🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

คาด SET INDEX ผันผวนทางลง

เผยแพร่ 20/01/2566 10:14
SETI
-

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าติดตามคือ ความเสี่ยงที่จะเกิด Government Shutdown ใน สหรัฐฯ ทั้งนี้เริ่มเห็นการก่อนภาระหนี้ที่ใกล้ชนเพดาน โดยเพดานการก่อหนี้อยู่ที่ 31.38 ล้านล้านUSD ขณะที่ตัวเลขหนี้ปัจจุบันอยู่ที่ 31.31 ล้านล้านUSD ทั้งนี้ ความเสี่ยงในเรื่อง Government shutdown จะมีมากขึ้นหากรัฐบาล ไม่สามารถ คุมเสียงได้ทั้ง สภาล่าง และ สภาสูง ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าได้ส่วนในบ้านเราประเด็นหลักเป็นการรอดูผลการประชุม กนง. ในวันพุธ หน้า โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า น่าจะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ทั้งนี้ประเมินจากปัจจัยแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว อัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ในกลุ่ม M Rate ปรับขึ้นมาเฉลี่ย 0.82% ในช่วงเวลาสั้นๆ และ อีก ทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นแรงต้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

คาดว่า SET Index น่าจะผันผวนในทิศทางลดลง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว ช่วง 1675 – 1700 จุด หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, THANI และ NER ทั้งนี้ พอร์ตการลงทุนควรถือเงินสดสำรองไว้บางส่วน

ความกังวล GOVERNMENT SHUTDOWN กดดันหุ้นสหรัฐติดลบ

ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงติดลบต่อเนื่อง ราว -0.76% ถึง –0.97% แม้จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) เพิ่มขึ้นเพียง 1.9 แสนคน ต่ำกว่าคาดที่ 2.14 แสนคนและต่ำกว่าครั้งก่อนที่ 2.05 แสนคน แม้ตัวเลขที่ประกาศออกมาจะสะท้อนว่า ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่ตลาดยังคงให้น้ำหนักกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ที่อาจทำให้ เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มเติมด้วย

อีกประเด็นสำคัญที่กดดันตลาด คือ ความเสี่ยงเรื่องเพดานหนี้สหรัฐ หลังรมว.คลังสหรัฐ เผย กระทรวงการคลังสหรัฐได้เริ่มใช้มาตรการพิเศษในการชำระหนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สหรัฐ ผิดนัดชำระหนี้ซึ่งอาจชะลอสถาณการณ์ได้จนถึงเดือน มิ.ย. หลังหนี้สหรัฐอาจชนเพดานที่ ระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 31.31 ล้านล้านดอลลาร์ห่างกันเพียง แค่ 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหากไม่มีการเพิ่มเพดานหนี้ ส่งให้สหรัฐจะถูกลดอับดับ ความน่าเชื่อถือรวมถึงเกิด Government Shutdown

ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยในอดีตพบว่า Dollar Index จะอ่อนค่าลงในช่วงที่สหรัฐเกิด Government Shutdown เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ดังนั้นนอกจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยแล้ว ยังคงต้องติดตาม ประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ต่างๆ ในระยะถัดไป

3 ปัจจัยหลัก หนุน กนง. ชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยไทยในการประชุมรอบนี้

อัตราเงินเฟ้อของไทยที่พุ่งสูงในช่วงปีที่ผ่านมา +6.08%YoY ทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ย ไปแล้วกว่า 3 ครั้ง ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยในปีนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน ว่าการประชุม กนง. ในช่วง 1Q66 (ประชุมครั้งแรกของปีนี้ วันที่ 25 ม.ค. 66) น่าจะเห็น การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ตามเดิม และเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้

• M rate ค่อนข้างสูง ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.82% โดยนับตั้งแต่ กนง. เริ่มปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายในปี 65 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ ปรับขึ้นดอกเบี้ย M rate ตาม ขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 0.42% และล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นจากการที่ธนาคารฯ ต้องนำส่งเงิน เข้า FIDF ในอัตราเดิมอีก 0.40% เมื่อต้นปี 2566 ทั้งนี้ M rate ที่ถือว่าสูง จะยิ่ง เพิ่มภาระต้นทุนทางการเงินมากขึ้น

• เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว จากจุดสูงสุด 38.47 บาท/ดอลลาร์ (วันที่ 20 ต.ค. 65) และล่าสุดอยู่ที่ 32.86 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่ามาแล้วกว่า 17.07% ภายใน ระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน

• การขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจลดทอนศักยภาพของเศรษฐกิจไทย มีผลต่อการ รัดเข็มขัดในการใช้จ่าย/บริโภคของประชาชน รวมถึงการลงทุน อีกทั้งการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจยังมี Downside จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

การดำเนินโยบายการทางเงินของไทยมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลาย ประเทศในเอเชียอาทิ ญี่ปุ่น (คงอะดอกเบี้ยที่ -0.1%), มาเลเซีย (คงดอกเบี้ยที่ 2.75% เป็น เดือนแรก) ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสชะลอการเร่งตัวขึ้น หรือ อัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่ขาลง มีอยู่ 4 กลุ่มหลักๆ ดังน

• กลุ่มเช่าซื้อ THANI, MTC, TIDLOR, SAWAD, ฯลฯ

• กลุ่มธนาคารขนาดกลาง-เล็ก KKP, TISCO

• กลุ่มอสังหาฯ SPALI, LH, AP, QH, ORI , ฯลฯ

• กลุ่มหุ้นปันผลสูง NER, ADVANC , DTAC, MCS, SAT, ฯลฯ

สรุป การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น หลังกนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้งในปีที่ผ่านมา ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของ ไทยในช่วงต้นปี66 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ตามเดิม จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ M rate ค่อนข้างสูง เงินบาทแข็งค่าอย่าง รวดเร็ว รวมถึงการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจลดทอนศักยภาพของเศรษฐกิจไทย

ธ.พ. ใหญ่กำไร 4Q65 ต่ำคาด … KBANK (BK:KBANK) เพราะสำรอง / BBL จากเงิน ลงทุน

BBL (FV@B159) รายงานกำไรสุทธิ 4Q65 ที่ 7.56 พันล้านบาท (-1% QoQ, + 20% YoY) ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดราว 14% จากการวัดมูลค่าเงินลงทุน (FVTPL) แต่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) มีพัฒนาการเด่นชัด (+15% QoQ, +40% YoY) ตามภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยงวดนี้มีการตั้ง สำรองอยู่ที่ 7.9 พันล้านบาท ลดจาก 9.9 พันล้านบาทงวดก่อน และ 8.1 พันล้านบาท ในช่วง 4Q64 สอดรับกับมูลหนี้ NPL ต่ำลง สะท้อนผ่าน NPL/Loan ที่ 3.6% (3Q65 ที่ 3.8%) และผลักดัน Coverage Ratio ที่ 261% (3Q65 ที่ 240%)

ส่วนกำไรสุทธิปี 2565 ตามคาด บวก 11% YoY ขณะที่ประมาณการปี 2566 มี Upside จาก NIM ซึ่งฝ่ายวิจัยจะทบทวนประมาณการอีกครั้งหลังการประชุมนักวิเคราะห์ช่วง 13 - 17 ก.พ. 66 โดยแนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q66 เติบโต QoQ (+ YoY) จากการรับรู้ผลของการ ขึ้น M-Rate ช่วง 4Q65 เต็มไตรมาส และ OPEX มีแนวโน้มต่ำลงตามฤดูกาล ขณะที่ ประเมิน Credit Cost ยังอยู่ในการบริหารจัดการ คงแนะนำ ซื้อ NII มีพัฒนาการที่ดี รวมถึง Coverage Ratio แกร่งสุดในกลุ่มฯ ในเชิง Valuation PBV ซื้อขายที่ 0.55 เท่า พร้อมคาดเงินปันผล 2H65 ไว้ 2.75 บาทต่อหุ้น

KBANK(FV : อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการและคำแนะนำ) : กำไรสุทธิ 4Q65 ที่ 3.19 พันล้านบาท (-70% QoQ, -68% YoY) ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยคาดไว้ 9.9 พันล้านบาทและ Bloomberg Consensus ที่ 9.3 พันล้านบาท เหตุเพราะสำรอง เท่ากับ 2.3 หมื่นล้าน บาท (คาดการณ์ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท) และ 3Q65 ที่ 9.9 พันล้านบาท และ 4Q64 ที่ 9.6 พันล้านบาท ตาม MD&A ให้เหตุผลว่าเป็นการตั้ง ECL เพื่อรองรับความเสี่ยงจาก Global Recession เหตุข้างต้นไม่สามารถชดเชยได้กับกำไรก่อนสำรอง (PPOP) ที่ 2.8 หมื่นล้าน บาท (+20.8% QoQ, +28.6% YoY) จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยหรือ Non – NII (+53.3% QoQ,+13% YoY) และ NII (+9% QoQ, +17% YoY) ขณะที่ในเชิงคุณภาพสินทรัพย์ ตามความเห็นฝ่ายวิจัยยังดูคลุมเครือ ทั้ง NPL / Loan เพิ่มขึ้น และสินเชื่อ Stage 2 ไม่ได้ ลดลง กอปรกับแม้งวดนี้จะตั้ง ECL สูงแล้ว แต่ระดับ Coverage Ratio ยังอยู่ที่เพียง 144% (สิ้นงวด 3Q65 ที่ 138.2%, สิ้นปี 2564 ที่ 139.2% และสิ้นปี 2562 ที่ 148.6%)

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินผลประกอบการของ ธ.พ. ใหญ่ ที่ออกมาต่ำกว่าฝ่ายวิจัยและ ตลาดคาดการณ์ มีโอกาสสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้นในกลุ่มวันนี้ สำหรับหุ้นที่ชอบ 2 อันดับแรกของกลุ่มฯ ยังเป็น TISCO(FV@B108) และ BBL(FV@B159) จากคุณภาพ สินทรัพย์ที่ดูสบายใจกว่ากลุ่มฯ

ตรุษจีนมูลค่าซื้อขายอาจเบาลง...สแกนหาหุ้นพื้นฐานที่ผู้บริหารทยอย สะสม

ในสัปดาห์หน้าเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน โดยตลาดหุ้นหลายประเทศในเอเชียหยุดทำการ เริ่ม จาก ตลาดหุ้นจีนและไต้หวันหยุด 5 วัน, เวียดนามหยุด 4 วัน, ฮ่องกง 3 วัน, เกาหลีใต้และ สิงคโปร์ 2 วัน, อินโดนีเซียหยุด 1 วัน

ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ส่วนใหญ่มูลค่าซื้อขายในแต่ละวันมาจากนักลงทุนต่างชาติเกินกว่า 50% ของมูลค่าทั้งหมด อีกทั้งยังมีนักลงทุนในประเทศโซนเอเซียที่หยุดทำการอยู่ในอันดับ ต้นๆ ของการถือครอง อาทิ นักลงทุนสิงคโปร์ถือครองหุ้นไทยมากสุดเป็นอันดับ 2 สัดส่วน 19.9% และนักลงทุนฮ่องกงถือครองหุ้นไทยอันดับ 4 สัดส่วน 9% ส่งผลให้ SET Index อาจมีมูลค่าซื้อขายที่เบาลงจากช่วงวันเทศกาล อีกทั้งยังเป็นช่วงรอการรายงานงบปี 2565 ของกลุ่ม Real Sector ที่จะทยอยประกาศออกมา แต่จะเริ่มเข้ามาหนาแน่นในช่วงเดือน ก.พ. 66

สรุปคือ ในสัปดาห์หน้า คาดจะเป็นช่วงตลาดหุ้นไทยเงียบๆ Fund Flow ต่างชาติมี โอกาสชะลอ และยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการคัดกรองหาหุ้น พื้นฐานที่ผู้บริหารทยอยสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน แทนการสนับสนุนของ Fund Flow ได้ผลลัพธ์ คือ หุ้น BDMS ผู้บริหารซื้อสุทธิสูงสุดถึง 505 ล้านบาท(ytd) ที่ต้นทุน เฉลี่ย 30.12 บาท ตามมาด้วย GULF, ORI, GUNKUL, TFG, BTG และ RS

Top pick ธีมนี้เลือก GULF, BDMS, TFG และ RS หวังแรงผลักดันจากการซื้อของ ผู้บริหารและพื้นฐานที่คอยสนับสนุนในช่วงที่ตลาดอาจมีมูลค่าซื้อขายที่เบาลงใน สัปดาห์หน้า

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย