🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ครึ่งหลังของ ธ.ค. น่าจะดูดีขึ้น

เผยแพร่ 13/12/2565 09:27
SETI
-

สัปดาห์นี้จะมีการประชุมธนาคารกลางที่สำคัญหลายประเทศ ได้แก่ FED, ECBและ BOE โดยคาดว่าธนาคารกลางทั้ง 3 แห่ง น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตรา เท่ากันคือ 0.5% ซึ่งตลาดหุ้นก็ได้สะท้อนภาพความคาดหวังดังกล่าวไว้แล้ว และใน มุมของฝ่ายวิจัยที่ได้นำเสนอมา ก็เห็นว่าความกังวลเรื่อง เงินเฟ้อสูง และ ดอกเบี้ย ขึ้นเร็วจะมีอิทธิพลต่อทิศทางตลาดการเงินลดลง แต่หลังจากนี้ไปจะมีความกังวล เรื่อง Recession เคลี่อนเข้ามาแทนโดยน้ำหนักต่อตลาดหุ้นจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ตามลำดับ สำหรับประเด็นที่อยู่ในความสนใจในช่วงนี้ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเริ่มเห็นโอกาสที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ย. ออกมาต่ำ อีกทั้งเริ่มเห็นการผ่อนคลายมาตรการควบคุม Covid-19 อย่างต่อเนื่อง สัญญาณดังกล่าวน่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย

คาดว่า SETIndex น่าจะผันผวนในกรอบแคบ และมีDownside ที่จำกัดประเมิน กรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1610 – 1635 จุด สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือก CBG, SCGP และ TISCO

โอกาส RECESSION ในสหรัฐ ... ค้นหาหุ้นอยู่รอดจากประเด็นนี้

สัญญาณ Inverted Yield Curve มักชี้นำต่อเศรษฐกิจที่จะเข้าสู่ Recession ในช่วง 15 เดือนข้างหน้า โดยอ้างอิง National Bureau of Economic Research (NBER) ให้คำจัด ความต่อ Recession คือ การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในวงกว้าง ลึกและกิน ระยะเวลาในช่วงหนึ่ง โดยใช้ดัชนีชี้วัดต่างๆ ทั้งในภาคบริโภค ภาคการผลิตและภาค แรงงาน จากการศึกษาการเกิด Recession ในสหรัฐฯในรอบ 22 ปีที่ผ่านมา พบว่าการเกิด Recession ในสหรัฐฯมี 3 ครั้ง

1) วิกฤต Dot Com ในช่วง 2Q44-4Q44

2) วิกฤต Subprime ในช่วง 1Q51-2Q52 และ

3) วิกฤต Covid-19 ในช่วง ก.พ.-เม.ย.65 พบว่าดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจในภาคบริโภค ภาค ผลิตและภาคแรงงานล้วนแล้วแต่ชะลอตัวทั้งสิ้น อาทิ Real Personal Income Excluding Transfers, Non-Farm Payroll, Industrial Production, Retail Sales ฯลฯ กดดันต่อดัชนี Dow Jones ปรับลงในช่วง -12% ถึง -35% หรือเฉลี่ย Recession -23%

ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มาต่อบ้านเราหากไม่นับวิกฤต COVID-19 ที่มีเหตุมาจาก โรคระบาด พบว่าในช่วงวิกฤต Dot Com (ปึ 2544) และ Subprime (ปี 2551-2552) การ ขยายตัวเศรษฐกิจในบ้านเรายังเติบโตในอัตราชะลอลง แต่ไม่ถึงกับติดลบอย่างมีนัยสำคัญ เหมือนฝั่งสหรัฐฯ สะท้อนจาก GDP Growth 2544 ไทยขยายตัว 3.4%yoy และ GDP Growth ช่วง 2551-2552 โตเฉลี่ย 2.1% ด้านกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2544 พลิก Turnaround จากปี 2543 ส่วนกำไรฯในปี 2551-2552 เติบโตเฉลี่ย 16%yoy แต่ SET Index กลับปรับลงแรงเฉลี่ย -22.5% ซึ่งอาจตีความได้ว่ามาจาก Sentiment ภายนอก มากกว่าปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศ

ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ Inverted Yield Curved สหรัฐฯทำจุดต่ำสุดต่อเนื่อง -84 bps ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของ FED ยังคงดอกเบี้ยฯในระดับสูงอย่างน้อยถึง1H66 ทำให้ความเสี่ยงสหรัฐฯที่จะเข้าสู่ Recession เป็นไปได้มาก จึงอาจสร้างแรงกดดัน ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯและส่งผ่าน Sentiment เชิงลบมายังตลาดหุ้นบ้านเราได้แม้ความเสี่ยง Recession ในบ้านเราจะยังต่ำก็ตาม

ทั้งนี้หุ้นที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดในยามที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Recession มา จาก 3 กลุ่ม

1) Domestic Consumption อย่างกลุ่มค้าปลีก

2) กลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม Utility อย่างกลุ่มโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภค กลุ่ม โรงพยาบาล

3) กลุ่ม High Dividend Yield และหากเพิ่มเงื่อนไขของกำไร 2566 มีแนวโน้มเติบโต จะได้หุ้นแกร่งฝ่า Recession สหรัฐฯ CRC CPALL (BK:CPALL) RATCH GULF BDMS TISCO และ AP

ตลาดหุ้น WAIT & SEE ทิศทางปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ

กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต หรือ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ย. อยู่ที่ 7.4%YoY ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 7.2%YoY สอดคล้องกับ การเติบโตของ PPI รายเดือนที่ขยายตัวราว 0.3%MoM สูงกว่าตลาดคาดเช่นกัน ซึ่งอยู่ที่ 0.2%MoM เป็นผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่าน มา โดยดัชนี Dow Jones -0.9%, S&P500 -0.7%

กลับมาที่สัปดาห์นี้ นักลงทุนรอติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญจากฝั่งสหรัฐและยุโรป อาทิ

วันที่ 13 ธ.ค. : ตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ในเดือน พ.ย. โดย Bloomberg Consensus คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 7.3%YoY ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือน ต.ค. ส่วน ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าจะอยู่ที่ระดับ 7.48%YoY ภายใต้สมมติฐาน CPI Growth ระยะถัดไปอยู่ที่ 0.44%MoM (การขยายตัวเท่ากับเดือน ต.ค.) และจะทยอยลดลง เรื่อยๆ จนเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% ในช่วงปี 66 อย่างไรก็ตามหากย้อนกลับไป ดูข้อมูลในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างได้รับผลกระทบสูงหากตัวเลขเงินเฟ้อที่ ประกาศออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อาทิ ในวันที่ 13 ต.ค. 65 ผลตอบแทน S&P500 ผันผวนราว –3% ถึง 2.6% ดังนั้นหากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ ประกาศในวันนี้ไม่เป็นไปตามคาด อาจส่งผลต่อความผันผวนตลาดหุ้นเช่นกัน

วันที่ 15 ธ.ค. : การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งสุดท้าย ของปีนี้ โดย Bloomberg Consensus คาดว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวลง (ก่อนหน้านี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.75% ติดต่อกัน 4 ครั้ง) ส่วนในฝั่งยุโรปทั้ง ECB, BOE คาดว่าจะยังคงเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% หลังเงินเฟ้อในฝั่งยุโรปยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย