🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

SET INEDX มีโอกาสดีดตัวกลับ 

เผยแพร่ 20/09/2565 09:45
SETI
-

สัญญาณการเข้าสู่ภาวะ Recession ของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐฯ และยุโรป ชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยข้อมูลล่าสุด Bloomberg ประเมินว่า ในปี 2566 ยุโรปมีโอกาสถึง 80% ที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession เชื่อว่าสภาวะ ดังกล่าว น่าจะมีส่วนทำให้การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเชิงรุก มีข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งนี้การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในรอบการประชุมเดือน ก.ย.65 คาดว่าจะปรับ ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ก่อนที่จะเริ่มปรับขึ้นในอัตราลดลงในรอบการประชุมที่เหลือ ของปี สำหรับการกำหนด Investment Theme วันนี้ฝ่ายวิจัยให้ความสนใจกับ ทิศทางของจีน ที่มีแนวโน้มเปิดประเทศมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นผลดี ต่อภาคการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของธุรกิจการบิน และโรงแรม นอกจากนี้ยังสร้าง ความหลังเชิงบวกต่อธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งปัจจุบันมี Condominium รอขายอยู่มาก

SET Index มีโอกาสดีดตัวกลับ แต่ยังอยู่ในกรอบ 1620 – 1640 จุด พอร์ตจำลอง ได้Cut Loss หุ้น CBG ได้เงินกลับมา 10% ให้เข้าซื้อ ERW และ TISCO อย่างละ 5% คงระดับเงินสด 10% หุ้น Top Pick เลือก AOT (BK:AOT), ERW และ TISCO

แรงกดดันจากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยดูเบาลง หนุนเม็ดเงินไหลเข้า สินทรัพย์เสี่ยงต่อไป

ในช่วง 2Q65 ต่อเนื่องถึงต้น 3Q65 ทั่วโลกถูกกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูงมาก ซึ่ง องค์ประกอบหลักของเงินเฟ้อในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนในการผลิต สินค้าที่สูงขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า Cost Push (ก่อเดือน ก.พ.65 หลายประเทศมีภาวะเงิน เฟ้อที่ถูกกดดันจาก Demand Pull มาแล้วระยะหนึ่ง) โดยมีต้นตอหลักมาจากสถานการณ์ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลก นำโดย FED, ECB และ BOE ต้องปรับใช้นโยบายการเงินตึงตัวเชิงรุก เพื่อสกัดเงินเฟ้อ จนหลายประเทศมี อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าปี 2562 (ช่วงก่อนเกิดโควิด) ด้วยซ้ำ ซึ่งสภาวะปัจจุบัน แม้ สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังครุมเครือ แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักปรับตัวลดลง อย่างมีนัยสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งราคาพลังงาน หลังจากมี Supply ใหม่ๆ เติมเข้ามาสู่ระบบ บวกกับ สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป หรือ จีน ทำให้ Demand สินค้า-บริการ ปรับลดลงในปัจจุบัน ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง คง ไม่ดำเนินนโยบายทางการเงินเชิงรุกเฉกเช่นในอดีต

โดยการประชุมของธนาคารกลางหลายแห่งในเดือนนี้ มีรายละเอียดด้านล่าง

• สหรัฐ : การประชุมวันที่ 21 ก.ย. 2565 นักวิเคราะห์คาด FED จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย 0.75% มาสู่ระดับ 3.25% อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้คาดอยู่ที่ 4.25% เท่านั้น (ซึ่งหมายความว่าการประชุมเดือน พ.ย.-ธ.ค. คาดขึ้นดอกเบี้ยรวมกันราว 1.00%)

• อังกฤษ : การประชุมวันที่ 22 ก.ย. 2565 นักวิเคราะห์คาด BOE จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย 0.75% มาสู่ระดับ 2.50% อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้คาดอยู่ที่ 3.75% เท่านั้น (ซึ่งหมายความว่าการประชุมเดือน พ.ย.-ธ.ค. คาดขึ้นดอกเบี้ยรวมกันราว 1.25%)

• ไทย : การประชุมวันที่ 28 ก.ย. 2565 ฝ่ายวิจัยฯคาด ว่า กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งหน้า และดอกเบี้ยสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.25%

ขณะที่ยุโรป มีการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 27 ต.ค.65 นักวิเคราะห์คาด ECB จะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย 0.25% มาสู่ระดับ 1.50% และมองดอกเบี้ยสิ้นปีนี้คาดอยู่ที่ 2.25%

สรุป อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการขึ้นดอกเบี้ยดูผ่อนคลายลงในระยะถัดไป หนุนเม็ดเงิน ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามภาวะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯอยู่ ระดับสูงเกิน 4% ทำให้ Market Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทยดูน่าสนใจกว่า หนุน Flow ต่างชาติไหลเข้ามากกว่าในอนาคต คาดช่วยพยุงให้ตลาดหุ้นไทยผันผวน น้อยกว่าตลาดหุ้นโลกได้

เศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่เสี่ยงถดถอย ขณะที่ไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว

สหรัฐฯและยุโรป ถือเป็น 2 ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยในปี 2564 มี สัดส่วน GPD ราว 42.4% และ 30.7% ของ GDPโลก และล่าสุด Bloomberg ได้มีรายงาน ผลการสำรวจการเกิดเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ของยุโรปพบว่า มีโอกาสสูงถึง 80% ที่ยุโรปจะเขาสู่ภาวะ Recession จากเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาสในปี 2566 และ ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อโยโรปพุ่งไปจุดสูงสุดที่ 9.6% ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี2565 เมื่อพิจารณาจากการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า GDP ของสหรัฐติด ลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ซึ่งตามนิยามได้เข้าสูภาวะ Recession แล้ว ขณะที่เศรษฐกิของ ประเทศในยุโรปมีแนวโน้มจะหดตัว อาทิ อังกฤษ (GDP Q2 ติดลบที่ -0.1%QoQ) เยอรมนี (GDP Q2 ที่ 0.0%QoQ ชะลอตัวจาก Q1 ที่ 0.8%QoQ) เป็นต้น จากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจสองประเทศขนาดใหญ่ ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงต่อภาวะ Recession

อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะกลับมาฟื้นตัว จากการ กลับมาเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 บวกกับมาตรการที่ภาครัฐออกมา กระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ โครงการคนละครึ่งเฟสที่ 5 รวมถึงมาตรการที่ ททท. ส่งเสริมภาค การท่องที่ยวอย่างต่อเนื่อง

สรุป เศรษฐกิจของ 2 ประเทศขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ เศรษฐไทย 2H65 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการกลับมาเปิดประเทศ การผ่อนคลาย มาตรการโควิด-19 บวกกับมาตรการที่ภาครัฐออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ

รอวันนักท่องเที่ยวจีน หวนคืน เลือก AOT, ERW และ NOBLE

ภาพรวมตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 7M65 ที่ 3.2 ล้านคน (ก.ค. 1.12 ล้านคน) คิด เป็นระดับ 14% ของ 7M62 โดยฝ่ายวิจัยคาดช่วงที่เหลือของปีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย เฉลี่ย 1.4 ล้านคนต่อเดือน จะหนุนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี 2565 ราว 10 ล้านคน และปีหน้า 20 ล้านคน กลับสู่ระดับ 50% ของ Pre-COVID ซึ่งปี 2566 ฝ่ายวิจัยแทบไม่ได้ รวมจีนไว้ในสมมติฐาน หากพิจาณาช่วงปกติพบว่าจีนมาไทยราว 12 ล้านคน (สัดส่วน 28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย) ดังนั้นในกรณีที่การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนใน วันที่ 16 ต.ค. 65 จะมีการส่งสัญญาณผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID จนนำไปสู่การให้ ประชาชนจีนออกเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ หากเกิดขึ้นย่อมดีต่อภาคการท่องเที่ยว และสายการบิน ทั่วโลก โดยเฉพาะไทยที่เป็นจุดหมายยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน บวกต่อ AOT(FV@B80) มากสุดในฐานะผู้บริหารสนามบินหลักของไทย ตามด้วยหุ้นใน กลุ่มโรงแรมไทยอย่าง ERW(FV@B4.6) ที่มีโครงสร้างรายได้โรงแรมไทยราว 90% และ สามารถ Catch-up play CENTEL(FV@B54) ที่แม้รายได้มาจากโรงแรมไทยราว 80% แต่ ราคาหุ้น YTD ถือว่า Outperform กลุ่มฯ พอสมควร

ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ถือเป็นอีกธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการกลับมาของ นักท่องเที่ยว/นักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากไทยถือเป็นหนึ่งประเทศท่องเที่ยวที่เป็นจุดหมาย ปลายทางของชาวต่างชาติที่สนใจเข้ามาถือครองอสังหาฯ ทั้งเพื่อการลงทุน และซื้อเพื่ออยู่ อาศัย โดยหากย้อนกลับไปก่อนเกิดโควิด-19 ช่วงปี 2561 พบว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดของลูกค้าต่างชาติอยู่ที่ 5.72 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16% ของมูลค่าโอนฯ แต่ หลังจากโควิด-19 ทำให้ดีมานด์ชาวต่างชาติหายไป ส่งผลให้มูลค่าโอนของลูกค้าต่างชาติ ลดลง 11.6% และ 25% yoy อยู่ที่ 5.06 หมื่นล้านบาท และ 3.77 หมื่นล้านบาทปี 2562- 2563 ตามลำดับ ก่อนเริ่มขยายตัว 5% สู่ระดับ 3.96 หมื่นล้านบาทปี 2564 อย่างไรก็ดีคาด หลังการเปิดประเทศเต็มรูปแบบของไทย ตั้งแต่ยกเลิก Thailand Pass ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2565 บวกกับแนวโน้มที่จีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศ และเริ่มปลดล็ อกด้วยการปล่อยคนออกนอกประเทศมากขึ้น ย่อมส่งผลบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดฯ เนื่องจากจีนถือเป็นลูกค้าหลักอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 50-60% ของมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ต่างชาติ ทำให้สถานะ Backlog คอนโดฯ สิ้น 2Q65 ที่มีราว 1.59 แสนล้านบาท (รวมคอนโดฯ JV 8.8 หมื่นล้านบาท) ที่เป็นส่วนของลูกค้าต่างชาติ สามารถ โอนได้คล่องตัวขึ้น รวมถึงการระบายสต๊อกคอนโดฯ พร้อมโอนฯ ที่มีอยู่ราว 1.1 แสนล้าน บาท ทำได้มากขึ้น โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่เน้นพอร์ตคอนโดฯ และได้รับประโยชน์จากดี มานด์ลูกค้าต่างชาติ ได้แก่ NOBLE (ปี 2564 มีส่วนแบ่งตลาดลูกค้าต่างชาติสำหรับตลาด คอนโดฯ ในกรุงเทพมากสุดในไทย สัดส่วน 52% และลูกค้าต่างชาติสัดส่วน 29% ของ ยอดขาย และ 50% จากยอดโอนฯ รวม) ตามด้วย ANAN, ORI และ SIRI (สิ้น 2Q65 มี สต๊อกคอนโดฯ พร้อมโอนฯ ราว 2.15 หมื่นล้านบาท, 1.36 หมื่นล้านบาท และ 8.7 พันล้าน บาท ตามลำดับ)

ย้อนดูสถิติช่วง FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ย คาดทิศทางตลาดหุ้นอาจค่อยๆ ทยอยฟื้น

การประชุม Fed เหลืออีก 2 วันทำการ จะถึงก่อนจะรู้ผลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเท่าไหร่ ? โดยล่าสุดตลาดคาดว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ 0.75% ส่วนช่วงที่เหลือของปี การเร่งขึ้นดอกเบี้ยมีโอกาสชะลอลง

และหากดูสถิติผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐ (ดัชนี S&P500) ในอดีต ช่วงก่อนและหลังการ ประชุม Fed ในรอบ 3 ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา จะเห็นภาพทิศทางตลาดหุ้นชัดเจนมากขึ้นดังนี้

• ช่วงที่ Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยตลาดหุ้นสหรัฐมักจะผันผวน

• โดยเฉพาะช่วงที่มีการเร่งขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าครั้งก่อน หรือขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าที่คาด

• แต่ภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐมีทิศทางฟื้นตัวได้ดีตั้งแต่ก่อนการขึ้นดอกเบี้ย 1 วัน

• โดยการประชุมครั้งล่าสุด (ก.ค. 22) ตลาดหุ้นรีบาวน์ขึ้นได้ดีมาก

และหากพิจารณาผลตอบแทนของ SET Index กับปัจจัยนี้ พบว่า ตลาดหุ้นไทยผันผวน น้อยกว่าสหรัฐ และตลาดมักจะเริ่มฟื้นตัวได้ดีตั้งแต่ “ก่อนการขึ้นดอกเบี้ย 1 วัน” เช่นกัน

สรุปคือ หากย้อนดูสถิติช่วง Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ย คาดทิศทางตลาดหุ้นมีโอกาส ค่อยๆทยอยฟื้นขึ้น และในช่วงที่เหลือของปีแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะลด น้อยลง ทั้งจากเงินเฟ้อที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว พร้อมกับเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มอิ่มตัว ส่งผลให้ความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยลดน้อยลง ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ พร้อม กับเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว จูงใจให้สภาพคล่องทั้งไทยและต่างประเทศยังคอย หล่อเลี้ยงตลาดหุ้นไทย

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET 1620 - 1640 จุด แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น อย่าง BBL และหุ้นคาดหวังการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ TISCO และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ERW เป็น Toppick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย