ภาพเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคของโลกอยู่ในภาวะที่หลากหลายอารมณ์ โดยในส่วน ของสหรัฐฯ ตัวเลขเศรษฐกิจในหลายหมวดหมู่ออกมาแข็งแรงกว่าคาดทำให้เกิด ความกลัวเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่อาจมากกว่าที่คาด ในยุโรปตัวเลขภาคการค้า ปลีกออกมาไม่ดี ทำให้ความกลัวเรื่อง Recession กลับมา ขณะที่จีนอยู่ในช่วงของ การเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังผ่าน Covid-19 ทำให้เห็นมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจออกมาต่ำเนื่อง สำหรับบ้านเราสัญญาณการฟื้นตัวปรากฎขึ้นในหลาย ส่วนเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคครัวเรือน ขณะที่เงินเฟ้อ ลดลงโดยเดือน ม.ค.66 ลงมาอยู่ที่ 5.02% YoY ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่หลาย อารมณ์ดังกล่าวน่าจะทำให้ ทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไม่ชัดเจน ขณะที่ ยังมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญคือ ผลประกอบการ 4Q65 ที่เบื้องต้นดูทรงไม่ค่อยดี
คาดว่า SET Index น่าจะอยู่ในภาวะผันผวนประเมินกรอบการเคลื่อนไหว ช่วง 1670 – 1690 จุด หุ้น Top Pick ให้น้ำหนักในหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก ภาคการ ท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เลือก BEM , CRC และ NER
เศรษฐกิจหลากหลายอารมณ์หนุนเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย
ปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดความหลายหลายในเชิงมิติเศรษฐกิจ ดังนี้
• สหรัฐฯ : ความกลัวเรื่อง Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าคาด หลัง ตลาดแรงงานสหรัฐยังแข็งแกร่งและดูดีกว่าคาดในเดือน ม.ค. ทั้ง Nonfarm payrolls และ Unemployment rate โดยผลการสำรวจของ Fed Watch Tool พบว่ามีโอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 25 bsp. ในการประชุมอีก 2 ครั้งของปีนี้ โดยมีเพดานอยู่ที่ 5.25% (ก่อนหน้านี้อยูที่ระดับ 5.0%) ขณะที่วันนี้ ยังรอติดตามการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล งานเสวนาฯ เพื่อจับ สัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ Fed
• ยุโรป : กับความกลัวเรื่องเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังดัชนียอดค้าปลีก ในยุโรป -2.7%YoY ในเดือน ธ.ค. 2565 (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ -2.5%YoY) และยัง หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 สะท้อนถึงภาคการบิรโภคชะลอตัวลงมา
• จีน : อยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หลังยุติมารการ Zero-Covid โดยล่าสุดธนาคาร ต่างๆ ในจีน เตรียมปลิอยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอาทิ ธนาคารไชน่า กวงฟา ปรับอัตรา ดอกเบี้ยเป็น 3.65% ต่อปี ลดลงจากระดับ 4.35% ก่อนหน้านี้ เพื่อดึงดูดให้ ประชาชนกู้ยืม และเกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นอีกหนึ่ง แรงหนุนให้วงจรเศรษฐกิจจีนดีขึ้นได้
สรุป มิติที่หลากหลายของเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาค ทั้งกลัวขึ้นดอกเบี้ย กลัว Recession ขณะที่บางภูมิภาคฟื้นตัว เป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงิน แต่ในส่วน ของ SET Index วันนี้ประเมินว่าจะเห็นการเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบช่วง 1670 – 1690 จุด
เงินเฟ้อไทยลดลงต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใส
กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขเฟ้อของไทยเดือน ม.ค. +5.02%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 5.1%YoY) ปรับตวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ +5.89%YoY และยังถือเป็นจุดต่ำสุด ในรอบ 9 เดือน หลังสถานการณ์ราคาพลังงานชะลอตัวลงเล็กน้อย และราคาสินค้าบาง ประเภทปรับตัวลดลง อาทิ เนื้อหมู ผักสด ผลไม้ฯลฯ ขณะที่ Core CPI ลดลงเช่นกันมา อยู่ที่ +3.04%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 3.1%YoY) ปรับตวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ระดับ +3.23%YoY
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง จากปัจจัยด้านราคา สินค้าในกลุ่มพลังงานลดลง อัตราเงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตลดลง (PPI) การชะลอตัวลงของ เศรษฐกิจโลก รวมถึงฐาน CPI ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ประเมินอัตราเงินเฟ้อปี 2566 อยู่ระหว่าง 2 – 3% ซึ่งเป็นอัตราที่ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย
ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยรวมเดือนม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ซึ่งอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือน หลังการบริโภค ภายในประเทศกลับมาคึกคักจากภาคการท่องเที่ยวในช่วง High Season ทั้งเทศกาลปีใหม่ และตรุษจีน โดยหากอิงข้อมูล ททท. ตัวเลขนักท่องเที่ยว ม.ค. 66 ที่ 2 ล้านคน ฟื้นตัวสู่ ระดับ 56% ของ ม.ค. 62 มีพัฒนาการดีต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดประเทศ ก.ค. 65 ที่ช่วง ดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวเข้ามาคิดเป็นสัดส่วน 34% ของ Pre-COVID โดยฝ่ายวิจัยคาด นักท่องเที่ยวต่างประเทศช่วง ก.พ. – มี.ค. 66 มีโมเมนตัมต่อเนื่อง ภายหลังทัวร์จีนเริ่มออก เดินทางได้ตั้งแต่ 6 ก.พ. 66 อีกทั้งยังอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวไทย หนุนแนวโน้ม นักท่องเที่ยวต่างชาติงวด 1Q66 เพิ่มขึ้น QoQ และ YoY ขณะที่ 2Q66 ที่แม้ปกติเป็น Low Season ของท่องเที่ยวไทย แต่ปีนี้ลุ้นการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีน ตามการทยอยเปิด เส้นทางบินจีน – ไทย ว่าจะช่วยผลักดันให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยขยายตัว QoQ ต่อ ได้หรือไม่ ซึ่งช่วง 2Q มี Event ใหญ่อย่างสงกรานต์น่าจะมีการจัดงานทั่วประเทศ รวมถึง Music Festival อย่าง S2O ที่ช่วงก่อนเกิด COVID มีชาวจีนนิยมมาร่วมงาน กลับมาจัดอีก ครั้ง หลังไม่ได้จัดตั้งแต่ COVID-19 ทั้งนี้ หากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2Q66 ไม่ สามารถเติบโต QoQ ได้ อันเป็นผลจากฤดูกาล มองว่าหลังจากผ่านพ้น Low Season ของ ท่องเที่ยว ประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยจะไต่ระดับ QoQ ตั้งแต่ 3Q66 ถึง 1Q67 องค์ประกอบรวมฝ่ายวิจัยคาดการณ์นักท่องเที่ยวไทยปี 2566 ทยอยฟื้นตัวกลับสู่ ระดับ Pre-COVID (40 ล้านคน) ที่ 25 ล้านคน (บนสมมติฐานจีนมาไทยราว 5 ล้านคน หรือ ประมาณ 50% ของปี 2562) เติบโตจาก 11 ล้านคนในปี 2565
สรุป อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าจะเข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ในปีนี้ บวกกับภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่อง จะเป็นแรงหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระยะถัดไป
สำหรับหุ้นเด่น กลุ่มท่องเที่ยว เลือก AOT (BK:AOT)(FV@B80) ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานหลัก ของการท่องเที่ยวไทย, CENTEL ที่มีโรงแรมครอบคลุมประเทศที่ทางการจีนให้เดินทาง แบบทัวร์ได้ทั้ง ไทย, มัลดีฟส์ และ UAE รวมทั้ง MINT(FV@B38) Catch – up play ตามกลุ่มฯ นอกจากนี้การเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเอื้อต่อกำลังซื้อในประเทศ ผสานกับตัวเลขเงินเฟ้อ ม.ค. 66 ที่ทยอยลดลง มองบวกต่อหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption แนะนำ NSL(FV@B28) ตามธีม Domestic Consumption และ Anti Commodities (ตามราคาน้ำมันดีเซลในประเทศลดลง 0.50 บาท ตั้งแต่ 15 ก.พ. 66) และ M(FV@B65) มองทิศทางกำไรรายปีฟื้นตัวต่อเนื่อง
FUND FLOW ชะลอในทิศทางเดียวกับบาทอ่อนช่วงสั้น
ความกังวล Fed อาจกลับมาเร่งขึ้นดอกเบี้ย กดดันให้เม็ดเงินไหลกลับไปยังสินทรัพย์ ปลอดภัย หนุน Dollar Index ใน 2 วันแข็งค่าขึ้น 1.8% อยู่ที่ 103.5 จุด ในทางกลับกัน กดดันให้ค่าเงินหลายประเทศอ่อนค่าขึ้นเร็ว ดังภาพทางด้านล่าง โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่ อ่อนค่าแรงสุดในภูมิภาค 2.14%
ขณะเดียวกันก็เห็น Fund Flow ที่ชะลอการไหลเข้าตลาดการเงินของไทยเช่นกัน โดย ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 7.3 พันล้านบาท (mtd) พร้อมกับขายตราสารหนี้ไทย 4.05 หมื่น ล้านบาท (mtd)
ฝ่ายวิจัยฯประเมินว่า “ค่าเงินบาทน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แนวต้าน ที่ 34 บาท/เหรียญ”และระยะถัดไปน่าจะได้แรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแรงขึ้น เรื่อยๆ รวมถึงระยะกลางยาวค่าเงินดอลลาร์ยังมีโอกาสกลับมาแข็งค่าจากการใช้ นโยบายการเงินที่เข้มข้นขึ้นของประเทศในตระกร้าค่าเงิน อาทิ ยุโรป, อังกฤษ เป็นต้น ยังคงเชื่อว่า Fund Flow จะยังไหลกลับเข้ามาในระยะถัดไป
กลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นเปิดเมืองผันผวนต่ำ ราคาย่อตัวลงมาระดับหนึ่ง อย่าง CRC, BEM และหุ้นได้ประโยชน์จากบาทอ่อน NER เป็น Top pick
DELTA เทรด 50 หุ้นวันแรก คาดมูลค่าซื้อขายคึกคักขึ้น แต่พื้นฐานยัง เหมือนเดิม
วันนี้ 7 ก.พ. 66 ตลาดปรับมูลค่าซื้อขายขั้นต่ำในหุ้น DELTA จาก 100 หุ้นเป็น 50 หุ้น หลัง ราคาสูงกว่า 500 บาทมา 6 เดือนติดต่อกัน ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงหุ้นใหญ่ ได้มากขึ้น หนุนให้สภาพคล่องและ Free Float เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้มีผลให้ปัจจัยพื้นฐาน เปลี่ยนแปลงไป
และหากเปรียบเทียบกับหุ้นรุ่นพี่อย่าง SCC ตอนที่มีการปรับมูลค่าซื้อขายขั้นต่ำ จาก 100 หุ้นเป็น 50 หุ้น (ณ 20 ส.ค. 58) สภาพคล่องหรือมูลค่าซื้อขายก่อนและหลัง 1 เดือน เพิ่มขึ้นกว่า 34% จาก 750 ล้านบาท/วัน เป็น 1007 ล้านบาท/วัน แต่ราคาหุ้นมีโอกาสผัน ผวนมากขึ้น หากมีการเก็งกำไรจากประเด็นดังกล่าวมาในช่วงก่อนหน้า
ขณะที่หุ้น DELTA ได้แรงหนุนทางด้านจิตวิทยามาในระดับหนึ่ง ทั้งการเก็งกำไรมีโอกาส เข้าคำนวณในดัชนี SET50 เม็ดเงินหนุนจากกองทุนหลังจากเข้า SET50 และยังมีปัจจัยเพิ่ม สภาพคล่องจากปรับมูลค่าซื้อขายขั้นต่ำเป็น 50 หุ้นอีก ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดหนุนให้ หุ้น DELTA ขึ้นแรงสุดทิ้งห่างหุ้นอื่นๆใน SET50 โดยให้ผลตอบแทนถึง 41% (ณ ต้นเดือน ธ.ค. 65 – 7 ก.พ. 66) ขณะที่ SET50 +1.01% ในช่วงเวลาเดียวกัน
สรุปการเปลี่ยนระดับราคาซื้อขายขั้นต่ำ หนุนให้ DELTA มีสภาพคล่องเพิ่ม ไม่ได้ทำให้ พื้นฐานเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากมีการเก็งกำไรประเด็นดังกล่าวมาก่อนมาก่อน ระยะ ถัดไปราคาหุ้นมีโอกาสผันผวนมากขึ้นก็เป็นได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities