Covid-19 ที่กลับมาระบาดแรงในจีน นำไปสู่การใช้มาตรการควบคุมที่ เข้มงวด สร้างความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจจีน และประเทศคู่ค้าว่ามีความเสี่ยง ต่อการที่จะชะลอตัว ขณะเดียวกันในบ้านเราก็มีการประกาศตัวเลขการส่งออก เดือน ต.ค.65 ซึ่งลดลง 4.4% YoY และขาดดุลการค้า 596 ล้าน USD สถานการณ์ แวดล้อมดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามคือการ ประชุม กนง. ในวันพรุ่งนี้ (พุธที่ 30 พ.ย.) ซึ่งคาดหมายว่าน่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย นโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% ทั้งนี้ปรากฎสัญญาณชี้นำที่ชัดเจนโดยที่ Bond Yield ของพันธบัตร 1 ปี ล่าสุดปรับขึ้นไปสูงถึง 1.44% สะท้อนให้เห็นโอกาสที่จะ เห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 ภายใต้สภาพแวดล้อม ดังกล่าว ทำให้Theme การลงทุน ยังอยู่กับ Domestic Consumption ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานมีน้ำหนักทางลบ ซึ่งน่าจะสร้างแรงกดดันต่อ
SET Index ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1610 – 1631 จุด สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือก CRC, COM7 และ IMH
สถานการณ์COVID ในประเทศจีน ดูอึมครึม แต่คาดหวังดีขึ้นใน 2Q66
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนยังน่ากังวล โดยล่าสุดอยู่ที่ 40,347 ราย (28 พ.ย.65) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การประท้วงต่อต้านนโยบาย Zero-Covid ใน จีนได้ลุกลามเป็นวงกว้างในขณะนี้ เนื่องจากนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งทาง Goldman Sachs ชี้ว่าจีนอาจยกเลิกล็อกดาวน์ ก่อนกำหนด โดยคาดว่ามีโอกาส 30% ที่จีนจะเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งก่อนถึง 2Q66 และเชื่อ ว่ามีโอกาส 60% ที่จีนจะยุตินโยบาย Zero-covid ใน 2Q66
โดยล่าสุดทางการจีนได้ผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดในบางเมือง เพื่อตอบสนองต่อผู้ ประท้วง อาทิ
กรุงปักกิ่ง : ประกาศยกเลิกการตั้งสิ่งกีดขวางทางเข้าอพาร์ทเมนท์ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ ภายใน
กว่างโจว : ประกาศงดการปูพรมตรวจเชื้อโควิด-19 ครั้งใหญ่
เมืองอุรุมชี : อนุญาตให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดทำการในสัปดาห์นี้ รวมทั้งให้บริการรถ โดยสารสาธารณะ
ประเด็นดังกล่าว ถือเป็นกระแสเชิงลบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้ามาไทยได้ช้าลง ซึ่งปัจจุบันเดือน ต.ค. 65 มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา 3.5 หมื่นราย ต่ำกว่าภาวะปกติช่วงก่อน เกิดโควิดมีนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยเกือบ 1 ล้านรายต่อเดือน (11 ล้านรายต่อปี) อย่างไรก็ ตามในภาพระยะยาวน่าจะกระทบต่อประมาณการน้อย เนื่องจากฝ่ายวิจัยฯ คาดว่า นักท่องเที่ยวจีนน่าจะเข้ามาในประเทศไทยชัดเจนในช่วงกลางปี 66
สรุปประเด็นโควิดที่แพร่ระบาดในจีน น่าจะกดดันตลาดหุ้นช่วงสั้น ขณะที่หุ้นกลุ่ม ท่องเที่ยวอาจได้รับ Sentiment เชิงลบช่วงสั้นๆ อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องติดตาม ประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด เพราะในปัจจุบันมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดจีนบาง เมือง และตลาดคาดหวังการกลับมาเปิดประเทศภายใน 2Q66
การค้าระหว่างประเทศของไทยชะลอตัว คาดกดดันตลาดหุ้น
กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนต.ค.65 มีมูลค่า 21,772 ล้าน เหรียญฯ หดตัว -4.4%YoY (ติดลบครั้งแรกรอบ 19 เดือน) ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 22,368 ล้านเหรียญฯ หดตัว -2.1%YoY โดยปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกชะลอตัว เนื่องจาก ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในจีนและ มาตรการ Zero-Covid ที่ดำเนินมาแล้วกว่า 3 ปีรวมถึงดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของ ประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกไทยใน 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค. 65) ยัง ถือว่าขยายตัวได้สูงราว 9.1%YoY ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังมั่นใจว่าการส่งออกของไทย ในปีนี้จะขยายตัวเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4% อีกทั้งดุลการค้าไทยในเดือนต.ค. แม้จะขาดดุล 596 ล้านเหรียญฯ แต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดในรอบ 9 ปี (เดือนส.ค. ขาดดุลราว 4,215 ล้านเหรียญฯ)
ในมุมมองฝ่ายวิจัยประเมินว่าในระยะถัดไปดุลการค้าจะขาดดุลลดลง ช่วยหนุนให้ดุลบัญชี เดินสะพัดจะกลับขึ้นไปเป็นบวกต่อเนื่อง จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น จากคาดหวังจีนผ่อนคลายมาตรการ Zero-Covid / จีนเปิดประเทศ และมูลค่า การนำเข้าลดลง จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป็นผลให้เศรษฐกิจบ้านเรายังฟื้น ตัวเด่นกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ ภาวะ Recession บวกกับภาครัฐมีแนวโน้มออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง เพื่อ กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศระยะถัดไป อาทิ ช้อปดีมีคืน ฯลฯ
สรุป การเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะ Recession เป็นแรงกดดันให้การส่งออก ของไทยชะลอตัว อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจของบ้านเราในระยะถัดไปยังเด่น กว่าหลายประเทศ บวกกับมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยหนุนการใช้ จ่ายภายในประเทศให้มากขึ้น คาดเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption อาทิ COM7, CRC, BBL, MTC, CK, STEC, AP
ดอกเบี้ยสหรัฐฯปรับขึ้นในกรอบจำกัด ส่วนไทยคาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตลาด PRICE IN ไปแล้วสะท้อนจาก BOND YIELD
นักลงทุนจับตาตัวเลขเศรษฐกิจ และถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลที่จะบรรยาย 30 พ.ย.65 เพื่อหาสัญญาณทิศทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐในอนาคต โดยหาก พิจารณาจาก FED Watch Tool จะเห็นได้ว่า นักลงทุนมองว่าดอกเบี้ยสิ้นปีนี้อยู่ที่ 4.50% ขณะที่ปลายปีหน้าคาดดอกเบี้ยอยู่ระดับ 4.75% เท่านั้น คาดเป็นจังหวะสะสมหุ้น เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในอนาคตจำกัดลง หรืออาจใช้นโยบายผ่อนคลายทาง การเงินได้
ขณะที่ไทย พรุ่งนี้มีการประชุม กนง. ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% อยู่ที่ 1.25% สังเกต ได้จาก Bond Yield 1 ปีของไทยที่ทยอยปรับขึ้นจาก 1.34% มาสู่ 1.44% ในช่วง 1 สัปดาห์เท่านั้น
ซึ่งหากพิจารณาในมุมของ Market Earning Yield Gap จะเห็นได้ว่าน่าสะสม เนื่องจาก ตลาดหุ้นไทยย่อตัวลงมาลึกล่าสุดอยู่ที่ 1616.91 จุด ขณะที่ใช้สมมุติฐาน Bond Yield 1 ปี ที่ระดับ 1.44%(ตลาดตอบรับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ไป 25-50 Bps.แล้ว) จะ ทำให้ Market Earning Yield Gap เปิดกว้างไปสู่ระดับ 4.3% ถือเป็นระดับที่น่าสนใจใน เชิง Valuation (ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีตที่อยู่ระดับ 4.2%) และถือเป็นโอกาสดีในการเข้า สะสมหุ้นพื้นฐานดี แนวโน้มการเติบโตต่อจากนี้โดดเด่น
สรุป การขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่อนคลายลงของ FED ในอนาคต ถือเป็นแรงหนนุนให้ตลาดหุ้น กลับมาสดใสอีกครั้ง ขณะที่ไทยมีความน่าสนใจมากกว่าจาก อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และหากพิจารณาในเชิง Market Earning Yield Gap อยู่ระดับ 4.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าสะสม เนื่องจากสมมุติฐานใช้ Bond Yield 1 ปีที่ Price in การขึ้นดอกเบี้ยไประดับหนึ่งแล้ว
โดยวันนี้คาดการเคลื่อนไหวของ SET Index อยู่ระดับ 1610-1631 จุด
มูลค่าซื้อขายเบา…แต่ต่างชาติยัง NET BUY น่าจะช่วยลดความผันผวน ตลาดได้บ้าง
วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยยังเบาบางอยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านบาท (ลดลง 35% เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยต่อวันในเดือน ต.ค.) โดยสัดส่วนที่ลดลงมากสุดมาจากนักลงทุนสถาบันฯ -57% (มูลค่าลดลง 2.7 พันล้านบาท) ตามมาด้วยต่างชาติ -37% (มูลค่าลดลง 1.1 หมื่นล้านบาท)
พอร์ตโบรกเกอร์ -37% (มูลค่าลดลง 1.9 พันล้านบาท) และสัดส่วนลดลงน้อยสุดคือราย ย่อย -25% (มูลค่าลดลง 4.6 หมื่นล้านบาท)
มูลค่าซื้อขายต่างชาติลดลงมากสุด ในมุมสัดส่วนสถาบันลดลงมากสุด(28 พ.ย.)
และในอีกมุมหนึ่งมูลค่าการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการลดลงจากหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง ดัชนี SET50 มูลค่าการซื้อขายลดลงถึง -44% (เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเดือน ต.ค.) ขณะที่ดัชนีหุ้น เล็กอย่าง SSET ลดลง -3%
แสดงให้เห็นว่ามูลค่าซื้อขายที่ลดลงนั้นเกิดกับหุ้นขนาดใหญ่มากกว่าหุ้นขนาดเล็ก และเป็น การลดลง ในมุมสัดส่วนที่ลดลงมากสุด คือ นักลงทุนสถาบันฯ แต่ถ้าในมุมเม็ดเงินคือ นัก ลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตามไม่ได้แปลว่านักลงทุนต่างชาติเลิกสนใจหุ้นไทย เพราะต่างชาติ ยังซื้อสุทธิ (Net Buy) หุ้นไทยต่อเนื่องกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท (mtd) แต่อาจจะมีแบ่งเงิน บางส่วนไปลงทุนในตลาดหุ้นอื่นๆ ที่น่าสนใจเช่นกัน อาทิ ตลาดหุ้น Hang Seng ที่มูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นกว่า 51%MoM และหนุนดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 17%mtd
สรุป: แม้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยจะเบาลง แต่ต่างชาติยังซื้อสุทธิต่อเนื่อง น่าจะช่วยพยุง ให้ SET Index ที่ Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจ MEYG 4.3% ให้ค่อยๆขยับขึ้น ได้ส่วน Toppick วันนี้เลือก CRC COM7 IMF
กระแสเก็งกำไร TASCO กลับมา หากเวเนซูเอลาถูกยกเลิก SANCTION
จากกระแสข่าวในสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งที่ยืนยันตรงกันว่า ฝ่ายบริหารของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ประกาศผ่อนปรนการคว่ำบาตรน้ำมันต่อเวเนซูเอลา โดยให้ ใบอนุญาตอายุหกเดือนแก่บริษัทเชฟรอนในแคลิฟอร์เนีย ให้สามารถผลิตปิโตรเลียมหรือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเวเนซุเอลาได้อีกครั้ง ซึ่งการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรนี้มีขึ้น หลังรัฐบาลและฝ่ายค้านของเวเนซุเอลาตกลงที่จะสร้างกองทุนที่จัดการโดย UN เพื่อเป็น เงินทุนสำหรับโครงการด้านสุขภาพ อาหาร และการศึกษาสำหรับคนยากจน โดยดึงเงิน ของเวเนซุเอลาที่ถูกแช่แข็งอยู่ในระบบการเงินระหว่างประเทศประมาณ 3 พันล้าน ดอลลาร์ ส่งตรงไปยังกองทุน ทำให้เกิดกระแสเก็งกำไรในหุ้น TASCO ที่อดีตเคยนำเข้า น้ำมันดิบจากเวเนซูเอลาเป็นหลักในการผลิตยางมะตอย แต่ถูกร้องขอจาก US State Department ให้ยุติการนำเข้าน้ำมันดิบจากเวเนซูเอลาตั้งแต่ พ.ย 63 ทำให้ TASCO ต้อง หันไปซื้อน้ำมันดิบจากประเทศอื่นที่มีราคาสูงกว่ามาก ส่งผลให้ TASCO มีกำไรลดลงอย่าง มีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน TASCO ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก US State Department แต่อย่างใด ดังนั้นจึงยังไม่สามารถนำเข้า Crude จากเวเนซูเอลา ส่วน ประเด็นว่า TASCO จะสามารถซื้อ Crude ต่อจากเชฟรอน ที่ได้สิทธิเข้าไปผลิตปิโตรเลียมในเวเนซูเอลาได้หรือไม่ ก็ยังไม่มีคำยืนยันเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเก็งกำไรในกระแสข่าว ดังกล่าว จึงควรกระทำด้วยความระมัดระวัง ในเชิงพื้นฐาน กรณีที่ TASCO ไม่สามารถ นำเข้าน้ำมันดิบจากเวเนซูเอลาได้ การขายยางมะตอยส่วนใหญ่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการซื้อ ยางมะตอยจากโรงกลั่นในภูมิภาคมาขายต่อ โดยมีอัตรากำไรที่ต่ำกว่าการกลั่นยางมะตอย ขายเองราว 20-25% ซึ่งจะทำให้ฐานกำไรของ TASCO ลดลงมาอยู่ในช่วง 1.5-1.7 พันล้าน บาท/ปี และมีราคาเหมาะสมที่ 18.45 บาท แต่หาก TASCO สามารถนำเข้าน้ำมันดิบจาก เวเนซูเอลาได้อีกครั้ง คาดฐานกำไรน่าจะกลับไปสู่ระดับ 2-2.5 พันล้านบาท/ปี และราคา เหมาะสมจะกลับไปที่ระดับ 22-25 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เคลื่อนไหวในช่วงปี 2559-2563 ก่อนที่เวเนซูเอลาจะถูกสหรัฐ Sanction
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities