ปัจจัยแวดล้อมในต่างประเทศน้ำหนักไปทางลบ โดย EU รายงาน GDP Growth งวด 3Q65 ต่ำเพียง 0.2% QoQ และ 2.1% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 65 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.7% YoYสะท้อนภาพความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าสู่ Recession ในอนาคต ขณะที่จีนรายงานตัวเลจ PMI เดือน ต.ค.65 ต่ำกว่า 50% มาอยู่ ที่ 49.2% ถือเป็นสัญญาณเชิงลบ ขณะที่ นโยบาย Zero Covid ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว สภาวะดังกล่าวถือเป็นแรง กดดันต่อตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาปัจจัยภายในประเทศยังมี สัญญาณบวกของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของตัวเลขดุลบัญชี เดินสะพัดเดือน ก.ย.65 ที่กลับมาเป็นบวก ดีต่อทิศทางค่าเงินบาท และ Fund Flow ไหลเข้า อย่างไรก็ตามมีปัจจัยลบต่อราคาหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ในเรื่อง LTV
การที่ยังไม่สามารถผ่าน 1613 จุดขึ้นไปได้ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ไม่มีปัจจัยที่มีน้ำหนักเชิงบวกมากพอมาขับเคลื่อน ทำให้คาดว่า SET Index ยัง น่าจะอยู่ในกรอบ 1597 – 1613 จุด หุ้น Top Pick เลือก BBL, NER และ SCGP
เศรษฐกิจยุโรป-จีน ยังน่าเป็นห่วง
ภาพรวมของเศรษฐกิจยุโรปยังเห็นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น ซึ่ง สาเหตุหลักประการหนึ่ง มาจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหารและพลังงานภายในประเทศ ซึ่ง สืบเนื่องจากการคว่ำบาตรสินค้าจากรัสเซีย โดยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ต.ค.65 และ GDP 3Q65 ของยุโรป ออกมาแย่กว่าคาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. GDP ไตรมาส 3 ของยุโรป ออกมา +0.2%QoQ ซึ่งใกล้เคียงตลาดคาดที่ระดับ +0.1%QoQ แต่ลดลงจาก 2 ไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ระดับ +0.6%QoQ และ +0.8%QoQ ตามลำดับ
2. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10.7%YoYในเดือน ต.ค. 65 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ยูโรสแตทเริ่มรวบรวมข้อมูล โดยสูงกว่าทั้งตลาดคาด และเดือนก่อนกน้าที่อยู่ระดับ +10.3%YoY และ +10.0%YoY ตามลำดับ
ขณะที่ในฝั่งของประเทศจีน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค.65 ปรับตัวลงแตะระดับ 49.2 จุด ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด และ เดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.0 จุด และ 50.1 จุด ตามลำดับ ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ต.ค.65 อยู่ที่ระดับ 48.7 จุด ซึ่ง ต่ำกว่าตลาดคาด และ เดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.2 จุด และ 50.6 จุด ตามลำดับเช่นกัน ซึ่ง สาเหตุหลักมาจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศ (Zero-Covid) รวมทั้งการส่งออกที่ชะลอตัวลง เนื่องจากอุปสงค์สินค้าจีนในตลาดโลกที่อ่อนแรงลงตาม เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนี PMI จีนภาคการผลิต-ภาคบริการหดตัวในเดือนต.ค.65
สรุป ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศขนาดใหญ่ที่ออกมาแย่กว่าคาด ทั้งในส่วนของยุโรป และ จีน คาดเป็นสัญญาณชี้นำถึงความเสี่ยง Recession ในอนาคต ซึ่งเป็นแรงกดดันตลาด หุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่อาจเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง หวังเป็นปัจจัยหนุน FLOW ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย
ท่ามกลางเศรษฐกิจหลายประเทศ (อาทิ ยุโรป จีน) อยู่ในภาวะชะลอตัว แต่เศรษฐกิจไทย อยู่ในช่วงของการฟื้นตัวค่อนข้างชัดเจน หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจเดือน ก.ย. 65 สะท้อน ออกมาในเชิงบวก อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) +3.36%YoY ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานตัวเลขบัญชีเดินสะพัดกลับมา เกินดุลได้อีกครั้งอยู่ที่ +0.6 พันล้านเหรียญฯ จากดุลการค้าเกินดุล อยู่ที่ +1.9 พันล้าน เหรียญฯ และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลลดลง อยู่ที่ -1.2 พันล้านเหรียญฯ ตามค่าระวางสินค้าที่ปรับตัวลดลง
ในมุมมองของฝ่ายวิจัยประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัว และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง มี 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1. ดุลการค้าขาดดุลลดลง หลังมูลค่าการส่งออกดีขึ้นตามการเปิดประเทศของ ประเทศต่างๆ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง ในช่วง 2 -3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลง ผลักดัน ดุลการค้าให้สูงขึ้นในอนาคต
2. ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลลดลง ทั้งจากค่าระวางสินค้าที่ลดลง บวก กับความหวังภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ขณะที่ ททท. คาดว่าจะมี นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่ 10 ล้านคนในปี 65 และ 20 ล้านคนในปี 66 หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพื้นที่ จึงเป็นแรงหนุนให้รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง
สรุป เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ต่อเนื่อง ฝ่ายวิจัยประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปี 2565 และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมี พัฒนาการเชิงบวก คาดค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทย และเป็นตัวพยุง SET Index ให้แกว่งตัว ในทิศขาขึ้น โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวระดับ 1597-1613 จุด
กลับมาเข้มงวดเรื่องLTV + อาจเห็นเกณฑ์ที่เข้มงวดกรณีต่างชาติซื้อที่ดิน
วันนี้มี 2 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มอสังหาฯ คือ
1) ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ยืนยันจะไม่ต่อมาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์กำกับดูแล สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2565 เนื่องจากเห็นว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยเริ่มฟื้นตัวกลับมาเท่ากับในช่วง ก่อนเกิดโควิดแล้ว
2) การที่ครม. อนุมัติหลักการเปิดทางให้คนต่างชาติ 4 กลุ่ม ที่ลงทุนในไทยเกิน 40 ล้าน บาท ไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีสิทธิ์ซื้อที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ สำหรับอยู่อาศัย ยังเป็นเพียงกฎกระทรวง และรัฐบาลอยู่ระหว่างให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา และปรับปรุงรายละเอียด กฎหมาย และนำมาเสนอ ครม. อีกครั้ง โดยจะรับข้อเสนอมาพิจารณาเพิ่มเติมอีกครั้ง เช่น เสนอให้เพิ่มลงทุนในไทยมากขึ้น, คงระยะเวลาในการลงทุนในไทยเดิม 5 ปี (จากที่ครม. เห็นชอบเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 3 ปี), การเปลี่ยนมือที่มีข้อเสนอไม่ให้ชาวต่างชาติถือครองที่ดิน แล้วขายต่อเพื่อเปลี่ยนมือ เป็นต้น
ถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อกลุ่มอสังหาฯ โดยประเด็นแรก คือ หากกลับมาใช้มาตรการ LTV เหมือนเดิม กล่าวคือ
1) บ้านหลังแรก (สัญญาที่ 1) ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท คงกู้ได้เต็มมูลค่า 100% และกู้ เพิ่มอีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน สำหรับการซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมแซม หรือต่อเติมบ้าน ขณะที่หากราคาเกินกว่า 10 ล้านบาท กำหนด LTV 90% (วางดาวน์ 10%)
2) บ้านหลังที่ 2 (สัญญาที่ 2) สำหรับบ้านต่ำกว่า 10 ล้านบาท หากผ่อนสัญญาที่ 1 มาแล้ว 2 ปีขึ้นไป กำหนดวางเงินดาวน์ 10% แต่หากผ่อนสัญญาที่ 1 ไม่ถึง 2 ปี ต้องวางเงินดาวน์ 20% ส่วนราคาบ้านเกินกว่า 10 ล้านบาท กำหนดเกณฑ์ LTV ไว้ที่ 20%
3) บ้านหลังที่ 3 ขึ้นไป (สัญญาที่ 3 ขึ้นไป) กำหนดเกณฑ์ LTV ไว้ 70% (ต้องวางดาวน์ 30%)
คาดทำให้การฟื้นตัวของอสังหาฯ เกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากภาพอสังหาฯ ขณะที่กำลัง อยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยปกติ ดีมานด์ของกลุ่มอสังหาฯ มาจาก 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่ม Real Demand ผู้ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง 2) กลุ่มเพื่อการลงทุน (Investor) และ 3) กลุ่ม นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา แล้วมี LTV ทำให้กลุ่มลงทุนและต่างชาติ หายไป เหลือแต่กลุ่ม Real Demand ที่ช่วยพยุงตลาดฯ และทำให้กลุ่มสินค้าแนวราบมีดี มานด์เพิ่มมาก แต่ต่อมาเมื่อ ธปท. ผ่อนคลาย LTV ชั่วคราว ทำให้กลุ่ม Investor สำหรับ บ้านหลังที่ 2 ซึ่งมองเป็นพวกคอนโดฯ เริ่มกลับมาได้บางส่วน แต่กลุ่มต่างชาติยังไม่มา ขณะที่เมื่อไทยกำลังเปิดประเทศ ทำให้โอกาสของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมา ดังนั้น หากยกเลิกผ่อนคลาย LTV ทำให้ดีมานด์ที่จะมาทุกกลุ่มยังมาได้ไม่ครบที่จะขับเคลื่อนการ เติบโตของอสังหาฯ ให้กลับมาเหมือนก่อนโควิด-19 และก่อนใช้ LTV โดยมุมมองฝ่ายวิจัย จึงมองว่าการยกเลิกผ่อนคลาย LTV ยังไม่ใช่จังหวะที่ควรนำมาทำในช่วงเวลานี้ เนื่องจาก ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ยังไม่เกิดภาวะที่มีการเก็งกำไรมากมาย และดีมานด์ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มสินค้าแนวราบที่มาจากกลุ่ม Real Demand
นอกจากนี้ประเด็นเรื่องการให้สิทธิต่างชาติซื้อที่ดินตามเงื่อนไขที่กำหนด ยังเป็นเรื่องที่มี ข้อถกเถียงกัน และยังไม่ได้ประกาศใช้ โดยหากภาครัฐมีการนำข้อเสนอข้างต้นมาพิจารณา เพิ่มเติม ก็อาจทำให้เงื่อนไขที่กำหนดสิทธิให้ต่างชาติซื้อที่ดินเพิ่มเพดานความเข้มงวดมาก ขึ้น ส่งผลให้ประโยชน์ที่ภาคอสังหาฯ จะได้รับจากมาตรการดังกล่าวมีโอกาสลดน้อยลง
โดยสรุปประเด็นดังกล่าวย่อมสร้างแรงกดดันเชิงจิตวิทยาต่อราคาหุ้นอสังหาฯ แต่มอง ว่าหากราคาย่อตัวลงมา ถือเป็นจังหวะการสะสมหุ้น เนื่องจากโดยปกติผลการ ดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยงวด 2H65 จะดีกว่า 1H65 โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ที่เป็นจุดสูงสุดของปี ตามแผนเปิดโครงการแนวราบใหม่และส่งมอบคอนโดฯ ใหม่ที่ ส่วนใหญ่เสร็จครึ่งปีหลัง นอกจากนี้การผ่อนคลาย LTV ที่จะหมดสิ้นปี อาจกระตุ้นให้ เกิดการเร่งโอนฯ 4Q65 มากขึ้น ขณะที่ด้าน Valuation หุ้นกลุ่มนี้ยังน่าสนใจ ด้วย ระดับ PER ไม่สูง และ Div Yield เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี คงแนะนำลงทุนเท่าตลาด เลือกหุ้นเด่นเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งทั้งโครงสร้างธุรกิจและ การเงิน มีสินค้าทุกประเภทสามารถรองรับกับดีมานด์ได้ดี เช่น LH (FV@11.50), SC (FV@4.88), AP (FV@B14.50) และ SPALI (FV@B28.60)
FUND FLOW ไหลเข้าหุ้นไทยต่อเนื่อง คาดเดือน 11 SET ยังดูดี
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยอีก 4.2 พันล้านบาท และ TFEX อีก 3,797 สัญญา หนุน Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง 7 วันทำ การ (20 – 31ต.ค. 65) กว่า 1.67 หมื่นล้านบาท บวกกับต่างชาติซื้อสุทธิ SET50 Futures ต่อเนื่อง 9 วันทำการ (18 – 28 ต.ค. 65) กว่า 1.59 แสนสัญญา หนุนหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัว ขึ้นโดดเด่น สะท้อนจาก SET50 Index +1.84% มากกว่า SET +1.01% (ในช่วง 20 – 31 ต.ค. 65)
และจากสถิติในปีนี้ วันไหนที่ต่างชาติซื้อหุ้นพร้อม TFEX ช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.4% ต่อวัน และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 80% บวกกับดุลบัญชี เดินสะพัดเดือน ก.ย. พลิกกลับมาเป็นบวก 624 พันล้านเหรียญ (ครั่งแรกในรอบ 5 เดือน) ถือเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนเสถียรภาพทางการเงิน และ Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าต่อเนื่อง
ส่วนหุ้นประจำเดือน พ.ย. แนะนำสะสม หุ้นธีม Domestic Consumption หลีกเลี่ยง ความผันผวนจากปัจจัยภายนอก บวกกับผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในงวด 4Q65 ต่อเนื่องปี 66 อย่าง CBG, CRC, CK, BBL, PLANB, GULF, SCGP
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities