พัฒนาการของข่าวที่เห็นยังเป็นไปตามภาพใหญ่ที่ฝ่ายวิจัยให้ไว้ กล่าวคือเศรษฐกิจ ไทยอยู่ในโหมด Recovery สวนทางกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดย ข้อมูลล่าสุดสะท้อนภาพถึงโอกาสสูงมากที่ยุโรป กำลังจะเข้าไปสู่ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ทั้งนี้แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังสูง ขณะที่ธนาคารกลางก็ต้องปรับขึ้น ดอกเบี้ยแรง ตามด้วยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ล่าสุด PMI ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ ค่าเงิน USD กลับมาอ่อนค่าลง ในอีกด้านหนึ่งจีน รายงานตัวเลข GDP Growth งวด 3Q65 อยู่ที่ 3.9% แม้จะดีกว่าคาด แต่ยังสะท้อนภาพความอ่อนแรง อีกทั้งยัง มีแรงกดดันจากการคงมาตรการ Zero Covid ซึ่งมีการ Lockdown ในบางพื้นที่ ต่อเนื่อง สำหรับบ้านเรา สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นตามลำดับ ไม่ว่า จะเป็นภาคการท่องเที่ยวและการลงทุน ขณะที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดุห้นไทยมีโอกาสที่จะได้รับแรงหนุนจาก Fund Flow ทำให้มีโอกาสที่ SET Index จะผ่านระดับ 1600 จุดได้ในสัปดาห์นี้ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1585 จุด สำหรับ หุ้น Top Pick วันนี้ เลือก CRC, SCGP และ TU
ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ยังกดดันตลาดหุ้นเป็นระยะๆ
ช่วงที่ผ่านเศรษฐกิจหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศขนาดใหญ่ อาทิ จีน, ยุโรป สหรัฐ มี ปัจจัยลบเข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจก็ปรากฎสัญญานการ ชะลอตัวชัดเจนขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ
จีน – เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบจากมาตรการ Zero-Covid ทำให้กิจกรรมทาง เศรษฐกิจของจีนชะลอตัว รวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ทรุดตัวลงยาวนานที่สุดเป็น ประวัติการณ์ จนทำให้เศรษฐกิจจีนอยู่ในภาวะที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับช่วงก่อน Covid-19 ระบาด โดยสะท้อนได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา ดังนี้
• GDP ของจีน 3Q65 ที่ประกาศออกมาล่าสุดจะขยายตัว 3.9%QoQ แม้ว่าจะสูง กว่าคาดที่ 3.5%QoQ ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปี 2565 ที่คาดว่าจะเติบโต 5.5% ค่อนข้างมาก (GDP 1Q65 ขยายตัว +1.6% QoQ, GDP 2Q65 หดตัว -2.7% QoQ) นอกจากนี้ประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีน
• ส่งออกในเดือน ก.ย. ชะลอเหลือ 5.7% เนื่องจาก Demand ตลาดต่างประเทศซบเซา
• ยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.ลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่2.5%YoY (ต่ำกว่าที่คาด 3.3%)
• อัตราการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ต.ค. อยู่ที่ 5.5%
ยุโรป –พลังงานราคาพุ่งสูง โดยยังไม่สามารถแก้ไขปัญาหาได้โดยการประชุมสุดยอดผู้นำ EU รอบ 2 เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา หวังตั้งเพดานราคาพลังงาน เพื่อปกป้องชาวยุโรป เผชิญกับค่าพลังงานพุ่งสูง ไม่ให้เหมือนในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปพุ่งสูง กว่า 300% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีประชาชนในหลายพื้นที่ออกมาประท้วง จนกระทบค่าครองชีพ และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เงินเฟ้อสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการหารือถึงวิธีการกำหนดเพดานราคาพลังงาน ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แม้ จะประชุมกันนานถึง 11 ชม. อย่างไรก็ตามในวันนี้ (25 ต.ค.) จะมีการประชุมในระดับ รัฐมนตรีพลังงาน EU อีกครั้ง
สหรัฐ –เริ่มส่งสัญญานชะลอตัว โดยล่าสุด PMI ในเดือน ต.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 49.9 จุด (ต่ำ กว่าคาดที่ 51.0 จุด) สะท้อนถึงภาพรวมของภาคการผลิตหดตัว ถูกกดดันจากการหดตัว ของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน
สรุป เศรษฐกิจหลายประเทศยังมีปัจจัยลบยังเข้ามาต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวล แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวและกดดันสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกในบางช่วงเวลา
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มฟื้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังแข็งแกร่งจากหลายปัจจัย
จากปัจจัยลบระยะสั้นในหัวข้อก่อนหน้านี้ คาดทำให้ตลาดแกว่งผันผวนช่วงสั้น อย่างไรก็ ตามประเด็น Recession และ การเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย กดดันตลาดหุ้นมาสักระยะ หนึ่งแล้ว ซึ่งในช่วงถัดไปเริ่มเห็นสัญญาณบวกจาก 3 ปัจจัย ดังนี้
1. Dollar Index ปรับตัวอ่อนค่า หลัง BOJ ประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบ ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 (โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรอายุระหว่าง 10-25 ปี ในวงเงิน 1 แสนล้านเยน หรือประมาณ 665.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ค่าเงินเยนถือ เป็น ส่วนประกอบสำคัญลำดับที่ 2 ของค่าเงินดอลลาร์ที่มีสัดส่วนในตะกร้าค่าเงินถึง 14% และหากพิจารณาเชิงเทคนิคของ Dollar Index จะเห็นภาพการไม่ทำ จุดสูงสุดใหม่ของดัชนี บวกกับ MACD และ RSI อยู่ในขาลง เป็นสัญญาณของการ อ่อนค่าในอนาคต
2. การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยชะลอตัวลง หลังนางแมรี ดาลี ประธาน เฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ FED จะเริ่มหารือกันเกี่ยวกับ การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้เมื่อพิจารณาจาก Fed Watch Tool โอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายปลายปีนี้ที่ 0.75% ลดลงมาจาก 76% เหลือเพียง 56% ขณะที่ปลายปีหน้า ผลการสำรวจ ส่วนใหญ่ราว 30% ให้น้ำหนัก Fed จะขึ้นดอกเบี้ย ลดลงมาที่ 4.75% (ก่อนหน้า นี้คาดว่าจะอยู่ที่ 5%)
3. GDP ไตรมาส 3 สหรัฐฯ ประกาศวันพฤหัสบดีนี้ คาดพลิกกลับมาเป็นบวก โดย Bloomberg คาดว่า GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ อยู่ที่ +2.3%QoQ ซึ่งพลิก กลับมาเป็นบวกหลัง GDP ไตรมาส 1 และ 2 ของสหรัฐฯติดลบ -1.6% และ - 0.6% ตามลำดับ
ขณะที่ประเทศไทย เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจาก 3 เหตุผลหลักดังนี้
1. การลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment-FDI) ในภูมิภาคอาเซียน และไทยเพิ่มขึ้นชัดเจน หลังคลายล็อกดาวน์ (7 เดือนแรกของปี 65 มีต่างชาติเข้า มาลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 28,925 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 64)
2. นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ คนละครึ่งเฟส 6, เราเที่ยวด้วยกัน ที่ จะเสนอต่อ ครม. ภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน
3. สถานการณ์น้ำท่วมมีแนวโน้มดีขึ้น คาดการท่องเที่ยวจะกลับมาครึกครื้น โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่า ปริมาณที่นั่งโดยสารเครื่องบินที่ เดินทางจากต่างประเทศมายังประเทศไทยในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ มีจำนวน 573,538 ที่นั่ง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 74.2% เมื่อเทียบกับช่วงตารางบินฤดูร้อน ซึ่งมี จำนวน 329,288 ที่นั่ง/สัปดาห์
สรุป ระยะถัดไปตลาดหุ้นสหรัฐฯมีโอกาสฟื้นตัวต่อ หลังชินยาเรื่องเลวร้าย และทยอยมี ปัจจัยหนุนเข้ามา คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้นไทย ขณะที่ตัวเศรษฐกิจไทย ยังคาดหวังจากการท่องเที่ยว และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นหลัก คาด เป็นตัวพยุงให้ค่าเงินบาทชะลอการอ่อนค่า และหนุนตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อได้ โดย วันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1585-1600 จุด
ค้นหาหุ้น DEEP VALUE น่าสะสมเพื่อหวังผลในระยะกลางยาว
ในช่วงที่ผ่านมา SET Index ถูกปัจจัยภายนอกกดดันจนล่าสุด PBV ลดลงมาเหลือ 1.59 เท่า (ช่วงปลายปีที่แล้ว PBV 1.79 เท่า) ถือว่าภาพรวม Valuation ตลาดหุ้นไทยยังมีความ น่าสนใจ ขณะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วง Recovery แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ ยังมีความกังวล Recession สูง ลักษณะดังกล่าวน่าจะพอมีหุ้น Deep Value ที่น่าสะสมเพื่อเป็นเกราะป้องกันความผันผวนจากปัจจัยภายนอก และหวังผลตอบแทนในระยะกลาง ถึงยาวได้
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงเริ่มทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการทดสอบหาผลตอบแทนหุ้นช่วง ปี 2021 ในหุ้น Deep Value ที่มี PBV ช่วงปลายปี 2020 ต่ำ 1 และมี ROE สูงชึ้นและ เป็นบวกในปี 2021 พบว่า มีหุ้นที่ผ่าเงื่อนไขทั้งสิ้น 119 บริษัท และภาพรวมให้ ผลตอบแทนเฉลี่ยในปี 2021 (Median) สูงถึง 57% ซึ่งสูงกว่า SET Index ที่ให้ ผลตอบแทนเฉลี่ย 14.4% แสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา หุ้น Deep Value มีโอกาสให้ ผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางถึงยาว และยังมีโอกาสชนะตลาดได้
จากผลลัพธ์ดังกล่าว บวกกับปัจจุบัน SET Index ที่ย่อตัวลงมาจนมี PBV ที่เกือบจะอยู่ใน ระดับต่ำสุดของปี ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้น Deep Value ณ ปัจจุบัน โดยผ่าน เงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. เป็นหุ้นที่มี PBV22F ย่อตัวลง และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence กับ ROE23F ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
2. ราคาย่อตัวจน PBV22F ต่ำหรือใกล้เคียง 1 (PBV
3. แนวโน้ม ROE23F เป็นบวก และเพิ่มสูงขึ้น
4. ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำ “ซื้อ” มี Upside
ได้ผลลัพธ์ดังนี้
จากรายชื่อหุ้นดังกล่าว ถือเป็นกลุ่มหุ้นที่น่าสะสมหวังผลในระยะกลางยาว โดยคาดว่า จะมี Safety Margin ในเชิงฟื้นฐาน ช่วยป้องกันความผันผวนของตลาดได้ดี พร้อม กับแนวโน้มการเติบต่อต่อเนื่องในปีหน้า ช่วยผลักดันให้ราคามีโอกาสขยับขึ้นได้ใน ระยะถัดไป
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities