กนง.มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาเป็น 1% ท่าทีของ กนง. ยังให้น้ำหนักไปที่การสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะให้น้ำหนักไป ที่อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งน่าจะทำให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากนี้น่าจะเป็นการ ปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยในสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยประเมินว่าดอกเบี้ย นโยบายสิ้นปี 2565 จะอยู่ที่ 1.25% สำหรับทิศทางค่าเงินบาท เริ่มเห็นสัญญาณ ของการหยุดอ่อนค่าหลังจาก USD อ่อนค่าลงบนความคาดหมายว่า Fed จะขึ้น ดอกเบี้ยในอัตราที่ช้าลง ขณะที่ธนาคารกลางประเทศอื่นๆ เช่น EU, UK ปรับขึ้น ดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น ขณะที่บางแห่งส่งสัญญาณในการเข้าแทรกแทรงค่าเงิน ซึ่ง USD ที่อ่อนค่าลงก็น่าจะทำให้เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ภาพ ดังกล่าวข้างต้นทำให้ฝ่ายวิจัยยังคงเป้าหมาย
SET Index ที่ 1730 จุดตามเดิม SET Index น่าจะดีดตัวกลับ โดยมีแนวต้านที่ 1610 จุด แนวรับ 1580 จุด พอร์ต จำลอง ให้นำเงินสดสำรอง 20% เข้าซื้อหุ้น โดยซื้อ BEM 10%, ASK และ GULF อย่างละ 5% หุ้น Top Pick เลือก ASK, BEM และ GULF
สินทรัพย์เสี่ยงดีดตัวกลับ หลัง BOE ส่งสัญญาณซื้อพันธบัตรด้วยวงเงิน 65 พันล้านปอนด์
ตลาดหุ้นดีดตัวกลับยกแผง เริ่มจากฝั่งสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้น 1.9%-3.7% ฝั่งยุโรปปรับขึ้น 0.2%-0.4% หลังธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ได้ประกาศเข้าแทรกแซงเพื่อดูแลเสถียรภาพ ของตลาดพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษระยะยาว ด้วยวงเงิน 65 พันล้านปอนด์โดยจะรับซื้อไป จนถึงวันที่ 14 ต.ค.65 จึงทำให้ Bond Yield 30 ปีกลับสู่ภาวะปกติจากระดับ 5.14% กลับ ลงมาที่ 3.97% และทำให้ค่าเงิน EUR และ GBP กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง
ประเด็นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนเทขาย Dollar Index ออกมา โดยวานนี้ปรับลง 1.32% อยู่ระดับ 112.60 จุด ซึ่งนอกจาก BOE แล้ว ประเทศอื่นๆ ยังส่งสัญญาณควบคุมค่าเงินของ ประเทศตนเองไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้เมื่อเทียบกับดอลลาร์ อาทิ
• จีน PBOC จับตาค่าเงินหยวนไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ โดยออกมาเตือนการเก็ง กำไรค่าเงิน หลังตั้งแต่ต้นปีค่าเงินหยวน/ดอลลาร์ อ่อนค่ากว่า 11.73%Ytd
• เกาหลีใต้ BOK มีแผนที่จะเข้าแทรกแซงซื้อพันธบัตรประเทศตนเองเช่นกัน ตั้งแต่ ต้นปีค่าเงินวอน/ดอลลาร์ อ่อนค่ากว่า 16.89%Ytd
• ญี่ปุ่น BOJ กังวลการอ่อนค่าของค่าเงินเยน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมใน ประเทศ โดยมีการเข้ามาแทรกแซงค่าเงิน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 2541 เพื่อพยุงให้ เงินเยนกลับมาแข็งค่ามากขึ้น ตั้งแต่ต้นปีค่าเงินเยน/ดอลลาร์ อ่อนค่ากว่า 20.26%Ytd
หากธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวทางที่ทำให้ค่าเงินประเทศตนเองแข็งค่าขึ้น นั้น หมายความว่า Dollar Index จะมีทิศทางที่อ่อนค่า เนื่องจากสัดส่วนตะกร้าเงินดอลลาร์ ประกอบไปด้วยค่าเงินของประเทศต่างๆ ซึ่ง EUR + JPY + GBP มีสัดส่วนรวมกันกว่า 83%
สรุป Dollar Index มีแนวโน้มอ่อนค่าลง หลังธนาคารกลางหลายแห่งเตรียมพยุง ค่าเงินตนเองไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ ในทางอ้อมจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าโดย ปริยาย และหนุน Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยระยะถัดไป
กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด…คงเป้าหมาย SET INDEX ที่1730 จุด
ผลการประชุม กนง. วานนี้มติเป็นเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากเดิม 0.75% ปรับเป็น 1.00% ตามคาด นอกจากนี้ กนง. ได้แถลงการคาดการณ์เศรษฐกิจไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
• เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.3% ใน ปี 65 และ 3.8% ในปี 66 (ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 4.2% จากผลกระทบ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและยังใกล้เคียงกับสำนักเศรษฐกิจหลายสำนักที่คาดการณ์ ไว้ที่ 3.5%-4.2%) โดยคาดว่าจะได้รับแรงหนุนหลักมาจากภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ดีกว่าคาดและการบริโภคภาคเอกชน
• การส่งออกที่ชะลอตามเศรษฐกิจโลก ไม่กระทบการฟื้นตัวของเศรฐกิจไทยใน ภาพรวม โดยคาดการส่งออกจะขยายตัวได้ที่8.2% ในปี 65 (เดิมคาดไว้ที่ 7.9%) และ 1.1% ในปี 66 (เดิมคาดไว้ที่ 2.1%)
• อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 6.3% ในปี 65 (เดิมคาดไว้ที่ 3.2%) และแนวโน้มปรับลดลงเหลือ 2.6% ในปี 66 (เดิมคาดไว้ที่ 2.5%) ตาม ราคาน้ำมันโลกและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ทยอยคลี่คลาย นอกจากนี้ยังคาดว่า เงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 65 เป็นจุดสูงสุดแล้ว และจะเริ่มทยอยปรับลดในปลายปีนี้ และน่าจะกลับไปสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในช่วง Q2-Q3 ในปีหน้า
ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่า กนง. ให้ความเห็นว่าเกิดจากปัจจัยของโลก ทั้งจากกรณีFed เร่ง ปรับขึ้นดอกเบี้ยที่แรงและเร็ว ประกอบกับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไป ยังสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างค่าเงินดอลลาร์จนดอลลาร์แข็งค่าเร็วกว่าปกติ ซึ่งค่าเงินอ่อนค่านี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ไทยเท่านั้น แต่เป็นเหมือนกันทุกประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตามเสถียรภาพระบบการเงินของไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดี จึงคาดว่าจะช่วยลดทอน ผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินบาทนี้ไปได้โดยตั้งแต่ต้นปีเงินทุนเคลื่อนย้ายยังเป็นบวก ที่ 4,474 พันล้านดอลลาร์ (ตลาดตราสารหนี้ไทย + ตลาดหุ้นไทย) รวมถึงเงินทุนสำรอง ระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับที่สูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก
ส่วนการประชุมครั้งหน้า ฝ่ายวิจัยคาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ดอกเบี้ยสิ้นปีอยู่ที่ 1.25% และปี 2566 ยังคาดคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิมตลอดปีและการ ขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยยังคง Target SET Index ปีนี้ที่ 1,730 จุด ดัชนีที่ย่อตัวถือเป็นโอกาสในการสะสม
SET มีโอกาสฟื้น…หลังแรงกดดัน ทั้งการขึ้นดอกเบี้ย และบาทอ่อนชะลอ แนะ BEM GULF ASK
ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index ปรับฐานลงมากกว่า 73 จุด เนื่องจากถูกกดดันจาก ความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ย และค่าเงินบาทที่เร่งอ่อนค่าเร็ว กดดันให้ Fund Flow ชะลอ อย่างไรก็ตามแรงกดดันดังกล่าวน่าจะค่อยๆ ผ่อนคลายลง ดังนี้
1. กนง. ขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% พร้อมกับให้มุมมองการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย แบบค่อยเป็นค่อยไป (รายละเอียดตามหัวข้อก่อนหน้า)ตามกลไกแรงกดดันลดลง ทั้งในมุม P/E ตลาด และ Target SET Index โดยฝ่ายวิจัยประเมินดัชนีเป้าหมาย ปลายปีไว้ที่ 1730 จุด
2. ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการอ่อนค่า ลดการสกัดกั้น Fund Flow หลังจากที่ ค่าเงินบาทขึ้นไปสูงถึง 38.46 บาท/ดอลลาร์ (สูงสุดในรอบ 16 ปี) เริ่มย่อตัวลง และมีโอกาสชะลอการอ่อนค่า ทั้งจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของประเทศต่าง อาทิ อังกฤษและยุโรป, การเข้าแทรกแซงค่าเงินของหลายๆ ประเทศ รวมถึงเป็นช่วง High Season การท่องเที่ยวไทย (คาดหวังจีนเปิดประเทศในเดือน ต.ค.) น่าจะ ช่วยพยุงให้ค่าเงินบาทชะลอการอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี
สรุปคือ แรงกดดันที่ผ่อนคลายลง บวกกับเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวเด่นกว่า หลายๆ ประเทศ น่าจะหนุนให้ Fund Flow ที่ถือครองหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ มีโอกาส ไหลเข้าเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ แนะนำลดเงินสดในพอร์ตจำลองทั้งหมด 20% แล้ว ลงทุนในหุ้นพื้นฐานที่ย่อตัวลงมา แรงกดดันผ่อนคลาย อย่าง BEM 10%, GULF 5%, ASK 5% เป็น Top pick ในวันนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities