เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค.65 ออกมาตามคาดที่ 6.5% YoY ทำให้ตลาดการเงินอยู่ ในภาวะผ่อนคลายอีกครั้ง โดยประเมินว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ1 ก.พ.66 น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% และเพดานสูงสุดปี 2566 จะอยู่ที่ บริเวณ 5% ในอีกด้านหนึ่งคือ จีน รายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่ 1.8% ขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ถือเป็นสัญญาณบวกของการหลุดพ้นจากนโยบาย Zero Covid และน่าจะเป็น การเปิดทางให้สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้ อย่างเต็มที่ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะหนุนให้SET Index ขยับตัวขึ้นไปได้ แต่ก็ยังไม่ น่าจะผ่านระดับ 1700 จุดไปได้ง่ายๆ ส่วนสถานการณ์ที่น่าติดตามในบ้านเรา เป็น เรื่อง ค่าเงินบาทที่ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่บริเวณ 33 บาท/USD ซึ่งอาจ กระทบต่อภาคการส่งออกในระยะต่อไป และอาจเกิดแรงขายทำกำไรจากค่าเงินได้
SET Index น่าจะแรงเหวี่ยงขึ้น แต่เชื่อว่ายังไม่น่าจะยืนเหนือ 1700 จุดได้ ดังนั้น เมื่อเข้าใกล้ 1700 จุด ควรสำรองเงินสดในพอร์ตไว้บางส่วน กรอบการเคลื่อนไหว ช่วง 1680 – 1700 จุด หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, NER และ THANI
เงินเฟ้อสหรัฐหดตัวต่อเนื่อง UPSIDE ดอกเบี้ยเริ่มจำกัด เงินเฟ้อจีน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คาดเป็นบวก ศก. ไทย
ตลาดหุ้นทั่วโลกวานนี้ปิดตัวในแดนบวก โดยฝั่งสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นราว +0.3% ถึง +1.7% ขณะที่ฝั่งยุโรปเพิ่มขึ้นราว +0.7% ถึง +0.9% หลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ของ สหรัฐในเดือนธ.ค. +6.5%YoY ตามตลาดคาดการณ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่อง ติดต่อกันมาเป็นเดือนที่ 6 ขณะที่ CPI รายเดือนลดลงมากสุดในรอบกว่า 2 ปี ที่ระดับ - 0.1%MoM ส่วน Core CPI +5.7%YoY ในเดือนธ.ค. ตามตลาดคาดเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ฝ่ายวิจัยฯได้นำการเติบโตเงินเฟ้อเดือนล่าสุดของ สหรัฐ ที่ระดับ -0.10%MoM มาคิดสมมุติฐานเงินเฟ้อในระยะถัดไป พบว่า CPI YoY จะ ทยอยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากระดับ +6.5%YoY ในเดือน ธ.ค. 65 สู่ ระดับ +1.87% YoY ในเดือน พ.ค. 66 ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะหนุนให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในเดือน ก.พ. 66 ขณะที่ผลการสำรวจของ Fed Watch Tool ล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนให้น้ำหนักกว่า 91.2% ที่ Fed จะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75% ในการประชุมครั้งแรกของปีนี้ (1 ก.พ. 66) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้น้ำหนักเพียง 76.7% ขณะที่สิ้นปีนี้คาดว่าดอกเบี้ยของ Fed จะอยู่ ที่ระดับ 4.5%
ขณะเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 65 +1.8%YoY ตามคาด โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ +1.6%YoY หลัง ราคาอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนที่กำลังฟื้น ตัว อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อจีนถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งน่าจะยังเห็นแนวโน้มที่ ทางการจีนจะใช้นโยบายการเงินและการคลังกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ในส่วนของบ้านเรายังคงเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่องสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ธ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 49.7 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และสูงสุดในรอบ 25 เดือน ส่วนระยะ ถัดไปกิจกรรมเศรษฐกิจของจีนที่เริ่มฟื้นตัวคาดว่าจะเป็นผลบวกกับไทย เฉพาะอย่างยิ่ง การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน หนุนให้การจับจ่ายใช้สอยกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง รวมถึง ภาคการส่งออกสินค้าไปจีน ซึ่งมีสัดส่วนราว 12% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ปรับตัวดี ขึ้นเช่นกัน สำหรับหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากจีนที่ราคายังปรับตัวขึ้นไปไม่ถึงจุดสูงสุดในปี 2019 บวกกับปัจจุบันยังมี Upside ให้สะสม ได้แก่ PTTGC, SCC, M, MINT, HMPRO, BEM, ERW, AOT (BK:AOT) เป็นต้น
สรุป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐทยอยลดลงต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนให้ Fed ชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจีนยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็น แนวโน้มที่รัฐบาลจีนกระตุ้น/ฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งเป็นอานิสงค์เชิงบสกต่อ เศรษฐกิจบ้านเราเช่นกัน
กระแสข่าว ผู้เดินทางจากไทยไปอินเดีย ต้องตรวจ RT-PCR ฝ่ายวิจัยฯ มองอย่างไร ?
ช่วงที่ผ่านมา นสพ. ในประเทศ รายงานข่าวอินเดีย ยกเลิกตั๋วบินมาไทย หลังอินเดีย กำหนดให้ผู้โดยสารที่เดินทางกลับจากไทย ต้องตรวจ RT-PCR ประกอบกับการที่จีนเปิด ประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ 8 ม.ค. 66 อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่องค่าเหยียบแผ่นดินราว 300 บาทต่อครั้ง ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 66 (ไม่ใช่เรื่องใหม่) สร้าง Sentiment ลบต่อราคาหุ้นกลุ่ม reopening ในช่วงที่ผ่านมา ในประเด็นอินเดีย หากพิจารณาจากโครงสร้างนักท่องเที่ยว จีนมาไทยปี 2562 ที่ 11 ล้านคน หรือราว 30% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย (11M65 ที่ 2.5% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย) VS นักท่องเที่ยวอินเดียมาไทยปี 2562 ที่ 2 ล้าน คน เทียบเท่า 5% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย (11M65 ที่ 9.5% ของนักท่องเที่ยว ต่างชาติมาไทย) ขณะที่เชิงรายได้ต่อ Trip มาไทย พบว่า Pre-COVID จีนมีการใช้จ่ายต่อ trip ต่อคนต่อครั้งราว 4.5 – 5 หมื่นบาท สูงกว่าอินเดียที่ 4 หมื่นบาท ส่วนประเด็นค่า เหยียบแผ่นดิน 300 บาท คิดเป็นสัดส่วน 0.63% ของค่าใช้จ่ายต่อทริปของนักท่องเที่ยว ต่างชาติมาไทยที่ 4.8 หมื่นบาท ภาพรวมฝ่ายวิจัยคงประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยปี 2566 ที่ 20 กว่าล้านคน (ปี 2565 อยู่ที่ราว 12 ล้านคน) และปี 2567 ที่ 30 ล้านคน
สำหรับหุ้นในกลุ่มโรงแรม มอง MINT จะได้รับผลกระทบจากประเด็นอินเดียต่ำสุด เพราะ โครงสร้างรายได้ราว 50% มาจากโรงแรมใน EU ส่วนโรงแรมในไทยมีลูกค้าอินเดียราว 6% - 7% ของ Room night (VS จีน 17% ของ Room night ไทย) ,CENTEL ช่วงปกติมีลูกค้า อินเดียประมาณ 4% VS จีน 15% ของ Room night และ ERW ช่วงปกติมีลูกค้าอินเดีย ประมาณ 6% VS จีน 12% ของ Room revenue องค์ประกอบรวมตามความเห็นฝ่าย วิจัยเชื่อว่าการที่จีนเปิดประเทศมาไทยจะมีอรรถประโยชน์ต่อไทยมากกว่า
เลือก AOT(FV@B80) ในฐานะประตูสู่ประเทศไทย เล่นได้ทั้งธีม Reopening และ โครงสร้างพื้นฐาน, MINT(FV@B38) ราคาหุ้น laggard หุ้น reopening ตัวอื่นและ การดำเนินงานใน EU ฟื้นตัวเด่น และ ERW(FV@B5.1) จากการเข้ามาของลูกค้าจีน ช่วงแรกในกลุ่ม High end ตามค่าตั๋วเครื่องบินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่เป็นจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวจีน บวกต่อ ERW ที่มีฐานรายได้จาก โรงแรมในกรุงเทพฯ ราว 60% ของปี 2562
เวียดนาม กำหนดกรอบค่าไฟใหม่ กระทบกับกลุ่มโรงไฟฟ้าแค่ไหน?
ัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศเวียดนามได้กำหนดกรอบ สำหรับราคาไฟฟ้าสำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมใหม่โดยกำหนด ราคาเพดาน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการผลิตไฟฟ้า โดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ อยู่ที่ 1,184.90- 1,508.27 VND/kWh (ราว 4.47-6.03 cent/ kWh) และ โรงไฟฟ้าพลังงานลม อยู่ที่ 1,587.12 - 1,815.95 VND/kWh (ราว 6.35- 7.26 cent/ kWh) ขึ้นอยู่กับประเภท ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงจากเดิมค่อนข้างมาก โดยนโยบายอัตราค่า ไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของเวียดนาม เดิมจะอยู่ที่ ราว 7-9 cent/kWh และอัตราดังกล่าวจะสิ้นสุดลงใน 31 ธันวาคม 2563 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้า พลังงานลมจะอยู่ราว 8-10 cent/kWh และสิ้นสุดใน 1 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ ราคา เพดานใหม่จะถูกนำไปใช้กับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ที่ได้มี การเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ไปแล้วในช่วงก่อน 1 ม.ค. และ 1 พ.ย. 2564 ตามลำดับ แต่ยังไม่ถูกกำหนดให้ใช้อัตราค่าไฟฟ้าก่อนช่วงนโยบาย ดังกล่าวหมดอายุ รวมถึงโครงการใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัจจัยลบต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลาย รายได้เข้าไปลงทุนในโครงการในประเทศเวียดนามและยังมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างรอ เซ็นสัญญา PPA และตกลงราคาค่าไฟกับทางภาครัฐ (EVN) ซึ่งการลดอัตราค่าไฟฟ้าลงจะ ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าที่ประเมินไว้ หรืออาจไม่ คุ้มค่ากับการลงทุน รวมถึงในอนาคตจะส่งผลให้ความน่าสนใจในการลงทุนโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนามมีความน่าสนใจลดน้อยลง ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้รวบรวมบริษัทที่มีโครงการที่เตรียมดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือเตรียมขาย ไฟฟ้าในประเทศเวียดนาม
ทั้งนี้ จากการสอบถามไปยังแต่ละบริษัท บางโครงการได้มีการเซ็นสัญญา PPA ไว้ก่อน หน้านี้แล้ว ซึ่งจะได้รับราคาขายไฟฟ้าที่แน่นอนตามระบุไว้ในสัญญา จึงไม่ได้รับ ผลกระทบจากประเด็นนี้ ได้แก่ RATCH, BCPG ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นอาจ ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว เช่น SSP, BGRIM, GULF โดยผลกระทบจะ เกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัญญาในแต่ละโครงการ และสัดส่วนกำไรที่ได้รับเมื่อ เทียบกับสัดส่วนกำไรทั้งหมดของแต่ละบริษัท เบื้องต้นคาดหากผู้ประกอบการไม่ สามารถเจรจาต่อรองค่าไฟ หรือมีนโยบายอื่นเข้ามาชดเชย อาจส่งผลให้ EIRR โครงการฯลดลงจาก 10-12% มาอยู่เพียง 0.3% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจนจากทางบริษัท ว่าจะบริหารโครงการต่อไปอย่างไร จึงยังถือเป็นประเด็นที่ต้อง ติดตาม
BCP ซื้อ ESSO ฝ่ายวิจัยฯมีการปรับประมาณการต่อ BCP อย่างไร
บอร์ด BCP อนุมัติเข้าซื้อหุ้น 65.99% จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ExxonMobil และหากดีลแล้ว เสร็จจะทำ Tender Offer หุ้นส่วนที่เหลืออีก 34.01% ในราคาเดียวกับราคาที่ซื้อ ESSO ในดีลซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ซึ่งผู้บริหารเปิดเผยว่าในขณะนี้ยังไม่มีแผน delist ESSO ออกจาก ตลท. อย่างไรก็ตามในส่วนของราคาขายยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลาย ปัจจัยที่เกิดขึ้นระหว่างทางจากนี้จนกว่าดีจะแล้วเสร็จ แต่เบื้องต้นจาก guideline ของ ผู้บริหาร BCP คาดว่าราคาเข้าซื้อ ESSO จะอยู่ราว 8-10 บาทต่อหุ้น ซึ่งแหล่งเงินทุนที่ใช้ ซื้อกิจการจะมาจากเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และกระแสเงินสดที่อยู่ในมือ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน และหลังจากการเข้าซื้อกิจการเป็นที่เรียบร้อย ภายใต้สมมติฐานเข้าถือ หุ้น 100% ใน ESSO จะส่งผลให้กำลังการกลั่นติดตั้ง (Nameplate Capacity) ของ BCP เพิ่มขึ้นเป็น 2.94 แสนบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็นโรงกลั่น ที่ขนาดกำลังการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเกิดความยืดหยุ่นในความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป รวมถึงสามารถน้ำมันดิบได้หลากหลายประเภทมากขึ้น นอกจากนี้อีกส่วนที่สำคัญในการเข้าซื้อกิจการ ESSO คือจะส่งผลให้ธุรกิจการตลาด (Retail Marketing) ขึ้นอยู่ในอันดับ 2 ในส่วนของส่วนแบ่งการตลาดด้านปริมาณขายที่ 29.1% (อันดับ 1 คือ OR ที่ 39.0%) รวมถึงเป็นการกระจายสถานีบริการน้ำมันไปทั่ว ภูมิภาคของประเทศด้วยจำนวนสถานีบริการเพิ่มขึ้น 2.1 พันสถานีบริการ (BCP 1.3 พัน สถานี + ESSO 780 สถานี) รวมถึงความคาดหวังในส่วนของ Synergy ที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง ผู้บริหารตั้งเป้าไว้ที่ 1.5-2.0 พันล้านบาท (ก่อนภาษี)
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจาก ESSO ซึ่งเบื้องต้นคาดจะอยู่ราว 3-5 บาทต่อหุ้นในประมาณการและมูลค่าพื้นฐานปัจจุบัน เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอน ของสมมติฐานหลายปัจจัย รวมถึงมีความเสี่ยงระยะเวลาในการทำดีลที่ยาวนาน 6-12 เดือน ดังนั้นจึงแนะนำเพียง trading จากประเด็นดังกล่าว โดยหากอิงเฉพาะธุรกิจที่ สามารถสร้างรายได้ในปัจจุบัน ยังคงมูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2566 ไว้ที่ 35 บาทต่อหุ้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities