และได้ประโยชน์จากกระแสทางการเมือง
คาดว่า SET Index วันนี้น่าจะได้รับแรงกดัดนจาก Sentiment เชิงลบของตลาด หุ้นต่างประเทศ แต่ยังเชื่อว่าน่าจะสามารถประคองตัวเหนือ 1600 จุดได้ ส่วนแนว ต้านอยู่ที่ 1620 จุด สำหรับหุ้น Top Pick เลือก ADVANC, SAPPE และ STEC
ความกลัวเรื่องดอกเบี้ยสูง + RECESSION กดดันตลาดหุ้นต่อเนื่อง
วานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรอบล่าสุดอยู่ที่ 211,000 ราย (สูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์) ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด 195,000 ราย และปรับตัวสูงขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนหน้า 190,000 ราย สะท้อนตลาดแรงงานที่เริ่มมีสัญญานอ่อนแอลงเล็กน้อย แต่ก็ถูกหักล้างด้วยตัวเลขค่าจ้างแรงงานรายชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความกังวลเรื่อง ดอกเบี้ยขาขึ้นยังคงมีอยู่ โดยโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ในการประชุม นโยบายการเงินวันที่ 22 มี.ค. นี้ อ้างอิงจาก Fed Watch Tool อยู่ที่60.9% (เดิม 78.6%) ทั้งนี้ก่อนที่จะถึงกำหนดประชุม ยังต้องรอติดตามการประกาศ 2 ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ Nonfarm Payrolls ในวันที่ 10 มี.ค. (ตลาดคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 225,000 ตำแหน่ง) และอัตราเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ก.พ. ในวันที่ 14 มี.ค. (ตลาดคาดว่าจะลดลง ต่อเนื่องมาอยู่ที่ +6.0%YoY) ซึ่งคาดว่าจะช่วยชี้แนวโน้มการตัดสินใจของ Fed ในดำเนิน นโยบายการเงินได้
ขณะเดียวกันตามกลไกการลดสภาพคล่องหรือเร่งขึ้นดอกเบี้ย ถือว่ากดดัน Valuation พอสมควร โดยหากประเมินจาก Current MEYG และ Forward MEYG ของสหรัฐฯ (ตลาดคาดดอกเบี้ยสหรัฐขยับขึ้นอีก 1.0% ในช่วง 1H66 อย่างไรก็ตามตลาดคาดมีโอกาส สูงที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง มาอยู่ระดับ 5.50%) อยู่ที่ 0.9% และ 0.1% ตามลำดับ
นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วและอาจจะสูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ไว้ เป็นหนึ่งปัจจัยเร่งที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ Recession มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำ ให้วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐสหรัฐร่วงลงแรงกว่า -1.7% ถึง -2.8% ส่วน Bond Yield สหรัฐ 10 ปี และ 2 ปี ปรับตัวลดลง -2.2% และ 3.9% ตามลำดับ และยังอยู่ในภาวะ Inverted Yield Curve ต่อเนื่อง -0.97%
สรุป อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วและอาจจะสูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ไว้ เป็นหนึ่งปัจจัยเร่งที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะ Recession มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำ ให้กดดันสินทรัพย์ทางการเงิน และคาดว่าจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้นบ้าน เราในวันนี้เช่นกัน
ค่าเงินบาทผันผวน FUND FLOW ชะลอช่วงสั้น แต่คาดหวังการชะลอการ ไหลออก หากเห็นพัฒนาการเมือง และภาษีหุ้นถูกเลื่อนชัดเจนขึ้น
ตั้งแต่ช่วง 18 ต.ค.65 – 31 ม.ค.66 ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 8.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ค่าเงิน บาทแข็งค่าราว 13.6% ขณะที่ตั้งแต่ 1 ก.พ.66-ปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 5.4 หมื่น ล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าราว 7.0% ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการศึกษาทิศทาง Fund Flow ที่ไหลเข้าตลาดหุ้นกับค่าเงินบาท พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกัน (มี ค่า Correlation สูงถึง -93%)คือ เวลาที่ค่าเงินบาทแข็ง Fund Flow ก็มักจะไหลเข้าตลาด หุ้น แต่เวลาที่บาทอ่อน Fund Flow ก็มักจะไหลออกเช่นกัน โดยเฉลี่ยทุกๆบาทที่อ่อนค่า 1% Fund Flow มีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นไทยราว 7–8 พันล้านบาท
หากพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. 66 – ปัจจุบัน พบว่า ภายใต้ Fund Flow ที่ ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท และบาทอ่อนค่าขึ้นมาแล้วกว่า 7% แต่ในระยะถัดไป เริ่มเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งขึ้นเรื่อยๆ บวกกับหากการเก็บภาษีหุ้นถูก เลื่อนออกไป น่าจะช่วยจำกัดให้ Fund Flow ชะลอการไหลออกได้ในอีกมุมที่ดัชนี +- 1610 จุด ก็ถือเป็นจังหวะในการทยอยลดเงินสดและเข้าสะสมหุ้นอีกครั้ง
คัดกลุ่มหุ้นรับกระแสเลือกตั้ง ราคา LAGGARD ชอบ STEC THANI
ฝ่ายวิจัยทำการรวบรวมนโยบายหาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ให้ น้ำหนักในการกระตุ้นเศรษฐกิจดูแลปากท้องประชาชนเป็นหลัก และหากนำมาอิงกับกลุ่ม หุ้นที่ได้ประโยชน์ พบว่า กลุ่ม COMM, FIN, BANK, MEDIA, FOOD ได้ประโยชน์กับ นโยบายของแต่ละพรรค และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตที่กลุ่มพวกนี้มักจะ Outperform ตลาดก่อนการเลือกตั้ง เสมอ
โดยกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเลือกตั้งที่ราคายังปรับขึ้นมาได้ไม่เยอะ คือ กลุ่ม FIN ปรับตัว -9.9%ytd, CONS ปรับตัว -3.9%ytd, COMM ปรับตัว -3.7%ytd, CONMAT - 3.3%ytd ขณะที่ SET Index -3.2%ytd
ในภาวะตลาดผันผวน แนะนำสะสมหุ้นธีมเลือกตั้ง Laggard อย่าง JMT, THANI, CPALL (BK:CPALL), KBANK (BK:KBANK), BEC, STEC และหุ้นธีมเลือกตั้งปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง CBG, ADVANC เป็นต้น
ส่วน Top picks วันนี้เลือกหุ้นที่ Laggard และได้ประโยชน์จากธีมเลือกตั้ง 2 บริษัท คือ ADVANC STEC และอีก 1 บริษัทเลือกหุ้นแนวโน้มกำไรปี 2566 ยังดูสดใสอย่าง SAPPE
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities