World Bank ปรับลดคาดการณ์GDP Growth ของโลกปี 2566 ลงจาก 3% มา อยู่ที่ 1.7% ถือเป็นการปรับลดลงที่ค่อนข้างแรง พร้อมแสดงความกังวลถึงการที่ เศรษฐกิจหลายประเทศจะเข้าสู่ภาวะ Recession ภาวะดังกล่าวถือเป็นแรงกดดัน ต่อภาคการส่งออกบ้านเรา ซึ่งหากนำไปรวมกับสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าอย่าง รวดเร็ว ก็อาจเป็นปัจจัยที่เปิด Downside สำหรับประมาณการ อย่างไรก็ตามก็ยัง พอเห็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาคเศรษฐกิจในประเทศ เริ่มจากงบประมาณปี 2567 ซึ่งล่าสุด ครม. ได้เห็นชอบกรอบวงเงิน 3.35 ล้านล้านบาท โดยที่เป็นงบจ่าย ลงทุน 20.6% ทั้งนี้เราเห็นว่าการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ กำลังปรับโหมด จากการ ใช้จ่ายเพื่อการเยียวยา Covid-19 มาสู่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งดีต่อกลุ่ม รับเหมาฯ ส่วนแรงกระตุ้นอีกเรื่องหนึ่งคือภาคการท่องเที่ยว หลังจีนเปิดประเทศ
คาดว่า SET Index น่าจะผันผวนในกรอบแคบ มีแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 1700 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1685 จุด หุ้น Top Pick เลือก ERW, STEC และ TFG โดย TFG น่าจะได้ประโยชน์จากสถานการณ์ไข้หวัดนกในญี่ปุ่น
ตลาดหุ้นสหรัฐ REBOUND รอดูเงินเฟ้อ ส่วนระยะยาวยังต้องเฝ้าระวัง เรื่อง RECESSION
ดัชนีหุ้นสหรัฐปิดบวก โดย S&P500 +0.7% หลัง Powell ไม่ได้กล่าวถึงทิศทางการขึ้น ดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมที่กรุงสตอคโฮล์มวานนี้ โดย Powell เน้นย้ำถึงความเป็น กลางในการตัดสินใจของธนาคารกลางโดยไม่ได้อิงปัจจัยการเมือง รวมถึงเสริมว่า เสถียรภาพของราคา ถือเป็นรากฐานของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจะเกิดประโยชน์ต่อ สาธารณะในระยะยาว โดยนักลงทุนหันไปจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ธ.ค. ที่จะ ประกาศในวันที่ 12 ม.ค. ซึ่งตลาดคาด CPI +6.5% YoY ชะลอจากเดือนก่อนที่ระดับ 7.1% YoY ส่วน Core CPI +5.7% YoY ชะลอจากเดือนก่อนที่ระดับ +6.0% YoY ทั้งนี้ CME Fed Watch Tool ยังคงระบุว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bps ในการประชุมรอบ เดือน ก.พ. และ ดอกเบี้ยสูงสุด (Terminal Rate อยู่ที่ระดับ 5.00-5.25%
ขณะที่ภาพเศรษฐกิจโลกระยะยาวอาจเผชิญกับ ความเสี่ยง Recession มากขึ้น โดยล่าสุด Word Bank ปรับลดคาดการณ์การเติบโต GDP66F โลกขยายตัวเพียง +1.7%YoY (ระดับ ต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี)ลดลงจากประมาณการเดือน มิ.ย. ที่ระดับ +3.0%YoY หลังได้รับ ผลกระทบจากธนาคารกลางทั่วโลกเร่งปรับดอกเบี้ยแรงและเร็วเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูง, สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุด, การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการ ชะลอตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกอย่าง สหรัฐ (GDP66F +0.5%YoY) และยุโรป (GDP66F +0.0%YoY)
ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว มีผลต่อการหดตัวของ Demand รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมาเร็ว ไม่ถึง 3 เดือน แข็งค่ากว่า 13% (จากจุดพีค 38.41 บาท/เหรียญ ณ 21 ต.ค. 65) อาจถูก ส่งผ่านมายังภาคการส่งออกของบ้านเราจาก ทำให้ภาคเอกชนต่างคาดว่าการส่งออกไทย ในปีนี้จะติดไปจนถึงช่วงเดือน มี.ค. โดย สรท. คาดขยายตัวเพียง 1-3% (Q1 -2.1%, Q - 2.7%, Q3 +3.9%, Q4 +10.5%) ส่วน ม.หอการค้าไทย คาดเติบโตต่ำสุดรอบ 3 ปี และ อาจติดลบ 0.5%
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปี 66 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแม้จะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังมี แนวโน้มขยายได้ดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและภาพรวมเศรษฐกิจโลก โดยจีน +4.3%YoY ขณะที่บ้านเรา +3.6% %YoY จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวและภาคลงทุนที่เพิ่มขึ้น
สรุป ตลาดหุ้นสหรัฐ Rebound ระยะสั้นรอตัวเลขเงินเฟ้อ ขณะที่ระยะยาวยังต้องเฝ้า ระวังเศรษฐกิจชะลอตัว โดย World Bank ปรับลด GDP โลกลง เนื่องจากหลายปัจจัย รุมเร้า รวมถึงบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้ส่งออกไทยชะลอตัว กด Upside การเติบโตเศรษฐกิจ หากไม่มีปัจจัยใหม่หนุนยากจะดัน SET ทะยานผ่าน 1,700 จุด ส่วนวันนี้คาด SET แกว่งตัวบริเวณ 1,685 – 1,700 จุด
งบประมาณภาครัฐฯ เน้นการลงทุนมากขึ้น ชอบ STEC และ BBL
ครม.เห็นชอบ อนุมัติงบประมาณรายจ่ายปี 2567 จำนวน 3.35 ล้านล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายการลงทุนราว 0.69 ล้านล้านบาท และเมื่อพิจารณาการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายของภาครัฐช่วงที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนผ่านจากมาตรการเยียวยามาเป็น การพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น สะท้อนจากงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีงบประมาณ 2566 เพิ่มขึ้น 17.7%YoY เป็น 0.66 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนอยู่ที่ 20.9% ของวงเงิน งบประมาณทั้งหมด และในปี 2567 เพิ่มขึ้น 3.9%YoY เป็น 0.69 ล้านล้านบาท มี สัดส่วนอยู่ที่ 20.6% ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด
นอกจากนี้ภาครัฐยังเตรียมพิจารณาช่วงต้นปีหน้า พร้อมดันเมกะโปรเจกต์ 9 โครงการ วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการรถไฟไทย-จีน รถไฟ ทางคู่เฟส 2 ฯลฯ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายสำหรับการเยียวยาลดลงเรื่อยๆ สังเกตได้จาก โครงการคนละครึ่งเฟส 7 ที่ ครม.ไม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ที่ เข้า ครม.แล้วแต่ยังไม่ผ่านการพิจารณา
สรุป การจัดสรรงบประมาณของภาครัฐเริ่มเห็นแนวโน้มการใช้จ่ายด้านการลงทุนเพิ่ม มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่งบประมาณรายจ่ายสำหรับการ เยียวยาลดลงเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยระยะถัดไป ต่อหุ้นกลุ่ม ก่อสร้าง รับเหมา อาทิ CK, STEC, NWR, BEM กลุ่ม ธ.พ. แนะนำ BBL, SCB
หลายปัจจัยบวกเข้ามาในกลุ่มหมูและไก่ไทย
ไข้หวัดนกระบาดหนักในญี่ปุ่น ทำให้มีการทำลายไก่ไปกว่า 10 ล้านตัวตั้งแต่ ต.ค. 65 สูงสุด เป็นประวัติการณ์สำหรับฤดูกาลระบาดของไข้หวัดนกในญี่ปุ่น ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ญี่ปุ่นจะต้องนำเข้าไก่จากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนไก่ที่ถูกทำลายไปและผลบวก จากการที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศ หนุนการบริโภคเนื้อสัตว์ในญี่ปุ่นฟื้นตัว ส่งผลบวกต่อไทยที่ เป็นผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ของโลก และจะส่งผลบวกทางอ้อมต่อแนวโน้มราคาไก่เป็นในไทย ให้ปรับสูงขึ้นได้บ้างเช่นกัน
นอกจากนี้ ราคาสุกรหน้าฟาร์มในไทยล่าสุดอยู่ที่ 96 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้น 2.1% wow จากการเปิดเมืองและนักท่องเที่ยวเข้าไทยมากขึ้น หนุนการบริโภคเนื้อสัตว์สูงขึ้น ขณะที่ ราคาไก่เป็นยังยืนสูงต่อเนื่องที่ 44 บาท/กก. นอกจากนี้ ยังคาดแนวโน้มราคาไก่เป็นและ สุกรหน้าฟาร์มจะปรับสูงขึ้นในช่วงเทศกาลช่วงตรุษจีนในวันที่ 22 ม.ค. 66
ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มเกษตร-อาหาร “เท่าตลาด” โดยแนะนำซื้อ TFG (FV@B7) GFPT (FV@B17) CPF (FV@B32) และ BTG (FV@B48) เนื่องจากได้ ประโยชน์จากโอกาสในการส่งออกไก่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มราคาไก่และสุกรที่จะปรับ สูงขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง ผู้บริหารก็ทยอยสะสมบางหุ้นเช่นกัน
ในปี 2566 ผ่านมา 6 วันทำการ ต่างชาติซื้อสุทธิทุกวัน มูลค่ารวมกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท (สูงสุดในกลุ่ม TIP) และยังเป็การซื้อสุทธิเกิน 4 พันล้านบาท มา 3 วันติดต่อกัน โดยส่วน ใหญ่เป็นการซื้อสุทธิในกลุ่มหุ้น ธ.พ. ,รับเหมาฯ, วัสดุก่อสร้าง, ICT, อาหาร, มีเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเห็นเม็ดเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้กว่า 5 หมื่นล้านบาท หนุนให้ค่าเงินบาท แข็งค่าเร็วกว่า 3%ytd
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ ยังเล็งเห็นข้อมูลในแบบรายงาน 59-2 ว่ามีหุ้นบางบริษัท ที่ผู้บริหาร เข้ามาทยอยสะสมในช่วง 1 – 10 ม.ค. 66 โดยมีหุ้นที่ผู้บริหารซื้อสะสมเกิน 4 ล้านบาท คือ BDMS, TFG, ONEE, TU, SUSCO, MC โดยคำนวณต้นทุนเฉลี่ยได้
การเข้ามาสะสมหุ้นของผู้บริหาร อาจเป็นสัญญาณว่า ราคาหุ้นปัจจุบันยังน่าสะสมเมื่อ เทียบกับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในมุมมองของผู้บริหารก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็น Sentiment ที่ดี และอาจหนุนราคาหุ้นให้ขยับขึ้นในระยะถัดไปได้เช่นกัน
ในรายชื่อดังกล่าวชื่นชอบ หุ้นมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว BDMS กระแสนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา ฉีดวัคซีน, TFG ปริมาณและราคาหมูไก้อาจสูงขึ้นรับตรษจีน และยังได้ Sentiment ไข้หวัด นกในญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นที่ราคา Laggard มากหากวัดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 ถึง 10 ม.ค. 23 อย่าง ONEE TU
ส่วน Top pick วันนี้เลือกหุ้นมีปัจจัยเฉพาะตัวหนุน อย่าง TFG, ERW, STEC
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities