สัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index ปรับขึ้นมาเหนือ 1613 จุด และ พยายามขึ้นไป ทดสอบ 1631 จุดตามคาด ซึ่งประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานล่าสุด ยังไม่ เห็นปัจจัยที่มีน้ำหนักให้เปลี่ยนทิศทาง โดยเชื่อว่าสัปดาห์นี้SET Index มีโอกาส ปรับขึ้นไปเหนือแนวต้าน 1631 จุดได้ ส่วนปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อน ได้แก่Fund Flow ที่ไหลเข้า หลังจากที่เงิน USD กลับมาอ่อนค่าลงส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุน มองเห็นว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed น่าจะใกล้ถึงเป้าหมาย ขณะที่ EU และ UK ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 65 โดยในบ้านเราจะประกาศในวันนี้ ซึ่ง Consensus คาดการณ์ที่ 6%YoY ซึ่งถือ ว่าเป็นเงินเฟ้อที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ส่วนของสหรัฐจะประกาศในวันศุกร์ ซึ่งคาดอยู่ ที่ 8% YoY อยู่ในแนวโน้มลดลงเช่นกัน ถือเป็นแรงหนุนต่อภาพตลาดหุ้น
คาดว่า SET Index สัปดาห์นี้น่าจะมีMomentum เหวี่ยงขึ้นต่อ และมีโอกาสทะลุ ผ่านแนวต้าน 1613 จุดขึ้นมาได้ วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1620 – 1640 จุด หุ้น Top Pick เลือก ASK, CENTEL และ STEC
แนวโน้วการเร่งขึ้นดอกเบี้ยชะลอตัว คาดเงินเฟ้อลด หวัง FLOW ไหลเข้า ตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
ตลาดสหรัฐปรับตัวขึ้นสูงกว่า 1% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเผย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือนต.ค. อยู่ที่ 261,000 ตำแหน่ง (สูงกว่าคาดที่ 200,000 ตำแหน่ง) ลดลงจากเดือน ก.ย. ที่ 315,000 ตำแหน่ง ใน ส่วนของอัตราการว่างงานเดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 3.7% (สูงกว่าคาดที่ระดับ 3.6%) เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้า ที่ระดับ 3.5% ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สะท้อนถึงตลาดแรงงานที่เริ่มอ่อนแอลง จึงเป็นอีกหนึ่งสัญญานที่คาดกว่า Fed จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเรื่อยๆ
เมื่อพิจารณา Fed Watch Tool พบว่ามีโอกาสราว 52% ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ (ธ.ค. 65) โดยเริ่มชะลอการขึ้นดอกเบี้ยหลังการ ประชุมครั้งก่อนหน้าที่มีการปรับขึ้น 0.75% และสิ้นปี 65 อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 4.5%
จากประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะเป็นเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาห์อ่อนค่าต่อเนื่อง หลัง เกิดการย้ายเงินลงทุนออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย (Dollar Index ร่วงลงหนักกว่า 1.9%) ทำให้หวังเงินบาทกลับมาแข็งค่า จากการคาดว่าเงินเฟ้อไทยจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ใน เดือน ต.ค.65 ตลาดคาดว่าจะลดลงอยู่ที่ +6.0%yoy จากเดือนก่อนหน้า +6.4%yoy ซึ่ง เหตุผลหลักๆมาจาก ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้การทรวงพาณิชย์ประเมินเบื้องต้นว่าเงินเฟ้อไทยอาจจะไม่ถึง 6% เนื่องจาก สถานการณ์ราคาสินค้าในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังรัฐบาลเข้าไปช่วยกำกับดูแล อาทิ หมูเนื้อแดง ไข่ไก่ น้ำมันพืช ผักสด ฯลฯ
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยได้ทำการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อไทยในอนาคต โดยนำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุดที่ระดับ 0.22%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไปลดลงอย่างชัดเจน โดยลดลงจาก 6.4%YoY ใน เดือน ก.ย.65 มาอยู่ที่ 2.1%YoY ราวเดือน มิ.ย.66 ซึ่งอยู่กรอบที่ ธปท. ประเมินไว้เช่นกัน
สรุป แนวโน้วการเร่งขึ้นดอกเบี้ยชะลอตัว น่าจะเป็นเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาห์ อ่อนค่าต่อเนื่อง หวังเงินบาทกลับมาแข็งค่า จากการคาดว่าเงินเฟ้อไทยจะปรับตัว ลดลง บวกกับภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุน Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ดีต่อ AOT (BK:AOT) และ CENTEL
ส่วนใหญ่หลังช่วงเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ หุ้นมักจะปรับตัวขึ้นได้ดี
วันที่ 8 พ.ย. 65 เป็นวันเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ ถือเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ระหว่างพรรค เดโมแครตและพรรครีพับลิกัน จะมีการชิงชัยเก้าอี้ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจำนวน 435 ที่นั่ง รวมทั้งการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 35 ราย จากทั้งหมด 100 ราย ทั้งยังมี การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐใน 39 มลรัฐ รวมทั้งการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอีกจำนวนมาก
จากกระแสและผลสำรวจปัจจุบัน บ่งชี้ว่า พรรครีพับลิกันมีโอกาสครองเสียงข้างมากใน สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐหลังการเลือกตั้งกลางเทอม ส่วนการเลือกตั้งในวุฒิสภาจะเป็นไป อย่างสูสีระหว่างพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน การเสียคะแนนเสียงส่วนหนึ่งเกิดจากชาว อเมริกันไม่พอใจการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของรัฐบาล และหากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะ จะทำให้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีไบเดน ในช่วงที่เหลืออีก 2 ปี เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยคาดว่า พรรครีพับลิกันจะขัดขวางการผ่านกฎหมาย ต่างๆ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ในมุมมองของฝ่ายวิจัย ASPS ได้ทำการศึกษาสถิติในอดีต พบว่า ตั้งแต่ปี 2002 ถึงปัจจุบัน พรรคฝ่ายค้านส่วนใหญ่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งกลางเทอมไม่ 1 สภา หรือ 2 สภา
แต่หากพิจารณาความสอดคล้องกับตลาดหุ้น พบว่า หลังรัฐบาลสหรัฐเสียเก้าอี้ในการ เลือกตั้งกลางเทอมในช่วงปี 2002 – 2014 (ไม่รวมปี 2018 เป็นช่วงกังวลประเด็นสงคราม ทางการค้า) 1 เดือน ตลาดหุ้นสหรัฐและไทยมักให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกรอบ และดัชนี Nasdaq ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +2.2%, S&P500 +1.3% และ SET +1.3% ส่วนหนึ่งนัก ลงทุนนะจะคาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะมาจากปรับกลยุทธ์บริหาร ประเทศของพรรครัฐบาลเดิม หรือความคาดหวังการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ในอนาคต
สรุป การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐวันที่ 8 พ.ย. เป็นอะไรที่นักลงทุนต้องติดตามอย่าง ใกล้ชิด และฝ่ายวิจัยฯ ยังคาดหวังมาตลาดหุ้นยังมีโอกาส Outperform ได้ดีตามสถิติ ในอดีต
เปิด LIST หุ้นไทยได้รับแรงหนุนตามตลาดหุ้นจีน
แม้สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (NHC) ของจีน ออกมายืนยันว่า ปัจจุบันจีนจะยังคงดำเนินนโยบายควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวด ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น
แต่ในเดือน พ.ย. ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีฮั่งเส็ง (Hang Seng Index) ตลาดหุ้นฮ่องกงพุ่งขึ้นกว่า 10%mtd หลังจากหลายฝ่ายมีความ คาดหวังว่า จีนจะผ่อนคลายมากตรการ zero-Covid ในเร็ววันนี้ บวกกับเกิดการคาดการณ์ ว่าจีนกำลังเตรียมเปิดประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเยอรมนีออกมาเผยว่า ชาวต่างชาติที่ อาศัยอยู่ในจีนจะได้รับการอนุญาตให้สามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์- ไบออนเทคได้ ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าจีนกำลังวางแผนที่จะยุติระบบระงับ เที่ยวบินโดยสารที่มีการนำผู้โดยสารที่ติดเชื้อโควิด-19 เข้าประเทศ
และหากจีนมีการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว ฝ่ายวิจัยประเมินว่าดัชนี HSI ที่กลับตัว ขึ้นมาแรง จะส่งผลต่อหุ้นไทยที่มีการเคลื่อนไหวในเชิงบวกตามดัชนี้ HSI เช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นที่มีความเคลื่อนไหวคล้ายๆ กับดันีหุ้นจีน HSI Inex สะท้อนจากค่า สหสัมพันธ์ (Correlation) เฉลี่ยช่วง 5 ปีที่ผ่านอยู่ในระดับสูง อาทิ HANA (+0.49), BEC (0.41), WICE (+0.41), KCE (+0.39), TKN (+0.39), SCC (+0.33), SGP (+0.33) เป็นต้น
สรุป นโยบายการเปิดประเทศของจีนยังคงต้องติดตามกันต่อไป เนื่องจากจะส่งผล กระทบในเชิงบวกกับไทยหลายด้าน อาทิ การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน รวมถึงหุ้น ไทยที่เคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นจีน และถ้าเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้จะถือเป็นอีกหนึ่งแรงส่งที่ดี ต่อตลาดหุ้นไทย
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities