🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นไทย 

เผยแพร่ 03/10/2565 11:16
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

ปัจจัยภายนอกดูร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งการปฎิบัติการ ทางทหารระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ร้อนแรงขึ้น ทำให้การคว่ำบาตรระหว่างกันยัง ดำเนินต่อไป เพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ซึ่งล่าสุดรายงานเงิน เฟ้อเดือน ก.ย.65 แตะระดับ 10% นำมาสู่แนวทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุก อีก ภูมิภาคหนึ่งที่ร้อนแรงเช่นกันคือ ในคาบสมุทรเกาหลีที่มีการซ้อมรบ และการ ทดสอบขีปนาวุธ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ดูร้อนแรงในต่างประเทศคือความกังวลเรื่อง เศรษฐกิจถดถอยในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามในบ้านเราสถานการณ์ ภาพรวมผ่อนคลายหลังประกาศ Covid-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง การเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการกลับมาดำเนินธุรกิจ-ชีวิตปกติ ส่วนการเมืองหลังศาลฯ วินิจฉัยให้ นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ต่อ ภาพดังกล่าวถือว่าตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงลดต่ำลง

คาดว่า SET Index ผันผวนอยู่ในกรอบ 1580 – 1600 จุด พอร์ตจำลองได้Cut Loss หุ้น BLA น้ำหนัก 10% ให้นำเงินเข้าซื้อ CPN น้ำหนัก 10% ส่วนเงินสด สำรองคงไว้ที่ 5% หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, CPN และ HMPRO

เงินเฟ้อประเทศพัฒาแล้วน่าเป็นห่วง หลังหลายปัจจัยเสี่ยงเข้ามาต่อเนื่อง

สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีทวีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น หลังจากเกาหลีเหนือได้ยิง ขีปนาวุธพิสัยใกล้อีก 2 ลูก ตกทะเล นอกชายฝั่งตะวันออก ซึ่งนับเป็นการยิงขีปนาวุธครั้งที่ 4 ในรอบ 1 สัปดาห์ของเกาหลีเหนือ เพื่อตอบโต้การซ้อมรบไตรภาคีครั้งแรกในรอบ 5 ปี ของกองทัพเรือเกาหลีใต้, สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

ขณะที่การทำสงครามรัฐเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น ที่ล่าสุดยูเครน ประกาศสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโตแบบ fast track เพื่อเร่งการได้เข้าเป็นสมาชิก นาโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการตอบโต้รัสเซียขั้นเด็ดขาด เนื่องจากชนวนหลักของ สงครามมาจากการที่รัสเซียไม่ต้องการให้ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต ในการเคลื่อนไหว ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีปูติน (ผู้นำรัสเซีย) ประกาศรวมดินแดน 4 แคว้น ของยูเครน ได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย ผนวกรวมเข้ากับรัสเซีย อย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 ก.ย. 65)

และล่าสุดกลุ่มโอเปกพลัสได้กำหนดจัดประชุมประชุม 5 ต.ค.65 เพื่อหารือแนวโน้มการ ปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลถึง 1 ล้านบาร์เรล/วันเพื่อพยุงตลาด น้ำมัน ขณะที่ประชุมก่อนหน้า (6 ก.ย. 65) มีมติให้ลดกำลังการผลิตเพียง 100,000 บาร์เรล/วันสำหรับเดือนต.ค. ทั้งนี้การลดกำลังการผลิตดังกล่าว จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวสูงขึ้นได้

จากประเด็นความเสี่ยงที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งยุโรป ที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยตัวเลขดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) ทำจุดสูงสุดในประวัติการณ์ในเดือน ก.ย. ที่ระดับ 10%YoY ซึ่งสูงกว่า เดือนก่อนหน้าที่ระดับ 9.1% และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 9.7% (สูงกว่าคาดติดต่อกันเป็น เดือนที่ 5) โดยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเงินเฟ้อเดือนก.ย. ยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหาร อย่างไรก็ตาม การที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นแรงกดดันที่ทำให้ตลาดหุ้นเกิดความ ผันผวนตามมาได้

สรุป ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาตร์และการคาดการณ์ลดกำลังการผลิตน้ำมันของ OPEC+ หนุนราคาน้ำมันดิบรีบาวน์ช่วงสั้นก่อนการประชุม Sentiment บวกต่อหุ้น PTT (BK:PTT) PTTEP TOP อีกมุมส่งผลให้ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้น และจะเป็นแรง กดดันที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้นตามมาได้

ECB คาดเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อไป กดดันเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มเติม ขณะที่ กรรมการ FED เริ่มเสียงแตก หนุนตลาดหุ้นดีดวันศุกร์ที่ผ่านมา

หลังจากที่เกิดความคืบหน้าของสัญญาณลบต่างๆ อาทิ สงครามยูเครน-รัสเซีย อัตราเงิน เฟ้อฝั่งยุโรปที่เข้าสู่ Double Digit ทำให้ล่าสุดคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ใน Bloomberg มองว่าอัตราดอกเบี้ยของ ECB ณ การประชุมรอบต่างๆในอนาคตขยับขึ้นในปีนี้ โดยรอบ ส.ค.65 และ ธ.ค.65 ปรับขึ้นจาก 1.36% สู่ 1.42% และ 1.99% สู่ 2.01% ตามลำดับ

ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโซนยุโรปมีความเสี่ยงที่ GDP ไตรมาส 3 จะ ติดลบ แล้วเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ในอนาคต(แม้ GDP ไตรมาส 1 และ 2 จะ อยู่ที่ +0.7%QoQ และ +0.8%QoQ ตามลำดับ)

ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯเริ่มมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับการประชุมครั้ง หน้า โดย ล่าสุดกรรมการ FED ที่เป็นหัวหน้าสาขาคลีฟแลนด์ ได้ออกมาให้ความเห็นว่า FED ควรจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง เพื่อเอาชนะการต่อสู้กับเงินเฟ้อให้ได้ แม้ว่า จะทำให้เกิด Recession ก็ตาม ขณะที่ทางด้านรองประธาน FED (Lael Brainard) เสนอ แนวทางการขึ้นดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อย เนื่องจากกังวลว่าจะส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจ

ความคิดเห็นที่แตกต่างนี้ ทำให้ความน่าจะเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งหน้าลดลง เมื่อเทียบกับ ณ วันประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยพิจารณาจาก FED Watch Tool

• วันที่ 22 ก.ย. 65 (หลัง Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 3.25%) การประชุม ครั้งหน้ามีโอกาสสูงถึง 63.5% ที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า 0.75%

• ขณะที่วานนี้ วันที่ 2 ต.ค. 65 (กรรมการ Fed เริ่มมีความเห็นของการปรับขึ้น ดอกเบี้ยไม่ตรงกัน) จึงทำให้มีโอกาสเพียง 53% ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้ง หน้า 0.75%

สรุป ECB มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกต่อไป กดดันเศรษฐกิจเข้าสู่ Recession ได้ง่าย ขณะที่ FED ยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่คาดไม่รุนแรงเช่นอดีต ประเด็นดังกล่าว ทำ ให้นักลงทุนมีโอกาสโยกย้ายเม็ดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยในอนาคต และทำให้ตลาด หุ้นแกว่งผันผวนในระยะถัดไป

จุดเริ่มต้นของดอกเบี้ยขาขึ้น (อย่างช้าๆ) ในไทย

ภายหลังกนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ในปีนี้ที่ระดับ 0.25% มาอยู่ที่ 1% ทำให้ ธ.พ. ใหญ่ เริ่มขยับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ – เงินฝาก นำโดย BBL ขึ้นอัตราดอกเบี้ย M – Rate ทั้ง MRR, MOR และ MLR ราว 0.3% - 0.4% พร้อมขยับเงินฝากออมทรัพย์และ ประจำ เช่นเดียวกับ TTB ปรับอัตราดอกเบี้ย M-Rate ทั้ง 3 ประเภท ราว 0.20% - 0.25% พร้อมขึ้นเงินฝากประจำ ตามด้วย BAY และ KBANK (BK:KBANK) (รายละเอียดเพิ่มเติม KBANK Equity talk วันนี้) ขึ้นเฉพาะ MLR และ MOR ที่ 0.25% ฝั่งเงินฝากขึ้นเฉพาะเงินฝากประจำ สำหรับการบริหารจัดการด้านอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มครั้งนี้แตกต่างกันอยู่บ้างในแต่ละ

ธนาคาร มองว่าแต่ละธนาคารพิจารณาถึงความเหมาะสมต่อฐานลูกค้าของแต่ละธนาคาร อีกทั้ง กนง. มีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี (30 พ.ย. 65) สู่ระดับ 1.25% (เท่ากับสิ้นปี 2562) จึงน่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มฯ อีกครั้งช่วงปลายปี

ภาพรวมฝ่ายวิจัยมองบวกต่อ NIM กลุ่มฯ งวด 4Q65 อย่างไรก็ตามผลบวกต่อประมาณ การกำไรสุทธิปี 2565 จำกัด เหตุเพราะระยะเวลาในการคิดอัตราดอกเบี้ยใหม่อยู่ที่ราว 90 วัน ส่วนปี 2566 ประมาณการฝ่ายวิจัยอยู่บนสมมติฐาน NIM ทรงตัวจากปี 2565 ซึ่งฝ่าย วิจัยประเมินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พ. ครั้งนี้ยังไม่ครอบคลุมต้นทุน FIDF ที่จะเพิ่ม เป็น 0.46% เทียบกับปัจจุบันที่ 0.23% ของฐานเงินฝาก จึงต้องมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง เพื่อบริหารจัดการ NIM และหากปีหน้า กนง. มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 1.50% - 1.75% และ ธ.พ. บริหารตามกลไกตลาด จึงเริ่มเห็น upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2566

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินทุก 0.25% ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เปลี่ยนแปลงและ ธ.พ. มี การบริหารจัดการตามกลไกลตลาด จะทำให้ NIM ธ.พ. ใหญ่ เพิ่มขึ้นในกรอบ 0.05% - 0.10% โดยภายใต้ Sensitivity Analysis (สมมติฐานอื่นคงเดิม) จะพบว่าในกรณีที่ NIM เพิ่มขึ้น (ลดลง) 0.1% จากสมมติฐานฝ่ายวิจัย จะทำให้กำไรของ BBL, KTB เปลี่ยนแปลง ประมาณ 10% ส่วน KBANK และ SCB ประมาณ 7% - 8% คงเท่าตลาด เลือก BBL(FV2566@B159), KBANK(FV2566@B180) และ SCB(FV2565@B140) ราคาหุ้นซื้อ ขายบน PBV ไม่แพง และคาดสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นช่วย Limit downside ต่อประมาณ การกำไรปี 2566

การเมือง : เปลี่ยนแปลงตามระบบ ไม่เป็นความเสี่ยง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติข้างมาก (6 ต่อ 3) วินิจฉัยว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่ครบกำหนด 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 170 วรรค 2 ประกอบมาตรา 158 วรรค 4 ส่งผลทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน สามารถทำหน้าที่บริหารประเทศไปได้ต่อ โดยจากนี้ไปงานสำคัญที่รออยู่คือการจัดประชุม ผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week) ช่วงวันที่ 14 – 19 พ.ย.2565 และหลังจากผ่านการจัดประชุมดังกล่าว เชื่อว่าสถานการณ์การเมืองในประเทศ จะเข้าสู่ ช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็น 2 แนวทางคือ

1. เปลี่ยนแปลงจากการที่ วาระการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร์ครบกำหนดอายุ 4 ปี ในวันที่ 23 มี.ค.2566 ซึ่งในกรณีนี้ ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน เบื้องต้น กกต. กำหนดกรอบเวลาวันจัดการเลือกตั้งเป็นวันที่ 7 พ.ค. 2566

2. เปลี่ยนแปลงจากการที่ นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจประกาศยุบสภาฯ ก่อนที่วาระ การทำหน้าที่ของ สภาผู้แทนราษฎร์ จะครบกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ ต้องจัดการ เลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน เช่นหากยุบสภากลางเดือน ธ.ค.65 การจัดการ เลือกตั้งก็น่าจะเป็นวันอาทิตย์ กลางเดือน ก.พ.66 เป็นต้น

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ถือว่าเป็นการ เปลี่ยนแปลงไปตามกรอบของกฎกติการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งไม่ควรมองว่าจะสร้างแรง กดดันต่อ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามหากเกิดพัฒนาการของ เหตุการณ์ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามที่กรอบของกฎหมายที่กำหนดไว้ก็ถือเป็น สิ่งที่น่ากังวล และต้องติดตามในฐานะปัจจัยเสี่ยงต่อ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ

หุ้นไทยยังแข็งแรงกว่าหุ้นนอก เน้นหุ้นอิงเศรษฐกิจฟื้น CPN HMPRO ADVANC

ในเดือน ก.ย. 65 ปัจจัยภายนอก ทั้งความกังวล Recession ผนวกกับการเร่งขึ้นดอกเบี้ย ของหลายๆ ประเทศ กดดันตลาดหุ้นโลก (MSCI World) ปรับตัวลง -8.7% และหุ้น Growth Stock อย่าง Nasdaq ลงแรง -10.5% ขณะที่ SET Index แข็งแกร่งกว่า -3.1% และกลุ่มหุ้นฟื้นตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจอย่าง SETWB ลดลงเพียง -2.7%

ฝ่ายวิจัยเชื่อตลาดหุ้นไทยช่อง 4Q65 ยังมีความแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐ และยุโรป ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงภาวะถดถอย (Recession) แรง หนุนเศรษฐกิจไทยมาจาก ศบค. ประกาศยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯ, การปรับโรคโควิดจาก โรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง หนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เมื่อ พิจารณาจาก Google (NASDAQ:GOOGL) Mobility Trend ของไทย ยังเห็นการปรับตัวดีขึ้นทุกๆกิจกรรม

อีกทั้งยังคาดหวังนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 5 ล้านคน ในช่วง High Season และสถิติช่วงไตร มาส 4 ค่าเงินบาทมักจะแข็งค่าเฉลี่ยกว่า 2% และแข็งค่า 4 ใน 5 ปีหลังสุด หนุนให้ Fund Flow ยังน่าจะคอยหนุนตลาดหุ้นไทยเด่นกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วในช่วงที่เหลือของปี

สรุปเศรษฐกิจไทยส่งสัญสัญญาณฟื้นตัวเด่นในช่วงที่เหลือของปี กลยุทธ์แนะนำสะสม หุ้น Domestic หลบความผันผวนจากปัจจัยภายนอก AOT (BK:AOT), BEM, ADVANC, CENTEL, ERW, HMPRO, CPN ส่วน Top pick วันนี้เลือก CPN HMPRO ADVANC

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย