🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

สร้างฐานเตรียมปรับขึ้นรอบใหม่

เผยแพร่ 30/09/2565 09:36
SETI
-

ประเมินความเสี่ยงข้างหน้าสำหรับตลาดหุ้นไทย ลดระดับลงในหลายส่วน เริ่มจาก อัตราเงินเฟ้อที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และคาดว่าจะลงมาอยู่ในกรอบที่ ธปท.พอใจ ในช่วงกลางปี 2566, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยชัดเจนว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อย ไป ส่วนค่าเงินบาทเชื่อว่าน่าจะเห็นปลายทางของการอ่อนค่าแล้ว และค่อยๆ กลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างช้าๆ สำหรับหรับปัจจัยแวดล้อมในเชิงเศรษฐกิจโลกเห็นว่า มีระดับความเสี่ยงที่สูงกว่า โดยหลายประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกำลังก้าว เข้าสู่ภาวะ Recession ขณะที่เงินเฟ้อ และทิศทางดอกเบี้ยก็ยังสูงกว่า นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเข้ามาสร้างแรงกดดันเป็นช่วงๆ และ เป็นแรงผลักให้เข้าสู่ Recession เร็วขึ้น ด้วยสภาพแวดล้อมดังกล่าว เชื่อว่า Fund Flow น่าจะไหลเข้าสู่จุดที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งตลาดหุ้นไทย ก็เป็นทางเลือก

คาดว่า SET Index อยู่ในช่วงการสร้างฐานรอการปรับขึ้นรอบใหม่ กรอบ 1580 – 1610 จุด พอร์ตจำลองได้Cut Loss หุ้น GPSC ให้ถือเป็นเงินสดสำรอง รอจังหวะ การลงทุน 5% หุ้น Top Pick เลือก BBL, BEM และ HMPRO

เศรษฐกิจโลกเสี่ยง RECESSION…หวัง FUND FLOW เข้าตลาดหุ้นไทย จากความเสี่ยงต่ำกว่าประเทศอื่น

ตลาดหุ้นโลกวานนี้ปรับตัวลงยกแผง เริ่มจากฝั่งสหรัฐฯปรับตัวในแดนลบราว -1.5% ถึง - 2.8% และฝั่งยุโรปปรับตัวลดลงราว -1.5% ถึง -1.7% หลังจากความกังวลของนักลงทุนทั่ว โลกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐมีความกังวลเข้ามาเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดดังนี้

• เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะ Technical Recession หลังการประกาศยืนยัน ตัวเลข GDP ใน 2Q65 รอบสุดท้าย(ครั้งที่ 3) หดตัว 0.6% QoQ ตามเดิม ขณะที่ 1Q65 หดตัว 1.6% QoQ ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ทำให้เข้าสู่ภาวะ Technical Recession ตามนิยาม

• ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง หลังล่าสุดกระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ ขอยื่นสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าจาก ระดับ 209,000 ราย สู่ระดับ 193,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เม.ย.65 และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ 215,000 ราย ประเด็นดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯที่ยังแข็งแกร่ง อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ FED ดำเนินนโยบาย การเงินตึงตัวเชิงรุกมากขึ้น เพื่อกดดันเงินเฟ้อให้เข้าสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%

• Dollar Index ที่เริ่มอ่อนค่าลง โดย Dollar Index ร่วงลงจากจุดสูงสุดที่ระดับ 115 จุด มาสู่ระดับ 112.25 จุด หรือราว -2.4% ทำให้เกิดความกังวลว่า จะส่งผล กระทบเชิงลบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ที่มีรายได้จากต่างประเทศ ลดลงได้

• Bond Yield ดีดตัวขึ้นเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะสั้น โดย Bond Yield 2 ปีล่าสุดอยู่ ที่ 4.20% และ Bond Yield 10 ปีล่าสุดอยู่ที่ 3.75% ทำให้Inverted Yield curve ล่าสุดอยู่ที่ 45 Bps. และเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะถดถอยในอนาคต จนเกิดการย้ายเม็ดเงินสู่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำมากขึ้นไปอีก

ขณะที่เศรษฐกิจฝั่งยุโรปมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง จากความกังวล ปัญหาเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป โดยล่าสุดยุโรปมีการตรวจพบเหตุก๊าซ รั่วไหลจุดที่ 4 จากท่อก๊าซนอร์ดสตรีม 2 (3 จุดแรกท่อก๊าซนอร์ดสตรีม 1) ซึ่งอาจส่งผลทำ ให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความกังวลว่าจะขาดแคลนพลังงานในช่วงฤดู หนาวที่กำลังจะมาถึงนี้ อีกทั้งเงินเฟ้อของประเทศในยุโรปยังอยู่ระดับสูง หลังเยอรมัน ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย.65 ที่พุ่งสู่ระดับ 10.9%YoY จึงคาดว่าจะส่งผลให้เกิด ภาวะ Recession ตามมา

สรุป ทั่วโลกกังวลเศรษฐกิจถดถอย ทำให้นักลงทุนมองหาตลาดใหม่ และย้ายจาก สินทรัพย์เสี่ยงสูงสู่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะเกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปยัง ตลาดตราสารหนี้เป็นเป้าหมายแรก ส่วนตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าเป็นถัดไปที่เป็นทางเลือก ให้กับนักลงทุน เนื่องจากยังมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่ง จะเป็นจุดดึงดูดให้ Fund Flow ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นได้

ดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า บาทชะลออ่อน ดีต่อทิศทางFUND FLOW

ตัวเลข GDP2Q65 สหรัฐ -0.6%YoY ถือเป็นการยืนยันการเข้าสู่ภาวะ Technical Recession กดดันให้ทุกสินทรัพย์ในสหรัฐปรับตัวลง ทั้งตลาดหุ้นตลาดตราสารหนี้ รวมถึง ค่าเงินดอลลาร์ จาก 2 วันที่แล้วอยู่ที่ 114.78 จุด ลดลงมา -2.5% เหลือ 111.90 จุด

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะมีปัจจัยที่ช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐชะลอการแข็งค่า ดังนี้

1. ธนาคารกลางแต่ละประเทศเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ แตกต่างกับสหรัฐ ที่เริ่มชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ตลาดคาดว่า Fed จะขึ้น ดอกเบี้ยอีก 1.00% เป็น 4.25% แต่ประเทศหลักๆ มีโอกาสเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่า สหรัฐ อาทิ อังกฤษมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 2.5% เป็น 4.75%, ยุโรปเพิ่ม 1.00% เป็น 2.25% ส่งผลให้ค่าเงินประเทศต่างๆ ชะลอการอ่อนค่า และค่าเงินดอลาร์แข็งค่า ได้ยากขึ้น

2. เริ่มเห็นการเข้ามาแทรกแซงค่าเงินของประเทศ สำคัญๆ อาทิ BOJ กังวลต่อค่าเงิน เยนที่อ่อนจะส่งผลกระทบต่อกิจการในประเทศ เริ่มมีการเข้ามาแทรกแซงค่าเงิน, BOE รับซื้อซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอังกฤษจำนวนมากเท่าที่มีความจำเป็น ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. – 14 ต.ค. เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน

หากดูจากสัดส่วนตะกร้าค่าเงินเทียบกับดอลลาร์สหรัฐสูงถึง 57% 14% และ 12% ตามลำดับ รวมกันราว 83% ดังนั้นการเร่งขึ้นดอกเบี้ยที่เร็ว เข้าแทรกแซงค่าเงิน คาดเป็น ส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐชะลอการแข็งค่าได

ในอีกมุมเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังเปิดประเทศ พร้อมกับบาทมี โอกาสชะลอการอ่อนค่า น่าจะมีแรงดึงดูดให้ Fund Flow กลับมาไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ได้ต่อ เช่นเดียวกับช่วงที่ผ่านๆ มา

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผล 1 ต.ค.65 เน้น DOMESTIC CONSUMPTION PLAY

กระทรวงแรงงาน มีมติปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ซึ่งแบ่งเป็น 9 อัตรา ดังนี้

• ปรับขึ้นสูงสุด 354 บาท = ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต

• ปรับขึ้นต่ำสุด 328 บาท = ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี

• กรุงเทพฯและปริมณฑล อยู่ที่ 353 บาท

โดยการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท หรือเป็นการปรับ เพิ่มขึ้น 5.02% (ค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 353 บาท) โดยจะมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

โดยหากย้อนดูสถิติในอดีตตั้งแต่ปี 2011-ปัจจุบัน พบว่า กระทรวงแรงงานมีการขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่งหากไม่นับปี 2012 ที่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลจาก 215 บาท/วัน เป็น 300 บาท/วัน(ปรับขึ้น 39.5%) จะเห็นได้ว่าการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 ที่ปรับขึ้น 6.6% นั้นมากกว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอดีตที่ส่วน ใหญ่ปรับขึ้นราว 2%-4% เท่านั้น

ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ถือเป็นแรงหนุนการบริโภคในประเทศให้มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ ต่อเนื่อง หลังจากที่ไทยเริ่มการกลับมาเปิดประเทศ และการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหนุนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากขึ้น โดย ธปท.คาดจะมีนักท่องเที่ยวราว 10 ล้านคน บวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ถือเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption อย่างกลุ่มค้าปลีก HMPRO, CPALL (BK:CPALL), CRC กลุ่มเช่าซื้อ TIDLOR AEONTS กลุ่มท่องเที่ยว AOT (BK:AOT) ERW CENTEL BEM และกลุ่ม ธุรกิจอาหาร-ครื่องดื่ม (F&D) อาทิ M, CBG เป็นต้น

สรุป เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ โดย มาตรการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผล 1 ต.ค.65 ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะส่งผลให้การ บริโภคภายในประเทศของไทยเริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น เป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption

ขณะที่กลยุทธ์วันนี้เลือกหุ้นจาก Theme ดังกล่าว 2 บริษัท คือ HMPRO และ BEM ส่วนอีกหนึ่งบริษัท คือ BBL ที่เป็นหุ้นใหญ่ได้แรงหนุนจาก Fund Flow และการเข้าสู่ ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เป็น Top picks

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย