Bloomberg รายงานความน่าจะเป็นที่จะเกิด Recession ปี 2566 ของแต่ละ ประเทศล่าสุด พบว่ามีการปรับความน่าจะเป็นของสหรัฐฯ ขึ้นจาก 65% เป็น 68% ขณะที่ในเอเซีย มีการปรับความน่าจะเป็นของ ไทย และไต้หวันขึ้น เป็น 15% และ 20% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่ลดความน่าจะเป็นที่จะ เกิด Recession ลง ได้แก่ ยุโรป จาก 80% เหลือ 68% และ เยอรมัน จาก 90% เหลือ 78% ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับลดลง แรง และเป็น Sentiment ที่น่าจะกระทบมาสู่ตลาดหุ้นบ้านเราในวันนี้ด้วย ในอีก ด้านหนึ่ง จีน ออกมาให้ทิศทางว่าจะใช้มาตรการทางการคลังอย่างเต็มที่เพื่อทำให้ อัตราการเติบโตเศรษฐกิจกลับมาใกล้ช่วงก่อน Covid ส่วนมาตรการการเงินจะใช้ อย่างระมัดระวัง แนวทางดังกล่าวถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจไทย
เชื่อว่าความกังวลเรื่อง Recession ของเศรษฐกิจประเทศขนาดใหญ่ จะสร้างแรง กดดันเพิ่มขึ้นตามลำดับ คาด SET Index ผันผวนอยู่ภายใต้ระดับ 1700 จุด ส่วน แนวรับที่ 1675 จุด หุ้น Top Pick เลือก MTC, THANI และ ADVANC
ความเสี่ยงเรื่อง RECESSION เพิ่มขึ้น กดดันสินทรัพย์เสี่ยงผันผวน
วานนี้ตลาดหุ้นสรัหฐร่วงลงแรงราว -1.2% ถึง -1.8% หลังความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจะเข้า สู่ Recession เพิ่มมากขึ้น ผลักดันให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง พันธบัตรรัฐบาลและดอลลาร์ สะท้อนจาก Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ปรับลง 18 bps. ทำจุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 3.38% ขณะที่ Dollar Index เริ่มกลับมาทรงตัวในช่วง 101.5-102.9 จุด
ประเด็นที่เพิ่มความกังวลเรื่อง Recession มากขึ้น เกิดจากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศ ออกมาล่าสุดยังบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัว อาทิ
• ยอดค้าปลีก (Retail Sales) -1.1% ในเดือนธ.ค. หดตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ - 0.8%MoM และยังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังได้รับผลกระทบจากยอดขาย รถยนต์ที่ลดลง รวมทั้งการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน กระทบต่อยอดขายของ สถานีบริการน้ำมัน
• การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) -0.7%MoM ในเดือน ธ.ค. หดตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.1%MoM และยังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จาก ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น
• ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) -0.5%MoM ในเดือน ธ.ค. หดตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ - 0.1%MoM สะท้อนเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัว
ขณะเดียวกัน Bloomberg ประเมินโอกาสที่จะเกิด Recession ในช่วง 1 ปีข้างหน้าในบาง ประเทศจะมีมากขึ้น เมื่อพิจารณาข้อมูล ณ วันที่ 12 ธ.ค. 65 เทียบกับปัจจจุบัน
• สหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Recession เพิ่มขึ้นจาก 63% เป็น 68%
• ไต้หวัน มีโอกาสเกิด Recession เพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 20%
• ไทย มีโอกาสเกิด Recession เพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 15%
อย่างไรก็ตามแม้ประเทศในแถบเอเชียจะมีโอกาสเกิด Recession เพิ่มขึ้น แต่ก็ถือว่าอยู่ใน ระดับต่อนข้างต่ำ โดยมีโอกาสเพียง 15%-20% เท่านั้น
สรุป การที่ธนาคารกลางทั่วโลกเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ต้นทุนทางการเงินพุ่งสูง ส่งผลต่อการลดกำลังการผลิต ขณะที่ Bloomberg ประเมิน โอกาสที่จะเกิด Recession ในช่วง 1 ปีข้างหน้าในบางประเทศจะมีมากขึ้น ซึ่งความ เสี่ยงดังกล่าวกดดันสินทรัพย์ทรพย์เสี่ยงทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ต้องเผชิญความ ผันผวนมากขึ้นเช่นกัน วันนี้คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1,675 – 1,700 จุด
CHINA PLAY หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าลงทุนในช่วงนี้ชอบ AOT (BK:AOT) ERW TFG
ททท. คาดตัวเลขนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศในช่วงเทศกาลตรุษจีนช่วงวันที่ 19 – 27 ม.ค. 66 อยู่ที่ 588,900 คน เติบโต1,622% จากตรุษจีนปี 2565 และเทียบเท่า 41% ของ ช่วงตรุษจีนปี 2562 โดยฝ่ายวิจัยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยงวด 1Q66 เติบโตจากประมาณ 6 ล้านคนในงวด 4Q65 (1Q65 ที่ 5 แสนคน) อานิสงค์จาก High Season ของท่องเที่ยวไทย (Season การท่องเที่ยวไทยเรียงดังนี้ 1Q>4Q>3Q>2Q) และ ปริมาณนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะมากขึ้นช่วง 2H66 หนุนด้วยแนวโน้มการเดินทาง ของนักท่องเที่ยวจีน สอดรับกับปริมาณสายการบินที่กำลังทยอยเพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับ ความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีน ภาพรวมหากนักท่องเที่ยวจีนมาไทยที่ 3 – 5 ล้านคน (30% - 50% ของ Pre-COVID) อาจผลักดันตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี 2566 อยู่ที่ระดับ 25 – 27 ล้านคน เทียบกับประมาณ 11.8 ล้านคนในปี 2565 และมี ทิศทางดีต่อในปี 2567 รับประโยชน์จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนเต็มปี
ประเด็นดังกล่าว ยังช่วยหนุนดุลบริการและดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก ทำให้เงินทุน สำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นตาม โดยปัจจุบันเงินทุนสำรองฯ อยู่ที่ระดับ 2.19 แสนล้าน เหรียญฯ ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ระดับ 2.32 แสนล้านเหรียญฯ จึงมีแนวโน้มที่ เงินทุนสำรองฯ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งสถิติในอดีตบ่งชี้ว่าเงินทุนสำรองฯที่เพิ่มขึ้น มักจะ มาพร้อมกับเงินบาทที่แข็งค่า
สำหรับระยะยาวภาคการท่องเที่ยวไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้ หลังกลับสู่ระดับปี 2562 ที่ 40 ล้านคน นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวไทยที่มีเสน่ห์จูงใจชาวต่างชาติ ยังได้รับอานิ สงค์จากแผนการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งวานนี้ทางบอร์ด AOT เห็นชอบให้ คุณกีรติ กิจมานะวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ AOT คนใหม่ ด้วยประสบการณ์ในสาย วิศวกรรมและการบริหารโครงการขนาดใหญ่ สอดรับไปกับแผนพัฒนา อาคารผู้โดยสาร ใหม่ฝั่ง North (สำหรับรองรับผู้โดยสารในประเทศ คาดเริ่มสร้างปี 2567) ตามด้วยแผน สร้างอาคารเพื่อรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศฝั่ง East และ West รวมกันราว 30 ล้าน คนต่อปี รวมแล้วในอนาคตสนามบินสุวรรณภูมิ จะมี Full capacity ที่ 120 ล้านคนต่อปี สูงขึ้นจากงวดบัญชีปี 2562 ที่สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้ใช้บริการราว 65 ล้านคน (ขาเข้า + ขาออก) ขณะที่โครงสร้างทางการเงินของ AOT ประเมินอยู่ในการบริหารจัดการเพื่อ รองรับการเติบโต พิจารณาจากสัดส่วน IBD/E ณ สิ้น ก.ย. 65 ที่ 0.07 เท่า และ CFO ช่วง Pre-COVID ราว 3.2 หมื่นล้านบาทต่อปี เลือก AOT(FV@B80) ในฐานะประตูสู่ ประเทศไทย ตามด้วย ERW(FV@B5.1) จากโครงสร้างรายได้มาจากโรงแรมไทยมาก สุดในกลุ่มฯ และ MINT(FV@B38) ราคา Laggard กลุ่มฯ
ในช่วงสั้นๆ ยังมีอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าลงทุน คือ ตรุษจีน Play ซึ่งราคาหมูไก่ มักจะปรับตัว เพิ่มขึ้นตามความต้องการในช่วงเทศกาล โดยจากข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี พบว่า ในช่วงปีใหม่ สากลจนถึงปีใหม่จีน ราคาไก่ปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 5.2% และราคาหมูปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.8% ขณะที่ปีปัจจุบัน (ytd) ราคาไก่และหมูปรับตัวขึ้นมาเพียง 2% กว่าๆ เท่านั้น น่าจะ ยังมีช่องว่างให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกตามสถิติในอดีต ประเด็นดังกล่าวถือว่าเป็นบวกต่อหุ้น หมูไก่ อย่าง TFG, GFPT, CPF รวมถึงหุ้นเป็ด อย่าง BR
สรุป นักท่องเที่ยวที่คาดเข้าไทยมากขึ้นในช่วงตรุษจีน นอกจากจะเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นที่กล่าวมาข้างต้น ยังช่วยหนุนดุลบัญชีเดินสะพัดฟื้นตัวต่อเนื่อง และทำให้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศกลับสู่ระดับปกติ ซึ่งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มัก แปรผกผันกับค่าเงินบาทเสมอ จึงทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อใน กรอบ 33.0-33.5 บาท/เหรียญฯ และเป็นปัจจัยหนนุให้ Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาด หุ้นไทยต่อเนื่อง(ซื้อสุทธิทุกวันทำการตั้งแต่ต้นปีรวม 2.0 หมื่นล้านบาท)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities