Central Bank week
• SET: ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงวานนี้ โดยหลักเกิดจากแรงเทขายในหุ้น เฉพาะตัวที่ผลประกอบการไตรมาส 4/65 ออกมาแย่กว่าคาด หรือเป็นหุ้นที่ คาดว่าผลตอบแทนจะออกมาไม่ดี อย่างไรก็ดี พบการเคลื่อนไหวที่ดีของ กลุ่มธนาคารเมื่อวานนี้ ซึ่งต้องถือว่าเป็นกลุ่มที่ช่วยค่ายันตลาดไว้ได้บ้าง มองเช่นเดิมว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารลงมารับข่าวงบฯที่อ่อนแอไป พอสมควรแล้ว จนทําให้ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ และเป็นกลุ่มที่ คาดหวังการฟื้นตัวของ Earnings ในช่วงไตรมาสที่ 1/66 ได้
• ตลาดหุ้นวันศุกร์ปรับตัวรีบาวด์ขึ้นได้ดีจากด้วหุ้นที่ถูกแรงเทขายลงมาก เกินไปก่อนหน้านี้ มองเช่นเดิมว่าหากเป็นกลุ่ม Domestic play ที่คาดหวัง ว่า Earnings ไตรมาส 1/66 จะปรับตัวดีขึ้นจากปลายปีก่อน มองเป็น โอกาสที่การเข้าสะสมหุ้นเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม BANK, COMM, ทั้งนี้ มองอีก 2 กลุ่ม Domestic play ที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม BANK ก็คือกลุ่ม COMM และ PROP กล่าวคือราคาหุ้นมีการย่อตัวลงมา ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหุ้นบางตัวที่อยู่ในกลุ่ม นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีผลการดําเนินงานไม่ได้น่าตื่นเต้นมากนัก แต่โดย ภาพรวมแล้ว เราเชื่อว่าด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะทําให้ Earnings ของหุ้น 2 กลุ่มนี้ฟื้นตัวดีขึ้นในช่วง 1Q66 นี้ได้ หากราคาลงต่อ มองเป็น โอกาสในการทยอยเข้าชื่อ โดยเฉพาะหากผลประกอบการออกมาอ่อนแอ จนราคาหุ้นตอบรับเชิงลบอีก (Buy on fact) สําหรับปัจจัยที่น่าติดตามประจําสัปดาห์นี้ ได้แก่ PROP เป็นต้น
Factors:
1) การประชุม FOMC ซึ่งจะทราบผลในช่วงดึกคืนวันที่ 1 ก.พ. ตามเวลา บ้านเรา คาด Fed มีมติขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาดที่ 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ซึ่งจะทําให้ไฮไลท์สําคัญไปตกอยู่กับใจความของ Statement ที่ออกมา รวมถึง Comment ของนาย Jerome Powell หลังการประชุม ทั้งนี้ หากไม่มีค่าพูดใดใหม่ๆนอกเหนือไปจากค่าพูด เต็มที่เคยกล่าวไว้ว่า Fed จะดํารงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ Terminal rate จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% มองว่า Risk sentiment ของนักลงทุนจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ใน เบื้องต้น เราคาดการณ์ว่าสําหรับการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 21-22 มีนาคม Fed จะมีมติเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อที่ระดับเดิม 0.25%
2) การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 2 ก.พ. ซึ่งล่าสุดตลาด คาดการณ์ว่า ECB จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ซึ่ง หากเกิดขึ้นจริง จะถือเป็นช่วงการขึ้นที่รุนแรงกว่า Fed และน่าจะเป็น ปัจจัยที่ทําให้เงิน EUR แข็งค่า และเงิน USD แข็งค่าในระยะสั้นต่อไป
3) รายงานตัวเลขภาคการผลิตเดือนมกราคมของประเทศสําคัญทั่วโลก
บทวิเคราะห์วันนี้
แนวรับ 1,665 แนวต้าน 1,691
• KBANK (BK:KBANK) (ชื่อ ราคาเป้าหมาย 167 บาท) มองเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities