วานนี้ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% (ครั้งที่ 4) มาอยู่ที่ 4% ขณะที่ตลาดหุ้น สหรัฐถูกกดลงมา -3.3% ถึง -1.5% หลังประธาน Fed ยังมุ่งเป้าเดินหน้าขึ้น ดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อให้อยู่ระดับ 2% แต่เชื่อว่าประเด็นนี้กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ เนื่องจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นทิศทางชะลอลงในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% และตลาดคาดเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ต.ค. อยู่ที่ 8.1%yoy ลดลงต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 4 (รายงาน ณ 10 พ.ย. 65) แตกต่างกันกับเงินเฟ้อยุโรปที่ยังเป็นลักษณะ เร่งขึ้น ทำให้ระยะถัดไปจะเห็นการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในยุโรปมากกว่าสหรัฐ กดดันให้ ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และเงินบาทมีเสียรภาพมากขึ้น ช่วยลดความ เสี่ยงที่นักลงทุนต่างชาติจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลง หนุน Momentum Fund Flow ไหลเข้าหุ้นไทยต่อเนื่อง หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 9 วันทำการ กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ยังเห็นแรงหนุนเฉพาะตัวจากการฟื้นตัว เศรษฐกิจที่ชัดขึ้น ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 5 เดือน และ ททท. คาดนักท่องเที่ยวปีหน้ามีโอกาสเพิ่มไปได้ถึง 30 ล้านคน
ส่วน SET Index วันนี้มีโอกาสย่อตัวช่วงสั้นๆ ตามตลาดหุ้นโลก กรอบ 1613 - 1631 จุด หุ้น Top Pick เลือกหุ้นมีแรงหนุนเฉพาะตัว TU, CPN และ PLANB
FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด ขณะที่สัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยใน อนาคตดูชะลอลง ลุ้นหุ้นดีดระยะถัดไป
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนอย่างหนักในช่วง Jerome Powell แถลงผลการประชุม FED โดย Dow Jones พลิกลบจากจุดสูงสุดของวัน 800 จุด ก่อนที่จะปิดติดลบ 505 จุด(- 1.55%) ขณะที่ดัชนี S&P และ Nasdaq ปรับตัวลง -2.5% และ -3.4% ตามลำดับ ซึ่ง Sentiment ลบดังกล่าวกดดันตลาดหุ้นโซนยุโรปด้วย อาทิ FTSE100, DAX, EURO Stoxx 50 และ CAC40
โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีมติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ตามตลาดคาดคืนที่ผ่านมา (ซึ่ง ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ ม.ค.2551) ขณะที่รายละเอียดเพิ่มเติม คือ นาย Powell ปฏิเสธแนวคิดที่ Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ แต่ต้องใช้ความอดทนและ รัดกุมในการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อที่จะทำให้เงินเฟ้อลงไปอยู่ในระดับ 2% จึงทำให้นักลงทุนคาด FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยชะลอลงในอนาคต สังเกตได้จาก FED Watch Tool ที่บ่งชี้ว่าการ ประชุมรอบ ธ.ค.65 ตลาดมองว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% เท่านั้น ด้วยความน่าจะ เป็นระดับ 56.8% ซึ่งก่อนการประชุม FED คืนที่ผ่านมา ตลาดคาด FED จะขึ้นดอกเบี้ย รอบ ธ.ค.65 อีก 0.75% ด้วยความน่าจะเป็นระดับ 50.3%
โดยนักลงทุนมองว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเบาลง เนื่องจาก CPI สหรัฐฯ มี แนวโน้มเป็นขาลง หลังผ่านจุดสูงสุดในเดือน มิ.ย.65 ที่ CPI อยู่ระดับ +9.1%YoY โดยสิ่ง ที่นักลงทุนติดตาม คือ CPI สหรัฐฯ เดือน พ.ย.+65 ที่ตลาดคาด +8.1%YoY (ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ +8.2%YoY)
ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยฯที่ทำการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯใน อนาคต โดยนำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุดที่ระดับ 0.40%MoM มาคิดเป็น สมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไป ทยอยลดลง ต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 8.2%YoY เดือน ก.ย.65 มาอยู่ที่บริเวณ 4.1%YoY ในเดือน มิ.ย. 66 ซึ่ง ณ ตอนนั้นอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์จาก FED Watch Tool อยู่ที่ 5.0% ซึ่งทำให้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) กลับมาเป็นบวกได้
สรุป FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด ซึ่งอนาคต FED ยังต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัด เงินเฟ้อต่อไป แต่จะพิจารณาถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย บวกกับ CPI สหรัฐฯเห็น แนวโน้มลดลงเรื่อยๆตั้งแต่เดือน ก.ค.65 โดยฝ่ายวิจัยฯคาด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) กลับมาเป็นบวกได้ในเดือน มิ.ย.66 ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่า FED จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเหมือนอดีต ด้วยภาวะดังกล่าว ถือเป็นโอกาสสะสม หุ้น เพื่อคาดหวังกำไรระยะกลาง-ยาว โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหว SET Index ไว้ที่ระดับ 1613 -1631 จุด
เศรษฐกิจยุโรปปัญหาเรื้อรัง หวังตลาดหุ้นไทยเป็นทางเลือก
ท่ามกลางความกังวลเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยล่าสุดเอสแอนด์พี โกลบอล ประกาศตัวเลขดัชนีPMI ภาคการผลิตของยุโรป ในเดือนต.ค. อยูที่ระดับ 46.4 จุด (ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 46.6 จุด) ปรับตัวลงจากเดือน ก.ย. ที่ระดับ 48.4 จุด และยังหดตัว ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 หลังคำสั่งซื้อใหม่และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง
ขณะที่เงินเฟ้อยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้มต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 65 จาก 5.1% YoY ในเดือนม.ค. และล่าสุดอยู่ที่ระดับ 10.7% YoYในเดือนต.ค. ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อยุโรป ในอนาคต โดยนำการเติบโต CPI เฉลี่ยรายเดือนในสภาวการณ์ปกติที่ระดับ 0.7%MoM นำมาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะเห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไป ยังปรับตัวสูงขึ้นไปจนถึงต้นปี 66 ซึ่งคาดว่าเงินเฟ้อจะทะยานสู่จุดสูงสุดในเดือน ม.ค. ที่ ระดับ 11.7%YoY ก่อนที่จะทยอยลดลงมา
เงินเฟ้อยุโรปที่ทรงตัวในระดับสูง ทำให้ ECB ยังคงมีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 65 คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ +0.75% (ปลายปี อยู่ที่ 2.75%) ขณะที่ฝั่งสหรัฐและไทยซึ่งมีแนวโน้มว่าเงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุด มาแล้ว และเริ่มปรับลดลงมาเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารกลางเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะชะลอการ เพิ่มดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนข้างหน้า อาทิ Fed มีท่าทีปรับขึ้นดอกเบี้ย +0.50% ในการ ประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ (ก่อนหน้านี้คาดว่าจะ +0.75%)
อย่างไรก็ตามในระยะถัดไปหาก ECB เร่งขึ้นดอกเบี้ยที่ร้อนแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ น่าจะเป็น อานิสงค์บวกต่อการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินยูโร (น้ำหนัก 57.6% ในตะกร้าเงินดอลลาห์) และ ทำให้ Dollar Index ปรับตัวอ่อนค่าลงมาในที่สุด ขณะที่ค่าเงินบาทคาดว่าจะกลับมาแข็ง ค่าเช่นเดียวกัน จากฐานเศรษฐกิจที่ยังดูแข็งแกร่งและยังขยายตัวได้ ตามการปรับตัวดีขึ้น ของภาคการท่องเที่ยว และอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้ Fund Flow ไหล เข้ามาในตลาดหุ้นไทยได้ต่อเนื่อง
สรุป ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจยุโรปจะเข้าสู่ภาวะ Recession ยังเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ทั้งภาค การผลิตที่หดตัว รวมถึงเงินเฟ้อที่คาดว่ายังไม่ผ่านจุดพีค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ ECB จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป และน่าจะทำให้ค่าเงินยูโรกลับมา แข็งค่ามากขึ้น ซึ่งคาดว่าเป็นอานิสงค์เชิงบวกในทางอ้อมที่ทำให้เงินบาทไทยแข็งค่า และ Fund Flow จะไหลเข้าตลาดหุ้นบ้านเรามากขึ้น
ปริมาณผู้โดยสารเข้าประเทศที่มากขึ้น ขณะที่ ททท ปรับแผนดึง มาเลย์- อินเดีย เที่ยวไทย คาดปี 66 ยอด นทท.ทะลุ 30 ล้านคน ชอบ AOT (BK:AOT) ที่สุด
ปริมาณผู้โดยสารระหว่างประเทศ (6 สนามบิน : ขาเข้า + ขาออก) ต.ค. 65 อยู่ที่ราว 3 ล้านคน ขยายตัว 21% MoM (+2,585.5% YoY) คิดเป็น 44% ของต.ค. 62 โดย ฝ่ายวิจัย คาดจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ มีโมเมนตัมเร่งตัวต่อเนื่องถึง มี.ค. 66 หนุนจาก High Season ของท่องเที่ยวไทย รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการ COVID-19 ทั่วโลก นำไปสู่การ เพิ่มจำนวนเที่ยวบินในลำดับถัดไป
ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ได้ปรับแผนการทำตลาด นักท่องเที่ยวต่างประเทศใหม่ หลังรัฐบาลจีนยังไม่ชัดเจนกรณีการเปิดให้ชาวจีนออก ท่องเที่ยวนอกประเทศได้ โดยจะเร่งดึงนักท่องเที่ยวจากตลาดอื่น โดยเฉพาะในเอเชียที่ฟื้น ตัวได้เร็วเข้ามาเที่ยวไทยให้มากขึ้น ทั้งมาเลเซีย (เดินทางเข้ามาในไทยสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในปีนี้) อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม โดยคาดว่าทั้งปี 2565 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทาง มาเที่ยวไทยราว 10 ล้านคน
สำหรับปี 2566 ททท.ได้ตั้งเป้าหมายจำนวนักท่องเที่ยวเข้าไทยไว้ที่ 18 ล้านคน บนเงื่อนไข ที่มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยบ้างในช่วง 2H66สร้างรายได้รวม 9.7 แสนล้าน บาท แต่ถ้านักท่องเที่ยวจีนกลับมา 100% ตั้งแต่ 1H66 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 30 ล้าน คน สร้างรายได้รวม 1.5 ล้านล้านบาท หนุนตลาดหุ้นไทยน่าเข้าสะสม
ส่วน SET Index วันนี้มีโอกาสย่อตัวช่วงสั้นๆ ตามตลาดหุ้นโลก กรอบ 1613 - 1631 จุด หุ้น Top Pick เลือกหุ้นมีแรงหนุนเฉพาะตัว TU, CPN และ PLANB
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities