ภาพรวมการลงทุน: เราคาดว่า SETวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,610-1,640 จุด Sentiment เชิงบวกจาก ความเห็นของกรรมการเฟดที่มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอตัวลง ทำให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง เรามองเป็นเพียง Sentiment เชิงบวกต่อภาพรวมการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของ SET มี กรอบที่จำกัด โดยเฉพาะแรงขายหุ้นที่กลุ่มพลังงาน หลังวานนี้กลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ แต่ราคา น้ำมันดิบล่าสุดยังคงปรับลดลง หลังมีรายงานว่ากลุ่มประเทศ G7 เตรียมกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเีีย ไม่ให้เกิน 70 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจัยต่างประเทศ ติดตาม รายงาน GDP ช่วง 3Q65 ของยูโรโีน รายงาน PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ของเยอรมนี ยูโรโีน อังกฤษ ญี่ปุ่น
กลยุทธ์การลงทุน หุ้นในพอร์ต 50% แนะนำพอร์ต 888 หุ้นน่าลงทุน – เราให้น้ำหนักหุ้นในพอร์ต 50% กล ยุทธ์การลงทุน แนะนำพอร์ต 888 หุ้นน่าลงทุน ได้แก่ 8 หุ้นเก็งกำไรปลายปี 2565 (เล่นระยะสั้น) เราเลือก TOP SPRC PTTGC SCC CRC PTG SUSCO SCC / 8 หุ้นเด่นถือข้ามปี (เล่นระยะกลาง-ยาว) เราเลือก GPSC BGRIM BEM ADVANC AOT (BK:AOT) BAFS CPALL (BK:CPALL) MAKRO / 8 หุ้นพื้นฐาน Valuation ต่ำ ราคายังไม่ กลับไปก่อน Covid-19 (เล่นระยะกลาง-ยาว) – เราเลือก CKP KBANK (BK:KBANK) M PTG PTT (BK:PTT) WHA WHAUP VRANDA
สัปดาห์นี้ติดตาม รายงาน GDP ช่วง 3Q65 ยูโรโซน รายงาน PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ของเยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น - 24 พ.ย. : ญี่ปุ่น - ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือน พ.ย. / อังกฤษ - ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือน พ.ย. / เยอรมนี - การคาดการณ์ธุรกิจ เดือน พ.ย. การประเมินภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบัน เดือน พ.ย. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจจากสถาบัน Ifo เดือน พ.ย. / สหรัฐฯ – ตลาดหลักทรัพย์ฯ หยุดทำการซื้อขาย เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า รายงานการประชุมระหว่างวันที่ 1-2 พ.ย. ของ คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) / 25 พ.ย. : ญี่ปุ่น - ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เขตโตเกียว เดือน พ.ย. ดัชนี CPI ของโตเกียวที่ไม่รวมกลุ่มสินค้าอาหารและพลังงาน เดือน พ.ย. / ยูโรโซน - รายงาน GDP ช่วง 3Q65 (คาดเพิ่มขึ้น 0.3%qoq และเพิ่มขึ้น 1.1%yoy) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนีจาก สถาบัน GfK เดือน ธ.ค. / สหรัฐฯ – ตลาดหลักทรัพย์ฯ หยุดทำการซื้อขาย เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า (จะมีการ ซื้อขายเพียงครึ่งวัน)
ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ - สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานปริมาณ สำรองน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (คาดลดลงเพียง 800,000 บาร์เรล) EIA ยัง รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่เมืองคูชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐฯ ลดลง 887,000 บาร์เรล ด้านปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (คาด เพิ่มขึ้น 200,000 บาร์เรล) ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันกลั่น (ฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล) เพิ่มขึ้น 1.7 ล้าน บาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (คาดลดลง 700,000 บาร์เรล) / สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาล สหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบ ในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 390.5 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ มี.ค. 2527 การที่ปริมาณสำรองน้ำมันดิบใน SPR ลดลง มาจากการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศระบายน้ำมันใน SPR จำนวน 180 ล้าน บาร์เรล ในช่วง พ.ค.-ต.ค. เพื่อสกัดการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศ / กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผย ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ระดับ 240,000 รายในสัปดาห์ที่ผ่านมา สูงกว่าที่ Market Consensus คาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ราย ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยังคงขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 48,000 ราย สู่ระดับ 1.551 ล้านราย
ปัจจัยทางเทคนิค – หุ้นแนะนำทางเทคนิค ได้แก่ SISB (แนวต้าน 21.4-21.9 / แนวรับ 20.4-20.2 / Stop loss 19.3) TCAP (แนวต้าน 43.3-44.2 / แนวรับ 41.25-41.00 / Stop loss 39.0) ICHI (แนวต้าน 12.2-12.4 / แนวรับ 11.6-11.4 / Stop loss 11.0)
SET วานนี้ปรับลดลงจากแรงขายหุ้นในกลุ่มสื่อสาร และกลุ่มพลังงาน - SET วานนี้ (22 พ.ย.) ปิดที่ระดับ 1,615.33 จุด ลดลง 3.53 จุด (-0.22%) มูลค่าการซื้อขาย 57,229.78 ล้านบาท (สูงสุด 1,629.22 จุด และต่ำสุด 1,612.25 จุด) SET วานนี้ปรับลดลงจากแรงขายหุ้นในกลุ่มพลังงาน และสื่อสาร จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง รวมไปถึงการแจ้งยกเลิกการทำเทนเดอร์ฯ เป็นปัจจัยกดดันภาพรวมการลงทุน ขณะที่ปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ยังคงมาจากความกังวลต่อการที่เฟดจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง และทางการจีนกลับมาใช้ มาตรการเข้มงวดคุมสถานการณืโควิดหลังพบผู้เสียชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และจำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัว สูงขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Asia Wealth Securities