รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ยังมีแรงหนุนจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน 

เผยแพร่ 02/02/2566 09:51
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 4.50-4.75% ตามคาด ขณะที่ แนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยจากนี้ เชื่อว่าเพดานในการปรับขึ้นเหลืออยู่เพียง 0.25 – 0.5% หลังจากนั้นคาดว่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยทรงตัง และอาจเห็นการปรับ ลดลงในช่วง 4Q66 ในส่วนของบ้านเรา สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมี ต่อเนื่อง โดยขนาด GDP เพิ่งกลับมายืนเท่ากับจุดก่อนเกิด Covid-19 ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายก็ขยับขึ้นมาใกล้เคียงก่อนเกิด Covid-19 ภาวะดังกล่าวน่าจะเห็น Momentum ของการขยับขึ้นทั้ง GDP และ อัตราดอกเบี้ย อีกประเด็นหนึ่งที่อยู่ใน ความสนใจคือ การจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น แม้จะยังไม่เห็นการประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา แต่ ก็ยังไม่เห็นสัญญาณที่กระทรวงการคลังจะยกเลิกการจัดเก็บ ภาวะของความไม่แน่นอนดังกล่าวอาจสร้างกระแสเก็งกำไรเป็นช่วงๆ

SETIndex ยังถูกแวดล้อมด้วยปัจจัยบวก แต่ก็มีแรงกดดันจากผลประกอบการ 4Q65 ที่มีความเสี่ยงว่าจะออกมาต่ำกว่าที่คาด ประเมินกรอบ SET Index 1680 – 1695 จุด หุ้น Top Pick เลือก MAJOR, CPN และ ADVANC

FED ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด เพดานดอกเบี้ยเริ่มจำกัด หนุน FUND FLOW ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง

ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 4.50% -4.75% ในการประชุมรอบเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี รวมถึงเป็นการขึ้น อัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 8 ติดต่อกัน โดยแถลงการของ Fed ระบุว่า แม้เงินเฟ้อชะลอตัว แต่ ยังคงอยู่ในระดับสูงทำให้ยังมีความจำเป็นที่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างไรก็ตาม CME Fed Watch Tool คาด FED อาจขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 25bps. ในการประชุมครั้ง ถัดไปและคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงสิ้นปี 66 เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวโดย มีรายละเอียดดังนี้

• เงินเฟ้อสหรัฐที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง (CPI เดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 6.5% หดตัว ลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 7.1%)

• ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (ISM PMI Manufacturing) รอบเดือน ม.ค. ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 47.4 จากเดือนก่อนที่ระดับ 48.4

ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 2 ปีปรับตัวลดลง 10bps. สู่ระดับ 4.11% สะท้อน มุมมองในตลาดการเงินว่าเพดานของอัตราดอกเบี้ยเริ่มจำกัด Fund Flow จึงไหลออกจาก สินทรัพย์ปลอดภัย เข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยดัชนีหุ้นสหรัฐปิดบวกราว +0.02% ถึง 2% โดยดัชนี Nasdaq +2%

สรุป : FED ขึ้นดอกเบี้ยตามคาดที่ระดับ 25bps. อย่างไรก็ตามตลาดคาด FED จะขึ้น ดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในการประชุมรอบหน้าที่ระดับ 25bps. และคงอัตราดอกเบี้ยจนถึง สิ้นปี 66 เนื่องจากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวและตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนแอ การเห็นเพดาน ของอัตราดอกเบี้ยที่จำกัด ส่งผลให้ Fund Flow ไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเข้าสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด ส่วนไทยตอนนี้โดดเด่น

สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจหลายประเทศกลับมาฟื้นตัว เข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดดังกล่าว สะท้อนจากเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ดังนี้

• ดัชนี PMI ภาคการผลิต (PMI Manufacturing) หลายประเทศฟื้นตัวกลับมา ค่อนข้างชัดเจนจากช่วงการแพร่ระบาดโควิด สะท้อนภาคธุรกิจกลับมาขยายตัว เฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและจีนที่ PMI เดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น และยังยืนเหนือระดับ 50 โดย PMI ไทยอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด ส่วน PMI จีนอยู่ที่ ระดับ 50.1 จุด

• อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ในปี 65 ปรับตัวลดลงอย่างมาก จากช่วงโควิด กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น สะท้อนภาคแรงงานในหลายประเทศ กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

• อัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ตามราคาพลังงาน อีกทั้งกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและยุโรป ธนาคารกลางต่างเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยที่แรงและ เร็วเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% ส่วนบ้านเราคาดว่าเงินเฟ้อจะ เข้าสู่กรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1-3% ในช่วง 2Q65-3Q65

• อัตราดอกเบี้ย Fed มีแนวโน้มชะลอการขึ้นดอกเบี้ย (คาดว่าในปี 66 เพดานจะ อยู่ที่ 5.0%) ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงในช่วงปลายปี2566 ต่อเนื่อง 67 ส่วน ECB มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน (คาดว่าในปี 66 เพดานจะอยูที่ 3.5%) ก่อนที่จะปรับลดลงตามการชะลอตัวของเงินเฟ้อ ขณะที่ประเทศไทย กนง. ยังส่ง สัญญานการขึ้นดอกเบี้ยตามสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เข้าใกล้ระดับ ช่วงก่อนเกิดโควิด

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

จากปัจจัยข้างต้น ทำให้ GDP ของหลายประเทศฟื้นตัว โดยเห็นว่าประเทศทั้งกลุ่มพัฒนา แล้ว(สหรัฐฯ-ยุโรป) และกลุ่มกำลังพัฒนา(จีน-ไทย) มีมูลค่า GDP มากกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 แล้ว(เกินสมมุติฐานที่ 100 จุด ณ สิ้นปี 2019) สหรัฐฯ 118.6 จุด ยุโรป 102.1 จุด จีน 126.5 จุด ขณะที่ไทยเพิ่งกลับมาอยู่ระดับ 100.1 จุด

ขณะที่หากพิจารณาราคาหุ้นในช่วงเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัว ขึ้นแรง อาทิ สหรัฐฯ +26.2% ญี่ปุ่น +15.6% อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นยุโรป +9.0% ไทย +6.5% และฮ่องกง -21.9% ยังปรับตัวขึ้นไม่แรงมากนัก มีโอกาสเห็นการปรับตัวขึ้นได้ ต่อจากเศรษฐกิจแต่ละประเทศอยู่ในช่วงฟื้นตัว

สรุป ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ GDP แต่ละประเทศอยู่ในโหมดฟื้น ตัวต่อ ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายประเทศ จะเห็นได้ว่า ไทย คือประเทศที่น่าสนใจ เพราะ ระดับ GDP เพิ่งแตะระดับเดียวกับช่วงเกิด COVID-19 และ SET Index ยังปรับตัว ขึ้นมาไม่แรงมากนัก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ถือเป็นโอกาสสะสม โดยวันนี้ทอง กรอบการเคลื่อนไหวระดับ 1680-1695 จุด

OUTLOOK ผลประกอบการ 4Q65ใครรอด – ใครร่วง

สัปดาห์นี้ ฝ่ายวิจัยฯ จะมานำเสนอ OUTLOOK ผลประกอบการ 4Q65 รายอุตสาหกรรม

โดยแบ่งเนื้อหาของแต่ละอุตสาหกรรม ตามการจัดตารางรายวัน ดังนี้

อังคาร 31 ม.ค.66 กลุ่ม CONS, CONMAT, MEDIA

พุธ 1 ก.พ.66 กลุ่ม AGRI, FOOD, ETRON, FIN, INSUR, PROP

พฤหัสบดี2 ก.พ.66 กลุ่ม ENERG, PETRO, โรงไฟฟ้า

ศุกร์3 ก.พ.66 กลุ่ม ICT, COMM, AUTO, TOURISM

โดยวันนี้เป็นคิวของกลุ่ม ENERG, PETRO, โรงไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดทางพื้นฐาน ดังนี้

กลุ่มพลังงาน - สำหรับทิศทางราคาน้ำมันยังคงมุมมองเดิมที่ในภาพใหญ่ยังถูกกดดันจาก เศรษฐกิจโดยรวมของโลกที่อยู่ในภาวะ recession ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันชะลอ ตัว กดดันการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบเฉลี่ย ทั้งปี 2566 ที่ 90 เหรียญฯต่อบาร์เรล ลดลงจากปี 2565 และตั้งแต่ปี 2567 กำหนดไว้ที่ 75 เหรียญฯต่อบาร์เรล ภายใต้หลักความระมัดระวัง แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันใน ปัจจุบันยังมีความผันผวนสูง เนื่องจากมีการปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเดือน ธ.ค. 2565 ไปทำระดับต่ำสุดของปีที่ราว 73 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทำให้มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้น ตามประเด็นข่าวต่างๆที่เข้ามา ซึ่งล่าสุดที่มีผลต่อราคาน้ำมันให้เห็นการปรับตัวขึ้นอีก ระลอกคือการที่จีนกลับมาเปิดประเทศ ทำให้มีความหวังว่าความต้องการใช้น้ำมันจะ ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโดยรวมคาดราคาน้ำมันจะแกว่งตัวภายใต้ upside ที่ จำกัด และ downside ที่จำกัดเช่นกัน ส่วนค่าการกลั่นยังคงได้รับปัจจัยบวกจากช่วง ฤดูกาลฤดูหนาวในหลายทวีปทั่วโลก ส่งให้ความต้องการใช้น้ำมันกลุ่ม middle distillate เพื่อทำความร้อนยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ค่าการกลั่นจะยังคงยืนได้ในระดับที่ดีต่อเนื่อง ตลอดช่วงฤดูหนาว อีกทั้งยังได้รับอานิสงค์จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงทำให้ crude premium ปรับตัวลดลง จึงทำให้ spread น้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ด

กลุ่มปิโตรเคมี- มุมมองราคาและ spread ปิโตรเคมี เห็นการขยับขึ้นบ้างจากจุดต่ำสุด ในช่วงปลาย 3Q65 ต่อเนื่องถึงต้น 4Q65 แต่ยังอยู่ในลักษณะรอการฟื้นตัว โดยปัจจัย ขับเคลื่อนหลักมาจากจีนกลับมาเปิดประเทศ ซึ่งถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะจีนถึอเป็นผู้บริโภคปิโตรเคมีหลักในภูมิภาค ซึ่งหากจีนทยอย กลับมาเปิดประเทศ คาดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเพิ่มขี้น บวกต่อราคา และ spread ผลิตภัณฑ์ให้เห็นการค่อยๆฟื้นตัวได้ แต่ในภาพใหญ่ยังต้องขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจ โดยรวมของโลกด้วยว่าจะหลุดออกจาก recession ได้เมื่อไร ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยขับเคลื่อน สำคัญ

สรุป ยังคงแนะนำ TOP เช่นในงวดก่อนหน้าที่ได้รับผลบวกจากทั้งค่าการกลั่นที่อยู่ใน ระดับสูง และปิโตรเคมีที่คาดจะเห็นการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด เช่นเดียวกับ PTTGC และ IRPC ถือเป็นอีกตัวเลือกที่พร้อมจะปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำ ได้รับผลบวกทั้งค่าการกลั่นที่ ดี และ spread ปิโตรเคมีที่ฟื้นตัว เช่นกัน ภายใต้การมองข้ามผลการดำเนินงานงวด 4Q65 ที่จะรับผลกระทบจากการหยุด major shutdown โรงกลั่นกว่า 1 เดือน และ ผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน

กลุ่มโรงไฟฟ้า : ทิศทางกำไร 4Q65 ของโรงไฟฟ้า SPP คาดจะได้รับประโยชน์จาก Ft ที่ ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในแง่ของกำไรอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะตัว โดยแนวโน้มราคา spot ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินเริ่มเห็นสัญญาณปรับตัวลดลง แต่ต้นทุนของแต่ละบริษัท อาจมี lag time ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการบริหารจัดการ โดยเบื้องต้นคาด BGRIM, GULF จะเติบโต QoQ ขณะที่ GPSC, BPP คาดกำไรจะปรับลดลง โดยยังได้รับผลกระทบ จากราคาถ่านหิน และปัจจัยเฉพาะตัว

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน : คาดจะออกสู่ ฤดูกาลน้ำ และเข้าสู่ช่วง High season ของลม คาดตัวที่ได้ประโยชน์ได้แก่ SSP, GUNKUL, EA ส่วนตัวที่มีผลประกอบการลดลง คาดได้แก่ BCPG, CKP

ตลาดหุ้นไทยได้แรงหนุนช่วงสั้นจากกระแส RISK ON และกระแสลุ้นเลื่อน เก็บภาษีหุ้น

ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวขึ้น 14.29 จุด หรือ 0.85% มาอยู่ที่ 1685.75 จุด แรงหนุนมา จากความผ่อนคลายการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หนุนกระแสเม็ดเงินไหลออกจาก สินทรัพย์ปลอดภัยกลับมาเติมเต็มสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ถือว่าดีต่อหุ้น Tech หุ้น Growth แนะนำ ADVANC, GULF, STEC, MAJOR, SAPPE, CENTEL, PYLON, PLANB หุ้นได้แรงหนุน Bond Yield สหรัฐปรับตัวลง MTC, THANI, SAWAD

พร้อมกับมีกระแสข่าวอาจมีการเลื่อนเก็บภาษีหุ้น ดีต่อ หุ้นโบรกฯ, ห้นขนาดกลางเล็ก และอาจหนุนสภาพคล่องให้เพิ่มขึ้น หลังจากที่เดือน ม.ค. มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยเหลือเพียง 6.7 หมื่นล้านบาท ลดลง 24%yoy จากเดือน ม.ค. 65 ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 8.75 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตามประเด็นการเก็บภาษีหุ้นผ่านกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงรอ ประกาศราชกิจจาฯ ดังนั้นการเก็งกำไรประเด็นนี้ต้องอยู่ในความระมัดระวัง

ส่วน SET Index วันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1680 – 1690 จุด หุ้นเด่นแนะนำหุ้น Tech ADVANC และหุ้น Growth MAJOR, STEC เป็น Top pick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย