สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อลดลงในอัตราที่ช้าลง ทำ ให้ความกังวลว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายยาวนานกว่าที่คาด โดยล่าสุดมี การรายงาน ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานออกมาที่ 1.94 แสนราย ต่ำกว่าที่คาด และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา สะท้อนความแข็งแรงของภาคแรงงาน ในอีกทางหนึ่ง ตัวเลข PPI เดือน ม.ค.66 ก็ออกมาสูงกว่าคาดอยู่ที่ 6% YoY เชื่อว่าสถานการณ์ ดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่เข้ามารบกวนตลาดอีกระยะหนึ่งแต่ผลกระทบจะไม่มาก เหมือนในอดีต ส่วนในบ้านเราพบว่าเงินบาทยังอยู่ในภาวะที่อ่อนค่า แรงกดดันหลัก มาจาก USD ที่แข็งค่าขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเงิน บาท น่าจะเริ่มทรงตัวได้ที่บริเวณ 34.5 – 34.8 บาท/USD ซึ่งหากสามารถยืนได้ ตามคาด เชื่อว่าจะเห็นการกลับเข้ามาของ Fund Flow อีกครั้งหนึ่ง
ในระยะสั้นเชื่อว่า SET Index จะถูกรบกวนจาก กระแสเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย ในสหรัฐฯ แต่ผลกระทบจะมีจำกัด วันนี้คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1640 – 1660 จุด หุ้น Top Pick เลือก GULF, TISCO และ TU
ตลาดกังวล FED เร่งขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด
วานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claim) ลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 194,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าคาดที่ ระดับ 200,000 ราย นอกจากนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐยังเปิดเผย ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต เดือน ม.ค. +6.0%YoY และ +0.7%MoM สูงกว่าที่ตลาดคาดอยู่มากที่ระดับ +5.4% และ +0.4% ตามลำดับ ส่วนดัชนี Core PPI +5.4%YoY ในเดือนม.ค. สูงกว่าตลาดคาดที่ +4.9%YoY
ประเด็นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนกังวลว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาด ไว้ และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.5% โดยล่าสุด Fed Watch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 3 ครั้งใน การประชุม เดือน มี.ค., พ.ค. และมิ.ย. สู่ระดับสูงสุดที่ 5.25-5.50% และจะตรึงอัตรา ดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับดังกล่าวก่อนที่จะปรับลดลง 0.25% ในเดือน ธ.ค.66 อีกทั้งนาย เจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ยังเปิดเผยว่า ในการประชุม 1 ก.พ.66 ที่ ผ่านมา เขาเสนอให้คณะกรรมการเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุม Fed ครั้ง ถัดไป ทำให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย โดยวานนี้ดัชนี ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 0.9%-1.8% ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าสู่ระดับ 104 จุด ทำให้ ค่าเงินอื่นๆอ่อนค่าลงรวมถึงไทยที่อ่อนค่าสู่ระดับ 34.5 บาท/เหรียญฯ
สรุป ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ความกังวล Recession หายไป อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าว เป็นตัวหนุนให้ความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ FED และคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงจนถึงสิ้นปีกลับมาอีกครั้ง และกดดันตลาดหุ้น สหรัฐฯให้ปิดตัวในแดนลบคืนที่ผ่านมา ซึ่งคาดสร้าง Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น ไทยวันนี้ โดยมีวันนี้คาดแนวรับแรกของ SET Index อยู่ที่ระดับ 1640 จุด
DOMESTIC CONSUMPTION + ท่องเที่ยวฟื้นตัวเด่น รอรายงาน GDP ปี 65 เช้านี้ ตลาดคาดขยายตัว 3.2%
การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารหลายแห่งทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตรา แลกเปลี่ยนค่อนข้างผันผวน โดยค่าเงินบาทไทยแข็งค่ามากกว่า 9% เพียงระยะเวลาเกือบ 3 เดือน ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันให้การส่งออกของไทยในช่วง 4Q65 ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐไทยยังขยายตัวได้ดี เฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจน โดย จำนวนนักท่องเที่ยวไทยเข้าไทยในปี 2565 ทะลุ 11.8 ล้านคน (สูงกว่า ททท. คาดไว้ที่ 10 ล้านคน) ทั้งนี้หากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 65 ขยายตัวเฉลี่ยราว 3.2% ในช่วง 4Q65 น่าจะเห็นการเติบโตของ GDP ในอัตรา3.5% YoY ขณะที่สำนักวิจัยส่วนใหญ่ ต่าง คาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 และ 2566 ยังคงเติบโตได้ เนื่อง
สำหรับเศรษฐไทยในปี 2566 คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ราว 3.7%YoY ซึ่งเติบโตได้ดีกว่า เศรษฐกิจโลกที่ระดับ 2.3% โดยได้รับแรงหนุนจากทั้งมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ เราเที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน ฯลฯ บวกกับภาคการท่องเที่ยวที่อาจฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด หลังจีนประกาศเปิดประเทศ ซึ่งจะผลักดันตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี2566 อยู่ ที่ระดับ 25 –27 ล้านคน เทียบกับประมาณ 11.8 ล้านคนในปี 2565 และมีทิศทางดีต่อใน ปี 2567 รับประโยชน์จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนเต็มปี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ หลักของประเทศให้สูงยิ่งขึ้น แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงกดดันการฟื้นตัวในปี 2566 ที่ต้องติดตาม ทั้งปัจจัยภายนอกจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจาก ผลลัพธ์ของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่ง รวมถึงเงินบาทที่ค่อนข้างผัน ผวนที่อาจกระทบกับภาคการท่องออก
สรุป เศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มเติบโต หลังภาคท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้ดี ขณะที่ปี 2566 สำนักเศรษฐกิจต่างๆ คาดว่า GDP ไทยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจาก ภาคการบริโภคภายในประเทศและภาคท่องเที่ยวเป็นหลัก แม้จะพึ่งพาภาคการค้า ระหว่างประเทศได้น้อยลง โดยวันนี้ (เวลา 9.30 น.) รอติดตามการประกาศตัวเลข GDP ไทยในปี 2565
FUND FLOW เริ่มชะลอการไหลออก...คาดหวังการไหลกลับในระยะถัดไป
ปัจจัยต่างๆ กดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยในช่วงก่อนหน้ากว่า 2.5 หมื่น ล้านบาท (ณ 30 ม.ค. – 14 ก.พ. 65) ส่วนหนึ่งเกิดจากที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเร็ว และเป็น ช่วงที่รายงานงบ 4Q65 ซึ่งหลายบริษัทประกาศออกมาต่ำกว่าตลาดคาดมาก
ขณะเดียวกันหุ้นขนาดเล็กก็ถูกขายทำกำไรและผันผวนมาก ซึ่งช่วงก่อนหน้าอย่างดัชนี MAI เคยขึ้นไปถึง 5% ก่อนที่จะปรับฐานลงมาเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จนผลตอบแทน (ytd) พลิกกลับมาติดลบ -1.2%
แม้ตลาดหุ้นไทยจะผันผวน แต่ในระยะหลังๆ เริ่มเห็น Fund Flow ชะลอการไหลออก โดย เหลือแรงขายสุทธิต่อวันเหลือเพียงหลักร้อยล้านบาท จากไหลออกวันละหลายพันล้านบาท และเห็นการกลับมาซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures 4.8 หมื่นสัญญาในวานนี้ หรือ 6.3 หมื่นสัญญาใน 4 วันทำการที่ผ่านมา
รวมถึงแนวโน้มค่าเงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าต่อได้ในระยะถัดไป สะท้อนจากในมุม สัญญาณทางเทคนิค พบว่า พฤติกรรมการอ่อนค่าของเงินบาทตั้งแต่ปี 2008 มักอ่อนแรงได้ มากที่สุด 4% ในรอบ 4 สัปดาห์ และจะตามมาด้วยการพักฐานในระยะถัดไป หาก เทียบเคียงกับรอบปัจจุบันที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วกว่า 5% ในรอบ 4 สัปดาห์จาก 32.7 บาท/usd มาที่ 34.42 บาท/USD ซึ่งถือว่าเป็นระดับไม่ปกติ หากพฤติกรรมยังซ้ำกับอดีต เชื่อว่าการอ่อนค่าเงินบาทจากนี้จะเริ่มจำกัดโดยมองแนวต้านที่ 34.50/34.80 บาท/USD และหากตลาดซึมซับปัจจัยลบการรายงานงบ 4Q65 ของตลาดหุ้นไทยมาในระดับหนึ่งแล้ว จึงคาดหวัง Fund Flow ไหลกลับมาในระยะถัดไปได้
ที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของตลาดหุ้นไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ถือเป็นจังหวะในการสะสมหุ้นใหญ่ที่ลงมาลึก เพื่อคาดหวังการฟื้นกลับตามโอกาสที่ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับมามากขึ้น แนะนำ ADVANC, GULF, BGRIM, TU, AOT (BK:AOT), KBANK (BK:KBANK), BBL, TISCO, CRC โดย Top pick วันนี้เลือก TISCO, GULF, TU