รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ความกลัวเศรษฐกิจโลกถดถอยปกคลุม 

เผยแพร่ 27/09/2565 09:33
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สัญญาณที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในระยะถัดไป ปรากฎชัดเจนมากขึ้น ล่าสุด OECD ปรับลดคาดการณ์World GDP Growth ปี 2566 ลง มาเหลือ 2.2% โดยแสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจยุโรป ขณะที่ทิศทางเงินเฟ้อ แม้ปรับลดลงแต่ก็ยัง อยู่ในกรอบที่สูงกว่าเป้าหมาย ทำให้ธนาคารกลางต้องเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ ซึ่งเป็นแรงกดดันเพิ่มเติมมายังภาพเศรษฐกิจ สำหรับสถานการณ์ในบ้านเราวานนี้ มีการประกาศตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือน ส.ค.65 ซึ่งพบว่าเรายังอยู่ใน ภาวะที่มีการขาดดุลการค้ากว่า 4.2 พันล้าน USD ถือเป็นสัญญาณลบต่อหุ้นกลุ่ม ค้าปลีกแม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่เงินบาทอ่อนค่า ส่วนการประชุม กนง. วันพรุ่งนี้เป็น ประเด็นที่ต้องจับตา โดยหากพิจารณาจากเงินบาทที่อ่อนค่าเข้าใกล้ 38 บาท/USD ทำให้ยังไม่ควรตัดโอกาสที่ จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ออกไป

SET Index น่าจะผันผวนในทิศทางลงกรอบ 1610 – 1630 จุด พอร์ตจำลองได้ Stop Profit หุ้น PLANBรับกำไรราว 8% ให้นำเงินเข้าซื้อ GPSC น้ำหนัก 5% คง ระดับเงินสดสำรอง 20% ของพอร์ต หุ้น Top Pick เลือก BBL, BLA และ GPSC

เศรษฐกิจทั่วโลกกังวล RECSSION ที่กำลังจะมาถึง

เศรษฐกิจทั่วโลกต่างส่งสัญณาณการชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด OECD ออกมา รายงานแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจหลายประเทศชะลอตัวลงในช่วง 2H65 ก่อนที่ปรับ ลดลงในปี 2566 ทำให้คาคการณ์การเติบโต GDP โลกในปีหน้าลดลงเหลือเพียง2.2% จาก ที่คาดไว้ราว 2.8% ซึ่งเป็นผลมาจากการทำสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กดดันให้ราคาอาหาร และพลังงานปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด รวมถึงการใช้นโยบาย Zero Covid ของจีน ที่ส่งผลให้เศรษรฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก ชะลอตัวลงด้วย

นอกจากนี้ยังมี Leading Indicator จากการเกิดInverted Yield Curve สหรัฐฯยังเกิดขึ้น ต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเกิด Inverted Yield Curve ที่ลึก จะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอย (Recession) ในเวลาต่อมา โดยหุ้น มักจะปรับฐานแรงเวลาเกิด (Recession) ตามภาพทางด้านล่าง อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัย ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าใกล้สู่ภาวะ Recession เนื่องจากBond Yield 2 ปียังต่ำ กว่า Bond Yield 10 ปีถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรฐกิจยังแข็งแกร่ง

สรุปเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเกิดความกลัวว่าจะเกิด Recession โดยมีสัญญาณเตือน ออกมาต่อเนื่อง ทั้งการปรับลดคาดการณ์การเติบโต GDP การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางเพื่อสกัดเงินเฟ้อ รวมถึงการเกิด Inverted Yield Curve ของสหรัฐ กดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนในช่วงนี้

ส่งออกดี แต่ดุลการค้าติดลบ ลุ้นการเปิดประเทศช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย

การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค.65 มีมูลค่า 23,632.7 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 7.5% ( น้อยกว่าตลาดคาด +7.7%YoY) ทำให้การส่งออกในช่วง 8 เดือนของปีนี้ (ม.ค. - ส.ค.) ขยายตัว 11.0% ที่มูลค่า 196,446.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่มีส่งออกได้ดี ได้แก่ น้ำตาลทราย, ไอศกรีม, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป, เครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบ, หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ, อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ส่วนการนำเข้าในเดือน ส.ค. มีมูลค่า 27,848.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.3%( มากกว่าตลาดคาด +17.95%YoY) ส่งผลให้การนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัว 21.4% ที่มูลค่า 210,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยดุลการค้าในเดือน ส.ค.65 ขาดดุล 4,215.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (-1.54 แสนล้านบาทสูงสุดในรอบ 9 ปี) และช่วง 8 เดือน แรกของปีนี้ขาดดุล 14,131.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

เงินบาทที่อ่อนค่านั้นถึงแม้จะส่งผลดีต่อการส่งออกแต่กระทบต่อการนำเข้า ซึ่งจาก ภาวะการส่งออกในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมายังขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตถึง 11% แต่กลับมียอดขาดดุลจากการนำเข้าสินค้าหมวดพลังงานที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันปรับขึ้น 168.7% ก๊าซธรรมชาติปรับขึ้น 28.3% ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปรับขึ้น 76% เป็นต้น

ซึ่งดุลการค้าเดือน ส.ค.65 ขาดดุล 4,215.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ ระดับ -6.03% ซึ่งเทียบกับภาวะปกติช่วงก่อนเกิด COVID หรือสิ้นปี 2562 อยู่สูงถึง 7.1% โดยคาดดุลการค้าต่อ GDP มีโอกาสกลับไประดับปกติได้หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง ในช่วง 2 -3 เดืนอที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขนำเข้าลดลง ผลักดันดุลการค้า ให้สูงขึ้นในอนาคต

อีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมเศรษฐกิจไทย คือ รายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งนอกและในประเทศ โดยภาวะปกติ ณ ปี 2562 รายได้จากนักท่องเที่ยวมีมูลค่า 1.97 ล้านล้านบาท (คิดเป็น สัดส่วน 12.1% ของ GDP) ซึ่งหากนำสมมุติฐาน ธปท.ที่คาดมีนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน ณ สิ้นปีนี้ คิดเป็นสัดส่วน 1.44% ของ GDP เท่านั้น ทำให้ภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังมี ช่องว่างให้เติบโตได้จากส่วนของรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งนอกและในประเทศ ซึ่ง สอดคล้องกับ ข้อมูล Transport ของแต่ละประเทศเทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ที่มี ค่าเฉลี่ย 19.4% ขณะที่ไทยการเดินทางระหว่างกันยังน้อยกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ที่ -15.3%

ทั้ง 2 ส่วน คือ ดุลการค้าที่มีโอกาสฟื้นตัว และ รายได้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ หนุนให้ GDP Growth สิ้นปีนี้ของไทยมีโอกาสแตะระดับ 3-3.5% ตามเป้า ฝ่ายวิจัยฯ มองเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งในอนาคต คาดทำให้ SET Index ผันผวนน้อยกว่าตลาด หุ้นอื่นๆ โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1610-1630 จุด

เงื่อนไขกำกับ 14 ข้อ ส่อดีลทรู-ดีแทค ควบรวมได้

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (สำนักงานกสทช.) มีความเห็นให้กำหนดมาตรการเฉพาะหรือเงื่อนไขที่จะใช้ กำกับดูแล ทรู-ดีแทค เช่น การห้ามใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน, การกำหนดให้คงแบรนด์แยก จากกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเช่น 3 ปี, การกำหนดความครอบคลุมของโครงข่าย 5 จี

ฝ่ายวิจัยมองว่าข่าวนี้เป็นปัจจัยบวกต่อทั้ง TRUE และ DTAC เพราะการที่สำนักงาน กสทช. มีการกำหนดเงื่อนไข 14 ข้อ เพื่อที่จะนำมากำกับดูแลบริษัทลูกของทรู-ดีแทค แสดงถึงแนวโน้มที่จะให้มีการควบรวมกันระหว่างบริษัทลูกของทรู - ดีแทค คือ TUC และ DTN ได้ เพราะมาตรการทั้ง 14 ข้อเป็นมาตรการที่จะนำมาใช้หลังจากการควบรวม

นอกจากนี้เงื่อนไขที่สำนักงาน กสทช. กำหนด เช่น การห้ามใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน แต่ไม่ได้ ห้ามการใช้โครงข่ายร่วมกัน เราจึงเชื่อว่าจะสามารถโรมมิ่งคลื่นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกัน กับการดำเนินธุรกิจตามปกติที่มีการโรมมิ่งคลื่นระหว่างผู้ให้บริการต่างค่าย นอกจากนี้ยัง ไม่ได้มีการกำหนดให้เรียกคืนคลื่นจากทั้ง 2 บริษัทแต่อย่างใด เพราะยังไม่มีหลักเกณท์ด้าน เพดานการถือครองคลื่น สำหรับประเด็นการให้แยกแบรนด์จากกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เชื่อในช่วง 1- 3 ปีแรกของการควบรวม น่าจะยังต้องคงการใช้แบรนด์เดิมกันไปก่อน และรอให้ มีการปรับปรุงระบบงานภายในของทั้งบริษัทให้เรียบร้อยก่อน จึงจะมีการรวมแบรนด์กัน ดังนั้นการให้แยกแบรนด์กันในช่วงแรก ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อทั้ง 2 บริษัทนัก

คัดหุ้น ANTI COMMODITY ราคา LAGGARD

ในปี 2565 ราคาน้ำมัน WTI เคยขึ้นไปกว่า 73.5% ส่วนหนึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่าง รัสเซียยูเครน อย่างไรก็ตามในช่วงปลาย 2Q65 - 3Q65 ราคาน้ำมันย่อตัวลงมาเร็วจน กลับมาอยู่ในระดับใกล้ๆกับช่วงต้นปี ซึ่งถูกกดดันด้วย 3 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้

1. Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ 0.75% ทั้ง 3 รอบการประชุม และครั้ง หน้าเดือน พ.ย. มีโอกาสเร่งขึ้นต่อ

2. ความกังวลเศรษฐกิจชะลอ ล่าสุด OECD ปรับ World GDP23F ลงจาก 2.8% เหลือ 2.2%

3. Dollar แข็งขึ้นมาเร็ว ล่าสุดแข็งค่าเกือบ 20%ytd เป็นส่วนหนึ่งที่กดดันราคา Commodity

ราคาน้ำมันหรือราคา Commodity ที่ลงมาเร็วในช่วง 3Q65 ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้น Anti-Commodity ราคา Laggard โดยเลือกเฉพาะ หุ้นที่ราคา ytd ยังติดลบ และยังฟื้น ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของปีได้ไม่มาก อย่าง OSP, CBG, KEX, GPSC, EPG, BGC, TASCO, BGRIM หุ้นดังกล่าวน่าจะได้รับ Sentiment เชิงบวกมากขึ้น และสามารถเก็งกำไรในช่วง สั้นได้

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1610 – 1630 จุด Toppick เลือกหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว BLA, BBL (ได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น) และ GPSC (ได้ Sentiment ราคา Commodity ย่อตัวลง)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย