วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปพลิกกลับมาบวกราว 1% หลังจาก Bloomberg มี การปรับประมาณการณ์3 ส่วน คือ 1. การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2023 ขึ้นจาก 0.3% เป็น 0.9%, 2. คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2023 จาก 6.1% เหลือ 5.6% ในปี 2023 และอยู่ในกรอบเป้าหมาย 2% ในปี 2024, 3. คาดว่า ECB น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 75bps. ในปีนี้ และเริ่มลดดอกเบี้ยช่วงต้นไตรมาส 1 ในปี 2024ส่วนวันนี้นักลงทุน เฝ้ารอการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ม.ค. 66 ตลาดคาดว่าเติบโต 6.2%YoY แต่ดูสถิติในช่วง 4 รอบล่าสุด ถ้าออกมาตามคาดหรือต่ำกว่าคาด หุ้นมี โอกาสปรับตัวขึ้นต่อในวันพรุ่งนี้ ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามีโอกาสที่ทิศทาง เงินเฟ้อสหรัฐมีโอกาสชะลอตัวเร็วในระยะถัดไป เนื่องจากหนึ่งในส่วนประกอบของ ฐาน CPI ปีที่แล้ว อย่าง ราคาน้ำมัน ที่สูงกว่าปัจจุบันมากและเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็นขั้น บันใด ในช่วงเดือน ก.พ. 65 ถึง เม.ย. 65 ที่ 90 – 110 เหรียญ/บาร์เรล (ปัจจุบัน 79 เหรียญ/บาร์เรล) หนุนเงินเฟ้อสหรัฐมีโอกาสชะลอลงเร็วในระยะถัดไป ทำให้ หุ้นที่ถูกกดดันจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยช่วงก่อนหน้า เริ่มกลับมาน่าทยอยสะสมมาก ขึ้น อาทิ ADCANC, MTC, SAWAD, AP, BAM, GULF, BGRIM, GPSC เป็นต้น
ส่วน SET Index วันนี้ คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1650 – 1675 จุด Top pick เลือก BAM BGRIM PTTGC
คาดการณ์เงินเฟ้อชะลอตัว หนุนตลาดหุ้นต่างประเทศเขียวสดใส
ตลาดหุ้นโลกวานนี้ปิดตัวในแดนบวก โดยในฝั่งสหรัฐปรับตัวขึ้นราว +1.1% ถึง + 1.5% ขณะที่ฝั่งยุโรปปรับเพิ่มขึ้นราว +1.1% ถึง + 1.5% เป็นผลให้เงินไหลออกจากสินทรัพย์ ปลอดภัย อย่าง ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง -0.28% และ Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปีลดลงกว่า -0.8% หลังได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ภาพรวมเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น
เริ่มจากในฝั่งยุโรปที่ทาง Bloomberg ได้มีการปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ลดลงเหลือ +5.6%YoY (เดิมคาด +6.1%YoY) และจะทยอยลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2% ในปี 2667 เนื่องจากฤดูหนาวไม่รุนแรงและปริมาณก๊าซมีเพียงพอในช่วงที่ผ่านมา ทำ ให้ช่วยบรรเทาวิกฤตพลังงานลงไปได้ อีกทั้งยังมีการคาดการว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขอบยุโรปในปี 2566 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 0.9%YoY (เดิมคาด 0.3%YoY) รวมถึงคาด ว่า ECB น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 75bps. ในปีนี้ และเริ่มลดดอกเบี้ยช่วงต้นไตรมาส 1 ในปี 2024
ขณะที่ในฝั่งสหรัฐ ยังเต็มไปด้วยความคาดหวังที่เงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย ตลาดคาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ม.ค. จะขยายตัวราว 6.2%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ระดับ 6.5%YoY ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) คาดว่าจะอยู่ที่ 5.5%YoY ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าเช่นกันที่ระดับ 5.7%YoY
จากการรวบรวมข้อมูลในอดีต จะเห็นได้ว่ากรณีที่เงินเฟ้อสหรัฐปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน หน้าและอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ตลาดคาด มักจะส่งผลให้ผลตอบแทนหุ้นพุ่งสูงขึ้นในวันที่ ประกาศตัวเลข (อาทิ การรายงานผลในเดือน ส.ค. / ต.ค. / พ.ย. 2565) ซึ่งคาดหวังว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่ในทางกลับกันหากในช่วงที่เงินเฟ้อสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าและอยู่ในระดับสูงกว่าที่ตลาดคาด จะทำให้ผลตอบแทนหุ้นผันผวน (อาทิ การรายงาน ผลในเดือน ม.ค. / พ.ค. / มิ.ย. 2565) ซึ่งมาพร้อมกับความกังวลที่ Fed จะยังคงเดินหน้า ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป
สำหรับวันนี้เวลา 20.30 น. (ตามเวลาไทย) มีประเด็มที่น่าติดตามทั้งการประกาศตัวเลข สหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. รวมถึงถ้อยแถลงของประธาน Fed สาขาต่างๆ ได้แก่
• Lorie Logan ประธาน Fed สาขาดัลลัส ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ออกมาให้การ สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ช้าลงในอนาคต แต่ยังส่งสัญญาณว่า Fed อาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าที่คาดไว้เพื่อกดเงินเฟ้อ
• John Williams ประธาน Fed สาขานิวยอร์ก โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ ประกาศว่า Fed มีแนวโน้มที่จะดำเนินการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงไว้ในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง
สรุป ความคาดหวังของภาพรวมเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขเงิน เฟ้อในสหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นโลกดีดตัว ส่วนใน คืนนี้รอติดตามการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ รวมถึงถ้อยแถลงของประธาน Fed สาขาดัลลัสและสาขานิวยอร์ก เพื่อหาสัญญานการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ใน ระยะถัดไป
เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวลงแรงในไตรมาสแรก ลุ้น FLOW ไหลเข้า ตลาดหุ้นและชอบ BAM BGRIM มากสุด
คืนนี้จะรู้ผลลัพธ์ว่า CPI สหรัฐฯจะออกมาเป็นเช่นไร (ตลาดคาด +6.2%YoY) โดยฝ่ายวิจัย ฯ คาดว่า CPI สหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวลงต่อเนื่องอย่างชัดเจน สาเหตุหลักมาจาก ราคา น้ำมันดิบที่ปัจจุบันอยู่ที่ 79 เหรียญฯ/บาร์เรล ซึ่งช่วง 1Q65 เกิดความสงครามยูเครนรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูงมาก อยู่ในช่วง 90-120 เหรียญฯ/บาร์เรล โดยหาก กำหนดให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ตลอดที่ระดับ 79 เหรียญฯ/บาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันเมื่อ เทียบ YoY ชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด
องค์ประกอบของราคาน้ำมัน-พลังงาน ที่ปรับลดลง มีผลทำให้ความกังวลเรื่องอัตราเงิน เฟ้อเริ่มคลี่คลายลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ พบว่าอัตราเงินเฟ้อ YoY ปรับตัวลงมาเรื่อยๆ จากจุดสูงสุดที่ระดับ 9.1%YoY(มิ.ย.65) สู่ระดับ 6.5%YoY(ธ.ค.65) เป็นการลดลง ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้ทำการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯในอนาคต โดยหากใช้การเติบโต CPI รายเดือนที่ 0%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วง ถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไป ทยอยลดลงต่อเนื่อง จากฐานตัวเลข CPI Index ที่อยู่ในระดับสูง โดยคาด CPI สหรัฐฯอยู่ที่5.7%YoY เดือน ม.ค.66 และทยอยปรับ ลงเรื่อยๆ มาอยู่ที่บริเวณ 2.2%YoY ในเดือน พ.ค.66 ซึ่ง ณ ตอนนั้นอัตราดอกเบี้ยที่ คาดการณ์จาก FED Watch Tool อยู่ที่ 5.25% ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) กลับมาเป็นบวกราว 3%
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว รวมถึงหุ้นที่ปรับตัวลงมา ลึกในช่วงกังวล Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย 6 – 13 ก.พ. 66 แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1. หุ้นกลุ่ม Tech ADVANC KCE
2. หุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยชะลอตัว MTC SAWAD
3. หุ้นปันผลสูง AP BAM
4. หุ้นได้ Sentiment ราคา Commodity ลง และบาทแข็ง GPSC BGRIM GULF
สรุป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีโอกาสชะลอลงเรื่อยๆ หลังราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หนุนให้ Dollar Index อ่อนค่าต่อเนื่อง หนุน ค่าเงินบาทแข็งค่า ถือเป็นหนึ่งเหตุผลที่ Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้น ขณะที่ SET Index มักปรับตัวขึ้นเสมอ หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐลดและดีกว่าคาด โดยกลุ่มหุ้นที่ Outperform ในช่วงเวลาดังกล่าว คือ หุ้นกลุ่ม Tech, หุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยชะลอ ตัว, หุ้นปันผลสูง, หุ้นได้ Sentiment ราคา Commodity ลง และบาทแข็ง
ส่วนวันนี้เลือก BAM BGRIM (2 หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเนื้อหาข้างต้น) และ PTTGC (กำไร 4Q65 ออกมา -967 ล้านบาท ดีกว่าที่คาดไว้ที่ -2000 ล้านบาท) เป็น Top picks
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities