ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค.65 ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศวันนี้ถูกคาดว่าจะอยู่ที่ 8.1% YoY ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงและสร้างความเชื่อให้กับนักลงทุนว่า เงินเฟ้อได้ผ่าน จุดสูงสุดไปแล้ว นำมาซึ่งความคาดหวังว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.75% ของ Fed น่าจะเกิดขึ้นในการประชุมรอบ ก.ย.65 เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้น น่าจะปรับขึ้นในอัตรา 0.5% และ 0.25% ตามลำดับ ความคาดหวังดังกล่าวทำให้ ตลาดหุ้นตอบสนองเชิงบวก ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราได้รับ อานิสสงค์ จาก Fund Flow ที่ไหลเข้า อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามการประกาศ ตัวเลขดังกล่าวใกล้ชิด เพราะหากไม่เป็นอย่างที่หวังก็อาจสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ได้ ส่วน Investment Theme ช่วงนี้ให้นำหนักกับหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ ตามภาวะเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้น
SET Index น่าจะขึ้นไปทดสอบ 1670 จุด อีกครั้ง วันนี้คาดเคลื่อนไหวกรอบ 1670 +/- 10 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหุ้น สำหรับหุ้น Top Pick เลือก CBG, HMPRO และ PLANB
เงินเฟ้อสหรัฐฯที่มีโอกาสชะลอลง หนุนตลาดหุ้นขึ้นต่อเนื่อง
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่วานนี้ปิดตัวในแดนบวก อาทิ สหรัฐฯ +0.7%-1.3% ขณะที่เช้านี้ตลาด หุ้นเอเชียอย่างเปิดบวกราว 0.5%-2% และเป็นการบวกติดต่อกันมากว่า 4 วันทำการ บน ความคาดหวังว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐเดือน ส.ค. 65 ที่จะประกาศวันนี้มีโอกาสชะลอตัว ลง โดย Consensus คาดลดลงราว -0.1%MoM และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.1%YoY (จะรู้ ผลลัพธ์ในวันนี้เวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) ถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงเมื่อ เทียบกับเดือน ก.ค. ที่ 8.5YoY เป็นผลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงในช่วง 2-3 เดือนที่ ผ่านมา ความคาดหวังดังกล่าวช่วยลดแรงกดดันในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ในมุมของ FED Watch Tool จะเห็นได้ว่า โอกาสที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการ ประชุมครั้งถัดไป สูงถึง 90% อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยสิ้นปีนี้คาดอยู่ที่ 4% เท่านั้น (ซึ่ง หมายความว่าการประชุมเดือน พ.ย.-ธ.ค. คาดขึ้นดอกเบี้ยรวมกันราว 0.75%)
ขณะที่อีกมุมหนึ่ง หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค.65 แต่ละประเทศจะเห็นได้ว่า โซน ยุโรปยังมีอัตราเงินเฟ้อในอัตราเร่งตัวต่อ อาทิ Eurozone Italy Germany จากประเด็น การคว่ำบาตรรัสเซีย และราคาก๊าซที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังรัสเซียไม่ส่งก๊าซธรรมชาติมาให้ตาม กำหนด ซึ่งเปิดความเสี่ยงว่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน ส.ค.65 ไม่ลดลงอย่างที่ คาดได้ ถือเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ขณะที่ประเทศแถบเอเชียมีแนวโน้มที่ดีกว่า โดยอัตรา เงินเฟ้อเดือน ส.ค.65 หลายประเทศปรับตัวลง MoM อาทิ Indonesia Philippines Taiwan China ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจมากเท่าสหรัฐฯ-ยุโรป
สรุป แม้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน ส.ค.65 มีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง อย่างไรก็ตามฝ่าย วิจัยฯคาดว่าไม่น่าจะทำจุดสูงสุดใหม่ ส่งผลให้ FED มีโอกาสใช้นโยบายทางการเงินเชิง รุกอีกไม่นาน ถือเป็น Sentiment หนุนตลาดหุ้นในระยะถัดไป โดยวันนี้มองกรอบการ เคลื่อนไหว SET Index ไว้ที่ 1660-1680 จุด
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อ จากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ
การบริโภคภาคครัวเรือนในประเทศส่งสัญญาณการฟื้นตัวภายใต้แรงหนุนของ มาตรการ ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งจะมีการเสนอต่อ ครม. เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน อาทิ การช่วยเหลือค่าไฟฟ้าในกลุ่มเปราะบางและผู้มีรายได้น้อย ในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 การ ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล รวมถึงการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 337 บาท หรือเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 5.02% (ค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 353 บาท) โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
และหากไปดูข้อมูลในอดีต ในช่วง 12 – 13 ปีที่ผ่านมา พบว่า กระทรวงแรงงานมีการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำมาแล้ว 6 ครั้ง หากไม่นับปี 2011 มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ในช่วง 3 –15 บาท/วัน หรือมีการปรับขึ้น 1% - 5% เป็นต้น แสดงว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 นี้ถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับในอดีต
ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ถือเป็นแรงหนุนการบริโภคในประเทศให้มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ ต่อเนื่อง หลังจากที่ไทยเริ่มการกลับมาเปิดประเทศ และการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง บวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ภาครัฐฯ อาทิ โครงการคนละครึ่งเฟสที่ 5 จากการที่ภาครัฐออกมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นผลดีต่อกลุ่มค้าปลีก HMPRO, CPALL (BK:CPALL), CRC เช่าซื้อ TIDLOR AEONTS และที่สำคัญธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&D) อาทิ M, CBG เป็นต้น
สรุป เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ ล่าสุด มาตรการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศ ของไทยเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เป็นผลดีต่อกลุ่มค้าปลีก เช่าซื้อ โดยเฉพาะธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่ม
ค้นหาหุ้น DEEP VALUE ยามที่ตลาดดูแข็งแรงขึ้น
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยดูแข็งแรงขึ้น ทั้งจากความกังวลเงินเฟ้อที่ลดลง พร้อมกับแรงกดดัน จากการขึ้นดอกเบี้ยที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ ชัดเจนขึ้น หนุนให้ต่างชาติชะลอการขายหุ้นไทยในช่วงก่อนหน้า และสลับมาซื้อสุทธิ เพิ่มขึ้น โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1 พันล้านบาท และวานนี้ซื้อเพิ่มอีก 2 พันล้านบาท พร้อมกับเปิดสถานะ Long สัญญา SET50 Futures กว่า 3.2 หมื่นสัญญา ถือเป็นสัญญาณที่ดีหนุนตลาดหุ้นไทยดูแข็งแรงขึ้น
ภายใต้ตลาดหุ้นไทยที่ดูแข็งแรงขึ้น มีเม็ดเงินต่างชาติคอยพยุง ฝ่ายวิจัยทำการค้นหา หุ้น 10 หุ้น Deep Value ที่มี Margin of Safety สูงๆ ทั้งจากความเสี่ยงต่ำจากราคา ที่ยัง Laggard แต่มีแนวโน้มกำไรเติบโตเด่นกว่าภาพรวมตลาด โดยผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. เป็นหุ้นมีกำไรและมักจ่ายปันผลสม่ำเสมอ
2. ราคาลงมาลึกจนผลตอบแทนต่ำกว่าช่วงก่อนเกิด Covid-19
3. ผลตอบแทนปีนี้ (ytd) ยังติดลบ
4. คาดแนวโน้มการเติบโตช่วง 2H65 หรือ ปี 2566 ยังโดดเด่น
5. ฝ่ายวิจัยแนะนำ “ซื้อ” มี Upside
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ +- 10 จุด จาก 1670 จุด หุ้นเด่น แนะนำหุ้น Deep Value อย่าง HMPRO, PLANB และหุ้นราคา Laggard ได้แรงหนุนจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ CBG เป็น Toppick
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities