สัญญาณการไหลเข้าของ Fund Flow ยังชัดเจน โดยนักลงทุนต่างชาติทั้งซื้อสุทธิ ในตลาดหุ้นไทย และ Long ใน Future ขณะที่เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าชัดเจน โดยอยู่ที่บริเวณ 37.20 – 37.40 บาท/USD และมีโอกาสที่จะลงมาอยู่บริเวณ 37 บาท/USD ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวยังเอี้อต่อการที่ Fund Flow จะไหลเข้าสู่ ตลาดหุ้นไทยได้ต่อเนื่อง ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ต.ค.65 ของบ้านเราที่ประกาศ ออกมาที่ 5.98% ถือว่าเป็นการยืนยันแนวโน้มขาลง ทำให้แรงกดดันในการปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเบาบางลง ทั้งนี้เรา ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายบ้านเราสิ้นปี 2565 น่าจะจบที่ 1.25% ส่วนปี 2566 น่าจะอยู่ในกรอบบริเวณ 1.75 – 2% สำหรับการเลือกตั้งกลางเทอมใน สหรัฐฯ เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม แต่ไม่น่าจะมีผลต่อ SET Index มากนัก
ประเมินว่า SET Index ยังอยู่ในช่วงของการแกว่งขึ้น โดยมีกรอบการเคลื่อนไหว ช่วง 1620 – 1635 จุด และมีโอกาสที่จะขึ้นไปยืนเหนือ 1631 จุดได้ ในสัปดาห์นี้ หุ้น Top Pick วันนี้เลือก CENTEL, OR และ STEC
เงินเฟ้อไทยลดลงเป็นเดือนที่ 2 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ช่วยลดแรงกดดัน กนง. ขึ้นดอกเบี้ย
กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน เดือน ต.ค. 65 ขยายตัว 5.98%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาด ที่ 6.0%) และลดลงจากเดือนก่อน 6.41% พร้อมกับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) อยู่ที่ 6.15% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับขึ้น 3.17%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 3.20%) และลดลงจากเดือนก่อน 3.12%YoY ปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อในเดือน ต.ค.นี้ ชะลอตัวตามราคาน้ำมันใน ตลาดโลก บวกกับรัฐบาลเข้าไปช่วยกำกับดูแลทำให้ราคาสินค้ากลุ่มอาหารปรับตัวลง อาทิ เนื้อหมู ไก่ น้ำมันพืช ผักสดและผลไม้ ฯลฯ
ในมุมมองของฝ่ายวิจัยประเมินว่า แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยมีภาพที่สอดคล้องกับฝั่งสหรัฐ โดยค่าว่าจะผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว และจะเริ่มปรับตัวลดลงเรื่อยๆ
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อไทยในอนาคต ฝ่ายวิจัยได้นำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุด ที่ระดับ 0.3%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไปลดลงอย่างชัดเจน โดยลดลงจาก 5.98%YoY ในเดือน ต.ค.65 มาอยู่ที่ 2.88%YoY ราวเดือน มิ.ย.66 และจะเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในปีหน้า ตามที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ ซึ่งถือเป็นการช่วยลดแรงกดดันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. อีกทั้ง หากดูข้อมูล Bloomberg Consensus ปี66 คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะอยู่กรอบ 1.35- 1.9%
ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐในอนาคตฝ่ายวิจัยได้นำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุด ที่ระดับ 0.40%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไป ทยอยลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 8.2%YoY เดือน ก.ย.65 มาอยู่ที่ บริเวณ 4.1%YoY ในเดือน มิ.ย.66 ซึ่งคาดว่า Fed จะชะลอการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตามมา โดยปลายปีหน้าคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.0%
ในส่วนของเงินเฟ้อยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้มต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 65 เนื่องจากยุโรปต้องเผชิญ ปัญหาวิกฤตพลังงาน รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ Recession ทั้งนี้ฝ่ายวิจัย ประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อยุโรปในอนาคต โดยนำการเติบโต CPI เฉลี่ยรายเดือนใน สภาวการณ์ปกติ ที่ระดับ 0.7%MoM นำมาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะ เห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไป ยังปรับตัวสูงขึ้นไปจนถึงต้นปี 66 ซึ่งคาดว่าเงินเฟ้อ จะทะยานสู่จุดสูงสุดในเดือน ม.ค. ที่ระดับ 11.7%YoY ก่อนที่จะทยอยลดลงมาเข้าสู่กรอบ เป้าหมายที่ 2% ในช่วงปี 67 ทำให้ในฝั่งยุโรปอาจจะยังเห็นภาพการเร่งขึ้นดอกเบี้ยอยู่ โดย ปลายปีหน้า Consensus คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.75%
สรุป เงินเฟ้อทั่วโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่ไทยทยอยเปิดประเทศ รวมถึงมีการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ จะช่วยลดแรงกดดันการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. และหนุนการเติบโต เศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น ฝ่ายวิจัยแนะนำหุ้นเด่นรับเงินเฟ้อ คือ ค้าปลีก BJC HMPRO MAKRO CRC, ท่องเที่ยว CENTEL AOT (BK:AOT) , สินเชื่อ SAWAD ASK , เกษตร-อาหาร NER CBG
หุ้นไทยยังมีเสหน่ห์ ดึงดูด FLOW ต่างชาติอย่างต่อเนื่อง
ค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มแข็งค่าตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.65 – ปัจจุบัน โดยแข็งค่าราว 1.02% ล่าสุดอยู่ที่ 37.96 บาท/เหรียญฯ ซึ่งเหตุผลหลักมาจาก Flow ต่างชาติที่ทยอยไหลเข้าทั้ง ตลาดหุ้นไทย และ ตราสารหนี้ไทย ราว 2.90 หมื่นล้านบาท และ 4.62 หมื่นล้านบาท (ส่วน ใหญ่เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น 4.3 หมื่นล้านบาท หรือกินสัดส่วนไปกว่า 94% ของยอดซื้อ สุทธิรวม) ตามลำดับ ช่วยผลักดันให้ SET Index ปรับขึ้น 2.19% (ตั้งแต่ 20 ต.ค.65- ปัจจุบัน)
ประเด็นดังกล่าว สอดคล้องกับสถิติในอดีตช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเวลา Flow ต่างชาติไหล เข้าหุ้นไทย ทุกๆ 1 หมื่นล้านบาท ผลักดันให้ SET Index ขึ้นราว 1% อีกทั้งเศรษฐกิจไทย เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปี ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลน่าจะ ทยอยเห็นในช่วงปลายปีเช่นกัน คาดเป็นแรงหนุนให้ Flow ไหลเข้าประเทศไทยทั้งทางตรง และทางอ้อม หนุนค่าเงินบาทแข็งค่าทดสอบระดับ 37 บาท/เหรียญฯ ได้รวมถึงคาดหวัง เม็ดเงินที่ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ช่วงสั้น มีโอกาสสลับมาเสริมตลาดหุ้นในระยะถัดไป เพิ่มขึ้น
สรุป ตลาดหุ้นไทยมีเสน่ห์ในช่วงปลายปีนี้ ทั้งในมุมของตลาดหุ้น และเศรษฐกิจ หนุน เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าประเทศไทยต่อเนื่อง คาดหวังเงินบาทแข็งค่ากลับสู่ระดับ 37 บาท/เหรียญฯ โดยดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปีนี้ ฝ่ายวิจัยฯคาดอยู่ที่ 1730 จุด
รอลุ้นการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ หนุนตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อ
วันที่ 8 พ.ย. 65 เป็นวันเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ ถือเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ระหว่างพรรค เดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ซึ่งเริ่มนับคะแนนกันเวลาไทย ในวันที่ 9 พ.ย. 65 7.00 น. จาก กระแสและผลสำรวจปัจจุบันบ่งชี้ว่า พรรครีพับลิกันมีโอกาสครองเสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร และในวุฒิสภา หนุนให้วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.96% โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน +1.73% (ได้แรงหนุนกระแสพรรครีพับลีกันสนับสนุนขุดเจาะหา แหล่งพลังงานและวางท่อส่งก๊าชและน้ำมันในสหรัฐ) และการแพทย์ +1.06% (คาดหวังแรง กดดันควบคุมราคายาลดลง)
ขณะที่สถิติในอดีต ผลตอบแทนหลังการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงปี 2002 – 2014 (ไม่รวม ปี 2018 เป็นช่วงกังวลประเด็นสงครามทางการค้า) 1 เดือน ตลาดหุ้นสหรัฐและไทยมักให้ ผลตอบแทนเป็นบวกทุกรอบ โดยดัชนี Nasdaq ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +2.2%, S&P500 +1.3% และ SET +1.3%
สรุป การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐที่จะทราบผลวันพรุ่งนี้ เป็นอะไรที่นักลงทุนต้อง ติดตามอย่างใกล้ชิด และฝ่ายวิจัยฯ ยังคาดหวังมาตลาดหุ้นยังมีโอกาส Outperform ได้ดีตามสถิติในอดีต
ส่วนวันนี้คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1620 – 1635 จุด หุ้น Toppick วันนี้ แนะนำ CENTEL, STEC, OR
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities