เราไปสรุปภาพรวมของตลาดหุ้นทั่วโลกในวันนี้ตั้งแต่ตอนเช้ากันเลยครับ
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดลบเช้านี้ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดลดลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในการประชุมสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดตลาดที่ระดับ 27,631.39 จุด ลดลง 244.52 จุด หรือ -0.88%
หุ้นลบเช้านี้นำโดยกลุ่มขนส่งทางทะเล, กลุ่มเหมืองแร่ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดปรับตัวลงเช้านี้ เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายหุ้นเพื่อรอจีนเปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ในวันนี้
ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งเปิดตลาดที่ระดับ 18,732.44 จุด ลดลง 197.94 จุด หรือ -1.05%
ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดลดลงเช้านี้ โดยปรับตัวลงตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย และนักลงทุนชะลอการซื้อขายเพื่อรอจีนเปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ในวันนี้
ทั้งนี้ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดตลาดที่ระดับ 3,189.83 จุด ลดลง 10.09 จุด หรือ -0.32%
ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดียเปิดลบในวันนี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่เปิดในแดนลบ ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงจับตาข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของจีน
ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดีย เปิดตลาดวันนี้ที่ 59,585.72 จุด ลดลง 348.29 จุด หรือ -0.58%
หุ้น M&M ปรับตัวลง 2.58%, หุ้น Tech Mahindra ลดลง 2.17% และหุ้น TCS ลดลง 1.67%
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบในวันนี้ ขณะที่ นักลงทุนปรับตัวรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงจับตาข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของจีน
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 27,631.39 จุด ลดลง 244.52 จุด หรือ -0.88%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,732.44 จุด ลดลง 197.94 จุด หรือ -1.05% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,189.83 จุด ลดลง 10.09 จุด หรือ -0.32%
ดัชนี Nasdaq ร่วง 1.43% แตะที่ 11,552.36 เมื่อคืนนี้ ขณะที่ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลง 1.13% แตะที่ 3,901.35 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วง 173.27 จุด หรือ 0.56% แตะที่ 30,961.82 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.
ตลาดหุ้นและตลาดที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยงอื่น ๆ มีแนวโน้มเผชิญความยากลำบาก เนื่องจากมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าแรงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐนั้นฝังรากลึก ทำให้ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเพิ่มสูงขึ้น
ธนาคารโลกออกรายงานเตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอย เนื่องจากธนาคารกลางทั่วโลกกำลังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพร้อมกันเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ
รายงานเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของสหรัฐ จีน และยูโรโซนได้ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจโลกอาจเผชิญภาวะถดถอยในปีหน้า
นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ธนาคารกลางต่างๆจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2% เพื่อสกัดเงินเฟ้อให้อ่อนตัวลง นอกเหนือจากที่ปรับขึ้นแล้ว 2% ก่อนหน้านี้ ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นดังกล่าวท่ามกลางภาวะตึงตัวในตลาดการเงินจะฉุดให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของโลกลดลงสู่ระดับ 0.5% ในปี 2566 ขณะที่รายได้ต่อหัวจะหดตัวลง 0.4% ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าเกณฑ์การเกิดภาวะถดถอยทางเทคนิค
ธนาคารโลกเตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวหนักที่สุดหลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยนับตั้งแต่ปี 2513 และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้ดิ่งลงหนักกว่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่เศรษฐกิจโลกเผชิญภาวะถดถอยก่อนหน้านี้
นายเจอร์รี ไรซ์ โฆษกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง และคาดว่าเศรษฐกิจของบางประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะลุกลามเป็นวงกว้างทั่วโลก
นายไรซ์กล่าวว่า มีข้อมูลจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าทิศทางของเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแรงลงในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวรวมถึงเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง, ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และการที่หลายประเทศหันมาใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ลงสู่ระดับ 3.2% และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 ลงเหลือ 2.9% ส่วนตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกครั้งใหม่นั้น จะมีการเปิดเผยในเดือนหน้า
นายไรซ์กล่าวว่า การใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น กำลังสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีน ขณะที่การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้หลายประเทศเผชิญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อน
"เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนในหลาย ๆ ด้าน เราคาดว่า เศรษฐกิจในบางประเทศจะเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 2566 แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะลุกลามไปทั่วโลกหรือไม่
"ในทางเทคนิคนั้น ต่อให้บางประเทศไม่ได้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ประชาชนจำนวนมากทั่วโลกก็รู้สึกได้ว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ซึ่งความอดอยากหิวโหยพุ่งขึ้นถึง 1 ใน 3 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมากถึง 123 ล้านคน" นายไรซ์กล่าว
ขณะนี้ นักลงทุนจับตาข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของจีน โดยผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนจะปรับตัวสู่ 3.8% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการเติบโตในเดือนก.ค.
ส่วนยอดค้าปลีกเดือนส.ค.มีแนวโน้มปรับขึ้น 3.5% เทียบกับการปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนก.ค.
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงเช้านี้ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดลดลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าที่ระดับ 27,574.58 จุด ลดลง 301.33 จุด หรือ -1.08%
หุ้นลบเช้านี้นำโดยกลุ่มขนส่งทางทะเล, กลุ่มเหมืองแร่ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าปรับตัวลงเล็กน้อย โดยตลาดฟื้นตัวหลังจากดิ่งลงเกือบ 200 จุดในช่วงแรก หลังจากจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด
ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งปิดภาคเช้าที่ระดับ 18,850.13 จุด ขยับลง 80.25 จุด หรือ -0.42%
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้น 3.8% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้น 3.8%
ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 5.4% แข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 2.4% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5%
ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 5.5% และแข็งแกร่งกว่าในช่วง 7 เดือนแรกที่ปรับตัวขึ้น 5.7%
ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าลดลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย หลังธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกคำเตือนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดภาคเช้าที่ 27,574.58 จุด ลดลง 301.33 จุด หรือ -1.08%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 18,850.13 จุด ขยับลง 80.25 จุด หรือ -0.42% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดภาคเช้าที่ 3,169.14 จุด ลดลง 30.77 จุด หรือ -0.96%
ดัชนี Nasdaq ร่วง 1.43% แตะที่ 11,552.36 เมื่อคืนนี้ ขณะที่ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลง 1.13% แตะที่ 3,901.35 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วง 173.27 จุด หรือ 0.56% แตะที่ 30,961.82 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.
นายเจอร์รี ไรซ์ โฆษกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง และคาดว่าเศรษฐกิจของบางประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะลุกลามเป็นวงกว้างทั่วโลก
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ลงสู่ระดับ 3.2% และปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 ลงเหลือ 2.9% ส่วนตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกครั้งใหม่นั้น จะมีการเปิดเผยในเดือนหน้า
ส่วนธนาคารโลกคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าใกล้ภาวะถดถอยในปี 2566 ขณะที่ ธนาคารกลางทั่วโลกเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้ออันยืดเยื้อ
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้น 3.8% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้น 3.8%
ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 5.4% แข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 2.4% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5%
ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 5.5% และแข็งแกร่งกว่าในช่วง 7 เดือนแรกที่ปรับตัวขึ้น 5.7%
ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลงเช้านี้ หลังจากบริษัทเฟดเอกซ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายใหญ่ของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ และตัดสินใจระงับการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการทั้งปีงบการเงิน 2566 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ณ เวลา 11.51 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลง 190 จุด หรือ -0.61% แตะที่ 30,880 จุด
ราคาหุ้นเฟดเอกซ์ดิ่งลง 15% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กช่วงเช้านี้ หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 1 ของปีงบการเงิน 2566 โดยระบุว่า กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 3.44 ดอลลาร์ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 5.14 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 2.32 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 2.359 หมื่นล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ เฟดเอกซ์เปิดเผยว่า ทางบริษัทตัดสินใจระงับการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2565 และระบุว่า อุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วงสิ้นเดือนส.ค.
นอกจากนี้ เฟดเอกซ์ระบุว่า บริษัทจะดำเนินการปรับลดต้นทุน เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการชะลอตัวของยอดการขนส่งสินค้าทั่วโลก และภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอลงอย่างมาก
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่า การที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดที่ระดับ 27,567.65 จุด ลดลง 308.26 จุด หรือ -1.11%
หุ้นลบวันนี้นำโดยกลุ่มขนส่งทางทะเล, กลุ่มเหมืองแร่ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 213,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 226,000 ราย
ส่วนยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. โดยยอดค้าปลีกได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลงของราคาพลังงาน ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเพิ่มการใช้จ่าย
ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%
ทั้งนี้ หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค.
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดร่วงลงกว่า 1% ในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ดัชนี S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,747.00 จุด ลดลง 95.90 จุด หรือ -1.40% และดัชนี All Ordinaries ปิดที่ 6,983.30 จุด ลดลง 99.20 จุด หรือ -1.40%
ตลาดหุ้นออสเตรเลียยังได้รับแรงกดดันจากรายงานข่าวที่ว่า บริษัทเฟดเอกซ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายใหญ่ของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ และตัดสินใจระงับการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการทั้งปีงบการเงิน 2566 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวยังได้ฉุดดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลงกว่า 100 จุดในช่วงบ่ายวันนี้ด้วย
ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในวันนี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุดสนับสนุนมุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในการประชุมนโยบายสัปดาห์หน้า
ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปิดวันนี้ที่ 2,382.78 จุด ลดลง 19.05 จุด หรือ -0.79%
สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้เปิดเผยในวันนี้ (16 ก.ย.) ว่า อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือนส.ค. ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18
ข้อมูลระบุว่า อัตราว่างงานเดือนส.ค.ซึ่งได้รับการทบทวนปรับตามฤดูกาลแล้ว ร่วงลงสู่ระดับ 2.5% ในเดือนส.ค. จาก 2.9% ในเดือนก.ค. โดยแตะระดับที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลในเมื่อเดือนมิ.ย. 2542
ตัวเลขจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น 807,000 ตำแหน่งเมื่อเทียบรายปี โดยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน แม้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นชะลอลงจากเดือนก.ค.ที่ 826,000 ตำแหน่ง และในเดือนมิ.ย.ที่ 841,000 ตำแหน่ง
นายบัง คี-ซุน รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยคาดการณ์ในการประชุมนโยบายเศรษฐกิจหลังมีการประกาศตัวเลขจ้างงานว่า การเติบโตของตัวเลขจ้างงานจะชะลอตัวลงในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจภายนอกที่ย่ำแย่ลง และการบริโภคที่อ่อนแอลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิต ซึ่งมีการจ้างงานใหม่ที่ 240,000 ตำแหน่ง ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการจัดหมวดหมู่ในปี 2556 รองลงมาคือภาคการบริการด้านสุขภาพและสวัสดิการสังคมที่ 123,000 ตำแหน่ง และภาคเกษตรกรรมและการประมงที่ 9,000 ตำแหน่ง
หุ้นเอสเค อินโนเวชันร่วงลง 4.05% หุ้นแอลจี เคมร่วงลง 3.5% และหุ้นพอสโคปรับตัวลง 1.91%
ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดร่วงลงกว่า 2% ในวันนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มบริษัทโบรกเกอร์ที่ดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากคณะรัฐมนตรีจีนเรียกร้องให้บริษัทโบรกเกอร์ปรับลดค่าธรรมเนียมการบริการ โดยข่าวดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดของจีน
ทั้งนี้ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,126.40 จุด ลดลง 73.52 จุด หรือ -2.30%
ดัชนีหุ้นกลุ่มบริษัทโบรกเกอร์ดิ่งลงกว่า 5% และได้ฉุดดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินร่วงลง 2.6% หลังจากคณะรัฐมนตรีจีนเรียกร้องให้บริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินต่าง ๆ ปรับลดค่าธรรมเนียมการให้บริการกับภาคธุรกิจ
ราคาหุ้นกั๋วไท่ จวี่หนาน ซิเคียวริตีส์ ร่วงลงมากถึง 5% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบ 2 เดือน และหุ้นบีโอซี อินเทอร์เนชันแนล ไชน่า ดิ่งลงมากถึง 6.1% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นจีน ส่วนในตลาดหุ้นฮ่องกงนั้น หุ้นหัวไท่ ซิเคียวริตีส์ ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558
คณะรัฐมนตรีจีนได้ออกหนังสือแนะนำในวันพฤหัสบดี (15 ก.ย.) ระบุว่า บริษัทโบรกเกอร์ควรปรับลดค่าธรรมเนียมให้กับภาคธุรกิจ โดยให้ครอบคลุมถึงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและการชำระเงินสำหรับการจดทะเบียน นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินยังถูกเรียกร้องให้เสนอส่วนลดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมให้กับบริษัทขนาดเล็กด้วย
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นมาตรวัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน ปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้น 3.8% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้น 3.8%
ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปรับตัวขึ้น 3.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี
รายงานของ NBS ยังระบุด้วยว่า ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 5.4% แข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 2.4% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5%
ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 5.5% และแข็งแกร่งกว่าในช่วง 7 เดือนแรกที่ปรับตัวขึ้น 5.7%
ข้อมูลดังกล่าวส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการทรุดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์, การใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19 รวมทั้งอุปสงค์ที่อ่อนแอลงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แถลงการณ์ของ NBS ระบุว่า "ในภาพรวมนั้น เศรษฐกิจจีนสามารถต้านทานปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เหนือความคาดหมาย และยังคงอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวที่ยั่งยืน โดยดัชนีชี้วัดที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม เรามองว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในต่างประเทศยังคงมีความซับซ้อน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่แข็งแกร่งมากนักในขณะนี้"
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ราคาบ้านใหม่ของจีนในเดือนส.ค.ปรับตัวลงในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2564 เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ชะลอตัว, การที่ประชาชนไม่ยอมจ่ายค่าจำนองบ้าน และการที่จีนใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19
ข้อมูลของ NBS ระบุว่า ราคาบ้านใหม่เดือนส.ค.ปรับตัวลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่ทรงตัวในเดือนก.ค.
เมื่อเทียบเป็นรายปี ราคาบ้านใหม่เดือนส.ค.ร่วงลง 1.3% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2558 หลังจากที่ปรับตัวลง 0.9% ในเดือนก.ค.
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตหนี้สิน และล่าสุดได้รับความเสียหายจากการที่บรรดาผู้ซื้อบ้านไม่ยอมจ่ายค่าจำนองสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
นายเฉิน จื้ออู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงกล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของจีนจำนวนมากระงับโครงการก่อสร้าง ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ซื้อบ้าน และส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ผู้ซื้อบ้านไม่ยอมจ่ายค่าจำนองสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจีนเป็นวงกว้าง
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยผลสำรวจในวันนี้ว่า อัตราว่างงานในพื้นที่เขตเมืองของจีนอยู่ที่ระดับ 5.3% ในเดือนส.ค. ลดลงจากระดับ 5.4% ในเดือนก.ค.
ส่วนในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขการจ้างงานใหม่ในพื้นที่เขตเมืองของจีนอยู่ที่ 8.98 ล้านคน
ผลสำรวจบ่งชี้ว่า อัตราว่างงานในหมู่ประชากรที่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี ซึ่งเป็นตลาดแรงงานสำคัญของจีนนั้น อยู่ที่ระดับ 4.3% ในเดือนส.ค.
สำหรับอัตราว่างงานใน 31 เมืองขนาดใหญ่ของจีนอยู่ที่ 5.4% ในเดือนส.ค. ลดลงจากระดับ 5.6% ในเดือนก.ค.
ทั้งนี้ NBS คำนวณอัตราว่างงานในเขตเมืองจากจำนวนประชาชนที่ว่างงาน โดยประชาชนเหล่านี้ได้เข้าร่วมในการสำรวจการจ้างงานในเขตเมือง ซึ่งรวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
อัตราว่างงานที่ลดลงในจีนบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของจีนเริ่มฟื้นตัว และสอดคล้องกับข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของจีนที่มีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งรวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 4.2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้น 3.8% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้น 3.8%
ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 5.4% แข็งแกร่งกว่าในเดือนก.ค.ที่ปรับตัวขึ้น 2.4% และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 5.5% และแข็งแกร่งกว่าในช่วง 7 เดือนแรกที่ปรับตัวขึ้น 5.7%
ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดลดลงในวันนี้ โดยหุ้นกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ถูกเทขายอย่างหนัก หลังทางการจีนเรียกร้องให้บริษัทกลุ่มนี้ปรับลดค่าธรรมเนียมการให้บริการ
ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งปิดตลาดที่ระดับ 18,761.69 จุด ลดลง 168.69 จุด หรือ -0.89%
ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลงตามตลาดหุ้นเอเชียอื่น ๆ ด้วย ขณะที่นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกประกาศเตือนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยนั้น ได้ส่งผลกดดันบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดียทรุดตัวลงกว่า 1,000 จุดในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลที่ว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย
ทั้งนี้ ดัชนี S&P BSE Sensex ปิดตลาดที่ 58,840.79 ลบ 1,093.22 จุด หรือ 1.82%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงนำตลาดวันนี้