ท่าทีผ่อนคลายจากIMF ที่คาดว่าแรงกดดันจากRecession ในประเทศพัฒนาแล้ว เฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ เบาลง ขณะที่ JP Morgan รวมถึง Bloomberg ก็แสดงถึง โอกาสที่จะ Recession ลดลง ภาวะดังกล่าวเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้น ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นบ้านเรา ได้แก่กรณีที่ จีน เปิดให้จัดกรุ๊ปทัวร์ เดินทางออกนอกประเทศได้ ซึ่งประเทศไทยถือเป็น เป้าหมายอันดับต้นๆ กรณีดังกล่าวโดยภาพเศรษฐกิจน่าจะทำให้ดุลบริการ และ บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในประเทศดีขึ้น ขณะที่ในมุมของตลาดหุ้นก็น่าจะเป็น แรงหนุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์อย่างธุรกิจการบิน และท่องเที่ยว-โรงแรม อย่างไรก็ ตามยังต้องจับตาทิศทางของ Fund Flow เนื่องจากเริ่มเห็นการเปิด Short ใน Future และการขายสุทธิในตลาดหุ้น อาจเป็นตัวที่จำกัด Upside ของSET Index
คาดว่า SET Index น่าจะผันผวนในทิศทางปรับขึ้น ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว ช่วง 1660 – 1685 จุด หุ้น Top Pick เลือก BBL, CENTEL และ M ทั้งนี้ยังเห็นว่า พอร์ตการลงทุนควรมีเงินสดสำรองไว้บางส่วน
RECESSION ผ่อนคลำยอีกครั้งหลังเงินเฟ้อปรับตัวลง และจีนเปิด ประเทศ
หุ้นสหรัฐวันศุกร์พลิกกลับมาเป็นบวก หลังก่อนหน้าร่วง 3 วันติดต่อกัน โดยปิดบวกราว 1% ถึง 2.66% เนื่องจากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐเริ่มจำกัดมากยิ่งขึ้น โดย เครื่องมือ CME Fed Watch Tool เผย มีโอกาสสูงถึง 99% ที่ FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเพียง ระดับ 25bps ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยมุ่งสู่ระดับ 4.75% - 5% ในวันที่ 2 ก.พ. 66
นอกจากนี้ตลาดยังคงได้รับแรงบวกจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยที่ผ่อนคลายลง หลัง IMF เผยในการประชุมที่ World Economic Forum ว่าโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน หลายประเทศทั่วโลกปรับตัวลดลง จากอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ค่อยๆ หดตัวลง รวมถึงการ เปิดประเทศของจีนซึ่งทำให้เกิดการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ทั้งนี้หากทำการ พิจารณาตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ใช้วิเคราะห์การเกิดเศรษฐกิจถดถอย พบว่า จะเริ่ม เห็นการชะลอตัวลงทั้ง MoM และ YoY ดังในรูปทางด้านล่าง และตัวแปรทั้ง 4 ยังคง ปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในอดีตช่วงที่สหรัฐเกิดเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงปัจจุบัน ตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง โดย Unemployment rate เดือน ธ.ค.อยู่ที่ 3.5% ทั้งนี้หากตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงแข็งแกร่งกว่าในช่วงอดีต ทำให้มีความเป็นไปได้ ที่สหรัฐอาจเผชิญเพียง เศรษฐกิจถดถอยแบบเล็กน้อย (Soft Landing)
กรุ๊ปทัวร์จีนเข้ำไทย 6 ก.พ.นี้ หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวเตรียมรับอานิสงค์
รัฐบาลทั่วโลกต่างผ่อนคลายข้อจำกัดด้านโควิด-19 มากขึ้นในปัจจุบัน หลังความกังวล ดังกล่าวลดลง โดยล่าสุดทางการจีนได้ออกประกาศอนุญาตให้บริษัทนำเที่ยวและบริษัท ท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) ให้สามารถจัดกรุ๊ปทัวร์เที่ยวต่างประเทศได้ มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2566 เป็นต้นไป ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศที่ได้รับอนุมัติจากจีน ขณะที่ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเวียดนาม (สัดส่วนชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ ในปี 2562 รวม ราว 22%) ไม่ได้อยู่ในลิสรายชื่อ จึงเป็นโอกาสของบ้านเราที่จะช่วงชิงตลาดก่อนประเทศ เหล่านี้ กระแสการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี เป็น การกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย เพิ่มรายได้ให้กับประเทศ คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้ ดุลบริการและดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในระยะถัดไป และยังส่งผลต่อการ แข็งค่าของเงินบาท
สำหรับผลต่อหุ้นในกลุ่มฯ ให้น้ำหนักไปที่หุ้นที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยเป็นหลัก นำโดย สนามบินที่เป็นประตูสู่ประเทศไทยอย่าง AOT (BK:AOT) ตามด้วย ERW ประมาณ 90%, CENTEL ราว 34% (มัลดีฟส์ 7% และร้านอาหาร 59%) ส่วน MINT สัดส่วนรายได้มาจาก NH Hotel ราว 50% และร้านอาหารประมาณ 18% ของรายได้ (ทั้งหมดอิงโครงสร้างรายได้ปี 2562) จึงได้ประโยชน์น้อยสุดในกลุ่มฯ แต่การฟื้นตัวของโรงแรมใน EU เกิน Pre-COVID ตั้งแต่ 3Q65 อีกทั้งโครงสร้างธุรกิจกระจายตัว รวมถึงราคาหุ้น YTD ยัง laggard กลุ่มฯ จึงให้ คำแนะนำ ซื้อ
ส่วน Top pick กลุ่มฯ เลือก AOT(FV@B80.00) และ CENTEL(FV@B54.00) มีจุดแข็งกว่า กลุ่มฯ ในเชิงของโครงสร้างทางการเงินค่อนข้างแกร่ง ผ่านสัดส่วน IBD/E ต่ำกว่า 1 เท่า ขณะที่ Mid-Small Cap เลือก ERW (FV@B5.10) ที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยมากสุดใน กลุ่มโรงแรม ส่วน M(FV @ 65.00) ได้ประโยชน์เช่นกัน ในเชิงร้านอาหารที่คนจีนชอบ บวก สถานะการเงินเป็น Net cash ราว 7.1 พันล้านบาท
สรุป กระแสการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดย ล่าสุดทางการจีนได้ออกอนุญาตมีการจัดกรุ๊ปทัวร์ท่องเที่ยวต่างประเทศได้ จึงยิ่งเป็น เพิ่มรายได้ให้กับประเทศ และคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้ดุลบริการและดุลบัญชี เดินสะพัดพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในระยะถัดไป และยังส่งผลต่อการแข็งค่าของเงิน บาท ส่วนหุ้นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อาทิ AOT, CENTEL, ERW, M
กลุ่มธนำคำร 4Q65งบต่ ำคำด แต่ยังชอบ BBL, KTB และ TISCO
ภาพรวมกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคารฯ) งวด 4Q65 เท่ากับ 4 หมื่นล้านบาท ลดลง 23% QoQ และ 4% YoY ต่ำกว่าตลาดคาด 22% เกือบทุกธนาคารนำโดย KBANK (BK:KBANK) ราว 66% จาก Credit Cost ตามด้วย SCB ประมาณ 29% เพราะค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) และ การวัดมูลค่าเงินลงทุน (FVTPL), KKP ราว 28% จาก OPEX และ Credit Cost ตามด้วย BBL ประมาณ 14% เพราะ FVTPL, BAY ราว 10% ส่วน ธ.พ. ที่รายงานกำไรตามฝ่ายวิจัย และตลาดคาดได้แก่ KTB และ TISCO มีเพียง TTB ที่กำไรมากกว่าตลาดคาด 12.6% ด้าน กำไรเชิง YoY เติบโตเกือบทุกธนาคาร นำโดย KTB, TTB, BBL, BAY และ TISCO ส่วน KBANK, KKP และ SCB มีกำไรลดลง YoY
โดยหากเทียบ QoQ มีเพียง TTB และ TISCO ที่ขยายตัว ส่วน ธ.พ. ที่เหลือรายงานกำไร ลดลง QoQ มาจาก 3 เหตุผลหลัก คือ
1.) Credit Cost กลุ่มฯ ปรับตัวขึ้นมาที่ 1.7% จาก 1.3% งวดก่อน (4Q64 ที่ 1.6%) แทบทุกธนาคาร ทั้ง NPL ของบางธนาคารมีทิศทางสูงขึ้น รวมถึงการตั้งสำรอง (ECL) เพื่อ การรองรับความเสี่ยงจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการทยอย Clean up balance sheet ช่วยลดความเสี่ยงต่องบดุล ช่วงหลังหมดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (สิ้น ปี 2566) ในหลายธนาคาร โดย KBANK (Credit Cost 3.7% VS 1.6% งวด 3Q65 และ 4Q64), KKP (2.2% VS 1.2% งวด 3Q65และ 2.1%ในงวด 4Q64) ส่วน ธ.พ. ที่มีนโยบาย ผ่อนคลายการตั้ง ECL อย่าง BBL (1.2% VS 1.5% งวด 3Q65 และ 1.3% ในงวด 4Q64) เนื่องจาก Coverage Ratio อยู่ในระดับสูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 260.8% (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 177%) รวมถึง SCB แม้สวนทางคุณภาพสินทรัพย์ แต่มีการตั้ง Upfront บางส่วนแล้วช่วง ต้นปี ทำให้ Credit Cost ทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท ในเชิง Coverage Ratio อยู่ ที่ 152.7% แม้ลดลงจาก 157.6% ณ สิ้นงวดก่อน แต่สูงขึ้นจาก 133.5% ณ สิ้นปี 2564
2.) การวัดมูลค่าสินทรัพย์ผ่านงบกำไรขาดทุน (FVTPL : บันทึกในรายได้ที่มิใช่ ดอกเบี้ย) อยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท ลดลงจาก 7 พันล้านบาทงวดก่อนและ 1.27 หมื่นล้าน บาทช่วงเดียวกันปีก่อน หลักๆ เป็นผลจากพอร์ตลงทุนของแต่ละธนาคาร ซึ่งมีความผัยผวน สะท้อนจากค่าเฉลี่ย FVTPL กลุ่มฯ ตั้งแต่เริ่มใช้ TFRS 9 (1Q63) – 4Q65 อยู่ที่ 9.2 พันล้านบาทต่อไตรมาส และมีค่า SD ที่ 3.7 พันล้านบาท โดยในงวดนี้ BBL รายงาน FVTPL เป็นลบ 1.95 พันล้านบาท (3Q65 ที่ +2.3 พันล้านบาท, 4Q64 ที่ +4.8 พันล้าน บาท) จากพอร์ตการลงทุนในตราสารทุนเป็นหลัก ตามภาวะตลาด เช่นเดียวกับ SCB ลบ 507 ล้านบาท (3Q65 ที่ +1.8 พันล้านบาท, 4Q64 ที่ +2.8 พันล้านบาท) เพราะการปรับ มูลค่าการลงทุนใน Start up อย่างไรก็ดีหาก Start up (SCB10X กระจายการลงทุนในหลายธุรกิจราว 50 บริษัท อาทิ Fintech) สามารถเลื่อนระดับสู่ Unicorn หรือ IPO ย่อม บวกต่อ Non – NII (High Risk High Return) ส่วน KBANK มี FVTPL บวกราว 4.7 พันล้าน บาท (3Q65 ที่ +144 ล้านบาท, 4Q64 ที่ +2.7 พันล้านบาท)
3.) OPEX ตามฤดูกาล ประกอบกับ OPEX one time ของ KKP ราว 700 ล้านบาท และ SCB มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในการปรับโครงสร้างองค์กรประมาณ 2 – 2.5 พันล้านบาท
องค์ประกอบรวมข้างต้นหักล้างรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ที่เติบโต 8% QoQ จาก ดอกเบี้ยขาขึ้น (สินเชื่อกลุ่มฯ ทรงตัว QoQ) จนหมดสิ้น ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่ม ฯ ชะลอตัว 2% QoQ (-9% YoY) แรงกดดันจาก capital market สำหรับคุณภาพ สินทรัพย์ NPL / Loan กลุ่มฯ ทรงตัวที่ 3.55% มีการบริหารจัดการผ่านการ write – off และ NPL Sales สะท้อนการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกันของเศรษฐกิจไทย คาดการมาของ นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากในช่วง 2H66 จะช่วยลดแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์กลุ่มฯ ในระยะถัดไป โดย ธ.พ. ที่ NPL / Loan ขึ้น อาทิ KBANK อยู่ที่ 3.71% จาก 3.56% ณ สิ้นงวดก่อน,KKP อยู่ที่ 3.44% จาก 3.22% ณ สิ้นงวดก่อน และ SCB อยู่ที่ 4.01% จาก 3.92% ณ สิ้นงวดก่อน ส่วน BBL มี NPL / Loan ลดลงเหลือ 3.62% จาก 3.83% ณ สิ้น งวดก่อน
คงเท่าตลาด เลือก ธ.พ. ที่คุณภาพสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดี อย่าง TISCO(Fv@B108), BBL(FV@B159) และ KTB(Fv@B20.3)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities