วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยเบาบางมากเหลือเพียง 4.59 หมื่นล้านบาท (ต่ำสุดใน รอบ 2 ปี) โดยมูลค่าซื้อขายที่เบาลงในช่วงนี้ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นหุ้น MORE กดดันให้นักลงทุนชะลอการซื้อขายหุ้นขนาดเล็ก สังเกตได้จากในรอบ 1 สัปดาห์ ดัชนี MAI ปรับตัวลง -5.0% สวนทางดัชนี SET50 ที่ปรับขึ้น 0.8% โดยมีแรงหนุน จากนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อกว่า 6.3 พันล้านบาท ซื้อสุทธิ 4 ใน 5 วัน
คาดหวังต่างชาติยังซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง จากภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นขัดเจนขึ้น ล่าสุดมีแรงหนุนเบาๆ จากตัวเลขยอดผลิตรถยนต์เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 15.5%YoY, จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกเดือน ช่วง 1 ม.ค. – 19 พ.ย. 65 อยู่ที่ 8.2 ล้านคน, อีกทั้งหนี้สาธารณะต่อ GDP ไทยเดือน ก.ย. 65 ลดลงมาอยู่ที่ 60.41% ส่วนสัปดาห์หน้า ติดตามประเด็นสำคัญ คือ วันที่ 29 พ.ย. ลุ้นครม. ชงแพคเกจช้ อปดีมีคืน คนละครึ่งเฟส 7 และวันที่ 30 พ.ย. มีการประชุม กนง. คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
SETIndex ยังน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา หนุน ประเมินกรอบช่วง 1610 – 1631 จุด สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือก MTC, COM7, CRC
เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง...ติดตามอีเว้นท์สัปดาห์หน้า
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 65 ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวเข้ามาต่อเนื่อง โดยล่าสุดสำนัก เศรษฐกิจต่างๆ ออกมารายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้
• ยอดส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้น โดยสภาอุตสาหกรรมฯ เผยยอดส่งออกรถยนต์ สำเร็จรูปเดือน ต.ค.2565 อยู่ที่ 94,228 คัน ขยายตัว 15.51%YoY ทั้งนี้คาดว่า ยอดส่งออกรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น จะช่วยหนุนให้ภาพการส่งออกไทยในภาพรวมดีขึ้น ด้วยเช่นกัน
• หนี้สาธารณะลดลงต่ำกว่าคาด ณ สิ้นปีงบประมาณ 65 อยู่ที่ระดับ 60.41% ต่อ GDP ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 60.56% ต่อ GDP เนื่องจาก GDP 3Q65 ออกมาต่ำกว่าคาด และในปีงบประมาณ 66 สบน. คาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะจะ ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ระดับ 60.43% (ไม่เกินกรอบเพดานที่กำหนดไว้ 70%) เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
• จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยททท. เผยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 19 พ.ย. 6 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมราว 8.2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 2.81 แสนล้านบาท ซึ่งการประชุม APEC ที่ผ่านมาน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้การ ท่องเที่ยวไทยในช่วงปลายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์(10 ล้านคน)
ขณะที่สัปดาห์หน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะถูกขับเคลื่อนได้ด้วยปัจจัยภายในประเทศเป็น หลัก โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม อาทิ
• ตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกในเดือนต.ค ซึ่งคาดว่าจะยังมีการขยายตัวจากเดือนก่อน
• การประชุม ครม. เพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ช้อปดีมีคืน (กำหนดวงเงินลดหย่อนภาษี40,000 บาท), คนละครึ่งเฟส 7, เราเที่ยวด้วยกัน, Package ของขวัญปีใหม่ ทั้งการขยายอายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ+ จดจำนองออกไป
• การประชุม กนง. ครั้งที่ 6 โดย Consensus คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ณ ปลายปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.25%
• การจัดงาน Motor Expo 2022 ที่คาดว่ามีเงินสะพัดมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่ง จะเป็นอานิสงค์บวกกับอุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่ม EV
สรุป เศรษฐกิจไทยมีสัญญานการฟื้นตัวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ยอดส่งออกรถยนต์ เพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะลดลงต่ำกว่าคาด จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยเพิ่มขึ้น จึงยิ่งเป็น การเพิ่มความคาดหวังให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้ในระยะถัดไป
เศรษฐกิจไทยยังดูดีสวนทางภาพเศรษฐกิจโลก เน้นหุ้นที่มีรายได้ใน ประเทศเป็นหลัก ชอบ MTC COM7 CRC
OECD ประเมินการเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 65 อยู่ที่ 3.1%YoY และในปี 66 คาดว่าจะ ขยายตัวลดลงอยู่ที่ 2.2%YoY โดยสาเหตุหลักมาจาก ธนาคารกลางต่างๆ ดำเนินนโยบาย การเงินที่เข้มงวดทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น บวกกับราคาพลังงานที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ การเติบโตของรายได้ครัวเรือนและความเชื่อมั่นในการบริโภคลดลง ขณะที่เศรษฐกิจของ ยุโรป และสหรัฐ ปี 66 ขยายตัวเท่ากันเพียง 0.5%YoY ซึ่งสอดคล้องกับสำนักเศรษฐกิจ อื่นๆ อาทิ IMF และ World Bank ที่คาด GDP Growth ปีหน้าของ โลก สหรัฐฯ และ ยุโรป อยู่ในช่วง 0.5%YoY-3.0%YoY
หากพิจารณามุมมองเศรษฐกิจไทย สำนักเศรษฐกิจของต่างประเทศมีมุมมองที่ดีต่อ เศรษฐกิจไทย โดย IMF และ Worldbank คาด GDP Growth ปีหน้าของไทยอยู่ที่ 3.7%YoY (ประเมินรอบ ต.ค.65) และ 4.3%YoY (ประเมินรอบ มิ.ย.65) ตามลำดับ ซึ่งฟื้น ตัวเด่นกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐฯ และยุโรป
ขณะที่ประเด็นในประเทศ มีประเด็นหุ้น MORE กดดันหุ้นเล็กทั้ง SSET MAI ให้ Underperform ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยปรับตัวลงราว 0.2% และ 10% ตามลำดับ สวนทางหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นทั้ง SET50 และ SET100 โดย 1 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้น 2.8% และ 2.6% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเกิดจาก Fund Flow ต่างชาติที่เริ่มไหล กลับเข้ามาอีกครั้ง โดยต่างชาติซื้อสุทธิ 6.3 พันล้านบาท (1Week) หรือซื้อสุทธิ 2.3 หมื่น ล้านบาท (MTD)
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นกลุ่มที่มีรายได้อิงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ เป็นหลัก + มีปัจจัยหนุนนับจากนี้ โดยมีอยู่ 7 อุตสาหกรรม คือ อสังหาฯ, ค้าปลีก, ธนาคาร, รับเหมาก่อสร้าง, ICT, สื่อโฆษณา เช่าซื้อ
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้เลือกหุ้นจากกลุ่ม Domestic Consumption ด้านบนอย่าง MTC ที่แนวโน้มสินเชื่อยังเติบโต บวกกับราคาปรับฐานลงมาลึก และ COM7 CRC ที่ คาดได้ประโยชน์จากมาตรการภาครัฐที่จะเข้า ครม. สัปดาห์หน้า บวกเป็นหุ้นเป้าหมาย Flow ต่างชาติในปัจจุบัน เป็น Toppicks
ตลาดน้ำมันดูมี DOWNSIDE มากกว่า UPSIDE แนะนำหลีกเลี่ยงกลุ่ม พลังงานช่วงสั้น เพื่อความปลอดภัยของพอร์ต
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะผันผวนจากทั้ง demand และ supply ที่ แท้จริง รวมถึงประเด็นบวกและลบต่อราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ซึ่งหากพิจารณา ภายใต้ demand และ supply ที่แท้จริง ฝ่ายวิจัยยังคงมุมมองที่คาดทิศทางราคาน้ำมันจะ มี downside มากกว่า upside เพราะถูกกดดันจาก demand ที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจ โดยกำหนดสมมติฐานราคาน้ำมันในปี 2566 คาดจะอ่อนตัวลงจากปี 2565 จาก สถานการณ์สงครามที่จะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ ความกังกวลด้าน supply ผ่อนคลาย รวมถึงกลุ่ม OPEC คาดกลับมาทยอยผลิตเพิ่มขึ้นสู่ระดับก่อนเกิดโควิด อีกทั้งยังมีเรื่อง recession ของเศรษฐกิจโลกมาเป็นอีกแรงกดดันความต้องการใช้ที่สำคัญ
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นๆจะเกิดประเด็นต่างๆที่เข้ามากระทบ demand และ supply ระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจีนที่ยังที่ต้องการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด ส่งผลให้ รัฐบาลจีนตัดสินใจใช้มาตรการล็อคดาวน์เพิ่มอีกครั้ง หลังจากที่ได้มีการผ่อนคลายการ ควบคุมลงในช่วงก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่กดดันความต้องการใช้น้ำมันใน ภูมิภาค
หรือจะเป็นประเด็นล่าสุดที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 (ได้แก่ประเทศ ฝรั่งเศส, อเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, อิตาลี และแคนนาดา) เตรียมกำหนด เพดานราคาน้ำมันรัสเซียในกรอบราคา 65-70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งทางเอกอัตรราชฑูต จาก 27 ประเทศของ EU กำลังหารือข้อเสนอดังกล่าว เพื่อให้มีการบรรลุฉันทามติต่อไป โดย G7 รวมทั้ง EU และออสเตรเลียจะมีกำหนดบังคับใช้เพดานราคาน้ำมันรัสเซียในวันที่ 5 ธ.ค. 2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ต่อน้ำมันรัสเซียที่มีการขนส่งผ่านทางเรือบรรทุกน้ำมัน แต่ ไม่รวมน้ำมันที่มีการขนส่งผ่านท่อน้ำมัน เพราะสัดส่วนน้ำมันรัสเซียราว 70-85% จะเป็น การส่งออกผ่านเรือบรรทุกน้ำมัน โดยจะทำให้บริษัทเดินเรือ, บริษัทประกันวินาศภัย และ บริษัทประกันภัยต่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่ในประเทศกลุ่ม G7 ไม่สามารถให้บริการ ใดๆเกี่ยวข้องกับการขนส่งคาร์โกน้ำมันรัสเซียที่มีราคาสูงกว่าเพดานที่ G7 และพัธมิตรกำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นการลงโทษรัสเซียที่ส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนเมื่อ 24 ก.พ.65 ที่ ผ่านมา โดยประเด็นดังกล่าวถือเป็นอีกประเด็นที่สำคัญกดดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ให้ปรับตัวลดลง แต่ในความเป็นจริงจะสามารถกระทำได้จริงมากน้อยเพียงใดถือเป็น ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป ซึ่งทางรัสเซียก็ได้ออกมาตอบโต้มาตรการดังกล่าว โดยกล่าวว่า จะไม่จัดส่งน้ำมันให้แก่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมกำหนดราคาน้ำมันรัสเซีย และมองว่าผู้ผลิต น้ำมันหลายประเทศก็ได้คัดค้านมาตรการดังกล่าว เนื่องจากหากชาติตะวันตกใช้มาตรการ ดังกล่าวต่อรัสเซียในวันนี้ ก็จะมีการใช้มาตรการดังกล่าวกับประเทศอื่นในวันข้างหน้าได้ เช่นกัน
ดยสรุปภายใต้สถาการณ์ปัจจุบัน จากทั้งพื้นฐานด้าน demand และ supply ที่ แท้จริง รวมถึงประเด็นที่เข้ามากระทบช่วงสั้นต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยกดดันราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกให้อยู่ในช่วงขาลงมากกว่าขาขึ้น ซึ่งถือเป็น sentiment เชิงลบ ต่อกลุ่มน้ำมัน หากต้องการลงทุน แนะนำทยอยสะสม PTT (BK:PTT) PTTEP TOP ในช่วงราคา หุ้นลงมาลึก หวังผลกำไรระยะกลาง-ยาว
จุดกระแสกลุ่มโรงไฟฟ้า ให้กลับมาผงาดอีกครั้ง ชอบ GULF GPSC BGRIM GUNKUL
จากการที่ภาครัฐได้กำหนดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานพลังงานหมุนเวียน 3 ประเภท ได้แก่ ก๊าซ ชีวภาพ, พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์ รวมปริมาณรับซื้อราว 5.2 พันเมกะวัตต์ ปัจจุบัน ยังอยู่ระหว่างเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าได้จนถึง 25 พ.ย. 2565 โดยคาดจะ ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกภายในวันที่ 15 มี.ค. 2566 และเริ่ม ทยอยเปิด COD ในปี 2567เป็นต้นไป
ประเด็นดังกล่าว ถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มโรงไฟฟ้าในระยะยาว ซึ่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจ และเข้าร่วมในการประมูลเสนอขายไฟฟ้าในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุในรายละเอียดได้ โดยกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ฝ่ายวิจัย อยู่ระหว่างศึกษามีกำลังการผลิตที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วราว 3.3 หมื่นเม กะวัตต์ แบ่งเป็น 1) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน (Conventional Energy) ราว 2.4 หมื่น เมกะวัตต์ (สัดส่วน 72.5% ของกำลังการผลิตที่ COD แล้วในปัจจุบัน) และ 2) โรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ราว 9.2 พันเมกะวัตต์ (สัดส่วน 27.5% ของ กำลังการผลิตที่ COD แล้วในปัจจุบัน) ซึ่งคาดการเปิดรับซื้อไฟฟ้า 5.2 พันเมกะวัตต์ ดังกล่าว จะช่วยให้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าที่ COD แล้วทั้งหมดเพิ่มขึ้น 15.6% จากเดิมมาอยู่ที่ 3.9 หมื่นเมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นราว 56.7% จากเดิม มาอยู่ที่ 1.4 หมื่นเมกะวัตต์ และส่งผลให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37% จาก 28%
OUTLOOK ไตรมาส 4 กลุ่ม เกษตรอาหาร, เช่าซื้อ, ชิ้นส่วนฯ, ประกัน
สัปดาห์นี้ฝ่ายวิจัยฯนำเสนอ OUTLOOK ไตรมาส 4 รายอุตสาหกรรม โดยจะแบ่งเนื้อหาใน ทุกๆวันลง Market Talk ซึ่งมีกำหนดการ ดังนี้
• จันทร์21 พ.ย.65 กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี, โรงไฟฟ้า
• อังคาร 22 พ.ย. 65 กลุ่มวัสดุก่อสร้าง, รับเหมาก่อสร้าง, อสังหา
• พุธ 23 พ.ย.65 กลุ่ม ICT, ค้าปลีก
• พฤหัสบดี24 พ.ย.65 กลุ่มธนาคาร, ท่องเที่ยว, ยานยนต์, มีเดีย
• ศุกร์ 25 พ.ย.65 กลุ่มเกษตรอาหาร, เช่าซื้อ และอื่นๆ
กลุ่มชิ้นส่วนฯ
แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 4Q65 จะทรงตัวใกล้เคียงงวด 3Q65 แม้จะผ่านช่วง high season ของธุรกิจในงวด 3Q65 ไปแล้ว แต่คาดประสิทธิภาพการทำกำไรของกลุ่มชิ้นส่วนฯ จะดีขึ้น ผลบวจากแนวโน้มค่าเงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นงวด 4Q65 อ่อนค่าลง 3.6% qoq และ 13.1% yoy มาที่ 37.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
ชอบ KCE (FV@60) และ SMT (FV@B6.60) จากแนวโน้มกำไรจะเติบโตโดดเด่นในปี 2566
กลุ่มเกษตร-อาหาร
แนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มเกษตร-อาหารงวด 4Q65 จะปรับลดลง QoQ (แต่เติบโต YoY) จาก แนวโน้มราคาหมูและไก่ปรับลดลงจากงวด 3Q65 และเป็น low season ของการส่งออก ไก่และกุ้งสู่ต่างประเทศ
ชอบ TU (FV@B22) และ NER (FV@B9) จาก Valuation ที่น่าสนใจ และสามารถ คาดหวังปันผลได้กว่า 5% ต่อป
กลุ่มเช่าซื้อ
แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 4Q65 ของกลุ่มเช่าซื้อจะเติบโตจากงวด 3Q65 จากแนวโน้มสินเชื่อ เติบโตต่อเนื่อง หนุนแนวโน้มรายได้ดอกเบี้ยรับเติบโต และเป็นฤดูกาลของการจัดเก็บเงิน สดของกลุ่มบริหารสินทรัพย์ด้วยเช่นกัน
ชอบ ASK (FV@B46) และ MTC (FV@B47) จากแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2566 จะเติบโต ต่อเนื่อง สอดคล้องการแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อ
กลุ่มประกัน
แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 4Q65 ของกลุ่มประกันจะยังดีต่อเนื่องจากงวด 3Q65 จากแนวโน้ม เบี้ยประกันภัยรับเติบโตตามฤดูกาล เพราะเป็นช่วงที่ลูกค้าซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี
ชอบ BLA (FV@B45) และ TLI (FV@B19) จาก Valuation ที่น่าสนใจสุดในกลุ่มฯ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities