การที่ จีน เปิดให้ผู้เดินทางเข้าประเทศที่ตรวจ PCR แล้วไม่พบการติดเชื้อ Covid ไม่ต้องกักตัว นับตั้งแต่ 8 ม.ค.66 เป็นต้นไป กระแสเก็งกำไรบนความคาดหวังเชิง บวกต่างๆ ก็เกิดขึ้นอย่างร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในกลุ่ม Commodity กลุ่ม ท่องเที่ยว-เดินทาง และ กลุ่มที่มีการค้ากับจีน อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้ศึกษา พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น พบว่าหลายบริษัทมีระดับราคาหุ้นสูงกว่า จุดสูงสุดในปี 2562 (ก่อน Covid19 ระบาด) ซึ่งหุ้นลักษณะดังกล่าวต้องเพิ่มความ ระมัดระวังในการเข้าไปลงทุน เฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่ราคาปรับขึ้นไปสูงกว่าปี 2562 แต่ผลประกอบการยังมีฐานกำไรที่ต่ำกว่า ส่วนประเด็นอื่นที่น่าสนใจคือการ รายงานตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ย. ซึ่งปรากฎว่าลดลง 6%YoY ทำให้Theme การลงทุนยังเน้นไปที่ Domestic Consumption
SETIndex น่าจะมี Momentum เหวี่ยงขึ้นได้ต่อ และมีโอกาสทดสอบแนวต้าน สำคัญบริเวณ 1650 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1630 จุด สำหรับหุ้น Top Pick เลือก ADVANC, CBG และ HMPRO
CHECK หุ้นเด่น รับจีนเปิดประเทศ
ประเทศจีนผ่อนหลายมาตรการ COVID-19 ครั้งใหญ่ โดยมีการยกเลิกการกักตัวผู้ที่ เดินทางจากต่างประเทศซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามยังคงต้อง ติดตามภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทางการจีนเผยระบุว่าจะ ทำการจัดเตรียมวีซ่าเดินทางต่างประเทศเฉพาะบางกลุ่ม เช่น เดินทางเพื่อการศึกษาและ ทำงาน โดยวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวยังคงไม่ชัดเจน ทั้งนี้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจีนอาจเปิด ประเทศในช่วงปลาย 1Q66 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูหนาว แต่จากนโยบายที่ทางจีนผ่อนคลาย มากยิ่งขึ้น อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ 3 กลุ่มหลักได้แก่
• ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ได้รับแรงหนุนจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่คาดว่าจะ หลั่งไหลเดินทางเข้าไทยช่วงปลาย 1Q66 โดย ททท. คาดทั้งปี 2566 จะมี นักท่องเที่ยวเข้าไทยราว 20 ล้านคน (หุ้นที่ได้ประโยชน์ อาทิ AOT (BK:AOT), CENTEL, ERW, MINT, AWC, AU, M, HMPRO, CBG, BEM, BDMS, BCH, CHG)
• ภาคการส่งออก ในภาวะปกติปี 2562 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปจีนราว 12% ของมูลค่าการส่งออก และอยู่อันดับ 2 ของมูลค่าการส่งออกไทยรายประเทศ ดังนั้นหากจีนเปิดประเทศการค้าของไทยกับจีนน่าจะกลับมาคับคลั่งขึ้น (หุ้นที่ได้ ประโยชน์ อาทิ NER, STA, HANA, KCE, TKN)
• กลุ่มน้ำมัน, ปิโตรเคมี & โรงกลั่น คาดว่าจะมี Demand เพิ่มขึ้น เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก (หุ้นที่ได้ประโยชน์ อาทิ PTTGC, IRPC, SCC)
โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศดังกล่าว ยังมีหุ้นที่ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไปไม่ถึง จุดสูงสุดในปี 2019 บวกกับปัจจุบันยังมี Upside ให้สะสม ได้แก่ IRPC, PTTGC, SCC, M, MINT, HMPRO, BEM, ERW, AOT เป็นต้น
ในมุมพื้นฐานสำหรับหุ้นในกลุ่มโรงแรมและสนามบิน ราคาหุ้นปัจจุบันบางบริษัทยืน เหนือกว่าปี 2562 อาทิ CENTEL แต่มีเหตุผลเนื่องจากช่วงปี 2562 ทาง CENTEL เริ่มมี การปิดปรับปรุงโรงแรมใหญ่ที่ Central World ตรงข้ามกับปัจจุบันที่ใช้ช่วง COVID ในการ Renovate จนแล้วเสร็จ อีกทั้งการถูกปรับออกจาก SET50 ในช่วง Pre-COVID เป็นอีก สาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้น CENTEL ตอนสิ้นปี 2562 ถูกกดดันจนลงมาอยู่ที่ 25 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ หากนำมิติเชิง Valuation ผ่านอัตราส่วน PER / อัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ย (CAGR) หรือ PEG โดยภายใต้ประมาณการฝ่ายวิจัยพบว่า CAGR ปี 2566 – 68 ของหุ้นใน กลุ่มฯ ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยปี 2560 – 62 ทำให้ค่า PEG ปัจจุบัน (Forward PER / CAGR 2566 – 68 ) ต่ำกว่า PEG ช่วงปี 2560 - 2562
ดังนั้นในกรณีที่ประมาณการกำไรปกติปี 2566 – 68 เป็นไปตามคาดการณ์ บ่งชี้ว่าในเชิง Valuation ราคาหุ้นในกลุ่มไม่แพงกว่าในอดีต โดย MINT(BUY : FV@B38) มี PEG ต่ำสุด ในกลุ่มฯ ที่ 1.4 เท่า อาจเป็นเพราะตลาดยังกังวลกับสถานการณ์ใน EU ทั้ง สงครามรัสเซีย – ยูเครน, ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน EU ทำให้หุ้นที่มี PEG สูงขึ้นมาอย่าง CENTEL(BUY : FV@B54) และ AOT(BUY : FV@B80) มีปัจจัยทดแทนในเชิง Country Risk และ สัดส่วน IBD/E ต่ำกว่า
แม้การส่งออกไทยชะลอตัว แต่ภาพรวมเศรษฐกิจยังดูดี
กระทรวงพาณิชย์เผยภาพรวมการค้าหว่างประเทศของไทยเดือน พ.ย. 65 พบว่าการ ส่งออกไทยติดลบราว 6.0%YoY หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือน ต.ค. อยู่ที่ -4.4%YoY) ตามทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศจีนซึ่ง เป็นหนึ่งในตลาดส่งออกหลักของไทย ยังได้รับผลกระทบจากการดำเนินมาตรการ ZeroCovid ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งข้ามประเทศ ส่วน ภาพรวมการส่งออกของไทยช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย. 65) มีมูลค่า 2.65 แสนล้าน เหรียญฯ ขยายตัว 7.6%YoY ขณะที่ภาคการนำเข้าเพิ่มขึ้นราว 5.6%YoY จากสินค้า เชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้การค้าไทยขาดดุลราว 1.34 พันล้านเหรียญฯ
กลุ่มสินค้าส่งออกที่เติบโตได้ดี อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง, น้ำตาลทราย, เครื่องดื่ม, รถยนต์ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ส่วนกลุ่มสินค้าที่พลิก กลับมาชะลอตัว อาทิ อาหารสัตว์เลี้ยง, ยางพารา ฯลฯ
อย่างไรก็ตามแม้การขยายตัวของภาคการส่งออกไทยจะมีแนวโน้มลดลง (ธปท. คาด +7.0%YoY ในปี 66 และ +6.6% ในปี 67) แต่ GDP ของไทยในปีนี้และปีหน้าคาดว่าจะ ขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.2%YoY และ 3.7%YoY ตามลำดับ จากแรงขับเคลื่อนที่สำคัญทั้งการ บริโภคภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนภาครัฐ นอกจากนี้ในเดือน ธ.ค. 65 ประเทศจีนเริ่มเห็นการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิดครั้งใหญ่ กระตุ้นให้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น จึงคาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนต่อ การขยายตัวของภาคการส่งออกไทยในระยะถัดไป
ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังเผยกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 เบื้องต้นอยู่ที่ 3.35 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 5.2% (ประมาณ 1.65 แสนล้านบาท) รวมถึงปรับลดวงเงินการขาดดุลงบประมาณลงใน งบประมาณปี 2567 และจะปรับลดขนาดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่องให้เหลือไม่เกิน 3% ต่อ GDP เพื่อนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต ขณะที่รายได้ภาครัฐมา จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และตั้งเป้าหนี้สาธารณะ ระยะกลางถึงยาวจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 61% และยังคงมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ได้ต่อเนื่องที่ 3.3 – 4.3% ในปี 2567
สรุป การส่งออกของไทยชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจ ของบ้านเราในระยะถัดไปยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากแรงขับเคลื่อนของการ บริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยว บวกกับการลงทุนภาครัฐทั้งโครงสร้างพื้นฐานและ มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ อาทิ COM7,HMPRO, CRC, CK, STEC, AP, AOT, CBG, ASK
คมนาคม ทิ้งทวน เตรียมเสนอ ครม. 9 โปรเจกต์ ภายใน ก.พ 66
กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าจะดันเมกะโปรเจกต์ 9 โครงการ วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท เข้า สู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเดือน ม.ค-ก.พ 2566 ประกอบไปด้วย โครงการรถไฟ ไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ,โครงการรถไฟสาย สีแดงส่วนต่อขยายอีก 4 โครงการ ,รถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 3 โครงการ และงานเพิ่มเติม โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ซึ่ง รมว.คมนาคม ยืนยันว่าจะเดินหน้าผลักดัน โครงการลงทุนต่างๆตาม Action Plan ที่ได้วางไว้ตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้คิดถึงวาระของรัฐบาล เป็นหลัก ฝ่ายวิจัยมองว่าประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อบริษัทรับเหมา ก่อสร้าง โดยเฉพาะบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่อาทิ ITD,CK,STEC และ UNIQ ซึ่งมี ศักยภาพในการเข้าประมูลในฐานะผู้รับเหมาหลัก ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วง กลางปี 2566 ยังไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ แต่เชื่อว่าทุกพรรคการเมืองจะชูนโยบาย การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นนโยบายหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทุกโครงการลงทุน ต่างๆข้างต้นเป็นโครงการที่มีความสำคัญและได้ผ่านการศึกษารายละเอียดมาแล้ว จึงไม่ น่าจะถูกยกเลิกแต่อาจมีการจัดลำดับความสำคัญในการเปิดประมูลที่แตกต่างไปจากแผน เดิมบ้าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ บริษัทรับเหมาใหญ่ที่มีพื้นฐานดีอย่าง CK (FV@Bt27.00) และ STEC (FV@Bt15.50) รวมถึงบริษัทรับเหมาเสาเข็มอย่าง SEAFCO (FV@Bt4.92) และ PYLON(FV@Bt5.60) ที่พร้อมเข้าไปรับช่วงงานต่อจากผู้รับเหมา หลักทุกราย
แรงหนุนตลาดจากสถาบันฯ ในปี 2566 คาดหวังได้ยาก
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากกองทุน LTF ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ จะเห็นได้ว่า เม็ดเงินหนุนตลาดหุ้นไทยจากนักลงทุนสถาบันฯ ลดน้อยลง และสถาบันฯสลับมาขายสุทธิ หุ้นไทยด้วยปริมาณมากกว่าปกติ โดยปี 2565 สถาบันฯขายสุทธิ 1.52 แสนล้านบาท ต่อเนื่องจากปี 2564 ขายสุทธิ 7.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปี 2560 – 2563 มีกองทุน LTF ช่วยหนุน และซื้อสุทธิทุกปีเฉลี่ย 9.3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นด้วยเม็ดเงิน LTF ที่หายไป รวมถึงเม็ดเงินจาก SSF ที่ไม่สามารถทดแทนได้ ทำให้ความคาดหวังแรงผลักดันดัชนีหุ้น ไทยให้ปรับตัวขึ้นแรงๆจากสถาบันฯในปี 2566 คาดหวังได้ยาก
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยประเมินเม็ดเงินที่ซื้อสะสมกองทุน LTF ในปี 2560 อยู่ที่ 6.45 หมื่นล้าน บาท ซึ่งจะครบกำหนดขายคืน (redeem) ได้ในปี 2566
ในอีกมุมคาดแรงกดดันตลาดจากการ Redeem กองทุน LTF ในช่วงต้นปี 66 จำกัด ดัวย 2 ปัจจัยดังนี้
1. ต้นทุนเฉลี่ยในการซื้อ LTF ปี 2560 เมื่อเทียบกับ SET อยู่ที่ 1678 จุด ยังสูง กว่าดัชนี ณ ปัจจุบัน ประเมินว่าแรงขายคืนน่าจะออกมาน้อยหากดัชนียังอยู่ ระดับต้นทุน แต่ถ้า SET Index ปรับตัวสูงขึ้นก็อาจเห็นแรงขายออกมาจำกัด Upside บางส่วน
2. ประเมินแรงขายคืนใน 1Q66 น่าจะไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาทต่อเดือน กดดันดัชนี จำกัด เนื่องจากปกติแรงขายคืน LTF จะมีสัดส่วนราว 40% ของแรงซื้อที่ครบอายุ ในช่วงไตรมาสแรก หรือคิดเป็นต่อเดือน เฉลี่ยราวๆ 8.5 พันล้านบาท คาดว่า กดดันดัชนีจากการ redeem ยังจำกัด ภายใต้ Fund Flow ต่างชาติยังไหล สนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในงวด 1Q65 สถาบันขายสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 8.2 หมื่นล้านบาท (เฉลี่ยขายสุทธิเดือนละ 2.7 หมื่นล้านบาท) แต่หุ้นยังปรับตัวขึ้นได้ 2.3%
สรุป ประเด็นแรงกดดันจากการขายคืน (redeem) กองทุน LTF ปี 2566 ถูกจำกัดจาก ต้นทุนที่สูงกว่าดัชนี ณ ปัจจุบัน ขณะเดียวกัน SET Index ยังมีแรงหนุนจาก Fund Flow ต่างชาติคอยสนับสนุน อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวคอยรบกวน SET Index ไป อีก 3 ปี ถึงปี2568 ซึ่งเป็นปีที่กองทุน LTF ก้อนสุดท้ายสามารถขายคืนได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities