🔥 ฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นระดับพรีเมียมโดย AI จาก InvestingPro ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

อะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทั้งตลาดหุ้นทั่วโลกและ BTC ได้พุ่งขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา

เผยแพร่ 12/09/2565 12:41
อัพเดท 09/07/2566 17:32
DX
-

เราไปดูความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วโลกในวันศุกร์ที่ผ่านมากันก่อนครับ

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.)

ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดตลาดที่ระดับ 28,204.71 จุด เพิ่มขึ้น 139.43 จุด หรือ +0.50%

หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้านี้นำโดยกลุ่มบริการ, กลุ่มเภสัชภัณฑ์ และกลุ่มเครื่องมือชั่งตวงวัด

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดบวกในวันนี้ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ หลังนักลงทุนปรับตัวรับความเห็นล่าสุดของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยืนยันจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจในการควบคุมเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดตลาดที่ระดับ 3,241.18 จุด เพิ่มขึ้น 5.59 จุด หรือ +0.17%

ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดบวกในวันนี้ โดยปรับตัวขึ้นตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดเพิ่มขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งเปิดตลาดที่ระดับ 18,893.65 จุด เพิ่มขึ้น 39.03 จุด หรือ 0.21%

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 28,204.71 จุด เพิ่มขึ้น 139.43 จุด หรือ +0.50%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,893.65 จุด เพิ่มขึ้น 39.03 จุด หรือ 0.21% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,241.18 จุด เพิ่มขึ้น 5.59 จุด หรือ +0.17%

จีนเตรียมเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อประจำเดือนส.ค. ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะปรับตัวขึ้นจากเดือนก.ค.

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวว่า เฟดมีความมุ่งมั่น "อย่างแรงกล้า" ในการควบคุมเงินเฟ้อ และเฟดหวังว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดต้นทุนทางสังคมที่สูงเกินไป พร้อมเสริมว่า การยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้

สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปีเมื่อเทียบยูโรในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียวช่วงเช้าวันนี้ (9 ก.ย.) โดยแตะระดับกึ่งกลางของกรอบการซื้อขายที่ 144 เยนต่อยูโร ภายหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลงมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากเป็นประวัติการณ์ถึง 0.75% เมื่อวานนี้ (8 ก.ย.)

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ของ ECB ได้ฉุดค่าเงินเยนร่วงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2558 เมื่อเทียบกับยูโร

ทั้งนี้ ECB มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสู่ระดับ 0.75% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์สู่ระดับ 1.25% รวมทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สู่ระดับ 1.50% โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 ก.ย.นี้

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวขึ้นในเช้าวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.)

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าที่ระดับ 28,219.70 จุด เพิ่มขึ้น 154.42 จุด หรือ +0.55%

หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้านี้นำโดยกลุ่มบริการ, กลุ่มเภสัชภัณฑ์ และกลุ่มขนส่งทางทะเล

ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าปรับตัวขึ้นในวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดเพิ่มขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ดัชนีฮั่งเส็งปิดภาคเช้าที่ระดับ 19,342.98 จุด เพิ่มขึ้น 488.36 จุด หรือ +2.59%

ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าบวกในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดภาคเช้าที่ 28,219.70 จุด เพิ่มขึ้น 154.42 จุด หรือ +0.55%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 19,342.98 จุด เพิ่มขึ้น 488.36 จุด หรือ +2.59% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดภาคเช้าที่ 3,258.21 จุด เพิ่มขึ้น 22.62 จุด หรือ +0.70%

ราคาผู้บริโภคเดือนส.ค.ของจีนปรับตัวขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวมากกว่าคาด ท่ามกลางปัญหาจากคลื่นความร้อนและยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตชะลอตัวลงด้วย

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ (9 ก.ย.) ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งชะลอลงจากการปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะปรับขึ้น 2.8%

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งสะท้อนราคาที่โรงงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ค้าส่งนั้น ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นอัตราชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2564 โดยชะลอลงหลังจากปรับขึ้น 4.2% ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า อาจปรับขึ้น 3.1%

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมสัปดาห์หน้า เพราะต้องการทราบว่า นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนนั้นส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจจีนอย่างไร

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาทิศทางดอกเบี้ย หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเป็นประวัติการณ์ 0.75% เมื่อวานนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยเป็นความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวขึ้นในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน โดยเงินเยนดิ่งลงแตะระดับ 142 เยนต่อดอลลาร์ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นจะออกมาตรการสกัดการอ่อนค่าของเงินเยน

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดที่ระดับ 28,214.75 จุด เพิ่มขึ้น 149.47 จุด หรือ +0.53%

หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในวันนี้นำโดยกลุ่มขนส่งทางทะเล, กลุ่มพลังงานไฟฟ้าและก๊าซ รวมถึงกลุ่มบริการ

เงินเยนอ่อนค่าแตะกรอบบน 144 เยนเทียบยูโรในการซื้อขายวันนี้ที่ตลาดโตเกียว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเมื่อวานนี้

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การที่ ECB ขึ้นดอกเบี้ยทำให้เงินเยนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2558 เนื่องจากคาดการณ์กันว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของยุโรปและญี่ปุ่นจะทิ้งห่างกันมากขึ้น เพราะ ECB ยังส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เมื่อเทียบกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งเน้นนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่าเงินยูโรไม่น่าแข็งค่าต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจของยุโรปเองซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาพลังงานแพงและการคุมเข้มนโยบายการเงิน

ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0066-1.0070 ดอลลาร์และ 144.66-144.74 เยน เทียบกับ 0.9993-1.0003 ดอลลาร์และ 144.02-144.12 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 0.9981-0.9983 ดอลลาร์ และ 143.54-143.58 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเย็นเมื่อวานนี้

ส่วนดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 143.71-143.73 เยน เทียบกับ 144.06-144.16 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 143.81-143.83 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17:00 น. ของเมื่อวานนี้

นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ (9 ก.ย.) ว่า สกุลเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ไม่เป็นผลดีกับบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งการแสดงความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับหน่วยงานการเงินของญี่ปุ่นที่ออกมาเตือนเกี่ยวกับความผันผวนที่รุนแรงของเงินเยน หลังจากเงินเยนทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปีเทียบกับดอลลาร์

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ถ้อยแถลงของนายคุโรดะมีขึ้นหลังประชุมกับนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาของเศรษฐกิจและการเงิน โดยนายคุโรดะระบุว่า ไม่ได้รับคำร้องขอใด ๆ จากนายคิชิดะ

นายคุโรดะกล่าวว่า "สกุลเงินดอลลาร์ที่มีความผันผวน 2 หรือ 3 เยนต่อวันถือเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ความผันผวนอย่างรวดเร็วในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่เป็นผลดีเพราะทำให้การจัดการธุรกิจไม่มีเสถียรภาพ และทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น"

ทั้งนี้ แม้ว่าสกุลเงินเยนที่อ่อนค่าจะเป็นผลดีกับกลุ่มผู้ส่งออก แต่ผลเสียที่ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ทางการญี่ปุ่นให้ความสนใจมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ราคาพลังงานและอาหารเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการที่รัสเซียบุกยูเครน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบกับญี่ปุ่น

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดบวกในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย

ดัชนี S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,894.20 จุด เพิ่มขึ้น 45.50 จุด หรือ +0.66% และดัชนี All Ordinaries ปิดที่ 7,139.00 จุด เพิ่มขึ้น 53.70 จุด หรือ +0.76%

นายฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการ RBA ส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยของ RBA ใกล้จะกลับสู่ระดับที่เป็นกลาง หลังจากที่ RBA ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

หลังจากที่นายโลว์ส่งสัญญาณดังกล่าว นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า RBA จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% สู่ระดับ 2.6% จากระดับ 2.35% ในการประชุมวันที่ 4 ต.ค.นี้ หลังจากที่ปรับขึ้น 0.50% สู่ระดับ 2.35% ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (6 ก.ย.)

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะปรับขึ้นเพียง 0.25% ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ท่ามกลางความหวังที่จะลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ในขณะที่จะยังคงรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้

นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 3 ใน 4 ที่ได้รับการสำรวจโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.6% จาก 2.35% ในการประชุมของ RBA ในวันที่ 4 ต.ค.นี้ โดยผลสำรวจดังกล่าวมีขึ้น หลังนายฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการ RBA ส่งสัญญาณเมื่อวานนี้ (8 ก.ย.) ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า RBA เป็นหนึ่งในธนาคารกลางรายแรก ๆ ของประเทศพัฒนาแล้วที่ส่งสัญญาณชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงิน

ทั้งนี้ นายโลว์แสดงความกังวลว่า การเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่คุมเข้มมากเกินไปเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ ในขณะที่ภาคครัวเรือนกำลังแบกรับหนี้สินอย่างหนัก และผู้กู้ส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยจำนองแบบลอยตัวนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของออสเตรเลียซึ่งมีมูลค่าราว 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.5 ล้านล้านดอลลาร์) นั้น จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดบวกในวันนี้ หลังจากทางการจีนเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัวลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยหนุนจากความหวังที่ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,262.05 จุด เพิ่มขึ้น 26.47 จุด หรือ +0.82%

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งชะลอลงจากการปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดไว้ว่าอาจจะปรับขึ้น 2.8%

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งสะท้อนราคาที่โรงงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ค้าส่งนั้น ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นอัตราชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2564 โดยชะลอลงหลังจากปรับขึ้น 4.2% ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า อาจปรับขึ้น 3.1%

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) เปิดเผยในวันนี้ (9 ก.ย.) ว่า ยอดขายรถยนต์ของจีน เพิ่มขึ้น 32.1% แตะ 2.38 ล้านคันในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการจูงใจของภาครัฐ

รายงานระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกสูงขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564

ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด และรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ปรับตัวขึ้น 100% ในเดือนส.ค. จากปีก่อนหน้า

สำหรับ CAAM นั้นติดตามยอดขายรถยนต์ในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงรถยนต์โดยสาร, รถบัส และรถบรรทุก ขณะที่สมาคมรถยนต์โดยสารแห่งประเทศจีน (CPCA) จับตายอดค้าปลีกรถยนต์ โดยเพิ่งรายงานยอดขายรถยนต์เดือนก.ค.ไปเมื่อวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) ที่ผ่านมา

CAAM เสริมว่า ยอดส่งออกรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้น 65% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็น 27% ของยอดส่งออกทั้งหมด

จีนพยายามฟื้นฟูอุปสงค์รถยนต์ด้วยการใช้มาตรการจูงใจ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น การลดภาษีการขายสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ขนาดเล็ก และมอบเงินอุดหนุนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดพุ่งในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร หลังจากฮั่งเส็งปิดในแดนลบ 6 วันทำการติดต่อกัน

ดัชนีฮั่งเส็งปิดตลาดที่ระดับ 19,362.25 จุด เพิ่มขึ้น 507.63 จุด หรือ +2.69%

ในขณะที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันนี้ (9 ก.ย.) เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า

หุ้นยุโรปเปิดตลาดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ โดยหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้น หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวขึ้นหลังราคาโลหะพุ่งขึ้น

ดัชนี STOXX 600 เปิดตลาดที่ระดับ 414.19 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด หรือ +0.02% โดยหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้น 1.3% ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองปรับตัวขึ้นเกือบ 3% เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดลอนดอนมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในสัปดาห์นี้มากที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์

ส่วนดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดที่ระดับ 12,926.15 จุด เพิ่มขึ้น 21.83 จุด หรือ +0.17% และดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีเปิดที่ระดับ 6,140.87 จุด เพิ่มขึ้น 14.97 จุด หรือ +0.24%

ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในวันพฤหัสบดี (8 ก.ย.) โดยเป็นการส่งสัญญาณเดินหน้าต่อสู้กับเงินเฟ้อที่ชัดเจนที่สุดของธนาคารกลางยุโรป และเป็นความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ

ธนาคารดอยซ์แบงก์ระบุในวันนี้ (9 ก.ย.) ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในเดือนต.ค. โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นเพียง 1 วันหลังจากที่ ECB ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.75% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากทีมนักวิเคราะห์ของธนาคารดอยซ์แบงก์ว่า " ECB มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในเดือนต.ค. โดยเราได้เปลี่ยนการคาดการณ์ของเรา จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย 0.50% เป็น 0.75% ในเดือนต.ค."

ธนาคารดอยซ์แบงก์อ้างอิงถ้อยแถลงของนางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยยัง "ห่างไกล" จากระดับที่เหมาะสม เพื่อทำให้เงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายได้ทันเวลา และคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัด ๆ ไป "สิ่งนี้เน้นย้ำว่า ECB ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนลดความสำคัญต่อภารกิจสกัดเงินเฟ้อ" ธนาคารดอยซ์แบงก์กล่าว

ฝรั่งเศสและเยอรมนีให้คำมั่นว่าจะร่วมมือกันปกป้องภาคครัวเรือนและบริษัทต่าง ๆ จากราคาพลังงานที่พุ่งทะยานขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้นโยบายการคลังเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์

ทั้งนี้ นายบรูโน เลอแมร์ รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสกับนายคริสเตียน ลินด์เนอร์ รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในช่วงเริ่มต้นการประชุมรัฐมนตรีคลังของยูโรโซนที่กรุงปราก โดยทั้งคู่ให้คำมั่นว่าจะร่วมมือกันในด้านนโยบายต่าง ๆ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คำสัญญาดังกล่าวมีขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากเป็นประวัติการณ์ถึง 0.75% พร้อมระบุว่าจะมีการปรับเพิ่มอีกในอนาคต โดย ECB ให้ความสำคัญกับการรับมือเงินเฟ้อเป็นอันดับแรก แม้ยูโรโซนมีแนวโน้มเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงฤดูหนาว และเสี่ยงที่จะต้องจำกัดการใช้ก๊าซ

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ออกแถลงการณ์ระบุว่า BoE จะเลื่อนการประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนก.ย. จากเดิมที่มีกำหนดในวันที่ 15 ก.ย. ออกไปเป็นวันที่ 22 ก.ย. เพื่อไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

"เนื่องจากสหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในช่วงการไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 การประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนกันยายนจึงถูกเลื่อนออกไปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินจะแถลงผลการประชุมในช่วงเที่ยงของวันที่ 22 กันยายน" แถลงการณ์ระบุ

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งกว่า 200 จุด ทะลุแนว 32,000 จุดในวันนี้ โดยตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดีดตัวขึ้นต่อเนื่องจากวานนี้

ณ เวลา 21.03 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 32,052.13 จุด บวก 277.61 จุด หรือ 0.87%

ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดบวกเกือบ 200 จุดวานนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะได้รับอานิสงส์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกวานนี้ ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวว่า เฟดมีความมุ่งมั่น "อย่างแรงกล้า" ในการควบคุมเงินเฟ้อ โดยเฟดจะดำเนินการต่อไปจนกว่าภารกิจจะสำเร็จ และการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้

นอกจากนี้ จำนวนคนว่างงานที่ต่ำกว่าคาดของสหรัฐยังทำให้ตลาดกังวลว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 222,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 240,000 ราย

ตลาดจับตาดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 13 ก.ย. โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายในการบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 14% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงอีก แต่ก็เตือนว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่

นางเยลเลนกล่าวถึงความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่คณะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ทำในช่วง 2 ปีแรกของการรับตำแหน่งว่า "ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลง 80 วันติดต่อกันแล้ว ซึ่งเป็นข่าวดีอย่างแน่นอน การชะลอตัวของราคาน้ำมันเบนซินทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในเดือนก.ค. และดิฉันคิดว่าตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนส.ค.จะชะลอตัวลงอีก อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทั่วโลกยังคงเผชิญกับความไม่นอนอีกมาก ซึ่งความไม่แน่นอนเหล่านี้เกี่ยวกับกับรัสเซีย"

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 8.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.7% หลังจากพุ่งแตะระดับ 9.1% ในเดือนมิ.ย.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี

สำหรับดัชนี CPI ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐนั้น จะมีการเปิดเผยในวันอังคารที่ 13 ก.ย.นี้

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า วิกฤตเงินเฟ้อถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคณะบริหารของปธน.ไบเดน เนื่องจากพรรคเดโมแครตต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งกลางเทอมของสภาคองเกรสในเดือนพ.ย.นี้

ทั้งนี้ นางเยลเลนกล่าวว่า "ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กำลังใช้มาตรการต่าง ๆ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่จำเป็นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ดิฉันไม่ต้องการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรในปีหน้า"

ที่ผ่านมานั้น นางเยลเลนเชื่อมั่นว่าเฟดจะสามารถรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อได้ และยังกล่าวด้วยว่าขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นวงกว้าง

ทีมนักวิเคราะห์จากบริษัทโนมูระ โฮลดิ้งส์ ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มอัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนก.ย.และพ.ย.ปีนี้

ทีมนักวิเคราะห์ซึ่งนำโดยนายอิชิ อาเมมิยะ คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนก.ย. และจากนั้นจะปรับขึ้น 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทีมนักวิเคราะห์ของโนมูระคาดไว้ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมทั้งสองครั้งดังกล่าว

"ความเห็นของกรรมการเฟดในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้สะท้อนให้เห็นว่า เฟดเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้รวดเร็วขึ้น เพื่อที่จะฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายของเฟด" ทีมนักวิเคราะห์ของโนมูระกล่าว

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังคงคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ทั้งในเดือนธ.ค.ปีนี้ และในเดือนก.พ.ปีหน้า ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4% - 4.25%

การคาดการณ์ของโนมูระสำหรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนก.ย.นั้น สอดคล้องกับข้อมูลของ FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งระบุว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 88% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ และให้น้ำหนักเพียง 12% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

กระแสคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย.มีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวสุนทรพจน์ที่สถาบันคาโต (Cato Institute) เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (8 ก.ย.) ว่า เฟดมีความมุ่งมั่น "อย่างแรงกล้า" ในการควบคุมเงินเฟ้อ และเฟดหวังว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดต้นทุนทางสังคมที่สูงเกินไป ขณะเดียวกันนายพาวเวลส่งสัญญาณว่า การยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้

ราคา BTC ดีดตัวขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 20,000 ดอลลาร์ในช่วงบ่ายวันนี้ เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ช่วยกระตุ้นแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงคริปโทเคอร์เรนซี

ณ เวลา 13.10 น.ตามเวลาไทย ราคา BTC พุ่งขึ้น 1,213 ดอลลาร์ หรือ +6.26% แตะที่ 20,584 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงบ่ายนี้และเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง โดยดัชนี Bloomberg Dollar Spot Index ร่วงลง 0.7% ในตลาดเอเชีย หลังจากที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์นี้

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้ก็เป็นปัจจัยหนุนราคา BTC ให้พุ่งขึ้นตั้งแต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าพุ่งขึ้น 2.5% ขณะที่ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100 จุด

หลังจากนั้น ราคา BTC ยังคงมีการพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการปิดพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นเอเชีย การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปตั้งแต่ในช่วงบ่ายที่ผ่านมา และการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐในขณะนี้

ในขณะที่ราคาทองคำได้พุ่งขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมา จากการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นจีนในวันนี้เนื่องจากการประกาศอัตราเงินเฟ้อของจีนออกมาลดลง ซึ่งได้ส่งผลให้สกุลเงินหยวน CNY พุ่งขึ้น เป็นปัจจัยหนุนให้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย AUD และสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ NZD มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น และได้หนุนราคาทองคำให้พุ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

ราคาทองคำยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่าย จากการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินยูโร EUR เนื่องจากการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ของธนาคารกลางยุโรปในเมื่อวานนี้

ในขณะที่สกุลเงินเยน JPY ได้มีการแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่ายที่ผ่านมาเช่นกัน จากการเข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารกลางญี่ปุ่นในช่วงบ่ายที่ผ่านมา เพื่อควบคุมไม่ให้สกุลเงินเยน JPY มีการอ่อนค่าจนเกินไป

และจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้กดดันให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY มีการร่วงลงอย่างรุนแรงในวันนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ได้หนุนให้ทั้งราคาทองคำ และ BTC ได้พุ่งขึ้นในวันนี้นั่นเอง!!!

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย