รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

FUND FLOW อาจชะลอตัวในช่วงสั้น 

เผยแพร่ 06/02/2566 09:14
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐที่ออกมาแข็งแรงกว่าที่คาด โดยล่าสุดมีรายงานตัวเลข อัตราการว่างงานเดือน ม.ค.66 อยู่ที่ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 53 ปี ขณะที่ PMI นอก ภาคผลิตปรับขึ้นจาก 49.2 จุดในเดือน ธ.ค.65 มาอยู่ที่ 55.2 จุดในเดือน ม.ค.66 ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงโอกาสที่จะเกิด Recession ในสหรัฐที่ลดต่ำลง แต่ในอีก ทางหนึ่งก็ไปเพิ่มความกังวลว่า Fed อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาดเพื่อที่จะกด เงินเฟ้อให้ลงไปอยู่ในกรอบเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังมีมุมมองว่าเพดานการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ยังคงจะอยู่ในกรอบจำกัดช่วง 5 – 5.25% ผลที่ตามมา อีกเรื่องหนึ่งก็คือเงิน USD แข็งค่า ซึ่งไปกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า ซึ่งเรามองว่า น่าจะเป็นภาพระยะสั้น และน่าจะทำให้เห็นแรงขายทำกำไรในส่วนของนักลงทุน ต่างชาติ ในระยะสั้น แต่น่าจะกระทบ SET Index อย่างจำกัด

ประเมินว่า SET Index น่าจะผันผวนในกรอบแคบ ช่วง 1675 – 1695 จุด หุ้น Top Pick ให้น้ำหนักในหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก ภาคการท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้ สอยในประเทศ เลือก BEM, CPN และ CRC

EU ตกลงกำหนดเพดานราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันจากรัสเซีย อาจทำให้ ตลาดน้ำมันโลกเสียสมดุลมากยิ่งขึ้น

ประเด็นข่าวสหภาพยุโรป ร่วมกับกลุ่ม G7 และออสเตรเลีย ได้มีมติล่าสุดในการกำหนด เพดานสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปของรัสเซีย (Seaborne Russian Petroleum Products) อาทิ น้ำมันดีเซล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้รัสเซียมีรายได้ลดลงจากการ จำหน่ายน้ำมันที่จะนำไปสนับสนุนการทำสงครามในยูเครน นอกจากนี้คาดจะช่วยสร้าง เสถียรภาพในตลาดน้ำมัน ซึ่งการกำหนดเพดานน้ำมันก่อนหน้าในที่ประชุมกลุ่ม G7 และ สหภาพยุโรปที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2565 เป็นการกำหนดเพดานเฉพาะราคาน้ำมันดิบ จากรัสเซียไว้ที่ระดับราคา 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ธ.ค.2565 แต่ในครั้งนี้เป็นการจำกัดเพดานราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากรัสเซีย โดยเพดานราคา ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูง (premium-to-crude) อาทิ ดีเซล จะอยู่ที่ 100 เหรียญฯต่อบาร์เรล ส่วนเพดานราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีมูลค่าต่ำ (discount-to-crude) อาทิ น้ำมันเตา จะอยู่ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.พ.2566 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นการขยายมาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมน้ำมันรัสเซีย

อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีจากประเด็นการขยายมาตรการคว่ำบาตรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวตัวลดลง ถือเป็นเชิง sentiment ทางจิตวิทยาที่ เกิดขึ้นว่าราคาทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูปอาจจะมีเพดานจำกัด กดดันการปรับตัวขึ้น ถึงแม้ สถานการณ์ด้านความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมจะคลี่คลายลงจากทั้งจีนกลับมาเปิด ประเทศ และการผ่อนคลายภาวะ recession ของเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ตามยังมี ประเด็นที่ต้องติดตามเพราะหากรัสเซียตอบโต้ด้วยการไม่ขายน้ำมันที่มีราคาต่ำกว่าราคา ตลาดโลกค่อนข้างมีนัยฯ อาจทำให้ยุโรปอาจประสบปัญหาด้านอุปทานน้ำมันได้หากไม่ นำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลในยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะผู้ประกอบการกักตุนน้ำมันไว้ล่วงหน้าก่อนการคว่ำบาตรจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นหาก พิจารณาทั้งด้านความต้องการใช้ที่จะค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้น และอุปทานที่อาจจะจำกัดมาก ขึ้น ทำให้ยังคงคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะยังคงผันผวนในกรอบที่มีทั้ง upside จำกัด และ downside จำกัด

ความเสี่ยง RECESSION ลดลง หนุนดอลลาร์กลับมาแข็งค่า กดดัน สินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น

ระดับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ Recession ลดลงเรื่อยๆ หลังกระทรวงแรงงาน สหรัฐฯ เผยข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจในตลาดแรงงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งออกมาดีกว่า คาด ดังนี้

• การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ม.ค.66 เพิ่มขึ้นกว่า 517,000 ตำแหน่ง (สูงกว่าตลาดคาดที่ 185,000 ตำแหน่ง) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใน รอบ 6 เดือน และเมื่อพิจารณาการจ้างงานรายอุตสาหกรรมเทียบกับช่วงเดียวกัน ก่อนเกิดโควิดในปี62 ส่วนใหญ่ทยอยกลับมาดีขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 เฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ

• อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน ม.ค.66ลดลงสู่ระดับ 3.4% (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 3.6%) ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 53 ปี

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงภาคแรงงานสหรัฐที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ทำให้ความกังวลการ เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กลับมาอีกครั้ง หากพิจารณาจากFed Watch Tool จะ เห็นได้ว่ามีโอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 25 bps. ในการประชุมอีก 2 ครั้งของ ปีนี้ โดยมีเพดานอยู่ที่ 5.25% (ก่อนหน้านี้อยูที่ระดับ 5.0%) จึงกดดันให้เงินทุนไหลออก จากสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว -0.4% ถึง -1.6% ในวันศุกร์ ที่ผ่านมา ขณะที่เม็ดเงินได้ย้ายไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง Dollar Index ที่แข็งค่าขึ้นกว่า 1.2% กลับมายืนเหนือ 102 จุดอีกครั้ง (แข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์)

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

สรุป ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยแบบ Soft Landing มีมากขึ้น จาก ปัจจัยแวดล้อมในภาคแรงงานสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ส่งผลให้การดำเนินนโยบาย ทางการเงินเชิงรุกของ FED กลับมาอีกครั้ง โดยในปี 2566 คาดว่าดอกเบี้ยจะสูงสุดที่ ระดับ 5.25% (เดิมคาด 5.00%) กดดันให้เงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง ย้ายไปสู่ สินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง Dollar index ในระยะสั้น

เงินทุนสำรองของไทยยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เงินบาทแข็งค่ารอล่วงหน้า

การกลับมาเปิดประเทศของจีน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในมุมของภาคการท่องเที่ยว ซึ่ง ประเมินตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนเขาไทยปีนี้ราว 3 – 5 ล้านคน (30% - 50% ของ PreCOVID) อาจผลักดันตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี 2566 อยู่ที่ระดับ 25 – 27 ล้าน คน เทียบกับประมาณ 11.8 ล้านคนในปี 2565 ประเด็นดังกล่าว ยังช่วยหนุนดุลบริการ และดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นตาม โดย ปัจจุบันเงินทุนสำรองฯ อยู่ที่ระดับ 2.26 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยใน อดีตที่ระดับ 2.32 แสนล้านเหรียญฯ จึงมีแนวโน้มที่เงินทุนสำรองฯ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก ทั้งสถิติในอดีตบ่งชี้ว่าเงินทุนสำรองฯ ที่สูงขึ้นมักจะมาพร้อมกับเงินบาทที่แข็งค่า สะท้อน ได้จากค่า Correlation ที่ติดลบราว 0.40 จึงทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสทรงตัวในระดับแข็ง ค่าต่อในกรอบ 32.5-33.5 บาท/เหรียญฯ

ทั้งนี้สัดส่วนทุนสำรองต่อมูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. มีมากถึง 9.5 เดือน ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ ธปท. ประเมินไว้ว่าควรจะมีทุนสำรอง/นำเข้า ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน สะท้อนได้ว่า ฐานะทางการเงินของไทยยังคงแข็งแกร่ง และเป็นปัจจัยหนุนต่อค่าเงินบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้แข็งค่ามารอล่วงหน้าแล้ว

ส่วนประเด็นที่น่าติดตามสัปดาห์นี้ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือน ม.ค. 66 ที่จะประกาศ วันนี้โดยตลาดคาดวจะขยายตัวราว 5.10%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.89% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.10%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ระดับ 3.23%YoY เช่นกัน และประชุม ครม. ในวันพรุ่งนี้ คาดจะพิจารณามาตรกระตุ้น การท่องเที่ยวเพิ่มเติม อาทิ ขยายเวลาปิดสถานบันเทิงถึง 4.00 น.

สรุป ทุนสำรองระหว่างประเทศยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หนุนให้เศรษฐกิจไทยยังดูดี และเป็น ผลดีต่อเงินบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แข็งค่ามารอล่วงหน้า ส่วนวันนี้มีประกาศอัตราเงิน เฟ้อในไทย คาดอยู่ที่ +5.10%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ +5.89%YoY โดยประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมา น่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกให้กับตลาดหุ้นไทยได้ ในระยะถัดไป โดยวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index อยู่ที่ 1675-1695 จุด

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ยังคงเน้นหุ้นธีม Re-opening Play อาทิ กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม ขนส่ง โดย Top picks วันนี้เลือก CRC BEM และ CPN

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย