ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) และ อังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายในอัตรา 0.5% มาอยู่ที่ระดับ 3.0% และ 4% ตามลำดับ ทั้งนี้ธนาคาร กลางทั้ง 2 แห่งยังส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งต่อ และจากการที่ฝ่าย วิจัยรวบรวมข้อมูลการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญ พบว่าเมื่อเทียบ การปรับขึ้นของ Fed การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ECB และ BOE อยู่ในระดับ Laggard กว่าอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเงินเฟ้อก็ยังสูงกว่าสหรัฐ มาก ภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้เงิน USD ยังมีโอกาสที่จะอ่อนค่าได้ต่อ สำหรับบ้าน เรา ในปี 2565 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแล้วรวม 1% และส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยต่ออย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ พิจาณาค่าเงินบาท เชื่อว่าได้แข็งค่ามารอล่วงหน้าแล้ว น่าจะเห็นแนวโน้มทรงตัว
เห็นสัญญาณการชะลอตัวของ Fund Flow ทำให้กระแสการลงทุนกลับมาที่หุ้น กลาง-เล็กมากขึ้น ส่งผลทำให้ SET Index ยังอยู่ในกรอบแคบช่วง 1670 – 1690 จุด หุ้น Top Pick เลือก MAJOR , CPN และ ADVANC
ยุโรปขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าสหรัฐ กดดันดอลลาร์อ่อนค่าต่อ
อัตราเงินเฟ้อในฝั่งยุโรปที่ทรงตัวในระดับสูง เป็นเพราะราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ขณะที่การ ประชุมนโยบายการเงินครั้งแรกของปี 66 ทาง ECB และ BOE ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง
• ECB มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps. สู่ระดับ 3.0% ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 5 ติดต่อกัน โดยในถ้อยแถลงยังเผยว่าจะดำเนิน นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อให้เงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% และมี แนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยระดับ 50bps ในการประชุมครั้งถัดไป (วันที่ 16 มี.ค. 66) เนื่องจาก Core CPI ยังอยู่ในระดับสูง (เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ 5.2%) หรือคง ดอกเบี้ยไว้นาน เพื่อกด Demand ให้หดตัวลง รวมถึงจะเริ่มทำ QT จำนวน 1.5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ตั้งแต่เดือน มี.ค. ถึง มิ.ย.
• BOE มีมติปรับขึ้น ดอกเบี้ย 50 bps. สู่ระดับ 4.0% ซึ่งสูงสุดนับแต่ช่วงวิกฤต Hamburger Crisis ในปี 2008 และยังเตือนว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่จบ จึงมี ความเป็นไปได้ที่จะจบการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว โดยตลาดคาดว่า ดอกเบี้ย ณ สิ้นปี66 จะอยู่ที่ 4.5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อมห้เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ ระดับ 2% ในช่วง 2Q67
สำหรับการดำเนินโยบายการเงินของ Fed มีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น โดยประชุมเมื่อวันที่ 1 ก.พ. มีมติขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bsp. สู่ระดับ 4.75% หลังเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นมาแรง กว่า +4.25% ในปี 65 (ดอกเบี้ย ณ สิ้นปีอยู่ที่ 4.5%) ถึงขึ้นปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 75 bsp. ติดต่อกันกว่า 4 ครั้ง ซึ่งสวนทางกับฝั่งยุโรปที่ล่าสุดยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 bsp. เป็นเพราะในช่วงปีที่ผ่านมาปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งที่ช้ากว่าสหรัฐ โดย ประเด็นนี้อาจกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า มีผลต่อการแข็งค่าของค่าเงินยูโร และปอนด์ (มีสัดส่วนตะกร้าค่าเงินเทียบกับดอลลาร์สหรัฐรวมกันราว 69%) หนุนให้ค่าเงิน บาทมีแนวโน้มทรงตัว - แข็งค่าในระยะถัดไปได้เช่นกัน
สรุป การประชุมนโยบายการเงิน ครั้งที่ 1/2566 ทาง Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 25 bps. หลังจากเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงในปี 65 ขณะที่ ECB และ BOE มีมติปรับขึ้น ดอกเบี้ย 50 bps. เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมาปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งที่ช้ากว่า สหรัฐ ทำให้เห็นช่องว่างการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของฝั่งยุโรปมากกว่าสหรัฐ กดดันให้ค่าเงิน ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า มีผลต่อการแข็งค่าของค่าเงินยูโรและปอนด์ หนุนให้ค่าเงิน บาทมีแนวโน้มทรงตัว - แข็งค่าในระยะถัดไปได้เช่นกัน
ฝุ่นคลุ้งถือเป็นกระแส (-) ท่องเที่ยว (+) กลุ่มโรงพยาบาลและธุรกิจที่ เกี่ยวข้อง
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง หลังความกดอากาศสูง เพดานอากาศต่ำ รวมถึงการใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้เกิดการสะสมของ ฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเช้านี้ล่าสุด แอป IQAir.com ซึ่งเป็นแอปรายงานคุณภาพอากาศเผย กรุงเทพมีคุณภาพอากาศ (AQI : Air Quality Index) อยู่ที่ลำดับ 22ของโลก (วานนี้อันดับ 10) ส่วนเชียงใหม่อยู่ที่ลำดับ 12 ของโลก โดยทางกรมควบคุมมลพิษเผย ฝุ่น PM2.5 อาจค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศกรุงเทพ ยาวไปจนถึง 7 ก.พ. ซึ่งทำให้หลายบริษัทประกาศ Work From Home ทั้งนี้ฝุ่น PM 2.5 ที่พุ่งสูงขึ้นอาจกดดันภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากกรุงเทพเชียงใหม่ถือเป็นจุดหมาย ปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปี 2565 จังหวัดเชียงใหม่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 4,246 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ ไทย
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นกระแสลบต่อหุ้นท่องเที่ยว และยังมีกลุ่มที่ได้ Sentiment บวก คือ โรงพยาบาล, ร้านขายยา และธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยป้องกันจัดการฝุ่นต่างๆ แนะนำ BDMS BH HL IP MEGA HMPRO CRC
ช่วงฤดูกาลประกาศงบตลาดหุ้นอาจผันผวนและมีทิศทางที่ไม่สอดคล้อง กันบ้าง
เดือน ก.พ. ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสผันผวน เนื่องจากเป็นช่วงเฝ้ารอดูผลประกอบการ 4Q65 รายหุ้น อีกทั้งเปิดฤดูกาลมาประกาศงบมาก็ทรงอย่างแบด โดยมีการรายงานออก มาแล้ว 19 บริษัท (Market Cap 16.7%) มีกำไรสุทธิรวม 5.9 หมื่นล้านบาท ลดลง - 31.5%QoQ และ -10.0%YoY และหากพิจารณาจาก Bloomberg จะเห็นได้ว่า กำไร 4Q65 มี Negative Surprise หรือผิดจาก Consensus คาดการณ์ไว้ถึง 19% และหากนำข้อมูลมารวมกับที่ฝ่ายวิจัยฯทำ Earning Preview ไว้ อีก 27 บริษัท (คิดเป็น สัดส่วน Market Cap 37%) มีกำไรรวม 8.0 หมื่นล้านบาท ลดลง -23%QoQ และ - 32%YoY ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อกำไรงวด 4Q65 และมีโอกาสที่กำไรรวมทั้งปี 2565 อาจต่ำกว่าประมาณการที่ฝ่ายวิจัยฯ คาดไว้ที่ระดับ 1.14 ล้านล้านบาท
และเริ่มเห็นข้อมูลจาก Bloomberg Consensus ทยอยปรับ EPS66F ลงมา 99.6 บาท/ หุ้น เข้าใกล้กับที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน 99.2 บาท/หุ้น ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ทำให้ตลาด ผันผวนในช่วงนี้
ขณะที่ช่วงต้นเดือนหน้า (1 ก.พ.65 – 10 ก.พ.65) เข้าสู่ฤดูกาลแห่งประกาศงบ 4Q65 ที่ แท้จริง โดยมีหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯทำการศึกษา 8 บริษัท อาทิ IRPC KCE (7 ก.พ.65) ADVANC (9 ก.พ.65) INTUCH SCCC GPSC GGC TOP (10 ก.พ.65) เป็นต้น ซึ่งต้องติดตามว่าจะ ทำให้ทิศทางกำไร 4Q65 จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
สรุป เดือนนี้ถือเป็นบทสรุปของกำไร 4Q65 ว่าจะเป็นเช่นไร และจะส่งผลต่อกำไรสุทธิ ปี 2566 หรือไม่ คาดทำให้ SET Index แกว่งผันผวนในกรอบแคบ รอดูผลลัพธ์จาก ประเด็นดังกล่าว
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities