ผลประกอบการ 4Q65 ของบริษัทจดทะเบียนที่กำลังทยอยประกาศส่งสัญญาณเชิง ลบ โดยมีโอกาสที่จะต่ำกว่าคาด ทั้งนี้ที่ผ่านมาเห็นผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาด อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และในกลุ่ม SCC ภาวะดังกล่าวเพิ่ม โอกาสที่จะเห็นการปรับลดประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนลง ส่วนการ ประชุม กนง. วานนี้มีมติให้ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% พร้อมส่งสัญญานว่ามีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่อง ภายใต้ สถานการณ์ที่ดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขึ้น ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมี โอกาสที่จะถูกปรับลดประมาณการลง ทั้ง 2 ส่วนถือเป็นปัจจัยที่จะกดดันเป้าหมาย SET Index ในปี 2566 ลง ทั้งนี้ในกรณีฐานเรากำหนดเป้าหมาย SET Index ที่ 1740 จุด หากปรับลดกำไรลงทุก 1% จะกดดันเป้าSET Index ลงราว 17 จุด และ หากปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้น ทุก 0.25% จะกดดันเป้า SET Index ลง 67-73 จุด
แรงกดดันจากดอกเบี้ยที่เป็นทิศทางขาขึ้น และประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน ที่มีแนวโน้มลดลง น่าจะทำให้SET Index ผ่านแนวต้าน 1700 จุดได้ยากขึ้น แนว รับ 1675 จุด หุ้น Top Pick เลือก BBL, CENTEL และ GULF
หุ้นสหรัฐปรับตัวแคบ จากความเสี่ยงภูมิศาสตร์ และรอดูผลประกอบการ บริษัทเพิ่มเติม
หุ้นสหรัฐปรับตัวในกรอบแคบราว -0.18% ถึง 0.25% หลังนักลงทุนรอดูผลประกอบการ ของหุ้นสหรัฐเพิ่มเติมในช่วงฤดูประกาศงบ โดยเฉพาะงบบริษัทขนาดใหญ่และเทคโนโลยี ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนต่อตลาดหุ้นสหรัฐได้ หากผลประกอบการออกมาแย่กว่าที่ คาดและโดนปรับประมาณการ
ในขณะเดียวกันตลาดอาจมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น จากความขัดแย้งเชิงภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ที่ยังคงร้อนระอุต่อเนื่อง หลังเยอรมันนีได้ตัดสินใจส่งรถถัง Leopard 2 จำนวน 14 คันให้แก่ยูเครน รวมถึงสนับสนุนกระสุนปืนใหญ่ การขนส่งและการฝึกทหารเพื่อใช้ อาวุธดังกล่าว นอกจากนี้ทางสหรัฐประกาศเตรียมจัดส่งรถถัง M1A1 Abrams จำนวน 31 คัน รถหุ้นเกราะ M88 จำนวน 8 คัน รวมทั้งรถหุ้นเกราะอื่นๆอีกกว่า 500 คันเพื่อเพิ่มกำลัง รบของยูเครน โดยการที่เยอรมันและสหรัฐส่งรถถังให้แก่ยูเครน ถือว่าเป็นการยกระดับ ความรุนแรงของสมรภูมิมากยิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นการปูทางให้ชาติพันธมิตรอื่นๆ สามารถส่ง รถถังให้แก่ยูเครนได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตลาดอาจผันผวนในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีการประกาศตัวเลข เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ
• GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาดว่าจะเติบโตที่ระดับ +2.6% QoQ ลดลง จากไตรมาสก่อนที่ระดับ 3.2% QoQ
• Core PCE เดือน ธ.ค. ของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาด +0.3% MoM เพิ่มจากเดือนก่อนที่ ระดับ +0.2% MoM ในขณะที่เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน อยู่ที่ระดับ +4.4% YoY ลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ +4.7% YoY
• Initial Jobless claims ซึ่งตลาดคาดอยู่ที่ระดับ 2.05 แสนคน เพิ่มจากครั้งก่อน 1.90 แสนคน
สรุป หุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นโลกมีโอกาสผันผวน ตามการเคลื่อนไหวตามผล ประกอบการในช่วงฤดูประกาศงบ อย่างไรก็ตามตลาดอาจเผชิญความผันผวนจาก ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ รวมถึงความเสี่ยงเชิงภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังเยอรมันและสหรัฐยกระดับ ความเข้มข้นของสมรภูมิโดยส่งรถถังให้แก่ยูเครน
ตลาดถูกกดัน หลังกนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.50%
วานนี้ กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.50% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 เมื่อนับจากปี 65 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่อง และ เพื่อสกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อให้เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3%
สำหรับสาเหตุที่กนง. ยังคงทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย สรุปได้ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
1. ความเสี่ยงเชิงลบจากต่างประเทศลดลง โดยเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ อย่างสหรัฐและยุโรป มีโอกาสที่จะชะลอตัวแบบ Soft Landing ได้ จากมุมมอง Downside Risk ที่จำกัด สะท้อนจากตลาดแรงงานในสหรัฐที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมถึงราคาพลังงานในยุโรปทยอยปรับลดลงมา ซึ่งน่าจะส่งผ่านมายังเศรษฐกิจ ไทยให้มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วง 2H66
2. เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสู่ระดับก่อน Pre-Covid ยังได้แรงหนุนจากการผ่อนคลาย มาตรการเดินทางของจีน โดยปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ในปีนี้จาก 22 ล้านคน เป็น 25.5 ล้านคน (คาดแตะ 34.0 ล้านคนในปี 67) เป็น แรงส่งต่อเนื่องไปยังการจ้างงานจนถึงการบริโภคภาคเอกชน หนุนความสามารถ ในการชำระหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจดีขึ้น รวมถึงการส่งออกทางด้าน บริการจะเร่งขึ้นมาแรง ทดแทนการส่งออกสินค้าที่ลดลง
3. การต่อสู่กับเงินเฟ้อยังไม่สิ้นสุด ซึ่งในระยะถัดไปหากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย มากกว่าคาดไว้ อาจกดดันราคาอาหารสำเร็จรูป จนส่งผลให้ Core CPI ปรับตัวลง ได้ค่อนข้างช้าเช่นกัน และบ้านเราอาจเผชิญกับเงินเฟ้อในรูบแบบ Demand Pull
ในส่วนของนโยบายการเงินระยะถัดไป กนง. พร้อมจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแนวโน้ม เศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจใน 1Q66 ค่อนข้างมีความสำคัญที่ ธปท. จะนำไปพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง. ครั้งที่ 2 (วันที่ 29 มี.ค. 66)
สรุป กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.50% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทย และการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะ ถัดไปะเป็นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและสถานการณ์เงินเฟ้อ ขณะเดียวกันการขึ้นดอกเบี้ย ตามกลไกเป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้นไทยให้แคบลง กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ และส่งผลให้กรอบเป้าหมายสิ้นปี 2566 ของ SET ลดลงมาอยู่บริเวณ 1740 จุด
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นนี้มี3 กลุ่ม คือ 1.หุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ BBL (เน้นลูกค้า ขนาดใหญ่) SCB (ราคา Laggard) KTB (จ่ายปันผลปีละครั้ง 5%ต่อปี) 2.หุ้น Net Cash อย่าง M SAPPE SAT 3.หุ้นได้แรงหนุนเศรษฐกิจฟื้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ฟื้นตัวเร็ว BEM CPALL (BK:CPALL) ERW CENTEL ADVANC
TAGET SET ถูกกดดันจากโอกาสปรับกำไรลงและดอกเบี้ยปรับขึ้น
เริ่มเห็นความเสี่ยงที่กดดัน Valuation ของภาพรวมตลาดหุ้นไทยจาก 2 ทาง
1. แนวโน้มการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ลง สะท้อนได้จากข้อมูล Earning Preview 4Q65 22 บริษัท (มีสัดส่วน 25% ของ Market Cap รวม) ลดลง 30%QoQ, 34%YoY และเริ่มเห็นการรายงานกำไรของบริษัทจดทะเบียนออกมา ต่ำกว่าคาดหลายบริษัท อีกทั้งยังเริ่มเห็นแนวโน้มการปรับ EPS66F จาก Bloomberg Consensus ลง
2. ความเสี่ยงที่กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยได้อีกในช่วงที่เหลือของปีเริ่มจากวานนี้ กนง. มี การปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% เป็น 1.5% ตามกลไกจะกดดัน P/E ตลาด ลดลง และกดดันดัชนีเป้าหมายย่อตัวลงจาก 1820 จุด เหลือ 1740 จุด และยังมี ความเสี่ยงที่กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยอีกในช่วงที่เหลือของปี
ทั้ง 2 ปัจจัยฯ ล้วนกดดันให้ดัชนีเป้าหมายย่อตัวลง หรือ Upside ของตลาดแคบลง เพื่อให้ เห็นภาพชัดขึ้น ฝ่ายวิจัยฯ สร้าง Sensitivity ของผลกระทบ Target SET จากการขึ้น ดอกเบี้ย และ ESP66F ที่ลดลง ดังนี้
เริ่มจากหากมีการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีจะกดดัน Target SET Index เท่าไหร่? โดยหากอิง EPS66F ที่ระดับ 99.2 บาท/หุ้น และ Market Earning Yield Gap ระดับ 4.20% ซึ่งถ้ามีการขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง หรือ 0.25% จะกดดัน Target SET ลดลงอีก 73 จุด (ดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป 0.25% เทียบเท่า EPS ที่ลดลง 4.2%)
และหากฝ่ายวิจัยฯ คิดในอีกมุมหนึ่ง คือ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% และ Market Earning Yield Gap ระดับ 4.20% แต่ขยับ EPS ลดลงทุกๆ 1% จะกดดัน Target SET 17 จุด
โดยสรุป Sensitivity ของการเปลี่ยนแปลงทั้ง EPS และ ดอกเบี้ย จะได้ Target SET ตาม ตารางด้านล่าง ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสขึ้นอีก 1 ครั้งในปีนี้ (1.75%) ขณะที่ EPS 66F ที่ระดับ 99.20 บาท/หุ้น มีโอกาสเกิด Downside หากจำนวน นักท่องเที่ยวเข้าไทยไม่เป็นไปตามคาดที่ตั้งไว้ จะกระทบกลุ่มเปิดเมืองอย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน ขณะที่กำไรของกลุ่ม ธ.พ. ยังคงกังวลกับการตั้งสำรอง(NPL) และ กลุ่มพลังงานที่ราคาน้ำมันดิบโลก Dubai ไม่สามารถกลับไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 120 เหรียญฯ เฉกเช่นกลางปี 2022 ส่งผลให้ Upside ของ SET Index จำกัดมากขึ้น
กลยุทธ์การลงทุนในยามที่ SET Index มี Upside ที่จำกัดมาก แนะนำหุ้นพื้นฐานที่มี ปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุน BBL (เน้นลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่ ได้แรงหนุนจากดอกเบี้ยขา ขึ้น), CENTEL(หุ้นท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้แรงหนุนจากจีนเปิดประเทศ ) , GULF (หุ้น Mega Trend ผันผวนต่ำ) เป็น Top pick ในวันนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities