ตลาดหุ้นทั่วโลกวานนี้ปรับตัวลดลงแรง โดยตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับลดลง 2.25 – 3.37% โซนยุโรปปรับลดลง 0.93 – กว่า 3% ทั้งนี้เป็นผลมาจากสัญญาณของการ เข้าสู่ Recession ปรากฎชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ โดยล่าสุดเป็นตัวเลข ค้าปลีก และ Industrial Production ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ปรากฎการณ์ดังกล่าวถือว่า สอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัยที่ย้ำมาในช่วงเวลาหนึ่งแล้วว่า ความกังวลเรื่อง เงินเฟ้อสูง+ขึ้นดอกเบี้ยแรง จะมีน้ำหนักลดน้อยลง แต่ความกังวลเรื่องRecession ของเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก จะเข้ามากดดันตลาดหุ้นมากขึ้น สำหรับตลาด หุ้นบ้านเรา ในเชิง Sentiment แล้ว คงจะหนี้ผลกระทบจากการปรับลดลงของ ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่พ้น แต่ก็เชื่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2565 และ 2566 ที่สวนทางเศรษฐกิจโลกจะเป็นแรงพยุง และช่วยลดผลกระทบได้ดี
คาดว่า SETIndex น่าจะได้รับแรงกดดันจาก Sentiment เชิงลบของตลาดหุ้น โลก ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1610 – 1635 จุด หุ้น Top Pick เลือกหุ้น ที่มีDividend สูงเพื่อลดผลกระทบ AP, GULF และ TISCO
RECESSSION ในสหรัฐใกล้เข้ามา กดดันสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก
ตลาดหุ้นทั่วโลกวานนี้ปิดตัวในแดนลบ โดยในฝั่งสหรัฐร่วงลงแรงราว -2.3% ถึง -3.4% ขณะที่ฝั่งยุโรปปรับตัวลงราว -0.9% ถึง -3.5% เนื่องจากผลกระทบที่ FED เดินหน้าขึ้น ดอกเบี้ยช่วงที่ผ่านมา และส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปจนถึงปี 66 (คาดว่าปลายปีจะ อยู่ที่ระดับ 5.0% - 5.25%) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจ เข้าสู่ถดถอยที่รุนแรงขึ้น
และการปรับฐานหลักของดัชนี น่าจะมาจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะซบเซา ได้ส่งสัญญาณ ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยฯ ได้นำเสนอไป (Market Talk ฉบับวันที่ 13 ธ.ค. 65) สะท้อนจากยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเศรษฐกิจประเทศ ขนาดใหญ่อย่างสหรัฐและจีนในเดือน พ.ย. ที่ประกาศออกมาล่าสุดต่ำกว่าคาดและยังหด ตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดย Retail Sales ของสหรัฐและจีนเดือน พ.ย. หดตัวลง - 0.6%MoM และ -5.9%YoY ตามลำดับ ขณะที่ Industrial Production ของสหรัฐและจีน เดือน พ.ย. ปรับตัวลงราว -0.2%MoM และ2.2%YoY ตามลำดับ
ส่วนตลาดแรงงาน แม้ปัจจุบันยังดูแข็งแกร่ง แต่การเดินหน้าปรับเดินดอกเบี้ยของ FED จะ ทำให้ผู้ประกอบการแบกรับภาระต้นทุนที่มากขึ้น ส่งผลให้บางธุรกิจอาจต้องปลดพนักงานกระทบต่ออัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น การจ้างงานนอกภาคการเกษตรค่อยๆ ปรับตัวลดลง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและยอดค้าปลีกที่อาจจะชะลอตัวลงในระยะถัดไป ซึ่งตัวเลข ดังกล่าวนักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจมีโอกาสจะถดถอย ในอนาคตมากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตามภาพรวมเศรษฐกิจในบ้านเราถือว่ายังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว หลังจากช่วง การระบาดของ Covid-19 ผ่านพ้นไป โดยแรงขับเคลื่อนหหลักมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Recession แรงกดดันต่อตลาดหุ้นในเรื่องดังกล่าวจึงมีไม่มาก ฝ่ายวิจัยแนะนำหุ้นที่เป็น หลุมหลบภัยในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ หุ้นกลุ่ม Defensive (GULF, TTW, BDMS) รวมถึง กลุ่ม High Dividend Yield (TISCO, AP, KTB)
สรุป ความกลัวเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผัน ผวนอย่างหนัก แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจของไทยยังถือว่าอยูในช่วงของการฟื้นตัว จึง ห่างไกลคำว่า Recession
ความกังวล RECESSION กดดันราคาน้้ามันดิบ ชอบหุ้นโรงไฟฟ้า คาด OUTPERFORM SET INDEX ระยะถัดไป
ความกังวล Recession จากหัวข้อก่อนหน้านี้ บวกกับสถานการณ์สงครามที่เริ่มคลี่คลาย ทยอยกลับสู่ภาวะปกติ ความกังวลด้าน supply ที่ผ่อนคลายลงกดดันราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงแรงกว่า 4.94%mtd ล่าสุดอยู่ที่ 81.21 เหรียญฯ/บาร์เรล โดยฝ่ายวิจัยยังคง มุมมองที่คาดทิศทางราคาน้ำมันจะมี Downside มากกว่า Upsideในช่วงเวลาปัจจุบัน ตาม demand ที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจ สำหรับทิศทางราคาน้ำมันในปี 2566 คาดจะอ่อนตัวลง ต่อจากปี 2565 หลังสถานการณ์สงครามที่จะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ (แนะนำหลีกเลี่ยง ลงทุนหุ้น PTT (BK:PTT) PTTEP ในช่วงนี้ และ Trading ตามแนวรับทางเทคนิค เท่านั้น)
ขณะที่กลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน ที่คาดกำไรโดดเด่นนับจากนี้ โดยทิศทางกำไรกลุ่มฯ งวด 4Q65 คาดจะเห็นการเริ่มฟื้นตัวขึ้น QoQ หนุนจากการรับรู้ค่า ft ที่ปรับขึ้นในรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค. ได้เต็มไตรมาส เทียบกับงวด 3Q65 ที่รับรู้ได้เพียงไตร มาสเดียว ประกอบกับแนวโน้มราคาก๊าซที่อาจลดลงมาได้บ้าง QoQ จึงส่งผลให้ฐานกำไรที่ ฟื้นตัวขึ้นน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ ก่อนจะค่อยๆ ทยอยปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับปกติในปี 2566 ที่ ตามการปรับขึ้นค่า ft ในปีหน้า และราคาต้นทุนพลังงานที่คาดจะเริ่มทยอยปรับตัวลดลง เข้าสู่สมดุลมากยิ่งขึ้น
โดย Top picks ของกลุ่มโรงไฟฟ้าเลือก GULF ที่เห็นการเต็บโตอย่างชัดเจนทั้งในปี 2565-66 ส่วน GPSC, BGRIM คาดจะที่ได้ประโชน์จากค่า ft เนื่องจากมีสัดส่วนขาย ไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมอยู่ค่อนข้างสูง ราว 23-26% ของรายได้จากการขาย ไฟฟ้าโดยรวม
กกพ.ประกาศปรับค่า FT ส้าหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ขึ้น ดีต่อ GULF GPSC BGRIM
คณะกำการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศค่า Ft สำหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 2 ค่า โดย 1) คงค่า Ft ที่อัตรา 93.43 สตางค์/หน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้าน อยู่อาศัย 2) ปรับขึ้นค่า Ft อีก 97.01 สตางค์/หน่วย มาอยู่ที่ 190.44 สตางค์/หน่วย สำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน 3.79 บาท/หน่วย จะส่งผลให้อัตราค่า ไฟฟ้างวดใหม่อยู่ที่ 5.69 บาท/หน่วย
การปรับขึ้นค่า Ft ดังกล่าวถือเป็นการปรับขึ้นที่สอดคล้องกับกับการคาดการณ์ของ กกพ. ในช่วงก่อนหน้าที่คาดจะปรับขึ้นอีกราว 64.88-131.55 สตางค์/หน่วย มาอยู่ที่ 158.31- 224.98 สตางค์/หน่วย และเป็นไปตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) สำหรับแนวทางบริหารจัดการต้นทุนก๊าซธรรมชาติเพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วง วิกฤติพลังงานช่วง ม.ค.-เม.ย. 2566 โดยแบ่งก๊าซฯในอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซฯ เพื่อใช้ ผลิตไฟฟ้าให้ประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน ส่งผลให้ราคาต้นทุนก๊าซฯสำหรับประเภทบ้านอยู่ อาศัยอยู่ที่ 238 บาท/ล้านบีทียู ส่วนที่เหลือมีการจัดสรรก๊าซฯอ่าวไทยรวมกับก๊าซฯพม่า และ LNG สำหรับผู้ใช้รายอื่นๆ (Pool Gas) มีต้นทุนอยู่ที่ 542 บาท/ล้านบีทียู นอกจากนี้ ทาง กกพ. ได้มีการพิจารณาทยอยจ่ายคืนหนี้ Ft ให้แก่ กฟผ. โดยทาง กฟผ.ขอเสนอให้ เฉลี่ยยอดหนี้ ณ เดือน ส.ค. 2565 จำนวน 1.2 แสนล้านบาท เฉลี่ยเรียกเก็บเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งประเด็นดังกล่าว ถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อภาพรวมของกลุ่มโรงไฟฟ้าทั้งกลุ่มฯ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้า อุตสาหกรรม อย่าง GPSC, BGRIM, GULF ซึ่งคาดจะเป็นส่วนช่วยให้อัตรากำไรขึ้นต้นใน งวด 1Q66 ให้ปรับตัวดีขึ้นจาก 4Q65 ได้ โดย sensitivity analysts ในเบื้องต้นสำหรับ การเปลี่ยนแปลงของค่า Ft และราคาก๊าซฯ ของ GPSC, BGRIM, และ GULF มีดังนี้
ฝ่ายวิจัยคงคำแนะนำทยอยสะสมลงทุนสำหรับ GULF (FV@65B) และ GPSC (FV@76B)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities