ในที่สุดเงินบาทก็แข็งค่าจนทะลุ 33 บาท/USD ลงมาแตะบริเวณ 32.8-32.9 บาท/ USD ภาวะดังกล่าวถือว่าดีต่อทิศทาง Fund Flow ที่ไหลเข้าสู่ตลาดการเงิน แต่ ต้องระวังด้วยเหมือนกันว่า เงินที่ไหลเข้าอาจเป็นเงินร้อนเข้ามาเก็งกำไรอัตรา แลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่งเงินบาทที่แข็งค่า ก็เป็นปัจจัยที่อาจเปิด Downside ให้กับความคาดหมายเรื่อง GDP Growth ของประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคส่วนของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อมองโดยองค์รวมอาจเป็นภาวะที่ไม่ สมดุลระหว่างเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ส่วนประเด็นอื่นที่น่าสนใจเป็นเรื่องความ เสี่ยงต่อ Recession ซึ่งดูเหมือนว่าล่าสุดความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์บางค่าย เริ่มลดความกังวลจากภาวะ Recession ทีปกคลุมตลาดอยู่ อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีโอกาสที่จะพลิกกลับมาได้ตลอดเวลา
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานมีน้ำหนักค่อนไปทางบวก ประเมินว่า SET Index วันนี้ น่าจะเหวี่ยงขึ้นได้ มีแนวต้านหลักอยู่ที่ 1700 จุด และ แนวรับที่ 1676 จุด หุ้น Top Pick เลือก COM7, STEC และ TFG
ความกังวล RECESSION หลายประเทศเริ่มผ่อนคลาย ลุ้น SET ขึ้นไป ทดสอบ 1700 จุด สัปดาห์นี
ตลาดหุ้นยังคงปิดบวกต่อเนื่อง โดยหุ้นสหรัฐปิดบวกระหว่าง 0.3 – 0.7% ขณะที่ตลาดหุ้น ยุโรปปิดบวกระหว่าง 0.2 – 0.7% หลังความกังวลเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศเริ่ม ผ่อนคลายลง
เริ่มจากเศรษฐกิจในฝั่งสหรัฐนั้นทาง IMF ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ว่าเศรษฐกิจ สหรัฐจะไม่เกิดภาวะถดถอยเนื่องจากตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง ซึ่งหากเกิดเศรษฐกิจ ถดถอยก็จะเป็นเพียงแค่ Soft Landing เท่านั้น รวมถึงผลประกอบการหุ้นกลุ่มธนาคาร หลายตัวออกมาดีกว่าที่คาด สะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงแข็งแกร่ง
ในขณะที่ GDP ฝั่งยุโรปเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาด โดย GDP ทั้งปีของประเทศเยอรมัน บวกมากกว่าที่ตลาดคาด +1.9% จากคาดการณ์ +1.8% เนื่องจากราคาก๊าสธรรมชาติ ปรับตัวลดลงซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลง ส่วน GDP ของอังกฤษเดือน ธ.ค. +0.2% YoY รวมถึง +0.1% QoQ
รวมถึงจีนได้มีการประกาศตัวเลขการค้า การส่งออก เดือน ธ.ค. หดตัวลง -9.9% YoY จาก อุปสงค์โลกที่ชะลอตัว ส่วนการนำเข้าหดตัวลง -7.5% จากการบริโภคในประเทศที่หดตัว เนื่องจากทางการดำเนินมาตรการ Zero-Covid อย่างไรก็ตามดุลการค้าของจีนเดือน ธ.ค. ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมถึงจีนได้ผ่อนคลายมาตรการโควิดมาก ขึ้น ซึ่งหากจีนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆโดยเฉพาะการบริโภคอาจทำให้ตัวเลข เศรษฐกิจดีขึ้นในระยะถัดไป
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงได้รับ Sentiment เชิงบวก ซึ่งอาจช่วยหนุน SET Index ขึ้นไปทดสอบระดับ 1,700 ได้ อย่างไรก็ตามผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีและ 2 ปีของสหรัฐซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนี้ชี้วัด เศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐยังคงเกิด Inverted Yield Curve ทำให้หลังผ่านช่วง ประกาศงบการเงิน ความเสี่ยงเรื่อง Recession อาจกลับเข้ามากดดันตลาดอีกครั้ง
บาทแข็งค่าหนุน FUND FLOW ไหลเข้า SET ช่วงสั้น ขณะที่ภาพระยะยาว อาจเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอเพิ่มเติม
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจนล่าสุดทะลุแนวรับ 33 บาท/เหรียญฯ หรือแข็งค่าสุดใน รอบ 10 เดือน มาอยู่ที่ 32.90 บาท/เหรียญฯ ฝ่ายวิจัยประเมินเงินบาทที่แข็งค่า เป็นบวกต่อ
1. ทิศทาง Fund Flow ต่างชาติคาดยังคงไหลเข้าหุ้นไทย โดยมีโอกาสทำกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน(FX-Gain) ตามเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งตั้งแต่ต้นปี Flow ต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยกว่า 1.78 หมื่นล้านบาท(ซื้อสุทธิทุกวันทำการตั้งแต่ต้นปี) ซึ่งหากทิศทางค่าเงินบาทยังทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่อง คาดหนุนให้ Flow ต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง
2. หาก Downside GDP ของไทยเริ่มปรากฏ อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้กนง. ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยการประชุม กนง. จะมีขึ้น 25 ม.ค.65 ซึ่งมี ความเสี่ยงที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมินถ้ามีการขึ้น ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.25% จะกดดันเป้าหมายดัชนีลดลงราว 80 จุด หรือจากดัชนี เป้าหมายปลายปี 1820 จุด เหลือ 1740 จุด อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจใน ประเทศมีโอกาสชะลอตัว อาจทำให้การขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ชะลงได้ และเป็น แรงหนุนให้ SET Index น่าสนใจมากขึ้น
3. กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งค่า หุ้นที่เน้นการนำเข้า อาทิ TFG ,TVO กลุ่มที่มีหนี้สกุลต่างประเทศ อาทิ กลุ่มโรงไฟฟ้า GULF , BGRIM EGCO, PTT (BK:PTT) PTTEP, PTTGC กลุ่มสายการบิน อาทิ BA AAV หุ้นขนาดใหญ่ในดัชนี SET50-100 เป้าหมาย Flow ต่างชาติอาทิ BBL KBANK (BK:KBANK) SCC ADVANC ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทที่รวดเร็ว โดยในช่วงเวลา 2 เดือน เศษที่ผ่านมา แข็ง ค่าไปแล้วกว่า 15% อาจมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาวขยายตัวได้น้อยลง จากภาค การส่งออกที่สะดุด ดุลการค้าไทยขาดดุลมากขึ้น หรือ Net Exports ติดลบเพิ่มขึ้น (11M65 บ้านเราขาดดุลการค้าไปแล้วกว่า 5.42 แลนล้านดอลลาร์) รวมถึงภาคการ ท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของประเทศอาจลดลง ซึ่งล้วนมีผลต่อการจ้าง งานและการบริโภคภายในประเทศ
สรุป เงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วอาจมีส่งผลต่อ Downside GDP จากภาคการ ส่งออกที่สะดุดตัวลงและรายได้จากภาคการท่องเที่ยวลดลง แต่ในทางกลังบกันในช่วง สั้นเป็นบวกต่อทิศทาง Fund Flow ต่างชาติคาดยังคงเข้าหุ้นไทย ขณะที่เศรษฐกิจ ขยายตัวน้อยลงอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ กนง. ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
ส่วน Top pick วันนี้เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่า TFG, STEC และหุ้นค้า ปลีกราคาย่อตัว Valuation น่าสนใจ COM7
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities