🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

นักลงทุนน่าจะใจชื้นขึ้น หลังแรงกดดันผ่อนคลายลง

เผยแพร่ 22/12/2565 10:01
SETI
-

ฝ่ายวิจัยฯ มองภาพรวมตลาดหุ้นดูผ่อนคลายมากขึ้น มีปัจจัยบวก 3 ส่วน เริ่มจาก 1). ผลประกอบการของหุ้นสหรัฐและตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดูดีกว่าคาด อย่าง NIKE และ FedEx, ตัวเลข CCI เดือน ธ.ค. ออกมา 108.3 จุด ดีกว่าคาดที่ 101 จุด แรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อลดลง หลังตลาดคาดตัวเลข PCE สหรัฐเดือน พ.ย. ที่จะ ประกาศวันพรุ่งนี้ลดลงจากเดือนก่อนที่ 6%YoY เหลือ 5.5%YoY 2). ตลาดตอบ รับประเด็น BOJ ประกาศขยายกรอบ Bond Yield 10 ปีเป็น -0.5% ถึง +0.5% ไปในระดับหนึ่งแล้ว สะท้อนจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าน้อยลง หุ้นญี่ปุ่นปรับฐาน มาแล้ว 3.8%wtd ใกล้ระดับเหมาะสมที่ 4% และในอดีตเวลา BOJ ปรับกรอบ Bond Yield มักดีดแรงในช่วงแรกแล้วค่อยๆ ชะลอลงในระยะถัดไป 3).จีนออกมา ให้ความเห็นอยากให้รัสเซียและยูเครนเจรจากันมากกว่าจะบานปลายไปใช้อาวุธ นิวเคลียร์ แต่ประเด็นรัสเซียยูเครนยังเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นความเสี่ยงที่คอยรบกวน และคอยจำกัด Upside ตลาดหุ้น

สำหรับ SET Indexวันนี้ คาดหวังการดีดตัวขึ้นต่อได้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว ที่ 1600 – 1620 จุด หุ้น Top Pick เลือกหุ้นค้าปลีกราคา Laggard กำไรเติบโต เด่นกว่าตลาดในปี 66 HMPRO, COM7 และหุ้นปันผลสูงสูง อย่าง AP

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดีดตัวกลับ หลังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนดีกว่า คาด บวกความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นแรงราว 1.5%-1.6% ขานรับผลประกอบการของบริษัทไนกี้ และเฟดเอ็กซ์ (ไตรมาส 2 ของปีงบการเงิน 2566) ที่ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดทั้ง 2 บริษัท ซึ่งเป็นแรงหนุนเชิงบวกต่อบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ในตลาดเดียวกัน ว่าจะมีผล ประกอบการสูงกว่าคาดเช่นกัน อีกทั้งยังช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยได้บ้าง

ขณะที่วานนี้มีตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 108.3 จุด ซึ่งสูง กว่าเดือนที่ผ่านมาที่ระดับ 101.4 จุด และตลาดคาดที่ 101.0 จุด (เป็นการปรับขึ้นเดือน แรก หลังปรับตัวลงมา 2 เดือนติดต่อกัน) ซึ่งประเด็นสำคัญที่นักลงทุนจับตา คือ ดัชนีราคา การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ที่นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี PCE ทั่วไป +5.5%YoY ในเดือนพ.ย. ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 6.0%YoY ในเดือน ต.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน คาดอยู่ระดับ +4.7%YoY ในเดือน พ.ย. ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 5.0%YoY ในเดือน ต.ค. เช่นกัน ซึ่งสัญญาณดังกล่าวทำให้นักลงทุนยิ่งมั่นใจว่าอัตราเงิน เฟ้อของสหรัฐฯผ่านจุดสูงสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น คาดวันนี้ SET Index จะได้รับ Sentiment เชิงบวกจากประเด็นดังกล่าว ลุ้น ดัชนีกลับไปยืนระดับ 1620 จุดอีกครั้ง โดยกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก ประเด็น CCI สหรัฐฯฟื้นตัว และมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐฯคอยเสริม ในช่วงท้ายปีอย่างกลุ่มค้าปลีก ที่ฝ่ายวิจัยฯคาดกำไรกลุ่มจะเติบโตราว 33%YoY ในปี หน้า บ่งชี้ได้จาก ดัชนี CCI ของไทยเดือน พ.ย.65 อยู่ที่ 49.9 จุด(ปรับขึ้นติดต่อกันเป็น เดือนที่ 6) ชอบ HMPRO COM7 CPALL (BK:CPALL) BJC

BOJ ขยายกรอบ BOND YIELD 10 ปี คาดกระทบตลาดหุ้นผันผวนช่วงสั้น

การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของ BOJ ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงิน โลก เฉพาะอย่างยิ่งตลาดตราสารหนี้ที่ Bond Yield ญี่ปุ่น 10 ปีปรับขึ้นแรงกว่า 68% ภายในวันเดียว ขณะที่ประเทศอื่น Bond Yield 10 ปีดีดตัวเช่นกันราว 4% - 7% ซึ่งเป็นผล จากมาตรการขยายกรอบ Bond Yield 10 ปีของญี่ปุ่นที่กว้างขึ้นให้อยู่ในช่วง -0.5% ถึง +0.5% (จากเดิม -0.25% ถึง +0.25%)

ฝ่ายวิจัยฯทำการศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่า ทุกๆ การขยายกรอบอัตราดอกเบี้ยระยะยาว จาก ±0.1% เป็น ±0.2% (ช่วงเดือนก.ค. 61) และจาก ±0.2% เป็น ±0.25% (ช่วงเดือนมี.ค. 64) รวมถึงล่าสุดจาก ±0.25% เป็น ±0.5% (ช่วงเดือนธ.ค. 65) ล้วนส่งผลให้ Bond Yield ญี่ปุ่น 10 ปี ดีดตัวขึ้นแรงและเร็วเข้าใกล้บริเวณกรอบบน และจะเริ่มทยอยปรับตัวลดลงใน เวลามา อย่างไรก็ตามการประกาศขยายกรอบ Bond Yield 10 ปี ของ BOJ ในรอบนี้ ค่อนข้างกว้างกว่าช่วงก่อนหน้า จึงสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยดัชนี NIKKEI ร่วง ลงกว่า 3.8%wtd แต่ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะเข้ามากดดันตลาดหุ้นเพียงช่วง สั้น ก่อนที่จะค่อยๆ เข้าสู่จุดสมดุลมากขึ้น ตามการปรับตัวลงของ Bond Yield ญี่ปุ่น 10 ปี

สรุป การปรับนโยบาย Yield Curve Control ครั้งล่าสุด ซึ่งมีการขยายกรอบ Bond Yield 10 ปี ที่ค่อนข้างกว่าช่วงที่ผ่านมา คาดว่าจะเป็นการสร้าง Sentiment เชิงลบต่อ ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงสั้น และความผันผวนน่าจะลดลงตามการเคลื่อน Bond Yield 10 ปีของญี่ปุ่นในระยะถัดไป

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ เป็นปัจจัยจำกัด UPSIDE ตลาดหุ้น

นอกเหนือจากความกังวลเรื่อง Recession ที่คาดว่าจะกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกโดยรวมในปี 66 แล้ว ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ยังคงกดดัน Upside ของตลาด หุ้นเช่นเดียวกัน รายละเอียดดังนี้

• สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ปะทุขึ้นช่วงต้นปี (24 ก.พ. 65) ยังคงยืดเยื้อมาจนถึง ปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไป หลังจากผู้นำรัสเซียออกมาการยอมรับ เป็นครั้งที่สองของเดือนนี้ พร้อมกับเตือนว่าสถานการณ์ในยูเครนกำลังซับซ้อน จาก ที่รัสเซียเผชิญกับความยากลำบากในยึดครองพื้นที่ของยูเครน ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ยังให้ความช่วยเหลือทางการทหารกับยูเครนมูลค่ากว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ อาทิ ชุดขีปนาวุธแพทริออต (Patriot), ระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูง, การฝึกอบรวม ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการป้องกันทางอากาศจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซียที่เพิ่มขึ้น

• ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีเริ่มทวีความรุนแรงอีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ (4 ต.ต. 65) หลังเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธผ่านน่านฟ้าญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ก่อนตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งยังมีการตอบโต้การยั่วยุ/ซ้อมรบกันอย่าง ต่อเนื่องระหว่างเกาหลีเหนือ และสหรัฐ-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น โดยจากสถิติที่ผ่านมา ตลอดทั้งปีนี้เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธไปแล้วกว่า 65 ลูก (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธ.ค. 65) ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรทางทหาร ไตรภาคีก็มีการเพิ่มงบประมาณทางการทหารมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์คาดหวังว่าจะผ่อนคลายมากขึ้น หลังประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ออกมาเรียกร้องเป็นครั้งแรก โดยขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามในยูเครนหัน หน้าเข้าเจรจาพยายามแก้ปัญหาทางการเมืองร่วมกัน รวมถึงแสดงความไม่เห็นด้วยกับการ ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ทั้งนี้ประเด็นความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ยัง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุด และยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ คาดว่าจะเข้ามาจำกัด Upside ของตลาดหุ้นในอนาคต โดยท่ามกลางความเสี่ยงดังกล่าว แนะนำหุ้นปันผลน่าสะสม อาทิ AP ORI TISCO MAJOR TU

สรุป ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อและปะทุความร้อนแรงขึ้นมาเป็นระยะๆ เป็น ประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจะส่งผลต่อ Upside ของตลาดหุ้นในอนาคตถูกจำกัดลง

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย