จำนวน OI ของ DELTA ในตลาด Future มากถึง 1353 สัญญญา ใกล้จุดสูงสุด รอบที่ผ่านมา(ก่อนราคาหุ้น DELTA ปรับลงแรง) ที่ 1378 สัญญา, ราคาหุ้น DELTA ไทยที่สูงกว่า DELTA ไต้หวันซึ่งถือหุ้นใน DELTA ประมาณ 70% ถึง 3 เท่าตัว เทียบกับเดิมที่ 1.5 เท่าตัว ขณะที่ PER ก็สูงกว่า DELTA ไต้หวันมาก สัญญาณดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงกดดันต่อราคาหุ้น DELTA และจะส่งผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อ SET และ SET50 สำหรับปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานอื่นๆ เป็น เรื่องของ Fed Minute ซึ่งส่งสัญญาณการชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ย พร้อมปรับลด คาดการณ์GDP Growth ปี 2023 ลง มาอยู่ที่ 0.5% เทียบกับประมาณการเดิมที่ คาดเติบโต 1.2% สะท้อนความเสี่ยงเรื่อง Inflation องค์ประกอบดังกล่าวน่าจะทำ ให้เงิน USD อ่อนค่า และทำให้เงินบาทเชิงเปรียบเทียบ แข็งค่า ดีต่อ Fund Flow
บนความเสี่ยงของราคา DELTA ที่มีน้ำหนักต่อการคำนวณ SET รวมถึง SET50 Index ระดับสูง น่าจะทำให้เกิดความผันผวนได้ง่าย ประเมินกรอบ SET Index ช่วง 1660 – 1685 จุด Top Pick เลือก SCB, CBG และ GULF
สัญณาณดอกเบี้ยชะลอตัว ท่ามกลางความเสี่ยง RECESSION ขณะที่ เศรษฐกิจไทยยังดูแข็งแกร่ง
การประชุม FOMC Fed Minute เผยทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในระยะถัดไปว่า ควรชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุก และปรับขึ้นดอกเบี้ยในทางที่ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อ จำกัดความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนำเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ในปี 2566 เจ้าหน้าที่ Fed คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 5.0% และน่าจะคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจของ Fed Watch Tool ที่ ปรับคาดการณ์ดอกเบี้ยสหรัฐจากจุดสูงสุด 5.25% ลดลงมาเป็น 5.0% หลังจากที่มีการเร่ง ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในช่วงปีที่ผ่านมา
สัญญาณการชะลอตัวการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปิดบวกใน กรอบแคบราว 0.4% ถึง 1.25% ขณะที่ Dollar Index ยังคงอ่อนค่าจากจุดสูงสุด (ที่ระดับ 114.8 จุด) ราว 10.1% ลงมาอยู่ที่ระดับ 104.3 จุด ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัว แข็งค่าต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 34.05 THB/USD แข็งค่าสุดรอบ 8 เดือน นอกจากนี้ค่าเงินบาท ยังได้รับแรงหนุนจากเสถียรภาพทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นบวก ในระยะถัดไป รวมถึงเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจัยเหล่านี้ จะยิ่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง และมีโอกาสดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนใน ตลาดหุ้นไทยได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามผลกระทบของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ความเสี่ยงเศรษฐกิจซบเซา มีมากขึ้น ขณะที่คณะกรรมการ Fed ปรับคาดการณ์ GDP สหรัฐจาก 1.2%YoY (เดือน ก.ย. 65) ลดลงมาเหลือ 0.5%YoY ขณะที่ตัวเลขทางเศรฐกิจของสหรัฐยังส่งสัญญาณถึง การชะลอตัวเช่นกัน โดยล่าสุด ดัชนีภาคการผลิต ISM manufacturing index เดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 48.4 ต่ำกว่าระดับที่ตลาดคาด 48.5 และต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน (ดัชนีต่ำกว่า 50 เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจชะลอตัว) ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวเป็นผลให้ ราคาสินค้าโภณฑ์ (Commodity) ปรับตัวลง โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงแรงราว 5% (2 วัน -9%) ท่ามกลางความเสี่ยงเรื่อง Recession
สรุป Upside ของดอกเบี้ยสหรัฐเริ่มจำกัด ส่งผลให้ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบ กับสกุลเงินบาท หนุน Fund Flow เข้าสู่ตลาดหุ้นไทย มุ่งสู่ระดับ 1685 อย่างไรก็ตาม หากค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไปอาจเห็นการชะลอของ Fund Flow และยังคงต้องเฝ้า ระวังเรื่อง Recession
ส่วนกรอบการเคลื่อนไหว SET Index วันนี้ 1660 – 1685 จุด Top pick เลือก หุ้น ธ.พ. Laggard ปันผลสูง SCB และหุ้น Anti-Commodity GULF CBG
DELTA เพิ่มความผันผวนให้ตลาดหุ้นและฟิวเจอร์ส
หุ้น DELTA ในช่วง 1 เดือนเศษๆ ที่ผ่านมา (1 ธ.ค. 65 – 4 ม.ค. 66) ขยับขึ้นมาได้ร้อนแรง กว่า 35.7% ด้วยส่วนหนึ่งเกิดจากแรงเก็งกำไรในการเข้าคำนวณ SET50 และ SET100 รอบ 1H66 ขณะที่หุ้นแม่ในไต้หวัน (2308 TT) กลับปรับตัวลดลง -6.0%
การขยับขึ้นมาร้อนแรงจน DELTA เป็นหุ้นที่ใหญที่สุดในเมืองไทย ซึ่งมี Market Cap สูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งมีหลายๆ มุมที่แสดงให้เห็นว่าหุ้นอาจจะขึ้นเร็วและร้อนแรงเกินไป และไม่สอดคล้องกับหุ้นแม่ ทำให้นักลงทุนอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุนมาก ขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆดังนี้
1. ปัจจุบันราคาหุ้น DELTA สูงกว่าหุ้นแม่มากเกินไป ซึ่งแต่ก่อนราคาหุ้น DELTA จะสูงกว่าหุ้นแม่ราว 1 – 1.5 เท่า และการเคลื่อนไหวมักจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน (มีค่า Correlation สูงถึง 0.79%) ส่วนหนึ่งเกิดจาก Delta Electronics (ไต้หวัน) ถือหุ้น DELTA ถึง 64% ของทุนชำระแล้ว แต่ปัจจุบันราคาหุ้น DELTA สูงกว่าหุ้น แม่เกือบ 3 เท่าไปแล้ว และราคาเริ่มไม่สอดคล้องกันและทิ้งห่างมาในช่วงสั้นๆ ดังนั้นการลงทุนในช่วงนี้อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น
2. ในมุม Valuation หุ้น DELTA แพงกว่าหุ้นแม่มาก ทั้ง Tailing PE ที่สูงถึง 85.9 เท่า (หุ้นแม่ 23.8 เท่า), PBV 22.1 เท่า (หุ้นแม่ 4.1 เท่า) แม้Delta Electronics (ไต้หวัน) และ DELTA จะมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันอยู่บ้าง โดย DELTA จะเน้น ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท High end เป็นหลัก ส่วน Delta Electronics (ไต้หวัน) จะเน้นผลิตสินค้าทั่วไป (Standard product) เป็นหลัก แต่ในมุม Valuation DELTA ก็ยังถือว่าแพงในเชิงเปรียบเทียบกับหุ้นแม่
3. การปรับขึ้นแรงของ DELTA ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งทำธุรกรรมผ่าน Single Stock Futures สะท้อนได้จากสถานะคงค้างที่เพิ่มขึ้น 126% จาก 488 สัญญามาที่ 1,355 สัญญา (29/12/22 –03/01/23) ทั้งนี้หากประเมินต้นทุนเฉลี่ย ของการเปิดสถานะครั้งนี้อยู่ที่ 830 บาทเทียบกับราคาปัจจุบันที่ 912 บาท บน Leverage ของ DELTA ที่ 8.85 เท่า จะได้ผลตอบแทนมากถึง 87% ดังนั้นต้อง ระวังแรงขายทำกำไรที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในจุดที่ระดับสถานะคงค้าง ของ DELTA ใกล้จุดสูงเดิมในปี 2021 ที่ 1292 สัญญา หลังจากนั้นก็เกิดสัญญาณ Take Profit ทำให้ราคาหุ้นปรับลง 22% ในระยะเวลา 2 สัปดาห์
ทั้งหมดที่กล่าวมา แม้ DELTA จะมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว แรงเสริมจากการเปิดสถานะ ฟิวเจอร์ส แต่ราคาหุ้นที่ขยับขึ้นมาเร็วและแรงเกินไปเมื่อเทียบกับหุ้นแม่ในหลายๆ มุม ทำให้นักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงต้องระวังแรงกดดันที่ส่งผ่านมายังตลาด โดยทุกๆ 1% ของ DELTA ที่ปรับลงจะ กดดัน SET และ SET50 ราว 0.85 จุด
ปัญหา ALL เรื่องเฉพาะตัว...ภาพรวมอุตสาหกรรมยังแข็งแรง
จากกรณีบริษัท ALL (Non Coverage) แจ้งตลาดฯ ถึงการผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ ALL244A (วงเงิน 709.9 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 7% มีกำหนดไถ่ถอน 1 เม.ย. 2567) งวด ที่ 5 วงเงิน 10.65 ล้านบาท ในวันที่ 3 ม.ค. 2566 เหตุผลจากขาดสภาพคล่อง มีเงินสด หมุนเวียนไม่เพียงพอ โดยผลประกอบการหดตัวต่อเนื่องจากกำไรปี 2562 ที่ 501 ล้านบาท ลดลงมีกำไร 241 ล้านบาทปี 2563 ก่อนพลิกเป็นขาดทุน 347 ล้านบาทปี 2564 และ 394 ล้านบาทใน 9M65 ขณะที่สถานะการเงินสิ้น ก.ย. 2565 มีเงินสดในมือ 15 ล้านบาท, หนี้สินที่มีดอกเบี้ยจ่ายรวม 4.4 พันล้านบาท (เป็นหนี้ระยะสั้น 2.87 พันล้านบาท และ 1.53 พันล้านบาท เป็นหนี้ระยะยาว) คิดเป็น Net Gearing ที่ 2.31 เท่า
ประเด็นการผิดนัดชำระดอกเบี้ยของ ALL ถือเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบริษัทที่มีปัญหาสภาพ คล่องทางการเงิน เชื่อว่าไม่กระทบต่อภาพรวมกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการที่ฝ่ายวิจัยศึกษาทั้ง 15 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ถือเป็นบริษัทรายกลาง-ใหญ่ พบว่ายังมีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี พิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดความเสี่ยงธุรกิจ คือ อัตราหนี้สินต่อทุนสุทธิ (Net Gearing) อยู่ในกรอบ 1-1.5 เท่า มาโดยตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และล่าสุด ณ ก.ย. 2565 อยู่ที่ระดับ 0.95 เท่า โดยมีภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย จ่ายรวม 3.46 แสนล้านบาท (รวม Perp Bond) และสัดส่วน 59% หรือ 2.04 แสนล้าน บาท อยู่ในรูปแบบหุ้นกู้ระยะสั้นและระยะยาว หากพิจารณาถึงระยะเวลาชำระคืนหุ้นกู้ ภายใน 1 ปีข้างหน้า มีทั้งสิ้น 6.1 หมื่นล้านบาท หลัก ๆ สัดส่วนเกือบ 50% มาจาก LH (1.24 หมื่นล้านบาท), SPALI (8.5 พันล้านบาท) และ SIRI (8 พันล้านบาท) ซึ่งล้วนถือเป็น ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสายป่านยาว เน้นธุรกิจแนวราบที่มีกระแสเงินสดหมุนเร็ว และ การเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องแต่อย่างใด
คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เลือกหุ้นเด่นที่มีพอร์ตกระจาย ตัว และ Div Yield เกิน 5% ต่อปี ได้แก่ AP (FV@B15.50) , LH (FV@11.50) , SIRI (FV@B2.20) และ SC (FV@4.88)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities